Thursday, 23 May 2024
ถ่ายทอดสดบอลโลก

ปิดดีล 1,400 ล้าน ลิขสิทธิ์บอลโลก คนไทยได้ดูถ่ายทอดสด ครบ 64 แมตช์

การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผย ไทยบรรลุข้อตกลงการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 กับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) จำนวน 64 แมตช์ เรียบร้อยในมูลค่าประมาณ 1,400 ล้านบาท

(17 พ.ย. 65) ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผยว่า กกท. ได้บรรลุข้อตกลงการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 กับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) จำนวน 64 แมตช์ เรียบร้อยแล้วในมูลค่า 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยต้องขอบคุณ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่ประสานงานภาคเอกชนจนสำเร็จดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเซ็นสัญญากับฟีฟ่า และดำเนินการเรื่องการเตรียมการถ่ายทอดสด

หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนวิจัย และพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) ให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพื่อถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ระหว่างวันที่ 20 พ.ย.-18 ธ.ค.65 ในกรอบวงเงิน 600 ล้านบาท จากจำนวนเต็ม ที่ กกท. เสนอขอรับการสนับสนุนไป 1,600 ล้านบาท ทำให้ กกท. ต้องหาภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนอีก 1,000 ล้านบาท โดยเวลานี้มีภาคเอกชนยักษ์ใหญ่ 3  บริษัท สนับสนุนเงินราว 400 ล้านบาท

ยก ‘ลุงป้อม’ คีย์แมนสำคัญปิดดีลบอลโลก ให้คนไทยได้ดูสดครบทุกแมตช์ทางฟรีทีวี

แฟนบอลชาวไทย ปรบมือดังๆ ‘ลุงป้อม’ ทำได้  คนไทยได้ชมฟุตบอลโลกสด ครบทุกแมตช์ช่องฟรีทีวี  ยอมรับภาวะผู้นำ แก้ปัญหา/ประสานงาน รวดเร็วได้ผล เข้าถึงความรู้สึกประชาชน

พล.ท.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผู้ช่วยโฆษก รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับทราบกระแสแฟนบอลชาวไทยทั่วประเทศ มีความรู้สึกพอใจ และดีใจอย่างยิ่ง ที่จะได้รับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ณ ประเทศกาตาร์ ครบทั้ง 64 นัด ได้ทันเวลา ผ่านฟรีทีวี ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย.-18 ธ.ค.65 นี้ พร้อมกับแฟนบอลประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลมาจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี /ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ ได้มอบนโยบายให้ การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. (ดร.ก้องศักด ยอดมณี  ผู้ว่าฯ กกท.) ประสานงาน กับตัวแทนสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า (FIFA) จนได้ข้อยุติแล้ว โดยใช้งบประมาณสำหรับลิขสิทธิ์ เพียง 1,400  ล้านบาท ภายหลังจากการเจรจาต่อรอง สามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 200 ล้านบาท (จากเดิมลิขสิทธิ์ 1,600 ล้านบาท) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กสทช.และมีภาคเอกชนของไทย ให้การสนับสนุนร่วมด้วย ตามที่ กกท.ได้เสนอข่าวไปแล้ว

'เพจพี่ยุทธ์' ลั่น!! ใครพาดพิงช่อง 3 "ผมบล็อก" หลังเจอชาวเน็ตแซะ พูดเอื้อประโยชน์ให้ช่อง 3

‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ ชี้ลิขสิทธิ์บอลโลกซื้อแพงขนาดนี้ก็ควรได้ดูคุณภาพดี ๆ เสนอใช้ช่อง HD ออกอากาศคู่ขนาน ถ้าขัดแย้งกับทรูถ่ายช่องของรัฐก็ได้ เจอชาวเน็ตพาดพิงว่าเอื้อประโยชน์ให้ช่อง 3 เจ้าตัวลั่นถ้าใครพูดถึงช่อง 3 ทำไมไม่จ่ายอีก ผมบล็อก

วันนี้ (21 พ.ย.) เฟซบุ๊ก ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว’ ของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ดำเนินรายการเรื่องเล่าเช้านี้ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และที่ปรึกษาด้านข่าว บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด โพสต์ข้อความหัวข้อ ‘ซื้อแพงขนาดนี้ ก็ควรได้ดูคุณภาพดีๆ หรือว่าไงครับ’

โดยระบุว่า "ในฐานะประชาชนคนดูบอล เมื่อ กสทช.อนุมัติเงินกองทุน 600 ล้านให้การกีฬาฯ ซื้อลิขสิทธิ์ ‘บอลโลก 2022’ ก็น่าจะหาทางเจรจาให้ประชาชนได้รับชมการถ่ายทอด ‘ทุกนัด’ ด้วยคุณภาพระดับ HD (High Definition : ความคมชัดสูง)

