Monday, 29 April 2024
ชาติพันธมิตร

อาเซียนจะฉวยประโยชน์อย่างไรกับยุทธศาสตร์ตัดแขน-ขาจีนของสหรัฐฯ และพันธมิตร | NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช EP.35

อาเซียนจะฉวยประโยชน์อย่างไร? ในจังหวะที่การเมืองโลกจาก ‘สหรัฐฯ - พันธมิตร’ กำลังปั้นทุกยุทธศาสตร์ เพื่อตัดแขน-ขาจีน

NEWS GEN TIMES ชวนคิด กับ กิตติธัช

โดย อ.ต้อม - กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

‘จีน-รัสเซีย’ พันธมิตรสุดแข็ง ที่พร้อมแกว่งทุกเมื่อ หากความเสี่ยง กระทบผลประโยชน์ของประเทศ

ภายใต้สถานการณ์วิกฤติของรัสเซีย จากประเด็นยูเครนในช่วงที่ผ่านมา น่าจะทำให้รัสเซียเริ่มเหลียวมองหาพันธมิตรที่แข็งแกร่งเพื่อพึ่งพิง ซึ่งก็คงใช่ใครอื่นนอกจากจีน 

ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะไม่ว่ารัสเซียจะเจอปัญหาการเมืองกับชาติพันธมิตรในยุโรปหนักแค่ไหน หรือแม้จะเจอเหตุการณ์ประท้วงเพื่อล้มรัฐบาลคาซักสถานที่รัสเซียหนุนหลังอยู่เมื่อตอนต้นปี รวมถึงวิกฤติการลุกคืบของพันธมิตร NATO ในยูเครน ทางการจีนก็มักออกมาประกาศจุดยืนสนับสนุนฝ่ายรัสเซียอย่างแข็งขันเสมอมา

แถมความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นก็ยิ่งถูกตอกย้ำขึ้นไปอีก ภายหลังการพบกันอีกครั้งระหว่าง ‘สี จิ้นผิง’ และ ‘วลาดิมีร์ ปูติน’ ในช่วงพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่ง ที่ทางรัฐบาลรัสเซียออกมารายงานว่า เป็นการพบกันที่อบอุ่น และมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือด้านพลังงาน ซึ่ง Rosneft บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของรัสเซียตกลงที่จะจัดโควตาส่งน้ำมันให้จีนเพิ่มอีกในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วย

นอกจากนี้ ปูติน ยังได้กล่าวอีกว่า ความร่วมมือระหว่างรัสเซีย และจีนจะช่วยให้ทั้ง 2 ชาติมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และสามารถต่อสู้ รับมือกับความเสี่ยง และท้าทายจากชาติอื่นๆ พร้อมย้ำอีกว่า...

“มิตรภาพระหว่างจีน และ รัสเซีย ไม่มีข้อจำกัด”

อย่างไรก็ตามกรณีข้อพิพาทล่าสุดระหว่าง ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ที่มีชาติพันธมิตรเข้ามาขู่ฟ่อๆ จะล่อรัสเซียหากแหยมยูเครนนั้น ดูจะทำให้รัสเซียต้องคิดหนักกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตามหลังมากกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา เหตุเพราะสหรัฐอเมริกาขู่งัดมาตรการคว่ำบาตรขั้นสูงสุด หากรัสเซียยกทัพบุกดินแดนยูเครนจริง ขณะที่สหภาพยุโรปก็พร้อมที่จะบอยคอตรัสเซียหนักยิ่งกว่าตอนผนวกดินแดนไครเมียในปี 2014 

ประเด็น คือ หากสถานการณ์ลุกลามไปสุดถึงขั้นนั้นจริงๆ จีนจะกระโดดลงมาร่วมเรียงเคียงไหล่กับรัสเซียหรือไม่?

นักวิเคราะห์หลายคนต่างวิเคราะห์ถึงท่าทีของจีนไว้อย่างน่าสนใจว่า แม้จีนจะแสดงออกชัดเจนถึงการสนับสนุนรัสเซียในด้านเสถียรภาพและความมั่นคงทางภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาค รวมถึงการพึ่งพาด้านเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน แต่หากมองในมุมด้านผลประโยชน์ทางการค้าที่เป็นจุดแข็งสำคัญของจีน เชื่อว่าจีนอาจยังไม่พร้อมที่จะยอมเสี่ยงถึงขนาดนั้นเพื่อรัสเซีย

ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาในแง่การตลาด จีนถือเป็นตลาดส่งออกเบอร์ 1 ของรัสเซียเลยทีเดียว คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 16% ของยอดรวมตลาดต่างประเทศของรัสเซีย แต่ในทางกลับกัน ตลาดรัสเซียกลับมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกให้กับจีนเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับตลาดของจีนในสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป

อเล็กซ์ คาพริ นักวิจัยของสถาบัน Hinrich Foundation กล่าวว่า รัฐบาลปักกิ่งควรที่จะระมัดระวังอย่างยิ่งในการแสดงจุดยืนเรื่องข้อพิพาทระหว่าง NATO และ รัสเซีย แม้จะเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ และพลังงานร่วมกันมานาน แต่ผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากชาติมหาอำนาจจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผลประโยชน์ด้านการค้าของจีนอย่างแน่นอน

