Saturday, 27 April 2024
นวัตกรรม

‘ม.เกษตร’ จัดงาน! “ชวน เช็ค ชิม ช็อป แชร์ผลิตภัณฑ์ดี นวัตกรรมเด่น” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลอย่างยั่งยืน!! พบกัน 21-22 ธันวาคม 2564 นี้

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์  อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เปิดเผยถึง การจัดงาน “ถ่ายทอดนวัตกรรมการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลอย่างยั่งยืน” ว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลสัมฤทธิ์ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย หรือที่รู้จักกันในนามของ U2T 

ส่วนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับผิดชอบ 17 Cluster ในพื้นที่ดำเนินการ 27 จังหวัด 140 ตำบล ครอบคลุมทั้ง 6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งแต่ละพื้นที่ได้นำผลิตภัณฑ์ดี นวัตกรรมเด่น ทั้งของอุปโภค บริโภค มาจัดแสดงและจัดจำหน่าย ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2564 จึงขอเชิญชวนประชาชนได้เข้ามาร่วม เช็กอิน ชมนวัตกรรม ชิม ช็อป และ แชร์ หรือบอกต่อผลิตภัณฑ์ของชุมชนในพื้นที่ U2T ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีคุณภาพ สามารถนำไปเป็นของใช้ และของฝากในช่วงเทศกาลได้  อีกทั้งผู้มาร่วมงานยังจะได้รับแจกกล้าไม้พันธุ์ดีที่ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมป่าไม้ด้วย

ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ดำเนินโครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ” ทั้งส่วนการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษาให้มีงานทำ และร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ให้เกิดการพัฒนาทักษะในการเสริมสร้างอาชีพใหม่ในพื้นที่ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยเน้นการพัฒนาชุมชนผ่านการดำเนินกิจกรรม 4 ด้านหลัก คือ 1. ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. ด้านการท่องเที่ยว 3. ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ และ 4. ด้านการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม มีระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน ซึ่งเป็นผลให้เกิดการจัดงาน"ถ่ายทอดนวัตกรรมการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลอย่างยั่งยืน"

 

 

 

นายกฯ ยินดี EEC ขยายความร่วมมือต่างประเทศ ยกระดับเทคโนโลยี-นวัตกรรม มุ่งสู่อุตฯ อัจฉริยะ

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบและยินดีกับความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับภาคเอกชนชั้นนำจากต่างประเทศ เพื่อร่วมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนชั้นนำต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยล่าสุด ผู้นำเอกชนจากสวิตเซอร์แลนด์ และเกาหลีใต้ กระชับความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในพื้นที่ EEC ด้านการแพทย์ และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ 

“โดยผู้นำเอกชนสวิตเซอร์แลนด์ บริษัท เอบีบี ออโตเมชั่น จํากัด (ประเทศไทย) บริษัท เอบีบี อิเล็คทริฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (ABB) บริษัท โรช ไทยแลนด์ (Roche) และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลจากความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยผลักดันและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล 5G ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างมีศักยภาพมากขึ้น” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

ผู้บริหารบลูเทค ซิตี้ ร่วมลงนามบันทึกการส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ภายใต้ BCG โมเดล

วันนี้ (26 ก.ค.65) เวลา 13.00 น. ที่ห้องโชคอนันต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานและร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ภายใต้ BCG โมเดล กับศาตราจารย์(วิจัย) ดร.ชุติมาเอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ นายวิบูลย์พึงประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย นางสมจิตร์พันธุ์สุวรรณ นายกเทศมนตรี ตำบลท่าข้าม และนางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทราบลูเทคซิตี้

ซึ่งความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นการบูรณาการร่วมกันส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชน โดยขับเคลื่อนพื้นที่ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับ BCG โมเคล โดยจะร่วมมือกันในการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ วัสดุเหลือทิ้ง และการจัดการขยะชุมชนให้เป็น "Zero waste" ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรารวมไปถึงการแปรรูปขยะให้เกิดประโยชน์กับภาคการเกษตร อันจะทำให้เกิดการพัฒนายกระดับให้เกษตรกรและชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

