Tuesday, 30 April 2024
ชุมพร

ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน มาตรการรองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ประเทศเมียนมาร์ ในพื้นที่ จ.ระนอง และ จ.ชุมพร

พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก นำคณะผู้บังคับบัญชาชั้นสูง ประกอบไปด้วย พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก , พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์ เสนาธิการกองทัพบก ,พลโท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4 เดินทางไปยังกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนแยก 1 ค่ายรัตนรังสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

เพื่อตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานตามสายงาน ผลการปฏิบัติงานความรับผิดชอบตามแนวชายแดนทั้งทางบกและทางทะเล ที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านฝั่งเมียนมาร์ และประชุมสรุปแผนการเตรียมการปฏิบัติในการรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์ เพื่อให้ทุกส่วนได้เตรียมความพร้อม รองรับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เมียมาร์ ตามหลักมนุษยธรรมโดยใช้พื้นที่ตามแนวชายแดนเป็นพื้นที่แรกรับ คัดแยก และดูแลจนกว่าสถานการณ์ในประเทศเมียนมาร์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการผลักดันกลับประเทศตามช่องทางที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ กรณีมีผู้ได้รับผลกระทบอพยพจากสถานการณ์ภายในประเทศเมียนมาร์เข้ามายังฝั่งไทย ว่ากองทัพภาคที่ 4 ด้วยความรับผิดชอบของกองกำลังเทพสตรี ได้เตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ซึ่งทุกพื้นที่ที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศเมียนมา โดยได้มีการจัดเตรียมพื้นที่แรกรับและพื้นที่พักรอชั่วคราวไว้ในพื้นที่ จำนวน 4 แห่ง ของจังหวัดระนอง และชุมพร พร้อมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ


ภาพ/ข่าว : นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

"ศรชล.(MECC)" จัดกิจกรรมสร้างการตระหนักรู้ให้แก่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน

วันที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น  ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชุมพรคาบาน่า หมู่ที่ 8 ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร  นาวาเอก กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดชุมพร ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิด - ปิด กิจกรรมสร้างการตระหนักรู้ให้แก่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในเขตจังหวัดชุมพร ได้รับความสนใจจากชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดชุมพร และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าร่วมรับฟังจำนวน 80 คน

นาวาโท กรภัทร ศรีพิพัฒน์ กล่าว่า ด้วยศูนย์อำนวยการอำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดชุมพร กำหนดจัดกิจกรรมสร้างการตระหนักรู้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดชุมพร บรรยายถึงแนวทางการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.ศรชล 2562 จากวิทยากร ศณชล จังหวัดชุมพร ได้รับรู้ถึงเรื่อง กฎ ระเบียบเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรณีการประกอบอาชีพการประมงพื้นบ้าน จากวิทยากร ทช.  วิทยากรสำนักงานประมงจังหวัดชุมพร และวิทยากรจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ศูนย์อำนวยการอำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดชุมพร กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 18 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชุมพรคาบาน่า และจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งจะนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ต่อไป

นาวาเอก กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง เปิดเผยว่า ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเข้าร่วมกิจกรรม สร้างการตระหนักรู้ให้แก่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านด้วยศูนย์อำนวยการอำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดชุมพร กำหนดจัดกิจกรรมสร้างการตระหนักรู้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมของชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดชุมพร  และจะได้นำไปประกอบการใช้ชีวิตในการทำประมงพื้นบ้านอย่างถูกต้องต่อไป


ภาพ/ข่าว : ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร

ชุมพร ศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-16.30 น. นายสุริยา น้ำเงิน โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชุมพร  เดินทางมาเป็นประธานในการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 พื้นที่ในระบบหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ถึงตำบลพุมเรียง อำเภอไชยำ จังหวัดสุราษฎร์ มีพี่น้องในพื้นทีเข้าร่วมจำนวน 60 คน ณ ศาลาประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ว่าการอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 


