Friday, 26 April 2024
ดรเอ้

เปิดใจ ‘เอ้ สุชัชวีร์’ ศึกชิงผู้ว่ากทม.! | Click on Clear THE TOPIC EP.110

📌เปิดอกหมดเปลือก!! ไปกับ ‘ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามพรรคประชาธิปัตย์!!

📌ใน Topic : เปิดใจ ‘เอ้ สุชัชวีร์’ ศึกชิงผู้ว่ากทม.!

จับประเด็น เน้นความรู้ในรายการ Click on Clear THE TOPIC

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

“จุรินทร์” โชว์วิชั่น กทม. เปิด 3 นวัตกรรม บริหาร ทั้ง ครม.กรุงเทพฯ-กรอ.กรุงเทพฯ​ และเกรทเตอร์ แบงค็อก

13​ มี.ค.65​ ณ ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงทิศทางแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อนำพากรุงเทพมหานครไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น ในงาน The 2 Leaders’ Visions “เศรษฐกิจประเทศ - เศรษฐกิจเมือง” ที่จัดขึ้นที่พรรคฯ โดยได้กล่าวว่า 

ภายหลังการเลือกตั้งปี 2562 ก่อนที่ตนมาเป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งประชาธิปัตย์ในกรุงเทพฯ ไม่ได้รับเลือกตั้งเลย แต่ก็ไม่ใช่ความผิดของใครทั้งสิ้น แต่ประชาธิปัตย์ได้ผ่านจุดนี้มาแล้วหลายครั้ง ทั้งที่รุ่งเรืองจนได้รับเลือกตั้งเกือบยกทีมก็มี หรือได้รับเลือกคนเดียวก็มี หลายคนปรามาสประชาธิปัตย์คงจะสูญพันธุ์ แต่ตนยังมั่นใจว่ามาถึงวันนี้เรากำลังเดินขึ้นและมั่นใจว่าพี่น้องชาวกรุงเทพฯ จะต้อนรับประชาธิปัตย์อีกครั้งหนึ่ง เพราะประชาธิปัตย์กับชาวกรุงเทพฯ ผูกพันกันมายาวนานนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรค คนกรุงเทพฯ มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งประชาธิปัตย์ มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ตั้งแต่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ ท่านพิชัย รัตตกุล ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลายคนล้วนเป็นคนกรุงเทพฯ ดังนั้น คนกรุงเทพฯ กับประชาธิปัตย์จึงผูกพันกันมาเนิ่นนาน 

เมื่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กำลังจะมาถึง ก็มีคนตั้งคำถามใหม่ว่า ประชาธิปัตย์จะส่งผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ ในฐานะที่ตนเป็นหัวหน้าพรรค ตนเป็นคนหนึ่งที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าประชาธิปัตย์ต้องส่ง ประชาธิปัตย์ไม่ส่งไม่ได้ เพราะเราผูกพันกับชาวกรุงเทพฯ และคนกรุงเทพฯ เลือกเรามาต่อเนื่องยาวนาน เพราะฉะนั้นเราต้องรับผิดชอบต่อคนกรุงเทพฯ การไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งผู้สมัคร ส.ก. คือการตัดทางเลือกของคนกรุงเทพฯ ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่ประชาธิปัตย์มีมติส่ง ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ลงสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามพรรคประชาธิปัตย์ รวมกับเพื่อนผู้สมัคร ส.ก. 50 คน 50 เขต ซึ่งเป็นการนับ 1 ที่ถือว่าประชาธิปัตย์ได้ส่งทางเลือกที่ดีที่สุดทางเลือกหนึ่งให้กับพี่น้องชาวกรุงเทพฯ ได้พิจารณา 

ทั้งนี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวอีกว่า... 