บริษัทญี่ปุ่นผุดไอเดีย ‘เครื่องซักคน’ แค่นอนเฉย ๆ ไม่ต้องเหนื่อยถู

บริษัทเทคโนโลยีญี่ปุ่น ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมห้องน้ำและห้องครัว ออกมาเผยแผนการผลิต ‘เครื่องซักคน’ เพิ่มความสะดวกสบายเอาใจผู้บริโภคที่ขี้เกียจถูตัว ต่อจากนี้แค่นอนเฉย ๆ ไม่ต้องลำบาก เดี๋ยว AI อาบให้!

อันที่จริงคอนเซปต์เครื่องซักคนไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อหลายสิบปีก่อนนี้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่อย่าง ‘ซันโย อิเล็กทริก’ เคยนำเครื่องซักคนตัวต้นแบบที่เรียกว่า ‘Ultrasonic Bath’ ออกมาเปิดตัวในงาน Osaka Expo เมื่อปี 1970 มาแล้ว พร้อมโฆษณาว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วย ‘ล้างทำความสะอาด นวดตัว และเป่าแห้งโดยอัตโนมัติ เสร็จสรรพภายใน 15 นาที’

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังไม่เคยถูกพัฒนาจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายในท้องตลาดมาก่อน

ล่าสุด บริษัท ไซเอนซ์ จำกัด (Sciences Co. Ltd.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครโอซากา ได้ประกาศแผนสร้างและผลิตเครื่องซักคนรุ่นใหม่ที่ใช้งานได้จริงภายใต้ชื่อ ‘Project Usoyaro’ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้ภายในปี 2025

นวัตกรรมสุดล้ำเปลี่ยน ‘ศพ’ ให้เป็น ‘ปุ๋ยมนุษย์’ | THE STATES TIMES Y WORLD EP.26

หากการตายของเรานั้นสร้างประโยชน์ให้กับธรรมชาติ กับนวัตกรรมสุดล้ำเปลี่ยน ‘ศพ’ ให้เป็น ‘ปุ๋ยมนุษย์’

.

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World x SEED THAILAND

ม.วลัยลักษณ์ ผลิตระบบตรวจจับแกนไม้ยางพารา สำเร็จ!! ช่วยลดต้นทุนให้โรงงานแปรรูป 5 แสนบาทต่อเดือน

กองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชม พร้อมติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบตรวจจับแกนไม้บนภาพหน้าตัดท่อนซุงไม้ยางพารา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ 

โดยนายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมคณะผู้บริหาร ได้ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเยี่ยมชมและติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบตรวจจับแกนไม้ บนภาพหน้าตัดท่อนซุงไม้ยางพารา โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกและเชื่อมต่อกับระบบโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา ของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลฯ เมื่อปี 2563

ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลฯ เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมโครงการฯ ว่า กองทุนฯ ถือเป็นจุดกระตุ้นให้นักวิจัย ได้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ซึ่งหลังจากได้เห็นความคืบหน้าของโครงการฯ ที่ได้รับทุนสนับสนุน ถือว่าประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ อีกทั้งงานวิจัยดังกล่าวยังสามารถต่อยอด พัฒนาไปสู่การแก้ปัญหาในด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย

เจริญชัย หนุน ENTEC ” ร่วมวิจัยนวัตกรรม นำเทคโนโลยี AI สร้างมูลค่าเพิ่ม น้ำมันปาล์ม สู่ น้ำมันหม้อแปลง เกรด พรีเมียม สู่ตลาด BCG ที่แรกของโลก

บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ร่วมมือวิจัยนวัตกรรมกับ ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยการพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม และนำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model)