นายสุริยา น้ำเงิน  กล่าว่า ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง   เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  เป็นระยะทางยาวกว่า 3,148 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด เป็นชายฝั่งทะเลอ่าวไทย   จำนวน 17 จังหวัด ความยาว 2,055 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 6 จังหวัด ความยาว 1,093 กิโลเมตร โดยปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่หลากหลาย เช่น  เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่นันทนาการและการท่องเที่ยว การทำประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  เป็นต้น ดังนั้น ชายฝั่งทะเลจึงมีความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  อย่างไรก็ดี พื้นที่ชายฝั่งทะเลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้แนวชายฝั่งมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งการตกตะกอนทับถมและการกัดเซาะชายฝั่ง โดยในพื้นที่ศึกษาเองก็พบว่า มีแนวชายฝั่งที่ประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะที่ดินชายฝั่งในหลายบริเวณ โดยตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา มีหน่วยงานราชการทั้งในท้องถิ่นและส่วนกลาง ตลอดจนเจ้าของที่ดินเอง  ได้ดำเนินการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งหากรูปแบบการ ป้องกันที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม หรือก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรมแล้ว ก็จะทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การประชุมประชำสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 1 พื้นที่ในระบบหาดตั้งแต่พื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  ถึงตำบลพุมเรียง อำเภอไชยำ จังหวัดสุราษฎร์

"อย่างไรก็ดี ทราบว่ากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการกำหนดแนวทางการ จัดการชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด โดยการแบ่งพื้นที่ชายฝั่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ หรือเป็น  “กลุ่มหาด” โดยใช้หัวแหลม หัวเขา หรือปากแม่น้ำ มาเป็นตัวแบ่งขอบเขตของกลุ่มหาด  เพื่อให้สามารถดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จากรายงานของผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ระบุว่า การดำเนินงานโครงการ ได้นำเอาแนวคิดการจัดการชายฝั่งด้วย “ระบบกลุ่มหาด” มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ที่ รับผิดชอบในด้านการจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้ง  ยังให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดย กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์และประชุมรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 ครั้ง และการประชุม  เชิงวิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 1 ครั้ง โดยในครั้งนี้จะเป็นการประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ครั้งที่ 1 เพื่อประชาสัมพันธ์และขี้แจงโครงการ และนำเสนอ “ร่างแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ระบบกลุ่มหาด” ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านที่ร่วมอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ มีศักยภาพ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อที่หน่วยงานจะได้นำแนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา และเกิดความยั่งยืนต่อไป ผมขอขอบคุณ กรมโยธาธิการและผังเมืองที่ได้จัดให้มีการประชุมในวันนี้ และ  ขอขอบคุณหัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภาคเอกชน  สื่อมวลชน และผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เสียสละเวลามาร่วมประชุม " นายสุริยา น้ำเงิน  กล่าวเพิ่มเติม

ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี  (รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร) 
 

ชุมพร – ควบคุมการทำประมงในช่วงประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง (ประจวบ ฯ - ชุมพร - สุราษฎร์ธานี)

วันอาทิตย์ ที่ 18 เมษายน 2564 ศรชล.จังหวัดชุมพร บูรณาการร่วมกับ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเล จังหวัดชุมพร ภายใต้การอำนวยการของ นายธีระ อนันตเสรีวิทยา ผวจ./ผอ.ศรชล.จังหวัดชุมพร มอบหมายให้ น.อ.กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง รอง ผอ.ศรชล.จังหวัดชุมพร บูรณาการร่วมกับ นาย พงศ์รันย์ รัตนพรหม ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลจังหวัดชุมพร จัดกิจกรรมควบคุมการทำประมงในช่วงประกาศปิดอ่าวไทยตอนกลาง(ประจวบ ฯ ชุมพร สุราษฎร์ธานี)

