Monday, 6 May 2024
ถนน

เวลาเปลี่ยน เมืองไทยเปลี่ยน: พัฒนาถนน 348 ตาพระยา - โนนดินแดง

พัฒนาถนน 348 ตาพระยา - โนนดินแดง ผ่านช่องตะโภ เชื่อมโยงเส้นทางสำคัญระหว่างภาคตะวันออก - อีสาน คู่ขนานกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งรูปแบบทางยกระดับและลอดใต้ผืนป่า เพื่อเปิดทางให้สัตว์ข้าม ไม่กีดขวางเส้นทางเดินของสัตว์ ยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งคนและสัตว์

สาวมาเลฯ แชร์ประสบการณ์ใช้ถนนเมืองไทยเลี่ยงรถติด ชี้ สภาพถนนดีแถมใช้ฟรี ประหยัดน้ำมัน ย่นเวลาเดินทาง

(3 ก.ค. 66) เพจเฟซบุ๊ก ‘World Forum ข่าวสารต่างประเทศ’ ได้เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางกลับบ้านโดยใช้ถนนประเทศไทยเพื่อเลี่ยงรถติด โดยระบุว่า…

🚗 สาวมาเลเซีย 🇲🇾 รีวิวการกลับบ้านโดยใช้ถนนเพื่อนบ้าน ประเทศไทย หลบรถติดจากเมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ ไปยังสุไหงโก-ลก เข้าชายแดนกลันตัน ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองด่านทุเรียนบูรุง
การเดินทางไปชายแดนสุไหงโก-ลก รัฐกลันตัน ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง 30 นาที จากชายแดนบ้านประกอบประเทศไทย 

เธอโพสต์ลงติ๊กต็อก ปัจจุบันมีคนเข้าชมมากกว่า 7 แสนคน เพราะใช้เวลาเดินทางไวกว่าเส้นทางปกติที่ต้องขึ้นภูเขาหลายลูก รถติด เธอยังรีวิวเส้นทางน่าสนใจ ขับง่าย มีของหลายอย่างขายตามข้างถนน เรื่องราวสื่อหลายสำนักในท้องถิ่นนำไปลงข่าวหลายสำนัก 

🚗โดยปกติผู้คนฝั่งเคดาห์ ผ่านประเทศไทย เข้ากลันตัน ด้วยเหตุผล 5 อย่าง (รีวิวผู้ใช้ก่อนหน้า) 
1.ใกล้กว่าเส้นทางปกติ 100 กม.
2.คุณภาพถนนไทย เหมือนทางหลวงมาเลเซียเสียเงิน
3.ระยะเวลาไวกว่า 2 ชม. หากเทศกาลอาจมากกว่า 
4.ถนนฟรี ไม่ต้องเสียเงิน 
5.ประหยัดน้ำมัน 50%

**หมายเหตุ 
-มีค่าผ่านแดน ตม. / ค่าประกันรถยนต์ 
-แต่รวมแล้วคุ้มกว่าเวลาปกติไวกว่า 2 ชม. หากเทศกาลในความเห็นบอก 12-24 ชม. ก็เคยมี

‘อ้วน รังสิต’ ท้อ!! ‘ถนนเข้าบ้านชำรุด’ ยื่นคำร้อง 3 ปี แต่ไม่คืบหน้า เผย ตัดสินใจยื่นซ้ำอีกรอบ หากยังไม่ได้คงต้องยอมแพ้

(5 ต.ค.66) ทำเอาพระเอกคุณพ่อลูกหนึ่งอย่าง ‘อ้วน รังสิต’ ถึงกับออกมาโพสต์ระบายความในใจ หลังต้องประสบปัญหา ทางเข้าบ้านชำรุด ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยยื่นเรื่องไปแล้วทั้งทางออนไลน์ รวมถึงเดินทางไปเองที่เขต แต่กลับไม่มีความคืบหน้า โดยจากคลิปวิดีโอที่เจ้าตัวได้ลงจะเห็นว่า ถนนค่อนข้างขรุขระ และมีน้ำขังเป็นจำนวนมาก

ภาพทางเข้าบ้าน ‘อ้วน รังสิต’ ถูกโพสต์ผ่านทาง IG auan_rangsit พร้อมแคปชันระบุว่า ยื่นคำร้องขอถนนมา 3 ปี ทั้งไปที่เขตและทางออนไลน์ฟองดูว์ แต่ยังไม่มีความคืบหน้า วันนี้ก็ไปยื่นเรื่องมาอีกรอบ ถ้ายังไม่ได้คงต้องยอมแพ้แล้วอยู่ไปแบบนี้แหละ #ความเจริญอยู่แค่เอื้อม #ถนนหน้าบ้านผมเอง #อยากมีถนนดีๆใช้บ้าง

จากนั้นก็มีแฟนๆ เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่แชร์ประสบการณ์เดียวกันกับที่เคยพบเจอ อาทิ “เหมือนกันเลยครับ หนองจอก กทม.สุวินทวงศ์ 51 รอมา 30 ปี ตั้งแต่ผมเกิด ตอนนี้ยังเป็นแบบนี้อยู่เลยครับ”, “น่าจะยากหน่อยนะคะ งบประมาณการทำถนนต้องดูว่ามีประชากรกี่หลังคาเรือนที่ได้รับผลกระทบ ดูแล้วเหมือนไม่มาก”