ประการที่ 1 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นั้น ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามผู้สมัครอิสระ แต่ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นจึงหมายความว่า ในการเลือกตั้งรณรงค์หาเสียง รวมทั้งไปถึงภายหลังหากได้รับเลือกตั้ง “ดร.เอ้” ก็ไม่ได้มาคนเดียว แต่ยังมีหลังพิงสำคัญที่จะคอยทำงานร่วมกันและขับเคลื่อนกรุงเทพฯไปสู่ความสำเร็จ นั่นการมีหลังพิงที่เป็นสถาบันการเมืองที่ยั่งยืนที่สุดของประเทศ ที่ชื่อว่าประชาธิปัตย์ 

“ก่อนตัดสินใจเลือก ดร.เอ้ ผมกับ ดร.เอ้ ได้นั่งคุยกัน และท่านองอาจด้วยในฐานะรองหัวหน้าพรรค ได้คุยกันบอกว่าถ้าจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องทำงานร่วมกัน และต้องไม่บริหารราชการกรุงเทพมหานครโดยความรับผิดชอบเฉพาะกับพี่น้องชาวกรุงเทพฯ แต่ต้องรับผิดชอบต่อพรรคประชาธิปัตย์ด้วยเพราะประชาธิปัตย์จะต้องรับผิดชอบต่อการบริหารงานราชการกรุงเทพฯ ของ ดร.เอ้ ต่อไปในอนาคต นี่คือความแตกต่างของผู้สมัครอิสระกับผู้สมัครที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมือง โดยเฉพาะสถาบันการเมืองที่ยั่งยืนที่ชื่อว่าประชาธิปัตย์” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าว 

ประการที่ 2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของประชาธิปัตย์นับตั้งแต่นี้ต่อไป ต้องไม่คิดแค่บริหารเมืองหลวงของประเทศและต้องไม่คิดแค่บริหารหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และต้องไม่คิดแค่การบริหารอภิมหานครกรุงเทพ หรือ กทม. เท่านั้น แต่จะต้องไปไกลไปกว่านั้น 

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ภารกิจของคนเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่ต้องบริหารกรุงเทพฯ แบบ “Mini Thailand” จึงมี 3 ประการ 

ประการที่ 1 ประชากรคนไทยทั้งประเทศมี 65 ล้านคน เป็นคนกรุงเทพฯ ตัวจริงที่มีทะเบียนบ้าน 5.5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพฯ มีขนาดประชากร คิดเป็น 1 ใน 12 ส่วนของประชากรทั้งประเทศที่มีรวมกัน 77 จังหวัด 

ประการที่ 2 ด้วยขนาดประชากรดังกล่าว ทำให้มีปัญหาหลายเรื่องที่ ผู้ว่าฯ กทม. ต้องแก้ปัญหา และต้องบริหารจัดการในฐานะผู้ว่าฯ Mini Thailand ซึ่งเมื่อดูขนาดเศรษฐกิจของ กทม. จังหวัดเดียว คิดเป็นร้อยละ 24 ของ GDP ประเทศ  หมายความว่าขนาด GDP ประเทศ อยู่ที่กรุงเทพฯ ถึง 1 ใน 4 และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของกรุงเทพฯ ก็เติบโตมากกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศอีกด้วย  

เมื่อไปดูสัดส่วน GDP ของกรุงเทพฯ ก็พบว่าการที่เศรษฐกิจกรุงเทพขับเคลื่อนอยู่ได้ทุกวันนี้ ขึ้นอยู๋กับ...

อันดับ 1 การค้า คิดเป็น 87 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ดังนั้นการค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งตั้งแต่คนตัวใหญ่จนถึงคนตัวเล็ก 

อันดับ 2 อุตสาหกรรม 13% มีเรื่องเกษตรไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ 