นายนุรัตน์ ขาวสอาด เจ้าพนักงานเดินเรือปฏิบัติงาน หัวหน้าชุดปฏิบัติงาน พร้อมเจ้าหน้าที่รวม 6 นาย นำเรือตรวจประมง 113 ออกตรวจพื้นที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ในการนี้ตรวจยึดลอบพับหรือไอ้โง่ จำนวน 59 ลูก โดยมีผู้ลักลอบทำการประมงบริเวณชายทะเล อ่าวทุ่งมะขาม อ่าวทุ่งคา และอ่าวสวี โดยที่ลอบพับและลอบพับปูดังกล่าวเป็นเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.ก.การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เรื่องห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมือลอบพับได้หรือไอ้โง่ ที่มีช่องทางเข้าของสัตว์น้ำสลับซ้ายขาวอยู่ทางด้านข้างใช้สำหรับดักสัตว์น้ำ มีความผิดตามมาตรา 67 มีโทษตามมาตรา 147 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จาการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ไม่พบผู้กระทำความผิด  เจ้าหน้าที่จึงได้รื้อถอนและทำการยึดเครื่องมือประมงดังกล่าวนำของกลางส่งพนักงานสอบสวน สภ.ปากน้ำชุมพร อ.เมือง จังหวัดชุมพร จำนวน ลอบพับ (ไอ้โง่ 59 ลูก) ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร

ชุมพร - ระดมรับบริจาคเลือด แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ขาดแคลนเลือดเข้าขั้นวิกฤต

วันที่ 27 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. พล.ต.เสนีย์ ศรีหิรัญ ผบ.มทบ.44มอบหมายให้คุณพิไลพรรณ ศรีหิรัญ ประธานสมาคมแม่บ้าน ทบ. สาขา มทบ.44 พร้อมด้วยสมาชิกแม่บ้าน สม.ทบ. สาขา มทบ.44 ร่วมกับ เหล่ากาชาดจังหวัดชุมพร

ดำเนินโครงการจิตอาสาร่วมบริจาคโลหิตเพื่อชาติ ตามนโยบายของ ผบ.ทบ. ซึ่งเนื่องมาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ขาดแคลนเลือดเข้าขั้นวิกฤตทั่วประเทศ ด้วยศูนย์ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนให้คนไทยที่มีสุขภาพดี ช่วยกันบริจาคโลหิต ครั้งนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาจาก การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19  ระลอกใหม่ ทำให้ผู้บริจาคเลือดมีจำนวนลดลง ถึง 50 % 

  

ผบ.ทบ.มีแนวความคิดให้กำลังพล ทำการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง ทุก 3 เดือนตามวงรอบของตัวเอง เพื่อให้โรงพยาบาลต่าง ๆ มีโลหิตสำรองอย่างต่อเนื่อง และจัดให้รับบริจาคโลหิตขึ้น 2วัน ในวันที่ 27 -28 เมษายน 2564  ณ สโมสรนายทหารค่ายเขตอุดมศักดิ์ ต.วังใหม่ อ.เมือง จ.ชุมพร

ในวันนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก และมีน้องกำลังพล มทบ.44 และนักศึกษาวิชาทหาร.มทบ.44 เข้าจำนวนมาก ขอแจ้งให้ทราบจะทำการรับบริจาคโลหิตในวันที่ 28 เมษายน 2564 อีก 1วัน


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร

ชุมพร - ศรชล.ประสานช่วยเหลือเรือประมง ถูกพายุซัดจม 2 ลำ เสียชีวิต 1 คน

วันนี้ 6 พ.ค.64 เวลา 08.30 น.ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จังหวัดชุมพร (ศรชล.จังหวัดชุมพร) โดย น.อ.กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง รอง ผอ.ศรชล.จังหวัดชุมพร ในนามของ ผอ.ศรชล.จังหวัดชุมพร และศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือ จังหวัดชุมพร (ศคท.จังหวัดชุมพร)  ได้รับแจ้งจาก นายวัชรินทร์ สุวพิศ ปลัด อบต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ว่า เกิดเหตุเรือประมงพื้นบ้าน เป็นเรือไฟเบอร์ติดเครื่องยนต์แบบหางยาว  จำนวน 2 ลำ ถูกพายุฝนซัดและจมลงบริเวณหน้าแหลมคอกวาง ต.นาทุ่ง อ.เมือง จ.ชุมพร

เบื้องต้นทราบว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นหญิง 1 ราย เรือจมหายไป และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เป็นชาย 1 ราย ได้รับการช่วยเหลือกลับเข้าฝั่งพร้อมร่างผู้เสียชีวิต โดย พ.ต.ท.วินัย นิ่มฟัก สว.ส.รน.1 กก.6 บก.รน. สั่งการให้ ร.ต.อ.วสุ บัวจีน รอง สว.(ทนท.ทางน้ำ) ส.รน.1 กก.6 บก.รน. พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจชุดปฏิบัติการ รวม 4 นาย นำเรือตรวจการณ์ 532 ออกทำการค้นหาเรือประมงที่สูญหายและกู้เรือประมงที่จม บริเวณหน้าแหลมคอกวาง โดยเจ้าของเรือที่รอดชีวิตพร้อมทีมงานได้ร่วมเดินทางไปด้วย