ดร. บุญญาวัณย์ อยู่สุข หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าว  ขอขอบคุณทางบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ที่ร่วมโครงการวิจัยครั้งนี้และขอขอบคุณความร่วมมือจากผู้ร่วมทุนในหลายภาคส่วนที่เป็นองค์กรหลักในอุตสาหกรรมน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า ตั้งแต่ผู้ที่มีศักยภาพในการผลิตและจำหน่ายน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ ผู้ใช้งานหลักของหม้อแปลงไฟฟ้าของประเทศอย่างการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมทั้งหน่วยงานจัดทำมาตรฐานสินค้าของประเทศ  เรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนผลงานวิจัยและผลักดันให้เกิดการใช้งานผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์ม   เชิงพาณิชน์อย่างแพร่หลายภายในประเทศของเรา ความร่วมมือนี้จะส่งผลให้การดำเนินวิจัยเป็นไปอย่างครบวงจร มีแผนและผลการดำเนินงานที่ชัดเจน ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีแนวทางการขับเคลื่อนผลการวิจัยให้สามารถไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจร


ดร.ศุภกิตติ์  โชติโก อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ การวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม นำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน จะช่วยยกระดับให้ผลผลิตทางการเกษตรถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรมมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ รวมทั้งช่วยกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ทางด้านสนับสนุนเกษตรกรปาล์มน้ำมัน และเป็นแนวทางหลักที่สามารถนำพาปาล์มน้ำมันไทยไปสู่จุดมุ่งหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการวิจัยนี้มีเป้าหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG (BCG Economy Model) โดย สร้างฐานข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของประเทศต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการส่งเสริมการใช้งานภายในประเทศและ  การทำตลาดในต่างประเทศ อีกทั้งยัง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ให้มีศักยภาพในการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างและผลักดันอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมาตรฐานคุณภาพและมีมูลค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมเดิมจากพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย 

‘นักวิจัยไทย’ เจ๋ง!! คิดค้น ‘ปุ๋ยไอออนิค’ จากการเคลือบพอกสำเร็จ ช่วยลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิต การันตีด้วยรางวัล ‘นวัตกรรมโลก’ จากสวิสฯ

(11 พ.ค. 66) ขอแสดงความยินดีกับ คุณฝนธิป ศรีวรัญญู CEO บริษัท ไอออนิค จำกัด ผู้นำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี และปุ๋ยชีวภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนนักวิจัยไทย โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช. นำปุ๋ยนวัตกรรมการเคลือบพอก เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต คว้ารางวัล ‘นวัตกรรมโลก’ Silver Medal ในงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ‘The 48th Internaional Exhibition of Inventions Geneva’ จัดขึ้นวันที่ 26-30 เมษายน 2566 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมีนักประดิษฐ์นักวิจัยนำผลงานเข้าประกวดและจัดแสดงมากกว่า 1,000 ผลงานจากนานาชาติกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

นวัตกรรมเคลือบพอกเม็ดปุ๋ยด้วยสารเสริมประสิทธิภาพ เป็นการนำประโยชน์จากเวสท์อุตสาหกรรม ประเภทไม่เป็นอันตราย (non hazardous) อาทิ กากถั่วเหลือง, กากงา, กากชา, กากกาแฟ กากตะกอนนม และกากตะกอนชีวภาพจากระบบบำบัด นำมาตรวจ วิเคราะห์ ค่าธาตุอาหาร พัฒนาเป็นปุ๋ยสูตรคุณสมบัติพิเศษ ทดลองใช้กับพืช โดยวัดเปรียบเทียบค่าสารอาหาร เช่น ค่าโปรตีน ค่าธาตุอาหารหลัก ค่าวิตามิน และค่าไลโคปีน มีระดับค่าสูงขึ้นอย่างเห็นผล

จุดเด่น ‘ปุ๋ยไอออนิค’ ที่คว้าได้รางวัลนวัตกรรมโลก ได้แก่

- เพิ่มผลผลิต 25% ด้วยนวัตกรรมในการเคลือบพอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปลดปล่อยธาตุอาหาร ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารครบถ้วน
- ลดต้นทุนการผลิตได้ 30-40% ประหยัดการใช้เคมี
- สามารถผลิตได้ทุกสูตร ตามสภาพพื้นที่ ตามความต้องการพืช
- ลดกากอุตสาหกรรม และลดก๊าซ co2
- ธาตุอาหาร ค่าวิตามินในผลผลิต สูงขึ้น 30%