ดังนั้นจากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว จึงถือว่าลมหายใจของเศรษฐกิจกรุงเทพฯ จึงเรียกได้ว่าขึ้นอยู่กับการค้า 87% อุตสาหกรรม 13% ขณะที่เมื่อไปดู ตัวเลข Per Capita income หรืออัตรารายได้เฉลี่ยต่อหัว จะเห็นได้ชัดขึ้นว่ารายได้ของคนกรุงเทพฯ เฉลี่ย มากกว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประเทศ 3 เท่า แม้จะฟังแล้วเหมือนดีว่าคนกรุงเทพฯ รวย แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเป็นตัวเลขถัวเฉลี่ย แต่เมื่อดูตัวเลขลึกลงไปพบว่า คนกรุงเทพฯ ตัวจริงที่เป็นคนจน มีรายได้ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อปี ที่ต้องรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีมากกว่า 5 แสนคน ตรงนี้จึงเป็นโจทย์สำคัญของผู้ว่าฯ กทม. นอกจากรัฐบาลที่ต้องแก้ไข ผู้ว่าฯ กทม. ก็ต้องคิดเป็นภาระของตัวเองด้วยเพื่อเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้พี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร ดังนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ประชาธิปัตย์จากนี้ไป จึงต้องคิดเรื่องการบริหารกรุงเทพมหานคร ให้เป็นการบริหารแบบ Mini Thailand 

ประการที่ 3 การบริหารกรุงเทพมหานครของยุคประชาธิปัตย์ ยุค “ดร.เอ้” จากนี้ไป จึงต้องเกิดนวัตกรรมใหม่ทางการบริหารต้องขึ้นอย่างน้อย 3 นวัตกรรม 

นวัตกรรมตัวที่ 1 ครม. กรุงเทพฯ ต้องเกิด ไม่ใช่การบริหารแบบเดิมที่มี ผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ ด้านบริหาร ด้านโยธา ด้านสาธารณสุข ด้านศึกษา ยุทธศาสตร์ และที่ปรึกษา แต่กรุงเทพมหานคร ยุคอุดมการณ์ทันสมัย ต้องมี ครม. กรุงเทพ เกิดขึ้น เพื่อบริหาร Mini Thailand ที่ชื่อว่ากรุงเทพมหานคร ที่ประกอบด้วย รัฐมนตรีเศรษฐกิจกรุงเทพมหานครต้องเกิด เพื่อรับผิดชอบเศรษฐกิจของชาวกรุงเทพฯ ตั้งแต่คนตัวใหญ่ที่ทำธุรกิจค้าขาย 87 % ของ GDP คนตัวกลางอุตสาหกรรม 13% ไปจนถึงคนตัวเล็ก 5 แสนกว่าคนที่รายได้ต่ำกว่าแสนต่อปี การที่ ดร.เอ้ ประกาศวิสัยทัศน์ให้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองสวัสดิการต้นแบบของอาเซียน ดังนั้น รัฐมนตรีสวัสดิการกรุงเทพฯ ต้องเกิด เพื่อขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ที่มีความชัดเจน กว่าการมีแค่รองผู้ว่าฯ ด้านโยธา ด้านศึกษา ด้านสาธารณสุข 

นวัตกรรมตัวที่ 2 ต้องเกิด กรอ. กรุงเทพฯ เนื่องจากเศรษฐกิจกรุงเทพฯ ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่คิดเป็น 1 ใน 4 ของ GDP ประเทศ และขับเคลื่อนด้วยการค้ากับอุตสาหกรรม ดังนั้นเอกชนจึงมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร  ซึ่ง กรอ. กรุงเทพฯ จะเป็นเวทีให้ผู้ว่าฯ กทม. ครม.กรุงเทพฯ ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจกรุงเทพฯ ร่วมกับเอกชน ตั้งแต่คนตัวใหญ่ถึงคนตัวเล็กไม่เว้นแม้แต่คนจนเมือง 

นวัตกรรมตัวที่ 3 คนเป็นผู้ว่ากทมในยุคอุดมการณ์ทันสมัยของประชาธิปัตย์ที่มีตนเป็นหัวหน้าพรรคต้องไม่มองแค่ในกรุงเทพมหานคร เพราะกรุงเทพฯ วันนี้ได้เชื่อมต่อเหมือนเป็นเนื้อเดียวกับปริมณฑล มีประชากรที่เคลื่อนเช้าเย็นกลับมาจากนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งสาธารณูปโภค สาธารณูปการ มีรถไฟฟ้าเชื่อมต่อไปถึงปริมณฑล เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งไฟฟ้า-ประปาต่อข้ามเขตได้โดยไม่รู้ตัว 

เพราะฉะนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องทำงานร่วมกัน ทั้งรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และต้องทำงานร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด และกลไกภาครัฐ ไฟฟ้า ประปาในปริมณฑลด้วย ทั้งหมดต้องสอดประสานกัน ต้องคิดวางแผนขุดทีเดียวไม่ต้องขุด 3 รอบ 4 หน่วยงาน ขุด 4 รอบ เพื่อไม่ให้สุดท้ายแล้วกรรมมาตกกับคนกรุงเทพฯ

'ดร.เสรี'​ แนะ!! เลือกตั้งพ่อเมืองกรุง​ 'สลิ่มอย่าเสียงแตก'​ หาก​ 'เขา'​ แหวกเส้นชัยมา แล้วสลิ่มจะเสียใจไปอีกนาน

(26 มี..2565) ดร.เสรี วงษ์มณฑา ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้...

สลิ่มทั้งหลาย ตอนนี้บางคนอาจจะเลือกอัศวิน บางคนอาจจะเลือกสกลธี บางคนอาจจะเลือก ดร.เอ้ จากนี้ไป ควรตั้งใจฟังการหาเสียงของทั้ง 3 คนอย่างพินิจพิเคราะห์

และติดตามดูโพลล์หรือแนวโน้มว่าใน 3 คนนี้ใครมีคะแนนนำ และมีโอกาสจะเอาชนะคนที่เราไม่อยากให้เป็น แล้วยามนั้นต้องตัดใจหันมารวมตัวกันเลือกคนที่มีโอกาสชนะ

อย่ายืนกรานที่จะเลือกคนที่ชอบ เพราะหากเป็นเช่นนั้นเสียงจะแตก ทั้ง 3 คนนี้จะแพ้ การลงคะแนนเสียงแบบนี้เป็นการลงคะแนนแบบมียุทธศาสตร์ (Strategic Vote)

คือ​ ร่วมมือกันลงคะแนนให้แก่คนที่เราคิดว่ามีโอกาสที่จะชนะคนที่เรา "ไม่อยากให้เป็น" ถ้าเรายืนกรานที่จะลงคะแนนตามที่เราชอบ โดยไม่มียุทธศาสตร์ ทั้ง 3 คนจะแพ้ และคนที่ไม่อยากให้เป็นจะชนะนะคะ

เพราะฉะนั้น ตอนนี้อาจจะมีใครในใจตามที่ชอบ อัศวิน สกลธี หรือ ดร เอ้ แต่โค้งสุดท้าย อย่ายืนกรานจนเสียงแตกแล้วแพ้ยับเนินนะคะ

ต้องรวมใจกันเทคะแนนให้คนที่มีโอกาสจะชนะ กำจัดคนที่เราไม่อยากให้เป็นนะคะ บางคนอาจบอกสังกัดชัดเจน บางคนอาจจะบอกว่าอิสระ ดูให้ดีนะว่าอิสระจริงไหม

ดร.เสรี โพสต์ย้ำว่า "วันนี้ใครจะ 'วิน'​ ใครจะ 'ธี'​ ก็จองไว้ก่อน แต่ถึงโค้งสุดท้าย ช่วยกันดูหน่อยนะคะว่าใครมีสิทธิ์ชนะ กันใครบางคนได้ แล้วเรามาช่วยกันเทคะแนนให้คนนั้นนะคะ อย่าให้เสียงแตก แล้วเขาคนนั้นชนะนะคะ

เปิดใจ ‘เอ้ สุชัชวีร์’ ศึกชิงผู้ว่ากทม.! | Click on Clear THE TOPIC EP.200

🔥Rerun🔥
📌เปิดอกหมดเปลือก!! ไปกับ ‘ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามพรรคประชาธิปัตย์!!
📌ใน Topic : เปิดใจ ‘เอ้ สุชัชวีร์’ ศึกชิงผู้ว่ากทม.!