นาย นรินทร์ เต็งประยูร อยู่บ้านเลขที่ 74 ม.9 ต.นาชะอัง อ.เมือง จ. ชุมพร เจ้าของเรือที่รอดชีวิต ที่เดินทางไปพร้อมกับเรือตรวจการณ์ 532 เพื่อไปร่วมกู้เรือของตนเองที่จม และร่วมค้นหาเรือประมงที่สูญหายเป็นเรือไฟเบอร์ ยาว 10 เมตร กว้าง 1.6 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร เป็นเรือหางยาว เอกสารได้จมพร้อมกับเรือ  ส่วนเรืออีกลำที่สูญหายเป็นเรือลักษณะเดียวกัน โดยได้ร่วมกับเรือประมงพื้นบ้านกู้เรือของ นายนรินทร์ฯ นำกลับเข้าฝั่ง ส่วนเรืออีก 1 ลำ ที่สูญหายยังอยู่ระหว่างการค้นหา 

จากการสอบถาม นายอุดม ธนบัตร อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 72 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านนา อ.เมือง จ.ชุมพร ที่รอดชีวิตอีกลำหนึ่งทราบว่า ได้นำเรือออกไปตกหมึกและตกปลากับ นางสาวจุรีรัตน์ อ่ำศรี อายุ 38 ปี ภรรยา ห่างจากฝั่งประมาณ 130 เมตร ได้เกิดฝนตกหนักลมพายุพัดกระหน่ำอย่างรุนแรง จนเรือจมลงตนได้ลอยพยุงตัวอยู่ในน้ำอีกมือหนึ่งจับเสื้อภรรยาที่ไปด้วยกันเอาไว้ พยุงตัวจนสามารถนำภรรยาเข้าถึงฝั่งได้ แต่ภรรยาเกิดอาการสะอึกและอาเจียนออกมาเป็นเลือดนอนแน่นิ่ง เป็นเหตุให้เสียชีวิต ดังกล่าว


ภาพ/ข่าว ศรชล.ภาค 1

นิราช / นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน

ชุมพร - ระบาดหนัก 3 อำเภอ โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease)

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.30 น. นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ กล่าวว่า ท่านธงชัย หนังสือ ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ได้สั่งการให้ผมได้นำคณะลงพื้นที่บ้านนาย สุรชัย อินทจักร 52 หมู่ที่ 5 ตำบล ตากแดด อำเภอ เมืองชุมพร พร้อมกับ นายพรชัย อินทร์คำดี หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ชุมพร สัตวแพทย์หญิงกิจตาภรณ์ แสงจันทร์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ อิสมาแอล ยุมาดีน นายสัตวแพทย์ประจำหน่วย HHU จังหวัดชุมพร พบ มีวัวจำนวน 8 ตัว มีแม่วัว 1 ตัว มีอาการขาบวมและเป็นตุ่มตามผิวหนังจึงทำการรักษาตามอาการ และทำการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจหาโรค โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) โดยจะได้รับผลการตรวจอีก 3-5 วัน ในวันนี้ได้ทำการฉีดพ้นยาฆ่าแมลงในเบื้องต้น

