Thursday, 16 May 2024
ตำรวจมีไว้ทำอะไร

‘อัษฎางค์’ แนะ!! ดัน ‘กม.-จริยธรรมสังคมไทย’ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่จับต้องได้เสียที

นักวิชาการอิสระ ยกออสเตรเลียเข้มงวดกฎหมายและจริยธรรมทางสังคม ช่วยให้อุบัติเหตุทางถนนน้อย แนะไทยถึงเวลาต้องปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายและจริยธรรมทางสังคมตั้งแต่บัดนี้

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “ทางม้าลายและรถพยาบาลฉุกเฉิน” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของออสเตรเลีย ระบุว่า เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นล้วนเป็นสิ่งที่อยู่ธรรมชาติและพิสูจน์หาความจริงไม่ได้ แต่คนไทยให้ความเคารพเชื่อถือและไม่กล้าแตะต้องหรือกระทำผิดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น ในขณะที่ออสเตรเลียและประเทศตะวันตกหรือประเทศชั้นนำของโลกมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่จับต้องได้ นั้นคือ กฎหมายและจริยธรรมทางสังคม

กฎหมายคือข้อบังคับ และจริยธรรมทางสังคมคือข้อควรปฏิบัติ เป็น 2 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวตะวันตกและประเทศที่พัฒนาแล้ว ทางม้าลายและรถพยาบาลฉุกเฉิน คือตัวอย่างของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเพราะเห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันในเรื่องของกฎหมายและจริยธรรมทางสังคมในประเทศที่พัฒนาแล้ว

“ผมอยู่ออสเตรเลียมา 20 ปี ภาพที่เห็นแล้วประหลาดใจและประทับใจนับตั้งแต่วันแรกๆ ที่มาอยู่จนถึงปัจจุบัน คือรถ ทุกคนพร้อมใจกันหยุดรถทันทีเมื่อมีคนย่างเท้าลงบนทางม้าลาย และรถทุกคันพร้อมใจกันชิดซ้ายทันทีที่ได้ยินเสียงไซเรนของรถพยาบาลฉุกเฉิน ในออสเตรเลีย อาจแทบจะพูดได้ว่า คุณสามารถเดินหลับตาหรือก้มหน้าดูมือถือในขณะที่เดินข้ามถนนบนทางม้าลายได้เลย เพราะรถที่วิ่งมาจะหยุดแบบทันทีทันใดเมื่อมีคนก้าวเท้าลงบนทางม้าลาย ผมไม่ได้บอกว่า ไม่เคยมีข่าวรถชนคนบนทางม้าลาย หรือข่าวรถชนกับรถพยาบาลฉุกเฉินเลย แต่ตลอด 20 ปีผมได้ยินข่าวนั้นเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้น ซึ่งนั้นคืออุบัติเหตุจริงๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการขับรถเร็ว เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ”

ในออสเตรเลีย ถ้าเป็นถนนเล็กหรือเป็นถนนที่การจราจรไม่คับคั่ง จะมีทางม้าลายให้คนใช้ข้ามถนน ซึ่งประชาชนทุกคน ถูกปลูกฝังให้จอดรถทันทีเมื่อมีคนย่างเท้าลงบนทางม้าลาย ถ้าเป็นถนนใหญ่หรือถนนที่มีการจราจรหนาแน่นมากๆ จะมีไฟสัญญาณเขียว-แดงสำหรับบังคับรถให้จอดเวลามีคนข้ามถนน รถที่วิ่งในเมืองจะใช้ความเร็วได้เพียง 50 กม./ชม. ส่วนในเขตที่เป็นชุมชนหนาแน่น เช่น กลางใจเมืองหรือหน้าโรงเรียนในเวลานักเรียนมาโรงเรียนหรือเลิกเรียน จะวิ่งรถได้เพียง 40 กม./ชม. เท่านั้น ซึ่งเรื่องความเร็วรถนี้คือ ปัจจัยสำคัญสำหรับการป้องกันอุบัติเหตุรถในซิดนีย์วิ่งได้เพียง 40-50 กม./ชม. แต่รถกลับไม่ติดวินาศสันตะโรเหมือนในกรุงเทพ และไม่เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงอย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร

ลุงกร้าว!! กำชับทำคดีบิ๊กไบค์ตรงไปตรงมา ยัน!!เรื่องนี้อยู่ที่คนไม่ใช่อยู่ที่กฎหมาย

(24 ม.ค. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามสื่อมวลชนตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มอบหมาย กรณีนายกฯ มีความคิดเห็นอย่างไรต่อกรณีที่มอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ชนคุณหมอเสียชีวิต และในทางคดีได้กำชับตำรวจอย่างไรนั้น 

เปิดประวัติ ‘หมอกระต่าย’ หมอจักษุคนเก่ง คนคุณภาพที่ต้องจากไปก่อนวัยอันควร 

แม้วันนี้ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ ‘หมอกระต่าย’ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจากโลกนี้ไป จากกรณีถูก ส.ต.ต นรวิชญ์ บัวดก ผบ.หมู่ กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (กก.1 บก.อคฝ.) ขี่บิ๊กไบค์ชนจนเสียชีวิต แต่เชื่อว่าวันนี้ชื่อของเธอน่าจะประทับอยู่ในหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ ในฐานะบุคลากรคุณภาพที่ประเทศชาติไม่ควรเสียไปอีกนานเท่านาน

1.) พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย เกิดเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2531 เป็นจักษุแพทย์เช่นเดียวกับคุณพ่อ นายแพทย์อนิรุทธ์ สุภวัตรจริยากุล มีลูกสาว 2 คน เป็นจักษุแพทย์ตามรอยคุณพ่อทั้งหมด

2.) หลังจากเรียนจบชั้นประถม หมอกระต่ายได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี รุ่นที่ 42 ก่อนกลับไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลสระบุรี

3.) หลังจากนั้นหมอกระต่าย ไปเรียนต่อเฉพาะทางจักษุวิทยา ที่ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ก่อนจะต่อยอดจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันอักเสบ และศึกษาต่อเฉพาะทาง ต่อยอดจอตาและวุ้นตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

4.) หมอกระต่าย กำลังจะเข้ารับราชการที่โรงพยาบาลตำรวจ แต่ต้องมาเสียชีวิตก่อนวันเกิดตัวเองด้วยอุบัติเหตุบนท้องถนน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top