ในรายการ Click on Clear THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา PROGRAM DIRECTOR THE STATES TIMES

.

.

อีกมุม!! 'ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์' อธิการบดีที่เคยปลอมตัวเป็นเด็กปี 1 | THE CORNER EP.3

THE CORNER EP.นี้ เราพามาพูดคุยและรู้จักมุมที่แตกต่างของ 'ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์' อธิการบดีที่เคยปลอมตัวเป็นเด็กปี 1 จนสามารถสร้างจุดเปลี่ยนให้เกิดแก่สังคมคนรุ่นใหม่ได้

ขอบอกเลยว่า...มีหลากมุมที่น่าสนใจที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จะเป็นอย่างไร ติดตามชมได้เลย!!

'ดร.เอ้' ย้อนข้อความปี 65 กรณีสะพานข้ามแยกลาดกระบังถล่ม  'พบข้อบกพร่อง-เคยเตือนแล้ว' เสียใจที่สุด ที่ต้องมีผู้สูญเสีย

(11 ก.ค. 66) ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกสภาวิศวกร และอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย รีโพสต์เนื้อหาที่ได้เคยโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 65 และ 9 ส.ค. 65 หลังจากเกิดเหตุสะพานข้ามแยกทรุดตัว บริเวณหน้าโลตัสลาดกระบัง ถ.หลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง เมื่อเวลา 18.08 น. และในเบื้องต้นมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บสาหัสหลายราย โดยระบุว่า...

“เสียใจที่สุด เพราะผมเคยเตือนไปแล้ว ไม่น่าเลย สุดท้ายต้องมีคนสูญเสียชีวิต จนได้”

ส่วนเนื้อหาที่ ดร.สุชัชวีร์ เคยโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 65 ระบุถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแยก ที่อยู่ในโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบังเอาไว้ ว่า...

"กลับบ้านวันศุกร์ ไม่สุข ไม่ปลอดภัย" 

ผมขอแสดงความเป็นห่วงจากใจ โครงการก่อสร้างสะพานข้าม ถนนอ่อนนุช-หัวตะเข้ เขตลาดกระบัง เห็นปัญหาชัดเจน

1. เครื่องจักรใหญ่ทำงาน ไม่มีแนวป้องกัน เสี่ยงอุบัติเหตุของหล่น ประชาชนเดือดร้อนทเสี่ยงชีวิต
2. ถนนยุบจากการก่อสร้าง เสี่ยงอุบัติเหตุ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ของเด็กนักศึกษา ห่วงจริงๆ
3. รถติดสาหัส เพราะก่อสร้างกินพื้นที่ บางช่วงก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้อง คืนพื้นที่ให้ประชาชนผู้สัญจรได้

เพราะอุบัติเหตุจากการก่อสร้างสะพาน เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หลายครั้งมีผู้เสียชีวิต มีทรัพย์สินเสียหาย

ขออย่าให้เกิดที่ใด กับใคร อีกเลยครับ เป็นห่วงจริงๆ ครับ

นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาที่เคยโพสต์ไว้เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 65 อีกด้วย ระบุว่า... 

ด้วยความห่วงใย การก่อสร้างสะพาน ต้องมีมาตรฐาน

นั่งรถผ่านโครงการก่อสร้างสะพานถนนลาดกระบัง-อ่อนนุช ทุกวัน เห็นแล้วอดเป็นห่วงไม่ไดั ยิ่งวันนี้เห็นตั้งนั่งร้านทำงาน มีงานเทปูน หล่อเสาตอม้อ ชิดริมถนน แล้วกังวลแทน กลัวพังลงมา 

จากประสบการณ์หลายปี ที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการวิบัติ การก่อสร้างโครงสร้างสะพาน มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งขณะทำงาน กรณีดังนี้...