จากรณีดังกล่าว นายสัตวแพทย์พิชัย โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ กล่าวว่า ในการแพร่ระบาดของโรค“ลัมปี สกิน” โค กระบือ เป็นการแพร่ระบาดของไวรัส“ลัมปี สกิน” ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ที่มี แมลงดูดเลือด ได้แก่ยุง แมลงวัน เหลือบ และเห็บ เป็นพาหะนำโรค และไม่มีการแพร่ระบาดมาสู่คน   ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่เลี้ยงโค-ควาย ให้เฝ้าระวัง ซึ่งจะมีผล เช่น น้ำนมลดลง(สูงสุดถึง 40%) ส่วนโคขุนจะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันลดลง(ในระยะเวลา 1-2 เดือนช่วงที่เป็นโรค) และหากโคมีอายุน้อยถ้ามีอาการรุนแรงก็คือการเสียชีวิตในที่สุด และในพื้นที่ทีมีการแพร่ระบาดใน 3 พื้นที่ของจังหวัดชุมพร เช่น อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และ อำเภอเมือง ทั้งนี้ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบหมดแล้วเป็นการหยุดยังในการแพร่ระบาดของโรค  ไม่ให้การแพร่ระบาดเป็นวงกว่างจนไปถึง 14 จังหวัดภาคใต้ได้

กรณีทำการรักษาโคที่ป่วยก็มักหายช้า ดังนั้น จึงขอให้ผู้เลี้ยงใช้มาตรการป้องกันที่แนะนำดังนี้คือ 1.ให้งดนำเข้าวัวหรือควายจากต่างพื้นที่เข้าฟาร์มโดยเด็ดขาด  2. ให้กำจัดแมลงดูดเลือดในฟาร์มโดยการพ่นสารกำจัดแมลงที่คอกและตัวสัตว์ เช่น สารไซเปอร์เมทริน สารแอลฟ่าไซเพอร์เมทริน สารเดลตาเมทริน หรือ สารอะมิทราซ ซึ่งค่อนข้างมีความปลอดภัยและไม่ตกค้างในน้ำนม หรือใช้หลอดไฟไล่แมลง หรือก่อกองไฟ ไล่แมลง 3. เมื่อพบโคที่สงสัยว่าจะเป็นโรค “ลัมปี สกิน” ก็ให้รีบแจ้งหมอหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทราบเพื่อจะได้เข้าไปดูแล เพื่อวินิจฉัยควบคุมโรค   หากพบวัว - ควาย ที่สงสัยว่าจะเป็นโรค “ลัมปี สกิน”  ก็ควรรีบแยกสัตว์ตัวนั้นออกจากฝูง แล้วแจ้งให้ปศุสัตว์เข้ามาควบคุมโรค และผู้เลี้ยงควรกำจัดแมลง

นายพรชัย อินทร์คำดี กล่าวว่า จังหวัดชุมพรพบการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือในพื้นที่ อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว และอำเภอเมืองชุมพร เกิดขึ้นในสัตว์ชนิดโคเนื้อ อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคในพื้นที่ดังกล่าวเป็นวงกว้างมาขึ้น เนื่องจากโรคนี้มี แมลงดูดเลือด ได้แก่ยุง แมลงวัน เหลือบ และเห็บ เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ และการเคลื่อนย้ายโค กระบือมีชีวิตจากพื้นที่เกิดโรคไปยังพื้นที่อื่น จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไปยังท้องที่จังหวัด อื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค และกระบือเป็นอย่างมาก จังหวัดชุมพร จึงออกประกาศ 1ให้ท้องที่ทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอในจังหวัดชุมพร เป็นเขตโรคระบาด ชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ในสัตว์ชนิดโค และกระบือ 2 ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ ภายในเขตโรคระบาดเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่ประจำเขต ประกาศ ณ วันที่ 21พฤษภาคม 2564 โดย นายสัมฤทธิ์ กองเงินรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ทางด่านกักกันสัตว์ชุมพร  จึงจัดกำลังลงตรวจสอบ 24 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) อย่างเต็มกำลังต่อไป


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร

ชุมพร - มทบ.44 สร้างฝายน้ำล้นขึ้น ก็เพื่อเป็นการชะลอน้ำ กักเก็บน้ำ แก้ปัญหาน้ำหลาก

ตามโครงการของกองทัพบก สร้างฝายน้ำล้นขึ้น ก็เพื่อเป็นการชะลอน้ำ กักเก็บน้ำ แก้ปัญหาน้ำหลาก เป็นการสร้างความชุ่มชื่นให้กับระบบนิเวศน์ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ ได้มีน้ำใช้ประโยชน์ เมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง หรือประสพช่วงฝนทิ้งช่วง ทำให้ได้มีน้ำใช้สำหรับการเกษตร

