Saturday, 4 May 2024
นักเรียน

‘ครู’ วอน ‘ภาครัฐ’ ขึ้นค่าอาหารกลางวันเด็ก ชี้!! ควรเป็น 30 บาทต่อคนต่อวัน ถึงจะเพียงพอ

ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน
รวมไปถึงโครงการอาหารกลางวันของน้อง ๆ นักเรียน อย่างเช่น ที่โรงเรียนวัดหุบกระทิง ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้

>> อาหารยังอร่อย แต่ "หมู" น้อยลง
ด.ญ.พิมพ์ชนก ประเสริฐ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่าว่า ตนและเพื่อน ๆ ชื่นชอบแกงเขียวหวาน หนึ่งในเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียนมากเป็นพิเศษ ด้วยมีรสชาติอร่อย นอกจากนี้ยังมี ยำหมูยอ ผัดกะเพราไข่ดาว ยำวุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา เป็นต้น

แต่ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้โรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนเมนูอาหาร เมนูที่มีส่วนผสมของหมูก็จะลดปริมาณ และนำเนื้อไก่ รวมไปถึงเนื้อสัตว์ชนิดอื่นมาทดแทน เพื่อให้ยังคงทำอาหารให้กับนักเรียนทุกคนได้อย่างเพียงพอ ซึ่งเข้าใจ แต่หากเป็นไปได้ ก็อยากให้ข้าวของถูกลงเพื่อที่โรงเรียนจะได้มีงบจัดซื้ออาหารให้กับนักเรียนได้รับประทานอย่างเช่นในอดีต

>> รัฐจัดงบเพิ่ม 5% จาก 20 บาท เป็น 21 บาท ต่อหัว!
ขณะที่ ดร.สุนันทา ปานณรงค์ ผอ.โรงเรียน เปิดเผยว่า โรงเรียนวัดหุบกระทิง เป็นโรงเรียนขยายโอกาส เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย ไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 490 คน แบ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย 56 คน ประถมศึกษา 1-6 จำนวน 310 คน และมัธยมศึกษา 1-3 จำนวน 124 คน

แม้ว่าปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีจะมีมติเห็นชอบให้มีการปรับค่าอาหารกลางวันของนักเรียนตั้งแต่ ชั้นปฐมวัย - ประถมศึกษา 6 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5 จากอัตราเดิมที่ 20 บาท/คน/วัน มาเป็น 21 บาท/คน/วัน โดยยึดหลักตาม Thai School Lunch ทว่างบประมาณในอัตราดังกล่าว ทางโรงเรียนยอมรับว่าไม่เพียงพอกับสถานการณ์ปัจจุบัน

สาวแชร์คลิปสุดซึ้ง ลุงวินพามาเลี้ยงสเต็ก เป็นการอำลาก่อนไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย 

สาวโพสต์คลิปวิดีโอลงใน TikTok เผยลุงวินคู่ใจจู่ๆ พามาร้านสเต็ก บอกขอเลี้ยงก่อนแยกย้ายไปเรียนมหาวิทยาลัย พบใช้บริการกันนานกว่า 5 ปี

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ผู้ใช้ TikTok @stamptyr ได้โพสต์คลิปสุดซึ้ง กับลุงวินจักรยานยนต์ที่เคยใช้บริการตั้งแต่ ม.2 จนถึง ม.6 ล่าสุดตัวผู้โพสต์เองกำลังจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย คุณลุงได้พาตนเองมาเลี้ยงสเต็ก ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่ได้ใจชาวเน็ตเป็นอย่างมาก

'ครูธัญ' ชื่นชมทัศนคติผู้บริหาร รร.สิริรัตนาธร ชี้!! การศึกษาไทยต้องโอบรับเด็กทุกกลุ่ม

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคมออนไลน์ที่มีผู้บริหารโรงเรียนสิริรัตนาธร ส่งหนังสื่อถึงผู้ปกครองนักเรียนพร้อมระบุในหนังสือว่า

“ถ้านักเรียนในความปกครองของท่านทำคะแนนได้สูงสุด นั่นหมายถึงเป็นหนึ่ง หรือยืนหนึ่ง แต่ถ้าลูกทำไม่ได้ ได้โปรดอย่าทำลายความเชื่อมั่นและความนับถือตัวเองของลูกไป บอกลูกว่ามันดีมากแล้ว มันแค่การสอบ มันยังมีอะไรอีกมากมายในชีวิต บอกลูกท่านว่าไม่ว่าคะแนนสอบออกมาแบบไหน คุณก็รักเขาและจะไม่ตัดสินเขา” 

ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมวิสัยทัศน์ของผู้บริหารของโรงเรียนที่มองเห็นนักเรียนทุกคนไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กที่คะแนนดีหรือไม่ ซึ่งการศึกษาไทยควรมีค่านิยมแบบนี้ โรงเรียนควรเป็นสังคมให้พวกเขาได้เติบโตและใช้ชีวิต ยอมรับและสามารถเปิดเผยตัวตนของตนเองได้

ย้อนอดีตโซเชียล เมื่อเด็กนักเรียนนั่งสัปหงกบนรถเมล์ จู่ ๆ คุณยายใจดีทำสิ่งนี้ให้ พร้อมประโยคชวนยิ้มจากหนุ่มน้อย

ถือเป็นอีกเรื่องราวอันดีในสังคมโซเชียลไทย หลังจากในช่วงระยะหลังโลกออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวดี ๆ ของสังคมไทยในด้านต่าง ๆ ทั้งในแง่ของน้ำใจคนไทยต่อชาวต่างชาติ หรือแม้แต่คนไทยด้วยกันเอง

ล่าสุดก็มีการนำเรื่องราวดี ๆ ที่เคยเป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่งในโลกออนไลน์กลับมาแชร์อีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องราวน่ารักของหนูน้อยที่นั่งรถเมล์แล้วเกิดง่วงนอนอย่างหนัก 

...แต่โชคดีที่เจอคุณยายใจดีให้อาศัยซบหลับจนถึงบ้าน ก่อนกลับตะโกนขอบคุณยายดังลั่น

>> โดยเรื่องราวดังกล่าว ถูกเผยแพร่ผ่านสมาชิกเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ 'Intira Noynuan' ที่โลกโซเชียลได้มีการอ้างอิงเรื่องราวสุดประทับใจนี้...

...ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนรถเมล์สาย 64 โดยมีเด็กชายคนหนึ่งโดยสารมาในรถเมล์พร้อมกับถือกระเป๋ามาค่อนข้างหนัก และเกิดมีอาการง่วงนอนระหว่างทาง คุณยายที่นั่งข้าง ๆ จึงมีน้ำใจบอกให้นอนซบตลอดทางจนถึงบ้าน...

>> ขากลับหนุ่มน้อยได้กล่าวขอบคุณคุณยายอย่างสุภาพก่อนลงรถไปไม่พอ หันมาตะโกนขอบคุณซ้ำอีกครั้ง

ศธ.จัดทัพการเรียนการสอนใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รองรับเปิดเทอมเพื่อดึงเด็กกลับสู่ระบบการศึกษาให้ได้มากที่สุด

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าจัดกระบวนการเรียนการสอนใหม่ รองรับเปิดเทอม ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ พร้อมดึงเด็กนักเรียนกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาให้ได้มากที่สุด

(29 ต.ค. 65) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในรายการคุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า...

ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ส่งผลกระทบให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป โดยเฉพาะระบบการศึกษา เนื่องจากต้องมีการปิดการเรียนการสอน รัฐบาลจึงหาแนวทางโดยจัดวัคซีนมาฉีดให้กับครูเป็นกลุ่มแรก เพื่อให้ทันต่อการเปิดภาคเรียน จากนั้นทยอยนำวัคซีนมาฉีดให้กับเด็ก จนปีการศึกษาที่ผ่านมาสามารถเปิดเรียนได้ถึง 100% 

‘เพื่อไทย’ รับหนังสือจากเครือข่ายภาคประชาชน เสนอ นศ.เรียนพร้อมฝึกงาน ลดรายจ่ายผู้ปกครอง

(24 ม.ค. 66) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ โฆษกพรรค นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ส.ส.เลย และผู้ประสงค์ลงสมัครรับการเลือกตั้ง ส.ส. กทม. ประกอบด้วย น.ส.เพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ เขตยานนาวา-บางคอแหลม นายศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร เขตธนบุรี และนายขจรศักดิ์ ประดิษฐาน เขตห้วยขวาง-วังทองหลาง รับมอบหนังสือจากเครือข่ายภาคประชาชน สำนักความคิด (ประเทศไทย) เครือข่ายลมใหม่ นำโดยนายพิษณุวัฒน์ สิงห์ชัย ประธานเครือข่าย เสนอนโยบายด้านอาชีพเพื่อสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ 