‘Thai Startup’ ผนึกกำลัง 200 องค์กร หนุนสตาร์ทอัพไทย ปรับโครงสร้างตลาด ดันไทยสู่ประเทศผู้นำนวัตกรรม-เทคโนโลยี

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 66 ในวาระครบรอบ 9 ปี สมาคม Thai Startup ประกาศผลงานความสำเร็จในการขับเคลื่อนระบบนิเวศน์สตาร์ทอัพ พร้อมจับมือพันธมิตรกว่า 200 องค์กรขับเคลื่อน เศรษฐกิจนักสร้าง (Makers Economy) นวัตกรรมไทย (Thai Innovation) และ การทำ Digital Transformation อย่างต่อเนื่อง

โดยในงานมีสตาร์ทอัพไทย ทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ มากกว่า 500 ราย และหุ้นส่วนพันธมิตรที่เกี่ยวข้องจากทางภาครัฐและเอกชนกว่า 200 รายที่มีส่วนในการขับเคลื่อนระบบนิเวศน์เข้าร่วม

ผศ.ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคม Thai Startup เปิดเผยข้อมูลว่าปัจจุบันสมาชิกกว่า 200 รายของสมาคมมีผลประกอบการรายได้รวมกันมากกว่า 1 พันล้านบาท เติบโตโดยเฉลี่ย 2.5 เท่าต่อปี และมีผู้ใช้รวมกันมากกว่า 35 ล้านคน มียูนิคอร์น (มูลค่าบริษัทมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท) 3 คือ Flash Express Bitkub และ LINE MAN Wongnai และมีบริษัทที่มีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านคนอีก 11 บริษัท

ในส่วนของผลงานที่ผ่านในระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมาของคณะกรรมการวาระ 2022-2023 สมาคมฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อสมาชิก และช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยร่วมกับ 200 องค์กรไปแล้วกว่า 50 งาน

ด้านคุณแคสเปอร์-ธนกฤษณ์​ เสริมสุขสัน อุปนายกและประธานฝ่ายกลยุทธ์ ประกาศกลุยทธ์ 5 หา (HAHA) ในการช่วยขับเคลื่อนระบบนิเวศน์นวัตกรรมไทยร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อช่วยบริษัทสตาร์ทอัพไทย และบุคคลที่สนใจขับเคลื่อนเศรษฐกิจผู้ผลิตนวัตกรรม ได้แก่

หาตลาด : จัดทำเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงตลาดในทุกภูมิภาคในประเทศไทย ต่อยอดเครือข่ายใน ASEAN และตลาด Emerging Market รวมถึงตลาดภาครัฐ (B2G)

หาทุน : ต่อยอด Grant Day สร้างศูนย์ข้อมูลทุนภาครัฐในการเริ่มต้นและสร้างธุรกิจ รวมถึงจัดทำเครือข่ายและฐานข้อมูลของนักลงทุน Angel และ VC

หาคน : จัดทำ Startup Talent Pool และพัฒนาบุคคลากรและผู้ประกอบการจากทั้งในและต่างประเทศ

หาเพื่อน : ขยาย community จัดทำ Thai Startup Regional Hub และ สภาสตาร์ทอัพ ASEAN & Emering Markets รวมถึงจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายผู้ผลิตนวัตกรรมจากเอกชนและภาครัฐอื่น

หาทางออก : ขับเคลื่อนแก้กฏหมาย และนโยบายที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ และจัดกิจกรรมเพื่อสังคมโดยใช้นวัตกรรมและกระบวณการทำ startup ต่อไป