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564,10.00 น. พล.ต.เสนีย์ ศรีหิรัญ ผบ.มทบ.44  เป็นประธานในพิธีส่งมอบฝายน้ำล้นให้กับผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ บ.ห้วยแห้ง ม.2 ต.วิสัยใต้ อ.สวี จ.ชุมพร  โดยโครงการสร้างฝายน้ำล้น ดังกล่าว ทาง มทบ.44 ได้ดำเนินการตามโครงการของกองทัพบก คือ "โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบสาน พระราชปณิธาน " เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และถวายความจงรักภักดี แด่ พระบาทสมเด็จ พระมหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ,สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง ,พระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชน และส่วนราชการต่าง ๆ มีส่วนร่วม และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เกิดภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการอนุรักษ์และฟื้นฟู รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานความพอเพียงให้เกิดความยั่งยืน การดำเนินการ การสร้างฝายน้ำล้นขึ้น ก็เพื่อเป็นการชะลอน้ำ กักเก็บน้ำ แก้ปัญหาน้ำหลาก เป็นการสร้างความชุ่มชื่นให้กับระบบนิเวศน์ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ ได้มีน้ำใช้ประโยชน์ เมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง หรือประสพช่วงฝนทิ้งช่วง ทำให้ได้มีน้ำใช้สำหรับการเกษตร

พล.ต.เสนีย์  ศรีหิรัญ  ผบ.มทบ.44 กล่าว มณฑลทหารบกที่ 44 ได้จัดกำลังพลจิตอาสาของหน่วยร่วมกับ ภาคส่วนต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีต ในพื้นที่บริเวณ บ้านห้วยแห้ง หมู่ที่ 2 ตำบลวิสัยใต้ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เพื่อแสดงออกและถวายความจงรักภักดี แด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิดิ์ พระบรมราชินีนาณ พระบรมราชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิร เกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ โดยพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์จากการกักเก็บน้ำ


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธีรายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร  

ตรวจยึดจับกุมการกระทำความผิด ที่บุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน เนื้อที่ 311 ไร่ จังหวัดชุมพร

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.30 น จังหวัดชุมพร สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ เข้ารื้อถอนพืชผลอาสินออกจากพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุก ในเขตป่าชายเลน ตามมติคณะรัฐมนตรี ในพื้นที่บ้านดอนพลับ หมู่ที่ 4 ตำบลปากหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร นำโดยนายไมตรี แสงอริยนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ป่าไม้ พร้อมเครื่องมือ และรถแม็คโคร เข้าทำการรื้อถอนพืชผลอาสินออกจากพื้นที่ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุก ในเขตป่าชายเลน ตามมติคณะรัฐมนตรี ท้องที่ บ้านดอนพลับ หมู่ที่ 4 ตำบลปากหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เนื้อที่ 311 ไร่ เพื่อจะนำพื้นที่ที่ยึดคืนมาฟื้นฟูให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนปลุกจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่มีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าจากภัยคุกคามต่าง ๆ ที่มีต่อพื้นที่ป่าอนุรักษ์

นายไมตรี แสงอริยนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) กรมทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง ได้ตรวจยึดจับกุมไว้แล้ว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 เนื้อที่ 311 ไร่ อยู่ในเขตป่าชายเลน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 ในฐานความผิด ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2554 โดยได้ดำเนินการปฏิบัติการรื้อถอนพืชผลอาสินออกจากพื้นที่ ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุก ท้องที่ บ้านดอนพลับ หมู่ที่ 4 ตำบลปากหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร เนื้อที่ 311 ไร่

โดยได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรหนักพร้อมเครื่องมือ อุปกรณ์เข้าดำเนินการรื้อถอนและทำลายพืชผลอาสิน (ต้นปาล์มน้ำมัน) ให้แล้วเสร็จ เพื่อจะนำพื้นที่ที่ยึดคืนมาปลูก ฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่สาธารณะให้พี่น้องประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน พร้อมกับฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนให้คืนความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชน อีกทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเกรงกลัวแก่ผู้บุกรุก มิให้กล้าเข้ามาบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนอีกต่อไป