นายพิษณุวัฒน์ กล่าวว่า ภายหลังที่พรรคพท.ได้เปิดนโยบายเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน และเงินตอบแทนปริญญาตรีขั้นต่ำ 25,000 บาทต่อเดือน ทางกลุ่มภาคประชาชนที่ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษาสายอาชีพ เล็งเห็นว่าพรรคเพื่อไทยน่าจะเป็นพรรคที่ทำตามนโยบายได้จริง จึงได้รวบรวมคิดเป็นนโยบายมานำเสนอ ตั้งแต่นโยบายสายอาชีพมีรายได้ คือการส่งเสริมให้บริษัทเอกชนรับนักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส.เข้าฝึกงานจริงตามสายอาชีพ ให้เรียนไปทำงานไปมีรายได้ตั้งแต่ 6,000 บาทขึ้นไป การสนับสนุนสวัสดิการคนวัยเริ่มงาน ด้วยการอุดหนุนค่าอินเทอร์เน็ต รถเมล์ฟรี นอกจากนี้กลุ่มนักเรียน นักศึกษาหรือแม้แต่ผู้สูงอายุ ควรได้โอกาสเข้าอบรมฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ฟรีในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกด้วย

'ตรีนุช' ออกประกาศ ยกเลิกระเบียบทรงผมนักเรียน ให้ทุกฝ่ายของสถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม

( 24 ม.ค. 66) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่มีเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการลงโทษเรื่องทรงผมได้ส่งผลถึงร่างกายและจิตใจของนักเรียน ศธ.จึงได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้ให้ความเห็นว่า รมว.ศธ.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติได้

ดังนั้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ตนจึงได้ลงนามในระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 และเสนอสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วออกเป็นหนังสือสั่งการหรือหนังสือเวียน กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนหรือนักศึกษาไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่เป็นผู้กำกับดูแลสถานศึกษา กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไปกำหนดเป็นระเบียบ หรือข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ละแห่งเอง

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษา ไว้ดังนี้

1.) การไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด ศธ. และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ. จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ โดยสถานศึกษาอาจกำหนดลักษณะทรงผมได้ตามพันธกิจ บริบท และความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา

2.) สถานศึกษาในสังกัด ศธ.และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ.อาจดำเนินการกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับไว้ทรงผมของนักเรียนได้ โดยการวางระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษา และควรระบุบทอาศัยอำนาจของกฎหมายเฉพาะมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามหลักการมีส่วนร่วม เช่น นักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง หรือ ผู้แทนผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่น บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นใดที่หัวหน้าสถานศึกษาเห็นสมควร เป็นต้น

รัฐบาลประกาศ 'เด็กท้องต้องได้เรียน' เพื่อโอกาสทางการศึกษา ย้ำ!! ครู ต้องมีจรรยาบรรณ ช่วยประคองเด็กได้เรียนต่อเนื่อง

(19 ก.พ. 66) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ราชกิจจานุเบกษา (18 กุมภาพันธ์ 2566) ได้เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษา ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยมีความว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษา และการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 

ข้อ 7 สถานศึกษาตามข้อ 2 ที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ในสถานศึกษา ต้องไม่ให้นักเรียนหรือนักศึกษานั้นออกจากสถานศึกษาดังกล่าว เว้นแต่เป็นการย้ายสถานศึกษา ตามความประสงค์ของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น

‘มัธยมวัดธาตุทอง’ ประกาศ ไว้ทรงผมนักเรียนตามเพศวิถี ขอแค่ดูเหมาะสม เรียบร้อย ‘ไม่ย้อมสีผม-ไว้หนวดเครา’

โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทองออกระเบียบทรงผมนักเรียน หลัง รมต.ตรีนุชปลดล็อกก่อนหน้านี้ นักเรียนชาย หญิง และเพศวิถี ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ แต่ให้เหมาะสมและเรียบร้อย ห้ามย้อมสีผม และห้ามไว้หนวดไว้เครา ขณะที่อินฟลูเอนเซอร์การเมืองชมเปาะ ใจกว้างรับความหลากหลายของนักเรียน

