Wednesday, 15 May 2024
จราจร

“นิพนธ์” ชี้!! ท้องถิ่น คือหน่วยงานหลัก ช่วยลดสถิติอุบัติเหตุฯ เร่งสร้างความร่วมมือบูรณาการร่วมทุกภาคส่วน ปลูกจิตสำนึกวินัยจราจร ตั้งเป้าลดความสูญเสียทางถนนอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. วันที่ 10 ตุลาคม 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมมอบนโยบาย โครงการความปลอดภัยทางถนน "สงขลาเมืองต้นแบบ" พัฒนากลไกจัดการความปลอดภัยทางถนน จากจังหวัดสู่อำเภอ และตำบล โดยมี นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายก อบจ.สงขลา นายอำเภอทั้ง 16 อำเภอ หน.สนง.ปภ.สงขลา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นจังหวัด ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฯ ณ อาคารศรีเกียรติพัฒน์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

โดยที่จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดใหญ่ของภาคใต้และมีศักยภาพในด้านต่างๆอย่างสูง แต่ส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางถนน ยังเป็นอุปสรรคส่วนหนึ่งจากสถิติการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูงและได้รับผลกระทบความสูญเสียมากขึ้นในด้านชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคง ทางถนนให้เป็นรูปธรรมโดยความมุ่งหวังที่จะสร้างเมืองสงขลาเป็นต้นแบบของการบูรณาการดำเนินการในการลดอุบัติเหตุทางถนน ให้เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน และให้มีการขับเคลื่อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเต็มศักยภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ที่จะสร้างแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย นำไปเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนต่อไป

นายนิพนธ์ รมช.มท. กล่าวว่า  วันนี้อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้เป้าหมายด้านความปลอดภัยทางถนน เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายในปีพ.ศ. 2573

โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ลงร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2573 ดังนั้น การรณรงค์เรื่องความปลอดภัยทางถนน จึงเป็นวาระมีความสำคัญระดับโลก รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลก ประมาณการอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรในประเทศไทยปี พ.ศ. 2559 ยังอยู่ในระดับสูงถึง 32.70 มากกว่า 22,000 คนต่อปี แม้ว่าจะมีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องปัญหาอุบัติเหตุ จากการใช้รถใช้ถนน ของประเทศไทย ก็ยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับต้น ๆ ของประเทศ จากสถิติที่ผ่านมาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฏหมาย และปัญหาทางกายภาพของโครงสร้างพื้นฐานของถนน ปัญหาการเสียชีวิตที่เกิดจากรถจักรยานยนต์ก็ยังเป็นโจทย์ที่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทย"

รมช.มท.กล่าวต่ออีกว่า สำหรับปี พ.ศ. 2564 รัฐบาล โดย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้กำหนดประเด็นเร่งด่วน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพหลักในการลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ เพื่อลดความสูญเสียและผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างแท้จริง โดยเป้าหมายหลักคือ ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในเรื่องของการดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน โดยใช้ ,Songkhla Model  หรือสงขลาต้นแบบ ในการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานความร่วมมือกัน

ชุมพร - จัดโครงการ “สวมหมวกนิรภัย 100 % ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร” เคารพต่อกฎหมาย- เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก!!

วันที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น.นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรให้เกียรติมาเป็นประธานในกิจกรรมโครงการสวมหมวกนิรภัย 100 % ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ร่วมกับพลตำรวจตรี วิรุฬ สุวรรณวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร / พันตำรวจเอกประสิทธิศักดิ์ ศรีสุข รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร / พันตำรวจเอกเทเวศร์ ปลื้มสุทธิ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองชุมพร / นายประมูล อุ่นเรือน ท้องถิ่นจังหวัดชุมพร / นางสาวสุนารี บุญชุบ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร / นายนักรบ ณ ถลางนายอำเภอเมืองชุมพร / นายภาสกร ชาญกสิกร เลขานุการ อบจ. และ นายศรีชัย วีรนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร

โดย พันตำรวจโทสมชาย มากอำไพ กล่าวว่า ท่านพลตำรวจโทอำพล บัวรับพร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ซึ่งเห็นความสำคัญว่าปัจจุบันอุบัติเหตุทางถนน ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ต่อทรัพย์สินและความสูญเสียต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก อุบัติเหตุทางถนนจะเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นส่วนมาก ท่านจึงดำริให้จัดทำโครงการสวมหมวกนิรภัย 100 % ขึ้นทุกสถานีตำรวจในสังกัด ตำรวจภูธรภาค 8 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารตระหนักถึงความสำคัญในการสวมหมวกนิรภัย ซึ่งจะช่วยป้องกันให้ลดการบาดเจ็บ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน เป็นการปลูกจิตสำนึกของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ให้เคารพต่อกฎหมาย เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก

จากนั้น พันตำรวจเอกเทเวศร์ ปลื้มสุทธิ์ กล่าวว่า โครงการสวมหมวกนิรภัย 100 %เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร การปลูกจิตสำนึกของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ให้เคารพต่อกฎหมาย เคารพกฎจราจร ด้วยการสวมหมวก นิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ขั้นตอนการปฏิบัติ มี 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงเริ่มต้นรณรงค์ คือตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 ถึง 31 มกราคม2565  ช่วงกวดขันเข้มข้น มีด้วยกัน 3 ระยะ สำหรับผู้กระทำผิดข้อหา "ไม่สวมหมวกนิรภัยในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์" และข้อหา "เป็นผู้ขับขี่ยินยอมให้ผู้โดยสารไม่สวม หมวกนิรภัยในขณะโดยสารรถจักรยานยนต์ จะมีอัตราเปรียบเทียบปรับต่างกัน ผู้กระทำผิดระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 จะเปรียบเทียบปรับในอัตรา 200 บาท ผู้กระทำผิดระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 จะเปรียบเทียบปรับในอัตรา 300 บาท ผู้กระทำผิดระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป จะเปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมมอบหมวกนิรภัยให้แก่ผู้กระทำผิด

 

‘ผบช.ภ.2’ มอบอุปกรณ์ - สิ่งของด้านการจราจรในโครงการ “ถนนปลอดภัยเริ่มที่เรา”

พล.ต.ท. ธิติ แสงสว่าง ผบช.ภ.2 พร้อมด้วย พล.ต.ต.จรัล จิตเจือจุน รอง ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.สุรจิต ชิงนวรรณ์ รอง ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.ชัยต์พจน สูวรรณรักษ์ รอง ผบช.ภ.2 พล.ต.ต.อิทธิพร โพธิ์ทอง รอง ผบช.ภ.2 และ พล.ต.ต.ออมสิณ บุญญานุสนธิ์ ผบก.อก.ภ.2 รับมอบอุปกรณ์ – สิ่งของด้านการจราจรในโครงการ “ถนนปลอดภัยเริ่มที่เรา”

จากคณะที่ปรึกษาตำรวจภูธรภาค 2 โดยมี คุณสมเจตน์ วุฒิเลิศเจริญวงศ์ ประธานคณะที่ปรึกษาตำรวจภูธรภาค 2 และ คุณจุรีรัตน์ รัตนศรีสมบัติ พร้อมคณะที่ปรึกษาตำรวจภูธรภาค 2

 

รองผบ.ตร. พร้อมคณะตรวจเยี่ยมสภาพการจราจรเพื่ออำนวยความสะดวก ด้านจราจร - ลดอุบัติเหตุ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 ใน พื้นที่จังหวัดสระบุรี

พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร.พร้อมคณะเดินทางตรวจสภาพการจราจรและอำนวยความสะดวกในการจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่บริเวณกิโลเมตรที่ 99 ถนนพหลโยธินเปิดช่องทางพิเศษทางหลวงที่ 1 ตำบลหนองนาก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบตำรวจภูธรภาค 1

มีพล.ต.ต.ชยานนท์ มีสติ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสระบุรีพล.ต.ต.ชัช สุขแก้วณรงค์ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง1กองกำกับการ2 พ.ต.อ.สถิตย์ สังข์ประไพร ผกก.สภ. หนองแค พ.อ.สมศักดิ์ รักษาแสง รองผล.ศม. นายธนสาร สิทธาภา ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสระบุรี  พร้อมเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง แขวงทางหลวงสระบุรี ให้การต้อนรับ

การจราจรช่วงจังหวัดสระบุรีเริ่มหนาแน่น บรรยากาศการเดินทางกลับของประชาชน ตั้งแต่ 2 มกราคม 2565 สภาพจราจรบริเวณทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ช่วง กม.ที่ 106เป็นต้นไป ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ พื้นที่อำเภอเมืองสระบุรีกม.100 และกม.99 อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี มีประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับจากภูมิลำเนาและจากการท่องเที่ยวในจังหวัดทางภาคอีสานและภาคเหนือ หลังเฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2565 กันเรียบร้อยแล้ว ทำให้ปริมาณรถเริ่มมากขึ้นแต่การจราจรยังคล่องตัวสามารถทำความเร็วได้ตามกฎหมายกำหนด

 

‘สำนักงานตำรวจแห่งชาติ’ จับมือ กทม. คมนาคม ลงพื้นที่สำรวจแก้ปัญหาทางม้าลาย!!

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.  พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ยิ่งยศ  เทพจำนงค์ โฆษก ตร. พร้อมด้วย  พล.อ.ต.นพ.อิทธิพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภาสำนักงาน คณะผู้บริหารสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร นายสุจิณ มั่งนิมิตร ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยคมนาคม กระทรวงคมนาคม นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณทางข้าม (ทางม้าลาย) ตรงโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์  ถนนพญาไท ซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุเฉี่ยวชน พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล เพื่อสำรวจสภาพด้านวิศวกรรมจราจร ส่วนควบและอุปกรณ์ของทางข้าม  สำหรับเป็นข้อมูลในการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณทางข้ามดังกล่าว ให้เหมาะสม  เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนสูงสุด 

โดยจะรวบรวมข้อมูล นำเสนอคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ( หรือ นปถ.) ในการประชุมวันพฤหัสบดีที่ 27 ม.ค.65 ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน นอกจากนั้น ทาง ตร. จะได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยทางถนน ร่วมประชุมหารือ เพื่อกำหนดแนวทางการสำรวจข้อมูลทางข้ามในภาพรวมทั่วประเทศ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อม รวมถึงแนวทางการใช้เทคโนโลยีมาติดตั้งบริเวณทางข้าม เพื่อจัดการความปลอดภัยและบังคับใช้กฎหมายในวันศุกร์ที่ 28 ม.ค.65 ต่อไป

สำหรับโดยทางข้ามหน้าสถาบันโรคไตฯ นั้น จัดทำครั้งแรกเมื่อปี 2558  มีประชาชนใช้ทางข้ามประมาณ ชั่วโมงละ 30 คน อยู่ห่างจากแยกพญาไทประมาณ 120 เมตร เป็นทางข้ามที่ยังไม่ได้ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร

‘MEA’ ชี้แจง ไม่มีนโยบายปิดถนน 24 ชั่วโมง ยัน!! ทำการก่อสร้างฯ แค่ช่วง 4 ทุ่ม - ตี 5 เท่านั้น

(5 พ.ย. 65) MEA ไม่มีนโยบายปิดถนน 24 ชั่วโมง จะมีแต่เพียงการก่อสร้างในช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 05.00 น. ของทุกวันเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งผลกระทบต่อการจราจรให้น้อยที่สุด

จากกรณีการนำเสนอข่าวในประเด็น ‘ข้อร้องเรียน ชาวบ้านเดือดร้อนจากการปิดถนน 24 ชั่วโมง เพื่อทำสายไฟฟ้าใต้ดิน บริเวณอุโมงค์ลอดถนน รัชดา-ราชพฤกษ์’ นั้น

MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง ขอชี้แจงว่า โครงการก่อสร้างของ MEA ในครั้งนี้ คือ โครงการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ที่ดำเนินการก่อสร้างพร้อมกับอุโมงค์ลอดถนน รัชดา-ราชพฤกษ์ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการชะลอการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเอาไว้เพื่อเร่งการก่อสร้างอุโมงค์ให้แล้วเสร็จ ต่อมาเมื่ออุโมงค์ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ส่งผลให้พื้นที่การดำเนินงานก่อสร้างในส่วนของ MEA มีจำกัด ซึ่งผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการดังกล่าวได้ลงพื้นที่สอบถามความเห็นของประชาชนในเรื่องการปิดถนนเพื่อจะดำเนินการได้แล้วเสร็จโดยเร็ว

'บช.น.' แจ้งหลีกเลี่ยงเส้นทางในการประชุมเอเปค วันที่ 17 พ.ย.2565 เวลา 18.00 น. – 20.00 น.และ เวลา 21.00 น. – 23.00 น.


​​

​​พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น./โฆษก บช.น. และ พล.ต.ต.นิธิธร จินตกานนท์ 
รอง ผบช.น./รอง โฆษก บช.น. ขอประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ประชาชนทราบ ตามที่รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมเอเปค ครั้งที่ 29 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล รับผิดชอบภารกิจการรักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรให้แก่ผู้นำประเทศ และผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติในการจัดการจราจรดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องปิดการจราจร ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ย. 2565 เวลา 18.00 น. – 20.00 น. และ เวลา 21.00 น. – 23.00 น. ในบางเส้นทาง และบางช่วงบางเวลา จึงอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางของพี่น้องประชาชน จึงแจ้งมาเพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมและวางแผนการเดินทาง ดังนี้ 
1. เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบ  
1.1) เส้นทาง (พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนพระราม 4-2
1) ถ.เพลินจิต (แยกราชประสงค์ - แยกเพลินจิต )
2) ถ.สุขุมวิท (แยกเพลินจิต – ซอยสุขุมวิท 22 )
3) ถ.ราชดำริ (แยกราชประสงค์ – แยกศาลาแดง)
​4) ถ.วิทยุ (แยกเพลินจิต - แยกวิทยุ)
​5) ถ.รัชดาฯ (แยกอโศกมนตรี – แยกพระราม4)
6) ถ.พระราม4  (แยกศาลาแดง - แยกพระราม 4)
7) ถ.สาทร (แยกวิทยุ - แยกนรินธร )
1.2)  เส้นทางที่ได้รับผลกระทบ (พื้นราบ) ฝั่งขึ้น/ลง ด่วนยมราช
1) ถ.เพชรบุรี (แยกอุรุพงษ์  - แยกยมราช )
2) ถ.พิษณุโลก (แยกยมราช – แยกสวนมิสกวัน )
3) ถ.ราชดำเนินนอก (แยกสวนมิสกวัน – แยกจปร.)
4) ถ.วิสุทธิกษัตริย์​
​5) ถ.อรุณอัมรินทร์ (ตลอดสาย)
6) สะพานพระราม 8

1.3) เส้นทางทางด่วน
​1) ทางขึ้นด่วนสุรวงศ์ ​​​5) ต่างระดับพญาไท – ต่างระดับมักกะสัน
 ​2) ทางลงด่วนสีลม ​​​6) ทางขึ้น/ลงด่วนเพลินจิต
 ​​3) ทางลงด่วนอุรุพงษ์ ​​​7) ทางขึ้น/ลงด่วนพระราม 4/2
​​4) ทางขึ้น/ลงด่วนยมราช

โฆษก ตร. แถลงข่าวมาตรการดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 11.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร., พ.ต.ท. ธเทพ ไชยชาญบุตร และ พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณ ปัญญา รอง โฆษก ตร. ได้แถลงข่าวมาตรการดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านจราจรช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566

มาตรการการดำเนินการสำคัญช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565

1. การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ระดมกวาดล้างอาชญากรรมระหว่างวันที่ 20 – 29 ธ.ค.65 เพิ่มความเข้มในการออกตรวจจุดสุ่มเสี่ยงต่างๆ สืบสวนหาข่าวเชิงลึก ปิดล้อมตรวจค้น ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด แสวงหาความร่วมมือกับภาคประชาชน ประชาสัมพันธ์โครงการประชารัฐร่วมใจดูแลความปลอดภัยบ้านประชาชนช่วงเทศกาลสำคัญ (ฝากบ้าน 4.0) มาตรการสกัดกั้นและป้องกันการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง และอำนวยความสะดวกและการคัดกรองบุคคลการเข้า-ออกประเทศ
2. การป้องกันเหตุในพื้นที่ มาตรการและแผนเผชิญเหตุในการป้องกันเหตุร้ายในสถานที่ต่างๆ จัดเตรียมชุดปฏิบัติการทางยุทธวิธี ชุดเคลื่อนที่เร็ว โดย รพ.ตร. บ.ตร. เตรียมความพร้อมในการสนับสนุน หน่วยความมั่นคงสืบสวนหาข่าว ประสานการปฏิบัติติดตามสถานการณ์ต่างๆ และให้ สตม.เพิ่มความเข้มในการตรวจสอบการเข้า-ออกนอกราชอาณาจักรฯ 
3. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน การบังคับใช้กฎหมาย และอำนวยการจราจร
3.1 ห้วงเวลาและวิธีการดำเนินการ กำหนดช่วงการรณรงค์และการประชาสัมพันธ์ (1 – 21 ธ.ค.65) ช่วงก่อนควบคุมเข้มข้น 7 วัน (22 – 28 ธ.ค.65) ช่วงควบคุมเข้มข้น 7 วัน (29 ธ.ค.-4 ม.ค.66) ช่วงหลังควบคุมเข้มข้น 7 วัน (5 – 11 ม.ค.66) เน้นการบังคับใช้กฎหมายใน 10 ข้อหาหลัก โดยเฉพาะ 1) การขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 2) ขับรถในขณะเมาสุรา 3) ไม่สวมหมวกนิรภัย 4) ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ฯลฯ และกำหนดให้มี จุดตรวจหลัก จุดบริการ และด่านชุมชน เพื่อร่วมกันดำเนินการตามแผนฯ

‘พปชร.’ พร้อมปราศรัย ลานคนเมือง กทม. 18 มี.ค.นี้ มั่นใจ!! ปชช. 5 พันคน รอฟังนโยบายแก้ปากท้อง-การจราจร

(16 มี.ค. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายสกลธี ภัททิยกุล หัวหน้าทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรค พปชร. กล่าวถึงการจัดเวทีปราศรัยของพรรค พปชร. ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ ว่า มีความพร้อมหมดแล้ว ขณะนี้เตรียมประชุมเกี่ยวกับการวางตัว และดูแลเรื่องแสง สี เสียง สำหรับการจัดตัวผู้สมัคร ส.ส.มีครบ และเกินด้วยซ้ำ จึงรอการแบ่งเขตของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ชัดเจนและจัดคนลงได้ทันที

ผู้สื่อข่าวถามว่า จัดขุนพลปราศรัยบนเวทีอย่างไร นายสกลธี กล่าวว่า จัดขุนพลสำคัญไว้หมดแล้ว และเตรียมเก้าอี้ไว้รับผู้ปราศรัยประมาณ 3 พันคน ถ้ารวมประชาชนที่ยืนน่าจะมีประมาณ 5 พันคน

เมื่อถามถึงนโยบายเฉพาะในพื้นที่ กทม. นายสกลธี กล่าวว่า มีแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง ขนส่งสาธารณะ จากที่ทำโพลพบว่าปัญหาอันดับ 1 ใน กทม. คือ ปัญหาด้านการจราจร รถติด ที่ต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่ชี้ 'คนไทยไม่ค่อยมีวินัยจราจร' แนะ!! ควรมีระบบ 'แจ้งเบาะแสคนทำผิด-ได้ส่วนแบ่งค่าปรับ'