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร  

ชุมพร - ปลัดจังหวัดชุมพร นำทีมลงพื้นที่ตรวจกำกับติดตามงานในหน้าที่เชิงรุก 8 อำเภอ เพื่อขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาพัฒนาชุมพรให้สามารถหยุดยั้งโควิด-19 โดยฉีดวัคซีนครบไม่น้อยกว่า 70%

วันที่ 1 มิถุนายน 2564 นายพิทักษ์ พิศสิริวัฒนสุทธิ์ ปลัดจังหวัดชุมพรได้นำทีมที่ทำการปกครองจังหวัดชุมพร, ศอ.ปส.จ.ชพ., ศอ.จอส.พระราชทานจังหวัดชุมพร,หัวหน้าชุด ฉก.โชคชัย,ผบ.ร้อย อส.จ.ชพ.ที่1 รวมทั้งงานนิติการและสอบสวนได้ลงพื้นที่ตรวจกำกับและติดตามงานในหน้าที่ปลัดจังหวัด เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามนโยบาย ระเบียบ กฎหมาย ข้อสั่งการ ของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครองและ 5 วาระเร่งด่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในพื้นที่ทั้ง 8 อําเภอ ดังนี้  วันที่ 31 พ.ค. - 4 มิ.ย. 2564 วันที 31 พ.ค.64 พื้นที่ อ.เมืองชุมพร , อ.สวี ,อ.ท่าเเซะ และ อ.ปะทิว วันที่  1 มิ.ย.64 พื้นที่ อ.ทุ่งตะโก และ อ.พะโต๊ะ  วันที่  4 มิ.ย.64 พื้นที่ อ.ละเเม และ อ.หลังสวน

โดยมีนายอำเภอ ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ปกครอง สมาชิก อส. พนักงานราชการ ลูกจ้าง และลูกจ้าง(TST) ร่วมให้การต้อนรับและบรรยายสรุปผลการปฏิบัติราชการของแต่ละอำเภอ ซึ่งได้เน้นย้ำให้อำเภอปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับนโยบายของ รัฐบาล ระเบียบ กฎหมาย หนังสือสั่งการของ กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง และจังหวัดชุมพร อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะ 10 โครงการสำคัญสู่การเป็นกรมการปกครองวีถีใหม่ “10 Flagships to DOPA New Normal 2021" และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ) ขอให้ร่วมมือ บูรณาการ สานพลังร่วมกันของหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ (ชุมพรทีม) เฝ้าระวัง ป้องกันตามประกาศ คำสั่งและมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

โดยใช้กฎกติกาของหมู่บ้าน/ชุมชน การบังคับใช้กฎหมาย, การเร่งรัดลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ได้อย่างน้อย 70% ของจำนวนประชากร ,การตรวจคัดกรองหมู่บ้าน /ชุมชน( Re X -Ray) ในเชิงรุก,การขับเคลื่อน ศปก.อ./ทม. ,การเฝ้าระวังพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค เช่น ตลาด สถานประกอบการ ล้งผลไม้ แคมป์คนงาน ชุมชนแรงงานต่างด้าว และการหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย การลักลอบเล่นการพนัน ปัญหายาเสพติด การแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกใหม่ เม.ย.64 เป็นต้น และการขับเคลื่อน วาระเร่งด่วน 5 วาระของจังหวัดชุมพร  ทั้งนี้ได้กำชับให้มีความสามัคคี “ปกครองทีม” ช่วยกันขับเคลื่อนพัฒนาและแก้ไขปัญหา การขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด งบเงินกู้ 405.6 ล้านบาท โดยใช้กลไก กบอ. กบต. ชปต.และ อปท.เพื่อให้ชุมพร เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  เป็นประตูสู่ภาคใต้ ทุกครัวเรือนได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบรวมทั้งประชากรแฝง สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก/ท้องถิ่นและสังคมได้ภายใน ก.ย.64 นี้

ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้ฝากเน้นย้ำการขับเคลื่อน 5 วาระเร่งด่วนซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ให้นายอำเภอเป็นผู้ขับเคลื่อนโดยใช้กลไกของปกครอง กลไกหมู่บ้านเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและให้วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยการร่วมมือบูรณาการสานพลังให้ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่แก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชน “ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น”


ภาพ/ข่าว  ธนากร โกศลเมธีรายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top