วันนี้ (21 ก.พ.66) รายงานข่าวแจ้งว่า งานกิจการนักเรียน งานโสตทัศนศึกษา กลุ่มบริหารทั่วไป โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ได้ออกระเบียบทรงผมนักเรียน โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง พ.ศ. 2566 ระบุว่า

ข้อ 1 นักเรียนต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผม โดยสามารถไว้ทรงผมตามเพศวิถี ดังนี้

(1) นักเรียนชาย และเพศวิถีชาย จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาว ด้านข้าง ด้านหลัง ด้านหน้า และกลางศีรษะ ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย

(2) นักเรียนหญิง และเพศวิถีหญิง จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสม และรวบผม ติดโบโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทองให้เรียบร้อย

ข้อ 2 นักเรียนต้องห้ามปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผม ดังนี้

(1) ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม
(2) ไว้หนวดหรือไว้เครา
(3) การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย

ประกาศดังกล่าวได้รับเสียงชื่นชมจากชาวเน็ต รวมทั้งอินฟลูเอนเซอร์การเมือง เช่น เฟซบุ๊ก ‘Jessada Denduangboripant’ ของ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอมเมนต์ว่า “สุดยอดครับ ขอชื่นชมโรงเรียน ที่เปิดใจกว้างรับความหลากหลายของนักเรียนนะครับ เชื่อสิ ผลการเรียนที่ดีหรือไม่ดี มันไม่เกี่ยวกับทรงผมนักเรียนหรอก มันเกี่ยวกับความตั้งใจเรียนของเด็ก และความตั้งใจสอนของครูครับ”

ขณะที่เฟซบุ๊ก Kath Khangpiboon ของ อ.เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คอมเมนต์ว่า “ยินดีกับนักเรียนทุกคนค่ะ การได้มาเรียนที่นี่ก็เป็นความสำเร็จแล้วค่ะ”

‘ตรีนุช’ กำชับจัดสอบรับนักเรียน ต้องโปร่งใส-ยุติธรรม ย้ำ! ไม่ต้องกังวล มีที่เพียงพอ สำหรับนักเรียนทุกคน

‘ตรีนุช’ กำชับโรงเรียนแข่งขันสูงจัดสอบโปร่งใส ยุติธรรม ไม่มี ‘แป๊ะเจี๊ยะ’ แลกที่นั่งเรียน ฝากผู้ปกครอง-นักเรียนหากสอบไม่ติดโรงเรียนดัง มั่นใจลูกมีที่เรียนแน่นอน

(7 มี.ค.66) น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ใกล้ถึงช่วงเวลาการรับนักเรียนเข้าเรียน ปีการศึกษา 2566 แล้ว โดยรับสมัครเข้าเรียนชั้น ม.1 วันที่ 11-12 มีนาคม 2566  สอบ/คัดเลือก 25 มีนาคม  2566 ประกาศผลและรายงานตัว 29 มีนาคม 2566 มอบตัว 1 เมษายน 2566  ส่วนชั้น ม.4 ที่เปิดสอน ม.ต้น และ ม.ปลาย นักเรียนที่จบชั้น ม.3 โรงเรียนเดิม สมัครเข้าเรียนตามที่โรงเรียนกำหนด ประกาศผลและรายงานตัวตามที่โรงเรียนเดิมกำหนด  มอบตัว 2 เม.ย. สมัครสอบคัดเลือก (นักเรียนที่จบ ม.3)จากโรงเรียนอื่น และโรงเรียนเดิม วันที่ 11-15 มีนาคม สอบ/คัดเลือก 26 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัว 30 มีนาคม มอบตัว 2 เมษายน และโรงเรียนที่เปิดสอนเฉพาะ ม.ปลาย (ยกเว้นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) รับสมัคร 11-15 มีนาคม สอบ/คัดเลือก 26 มีนาคม  ประกาศผลและรายงานตัว 30 มีนาคม มอบตัว 2 เมษายน  2566 

“ตนได้กำชับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ดูแลการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนแข่งขันสูงที่มีกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ให้โรงเรียนจัดขบวนการจัดสอบด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม ไม่มีการใช้เงินแลกที่นั่งเรียน  และหากมีการร้องเรียนมา ศธ.ก็จะดำเนินการตรวจสอบ หากพบใครทำผิดก็จะดำเนินการตามระเบียบขั้นสูงสูด” น.ส.ตรีนุช กล่าว


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top