อีกทั้งคำขู่ของนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ออกโรงเตือนรัฐบาลปักกิ่งว่า หากจีนคิดแทรกแซงเรื่องการบุกยูเครนของรัสเซียจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในปัญหาความมั่นคง และสะเทือนถึงเศรษฐกิจในระดับโลก ซึ่งจีนเองก็จะเจ็บหนักด้วย

แน่นอนว่านี่เป็นสิ่งที่จีนต้องคิดให้หนัก เพราะตอนนี้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจในประเทศของจีนเองก็ยังไม่ค่อยสู้ดี จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และ Covid-19 ที่ดึงให้เศรษฐกิจโดยรวมของจีนที่คาดว่าน่าจะเติบโต กลับชะลอตัวเหลือเพียง 4.8% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับที่ได้ 8% ในปี 2020 

ขณะเดียวกัน ในเมื่อเศรษฐกิจรัสเซียต้องพึ่งจีน มากกว่าที่จีนจะพึ่งรัสเซียนั้น การที่พี่สีกระโดดลงมาล่มหัวจมท้ายกับปูติน เพื่อมาแบกรับความเสี่ยงในการถูกคว่ำบาตรขั้นสุดจากสหรัฐอเมริกา และยุโรป จึงเป็นเรื่องลำบากใจของรัฐบาลปักกิ่งไม่น้อย ที่จะต้องยอมแลกผลประโยชน์ทางการค้า เพื่อรักษาพันธมิตรกับรัสเซีย เพราะเท่าที่ผ่านมา นอกจากข้อตกลงร่วมกันทางเศรษฐกิจ จีนก็แทบจะไม่เข้าไปวุ่นวายกับข้อพิพาทเรื่องดินแดนของรัสเซีย นับตั้งแต่สงครามในจอร์เจียตอนปี 2008 รวมถึงการผนวกดินแดนไครเมียในปี 2014 สักเท่าไร

เห็นภาพแบบนี้แล้ว ก็เลยอดคิดไม่ได้ว่า ปูติน จะยังมั่นใจกับคำกล่าวสุดมั่นที่ว่า “มิตรภาพระหว่างรัสเซีย-จีน ไม่มีข้อจำกัด” ได้อยู่หรือไม่ เพราะนาทีนี้ไม่สามารถเดาใจ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ได้เลยจริงๆ ว่าจะยังพร้อมคิดเช่นเดียวกันแค่ไหน...


เรื่อง: ยีนส์ อรุณรัตน์

อ้างอิง: CNN / New Yorker / BBC

อดีตนายกฯ UK เชื่อ ตะวันออกมีดีไม่ต่างจากตะวันตก ชี้!! ใกล้ถึงจุดจบ ยุคสหรัฐฯ และพันธมิตรครองโลก

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ตะวันออกสามารถมีเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ทัดเทียมกับตะวันตก และยุคสมัยที่สหรัฐฯ และพันธมิตรครองโลกใกล้ถึงจุดจบแล้ว จากความเห็นของโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

แบลร์ แสดงความคิดเห็นดังกล่าวระหว่างร่วมบรรยายประจำปีที่มูลนิธิ Ditchley Foundation เมื่อวันเสาร์ (16 ก.ค.) ระบุว่า สืบเนื่องจากผลกระทบของโรคระบาดใหญ่โควิด-19 และความขัดแย้งในยูเครน "ผู้คนจำนวนมากของประชากรตะวันตก มาตรฐานการครองชีพกำลังซบเซา"

"การเมืองในโลกตะวันตก ตกอยู่ในความยุ่งเหยิง แบ่งพรรคแบ่งพวกมากขึ้น น่าเกลียดยิ่งขึ้น ไม่ผลิดอกออกผลใด ๆ และเติมเชื้อไฟโดยสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งส่งผลกระทบกับทั้งกิจการในประเทศและระหว่างประเทศ" แบลร์กล่าว พร้อมชี้ว่าปฏิบัติการทางทหารรุกรานยูเครนของรัสเซีย "ควรกลายเป็นจุดปักหมุดสำหรับการกอบกู้สำนึกแห่งพันธกิจของเรา (ตะวันตก)"

อย่างไรก็ตาม อดีตนายกมนตรีวัย 69 ปีรายนี้ ซึ่งกุมบังเหียนรัฐบาลสหราชอาณาจักรระหว่างปี 1997 ถึง 2007 บอกว่า "การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ครั้งใหญ่ที่สุดของศตวรรษนี้จะมาจากจีน ไม่ใช่รัสเซีย"

"เรากำลังมาถึงจุดจบการครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจของตะวันตก โลกกำลังกลายเป็น 2 ขั้วเป็นอย่างน้อยและมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโลกหลายขั้ว" เขาคาดการณ์

นักการเมืองจากพรรคเลเบอร์รายนี้กล่าวต่อว่า จีน ซึ่งก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกแล้ว "จะแข่งขันกับตะวันตกไม่ใช่แค่เพื่ออำนาจ แต่ต่อต้านระบบของเรา แนวทางบริหารและวิถีชีวิตของเรา" แบลร์ระบุ พร้อมเตือนว่า "ปักกิ่งจะไม่ก้าวขึ้นมาเพียงลำพัง พวกเขาจะมีพันธมิตร แน่นอนตอนนี้คือรัสเซีย และมีความเป็นไปได้ว่าอิหร่านจะร่วมด้วย"


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top