ก่อนที่จะมีผู้ใช้งานโซเชียลเข้ามาแนะนำว่า “ถ้าอยู่เขตกทม.ไปร้องคุณชัชชาติได้เลยค่ะ เช็กว่ามีประมาณกี่ครัวเรือนในซอยนี้ ถ้าอยู่ในเกณฑ์คงจะได้ แต่จะชอบพูดว่ารองบ แจ้งนักข่าวตีข่าวในโซเชียล พอคนสนใจมาก ได้แน่นอนค่ะ (และควรมีเสาไฟแสงสว่างด้วย)”

‘รองผู้ว่าฯ’ สงสัย!! เพราะ ‘โครงสร้างพัง’ หรือ ‘ขนหนักเกิน’ หลังเกิดเหตุ ‘ถนนยุบ’ กลืนรถบรรทุกหายไปเกือบทั้งคัน

(8 พ.ย.66) ที่ปากซอยสุขุมวิท 64/1 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากทม. พร้อมด้วย นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุฝาท่อปิดถนนทรุด ซึ่งมีรถสิบล้อตกลงไป เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ ซึ่งบ่อดังกล่าวเป็นบ่อร้อยสายไฟของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งต้องตรวจสอบว่าเป็นเพราะสาเหตุใดถึงยุบตัว โดยอาจเกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกิน ได้ติดต่อประสานทางหลวง มาตรวจวัดว่ารถบรรทุกดังกล่าวน้ำหนักเกินหรือไม่ รวมทั้งปัญหาของการปิดเปิดฝาที่เปิดไว้ เพื่อดำเนินการร้อยสายไฟลงดิน อาจมีปัญหาเรื่องความแข็งแรง

บรรยากาศช่วงหนึ่งของการลงพื้นที่ นายวิศณุ รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า บทสรุปตอนนี้จะมีการยกรถขนดินออก โดยมีการคุยว่าเราต้องชั่งน้ำหนักรถก่อน แต่เนื่องจากรถมีน้ำหนักเยอะ จึงจะต้องแยกชั่งน้ำหนักดินออกแล้วนำไปเก็บไว้อีกคัน ซึ่งตอนนี้สงสัยเรื่องการบรรทุกน้ำหนักเกิน ทำให้โครงสร้างถนนพัง หรือน้ำหนักปกติ แต่โครงสร้างเกิดการพังเอง ก็ต้องพิสูจน์กัน

“เรื่องนี้เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เราก็จะเก็บข้อมูล โดยการเอาตาชั่งเข้ามาวัด แต่เร่งด่วนที่สุดตอนนี้ คือเร่งเปิดการจราจร จะต้องมีการยกรถออก เสร็จแล้วการไฟฟ้านครหลวง ก็จะเสริมเสาบ่อใหม่ โดยใช้คานเหล็กใหม่เป็น 2 ตัว จากเดิมที่มีตัวเดียว ซึ่งตามการออกแบบมันเพียงพอ แต่ต้องเผื่อไว้ และปิดฝาบ่อ ซึ่งอาจจะเปิดการจราจรได้เร็วที่สุดภายในเย็นนี้ ให้ทัน เพราะรถจะติดมาก แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการจราจรเส้นนี้ ถ้าไม่จำเป็นก็หลีกเลี่ยงไปก่อน ตอนนี้จะรีบยกออกก่อน แล้วก็ปิดฝาบ่อให้ได้ เสริมโครงสร้าง แล้วก็เปิดการจราจร อันนี้คือเรื่องด่วนที่สุดแล้ว” นายวิศณุกล่าว

นายวิศณุ กล่าวอีกว่า เรื่องการดำเนินการเอาผิด ตอนนี้ก็ต้องดูเรื่องน้ำหนักรถบรรทุก ต้องเอาเครื่องชั่งที่กำลังเข้ามาชั่งว่า รถบรรทุกคันนี้น้ำหนักเท่าไหร่ เราก็เข้มงวดในเรื่องของการ ควบคุมน้ำหนักรถบรรทุก ความจริงแล้วตั้งแต่เกิดเหตุที่มักกะสันมา เราได้รับแจ้งเหตุจาก กรมทางหลวง แต่ กทม.ไม่มีเครื่องมือวัดน้ำหนักรถบรรทุก

“ช่วงระยะสั้น เร่งด่วนที่สุดเลย ก็ประสานงานขอความร่วมมือจากกรมทางหลวง และจะขอความร่วมมือไปยังกรมทางหลวงชนบทด้วย เพื่อขอทีม Mobile Unite หรือ หน่วยวัดเคลื่อนที่ ไปวัดตามจุดเสี่ยงที่จะเกิด เช่น ใกล้ไซต์งานก่อสร้าง ที่เราจะเข้มงวดกวดขันมากขึ้น” นายวิศณุ กล่าว

นายวิศณุ กล่าวอีกว่า บทลงโทษค่อนข้างแรง ตามกฎหมายพ.ร.บ.ทางหลวง การบรรทุกน้ำหนักเกินมีโทษรุนแรง ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่อยู่ภายความดูแลของ กทม. ก็คือเจ้าหน้าที่ทางหลวงท้องถิ่น หรือ เส้นทางที่อยู่ในพื้นที่ของกรมทางหลวง ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจะเป็นคนกำกับดูแล เราตรวจจับได้แล้วส่งตำรวจ ซึ่งตำรวจจะเป็นคนทำสำนวนเพื่อแจ้งข้อหาต่อไป โทษรุนแรง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top