1. "นั่งร้านคนงานพัง" เนื่องจากทั้งดินอ่อนรับน้ำหนักนั่งร้านไม่ได้ หรือ ไม่ได้ค้ำยันกับโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง ทำให้คนงานบาดเจ็บและเสียชีวิตบ่อยครั้ง 

2. "ไม้แบบรองรับการเทคอนกรึตเสาและคานพัง" เพราะรับน้ำหนักขณะเทคอนกรีตไม่ได้ หรือ เทผิดจังหวะทำให้ไม้แบบเอียงพัง หรือ เสาค้ำยันไม้แบบวางบนดินอ่อนเกิน ก็พังพาบลงมา 

3. "คานหล่น" ขณะติดตั้ง เนื่องจากหลุนจากเครนยก หรือ หล่นขณะวางพาดบนเสา หลายครั้งลงมาใส่รถที่สัญจร อยู่ข้างล่าง 

4. "เครนล้ม" บางกรณีใช้เครนไม่ถูกขนาด เล็กเกินไปที่จะยกโครงสร้างน้ำหนักมาก บ่อยครั้งพลิกคว่ำ เป็นอันตรายทั้งคนขับเครน และคนงานในพื้นที่ 

ดังนั้นการทำงานก่อสร้างสะพาน ต้องทำงานตามมาตรฐานความปลอดภัยที่เคร่งครัด และต้องระมัดระวังตลอดเวลา 

ไม่ใช่เรื่องยากครับ และไม่ได้ต้องเสียงบประมาณเพิ่มเติมอะไรมาก ดีกว่ามาแก้ไขที่หลัง หลายอย่างทดแทนคืนไม่ได้ 

ผมแนะนำด้วยความห่วงใยจริงๆ ครับ

‘ดร.เอ้’ ย้อนคลิป เคยเตือนเรื่องความปลอดภัยการก่อสร้าง ปมแผ่นเหล็กสะพานหล่นทับคนงานดับ บริเวณแยกลำสาลี

(17 ส.ค. 66) จากกรณี แผ่นเหล็กร่วงใส่คนงาน ที่บริเวณสะพานข้ามแยกลำสาลี ตัดเสรีไทย โดยเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีก 2 ราย เมื่อเวลา 01.50 น. ของวันที่ 17 ส.ค. 66

ล่าสุด นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตผู้สมัครผู้ว่า กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้แชร์ข่าวดังกล่าว และให้ความเห็นว่า…

“ขนลุก!!! ผมเคยบอกไปแล้วว่า สะพานของ กทม. ข้ามแยกบางกะปิ การก่อสร้างอันตรายมาก ระวังของร่วงลงมาทับคน วันนี้มีคนตายจนได้ ไม่น่าเกิดเลยครับ ผมเสียใจมากจริงๆ”

ทั้งนี้ ยังได้โพสต์คลิปวิดีโอที่ได้โพสต์เมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่พาไปดูการก่อสร้างสะพานที่หน้าตลาดบางกะปิ ว่าคอนกรีตร่อนลงมา และสามารถตกใส่หัวคนได้เลย ขณะที่ที่กันของ และบอกว่า เซฟตี้ไม่เคยมาก่อนเลย หล่นใส่ใครถึงตายได้

ทั้งยังได้โพสต์ข้อความว่า “ผมเคยเตือนเมื่อเดือนเมษายน งานก่อสร้างสะพานข้ามแยกบางกะปิ หวาดเสียว ไม่ใส่ใจคน ไม่ได้มาตรฐาน วันนี้คนตายจนได้ นี่คือเรื่องใหญ่ในสังคมไทย เราไม่ควรเพิกเฉย อันตรายใกล้ตัวกว่าที่ท่านคิด อาจเกิดกับใครก็ได้ #สะพานบางกะปิ #แผ่นเหล็กหล่น #องค์กรเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top