หนึ่งในข้อเสนอที่สมาคมจัดทำและนำเสนอในงาน คือ Concept Paper ซึ่งรวบรวมข้อเรียกร้องที่ในนามสมาชิก นำเสนอไปยังภาครัฐเพื่อให้เป็นผู้สนับสนุน (Enabler) ในวงการสตาร์ทอัพ โดยคุณรับขวัญ ชลดำรงค์กุล อุปนายกและประธานฝ่ายกฎหมาย นำเสนอผลการศึกษาว่า ในปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 35 หน่วยงานที่ภายใต้กรอบกฎหมาย มีเครื่องมือพร้อมสนับสนุน Startup ทั้งในแง่โครงสร้างพื้นฐาน ตลาดภายใน-ต่างประเทศ การสร้างกำลังคน การสนับสนุนเงินให้เปล่า เงินลงทุน และสุดท้ายในแง่การกำจัดอุปสรรคด้านกฎหมาย พร้อมข้อเสนอ quick-wins ที่ทางสมาคมอยากนำเสนอ เช่น Open Data, 1 หน่วยงาน 1 Startup และ Guillotine กฎหมาย โดยสมาคมพร้อมสนับสนุนทุกโครงการที่ภาครัฐฯ จะทำและขับเคลื่อน

โดยในงาน Makers United 2023 ได้มีกิจกรรมอื่นๆ ดังนี้

- เปิดเวทีให้ความรู้โดยเหล่าผู้คร่ำหวอดวงการใน startup แนะนำเทคนิคและเบื้องลึกวงการสตาร์ทอัพตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นจนถึงประสบความสำเร็จ (Idea to Exit)
- เปิดตัวหนังสือ The Startup Mindset  29 แนวคิด จาก Startup Founder โดยคุณแคสเปอร์ คนไทยคนแรกที่ได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับ Warren Buffett
- เปิดตัวโครงการ Scaleup 99 ในโอกาสครบรอบ 90 ปีหอการค้าไทย Thai Chamber และ 9 ปีสมาคม Thai Startup
- มอบรางวัล 1 Million Club ให้กับสมาชิกสตาร์ทอัพที่มีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านคน
- มอบรางวัล Friends of Makers Awards 10 สาขาให้กับพันธมิตรและบุคคลที่ทำงานร่วมกับสมาคมในการขับเคลื่อนระบบนิเวศน์ผู้ผลิตนวัตกรรมของไทย

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของ สมาคม Thai Startup ในการเปลี่ยนประเทศไทยจากประเทศผู้บริโภคนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Nation of Users) ให้เป็นประเทศผู้ผลิตนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Nation of Makers) โดยได้รับการสนับสนุนจาก Globish โกลบิช ภาษาอังกฤษสำหรับวัยทำงาน, AIS The Startup, Accrevo, QGEN, DBC, A2D Ventures, really Corp. (The Startup Mindset Book), LawxTech, iNT Mahidol, iTAX, Beacon Venture Capital, สมาคม Thai Venture Capital Association - TVCA, QueQ, LINE Thailand - Official, Witsawa, Zipevent, Kudun and Partners, Datawow และ Zeek Nurse

ติดตามข้อมูลสาระสำคัญต่างๆ ได้ทาง
Website : www.thaistartup.org
Facebook : https://www.facebook.com/thaistartupofficial

‘รติวรรธน์ หงส์พนัส’ เยาวชนคนเก่งจาก สาธิต มศว ปทุมวัน รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ ด้วยผลงาน ‘Meso Go Around’

เมื่อวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก กรุงเทพฯ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี

ในการนี้มีนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (สาธิต มศว ปทุมวัน) ได้เข้ารับประกาศนียบัตรจากการเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยในงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva” ระหว่างวันที่ 26 – 30 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ด้วยผลงาน "บอร์ดเกมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ Meso Go Around เจาะเวลา ค้นหาอารยธรรมเมโสโปเตเมีย" ซึ่งเป็น 1 ใน 23 ผลงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประกวด และได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากการเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ คือ นายรติวรรธน์ หงส์พนัส นักเรียนจากชั้น ม.5/151 

THE STATES TIMES ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนคนเก่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top