ทรู ยอมให้ ทีวีดิจิทัลถ่ายบอลโลกแบบคู่ขนานแล้ว ด้าน กกท. วอน ทรู ปลดล็อกดูได้ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์

กสทช. เผย ทรู ยอม ทีวีดิจิทัล ถ่ายบอลโลก 2022 แบบคู่ขนาน จำนวน 16 นัด ให้ กกท. จัดสรร ด้าน สมาคมฯก็พอใจกับข้อสรุปนี้ ขณะที่ ผู้ว่า กทท. วอน ทรูปลดล็อกให้ดูได้ทุกแพลตฟอร์มออนไลน์

(22 พ.ย. 65) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากได้มีการพิจารณาตามหนังสือที่ทางสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) ได้ยื่นมาสำหรับที่จะมีการขอให้ทบทวนการจับฉลากการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก (รอบสุดท้าย) 2022 อีกครั้งนั้น จึงได้มีการหารือร่วมกับทางการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน

‘ฟีฟ่า’ ขู่ ตัดสัญญาณถ่ายสดบอลโลก หลังพบสัญญาณหลุดไปโผล่ประเทศอื่น

‘บิ๊กก้อง’ ส่งหนังสือถึง ‘กสทช.’ หลังได้รับคำเตือนจาก ‘ฟีฟ่า’ พบสัญญาณการถ่ายทอดสดศึกฟุตบอลโลก 2022 จากประเทศไทย รั่วไหลไปสู่ประเทศอื่นๆ พร้อมสั่งให้เร่งแก้ไขโดยด่วน ขู่ถ้าไม่ทำตามตัดสัญญาณ หรือ ‘จอดำ’ ทันที 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา ‘บิ๊กก้อง’ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ในฐานะผู้ถือลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ได้ส่งหนังสือเรื่องขอความอนุเคราะห์แจ้งให้ดำเนินการเข้ารหัสสัญญาณให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation Internationale de Football Association – FIFA) หรือ ฟีฟ่า ไปยังเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ตามที่อ้างถึง การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ขอความอนุเคราะห์คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งขอความร่วมมือจากกลุ่มผู้ให้บริการวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ อันประกอบด้วย ผู้ให้บริการ Multiplexer DTT ทั้ง 5 MUX และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Cary (มัสต์ แครี) และผู้ให้บริการกล่อง STB คุ้มครองสิทธิการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) โดยเข้ารหัสสัญญาณและดำเนินการทำ OTA ของกล่องเครื่องรับระบบโทรทัศน์ดาวเทียม นั้น 

กกท. ได้รับแจ้งจากทางสหพันธ์ฟตุบอลนานาชาติ ว่า สัญญาณออกอากาศการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ในประเทศไทย ยังคงแพร่กระจายไปละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนของประเทศอื่น นอกเหนือลิขสิทธิ์ที่ได้รับตามข้อกำหนดของสหพันธ์ฯ

ทั้งนี้ สหพันธ์ฯ ได้ขอให้ผู้ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดของประเทศไทย ดำเนินการแก้ไขการเข้ารหัสสัญญาณ (Encryption) ที่ส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานของสหพันธ์ฯ โดยด่วนที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาสัญญาณการออกอากาศการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ในประเทศไทย ไปละเมิดลิขสิทธิ์ในดินแดนของประเทศอื่น ตามที่สหพันธ์ฯ แจ้งมา

กกท. ใคร่ขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือจาก กสทช. ดำเนินการแจ้งผู้ให้บริการ Multiplexer DTT ทั้ง 5 MUX และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Cary และผู้ให้บริการกล่อง STB คุ้มครองสิทธิการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

1. ให้ดำเนินการเข้ารหัส (Encryption) ในการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมตามมาตรฐานของ FIFA ซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ BISS CA Director หรือ Power/u

2. ในส่วนของ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ควบคุมระบบ Must Carry และผู้ให้บริการกล่อง STB จะต้องเข้ารหัส โดยไม่ใช่การดำเนินการในลักษณะ BISS 1 Simultcrypt เหมือนที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

3. ในกรณีที่ผู้ให้บริการใด ไม่สามารถเข้ารหัสให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สหพันธ์ฯ กำหนด มีความจำเป็นต้องตัดสัญญาณที่จะส่งไปเผยแพร่ผ่านผู้บริการนั้น ซึ่งต้องดำเนินการในลักษณะส่งข้อความขี้แจงข้อกำหนดการเผยแพร่ตามข้อกำหนดลิขสิทธิ์ที่ประเทศไทยได้รับ (หรือตามที่ผู้รับชมทั่วไปจะเข้าใจในลักษณะการขึ้น ‘จอดำ’)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top