(18 ธ.ค.66) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) เผยแพร่ผลการสำรวจเรื่อง ‘ผิดวินัยจราจร จัดการอย่างไรดี’ สอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,310 คน กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2566  พบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.17 มองว่า คนไทยไม่ค่อยมีวินัยจราจร รองลงมา ร้อยละ 33.21 มองว่าคนไทยค่อนข้างมีวินัยจราจร ขณะที่ร้อยละ 14.73 มองว่าคนไทยไม่มีวินัยจราจรเลย มีเพียงร้อยละ 3.89 เท่านั้นที่มองว่าคนไทยมีวินัยจราจรที่ดีมาก

2.สำหรับ 5 อันดับ วินัยจราจรที่ต้องการให้ตำรวจเข้มงวดกวดขันมากที่สุด อันดับ 1 ขับรถขณะเมาสุรา ร้อยละ 67.10 อันดับ 2 ขับรถย้อนศร ร้อยละ 58.17 อันดับ 3 ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ร้อยละ 45.57 อันดับ 4 ไม่สวมหมวกกันน็อคขณะขับขี่หรือซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 35.19 อันดับ 5 ขับรถโดยใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ร้อยละ 33.05 

3.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.74 เห็นว่า วิธีการบังคับใช้กฎหมายจราจรของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้การทำความผิดน้อยลงหรือหมดไป ควรลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำ โดยเริ่มจากเบาไปหาหนัก  (เช่น ครั้งที่ 1 ตักเตือน ครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท และตัดแต้ม ครั้งที่ 3 ปรับ 2,000 บาท และตัดแต้ม ไปจนถึงขั้นสูงสุดพักใช้ใบอนุญาตขับขี่) รองลงมา ร้อยละ 19.92 ตักเตือนสำหรับผู้ทำความผิดครั้งแรก หากทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้ลงโทษตามกฎหมาย โดยอัตราโทษให้เป็นไปตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม 

อันดับ 3 ร้อยละ 49.47 ตักเตือนสำหรับผู้ทำความผิดครั้งแรก หากทำผิดซ้ำภายใน 1 ปี ให้ลงโทษตามกฎหมาย โดยมีการกำหนดอัตราโทษตายตัวสำหรับข้อหานั้น ๆ อันดับ 4 ร้อยละ 10 จับกุมหรือออกใบสั่งทุกกรณี โดยมีการกำหนดอัตราโทษตายตัวสำหรับข้อหานั้น ๆ และอันดับ 5 ร้อยละ 6.95 จับกุมหรือออกใบสั่งทุกกรณี โดยอัตราโทษให้เป็นไปตามดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม 

4.กลุ่มตัวอย่างสนับสนุนแนวคิดให้ประชาชนส่งหลักฐานแจ้งเบาะแสผู้ทำผิดกฎจราจร รวมถึงได้รับเงินส่วนแบ่งค่าปรับจากการดำเนินคดีด้วย โดยมีกลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 79.31 หรือกว่า 3 ใน 4 สนับสนุนแนวคิดการให้ประชาชนแจ้งเบาะแส แบ่งเป็นเห็นด้วยมาก ร้อยละ 47.40 และค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 31.91 ขณะที่มีถึงร้อยละ 65.92 หรือเกือบ 2 ใน 3 สนับสนุนการที่ประชาชนผู้แจ้งเบาะแสจะได้ส่วนแบ่งค่าปรับ โดยแบ่งเป็นเห็นด้วยมาก ร้อยละ 34.35 และค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 31.57

5.ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนจนทำให้การจราจรติดขัด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.58 เสนอแนะว่า รถที่มีการติดกล้องบันทึกเหตุการณ์ ให้สามารถเคลื่อนย้ายรถได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องรอเจ้าหน้าที่ รองลงมา ร้อยละ 35.04 ระบุว่า ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางไปถึงในจุดที่มีอุบัติเหตุให้เร็วที่สุด และร้อยละ 18.7 ให้ตัวแทนประกันภัยเดินทางมาถึงจุดเกิดเหตุโดยเร็วที่สุด


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top