Friday, 17 May 2024
ควบรวมทรูดีแทค

‘ศิริกัญญา’ ร้อง กสทช. หยุดปัดความรับผิดชอบ ปล่อยให้เกิดการควบรวมค่ายมือถือ ‘ทรู-ดีแทค’

ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรค และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เรียกร้องให้ กสทช. หยุดปัดความรับผิดชอบสั่งหยุดการควบรวมค่ายมือถือ ซึ่งการกระทำที่ผ่านมาของ กสทช. ทั้งการพยายาม ‘ยื่นตีความกฎหมายว่าตัวเองมีอำนาจหรือไม่’ ทั้งที่ศาลปกครองเคยมีคำสั่งแล้วว่าอำนาจการระงับควบรวมอยู่ในอำนาจ กสทช. และการที่ประธานบอร์ด กสทช. สั่งลบ Infographic ‘5 Facts กรณีการควบรวมทรู-ดีแทค’ ภายหลังค่ายมือถือใหญ่ออกจดหมายคัดค้าน ทำให้เราสงสัย ว่ากสทช. จะปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาไม่เอื้อนายทุนหรือไม่

โดยระบุว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการกระทำที่น่าเคลือบแคลงอย่างยิ่งของ กสทช. คือบอร์ด กสทช. เพิ่งมีมติ 3:2 ยื่นคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ตีความอำนาจตัวเองเป็นรอบที่ 2 ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองได้มีคำสั่งออกมาแล้วว่า กสทช. มีหน้าที่และอำนาจต้องดำเนินพิจารณากรณีการควบรวมค่ายมือถือ ทรู-ดีแทค

ไม่ชอบมาพากลในกรณีนี้ว่าการที่ กสทช. มีเจตนาส่งเรื่องให้องค์กรตีความกฎหมายหลายองค์กรวินิจฉัยอำนาจของตัว กสทช. เองนั้น เพื่อให้ปัดความรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ของตนในการระงับการควบรวมค่ายมือถือซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจสัญญาณค่ายมือถือในประเทศไทยถูกผูกขาดโดยรายใหญ่เพียง 2 เจ้า

นี่ไม่ใช่การยื่นคณะกรรมการกฤษฎีกาครั้งแรก เนื่องจากบอร์ด กสทช. ก็เคยตีความไปแล้วว่าไม่รับคำร้องวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของ กสทช. แต่กสทช. ยังดึงดันส่งเรื่องให้พิจารณาอีกรอบ พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึงรักษาการนายกฯ ให้ออกคำสั่งให้กฤษฎีกาตีความอำนาจหน้าที่ของ กสทช. (รักษาการนายกฯ ก็คือ พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ ที่มีข่าวว่าสนิทกับประธาน กสทช.)

ที่ต้องตีความกันใหม่เพราะบอร์ดอยากจะเห็นต่างจากศาลปกครองหรือไม่ เพราะศาลเห็นว่า ประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการควบรวมฯ ปี 2561 ประกอบประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรการป้องกันการผูกขาดปี 2549 นั้น ได้ให้อำนาจกสทช.ที่จะพิจารณา ‘อนุมัติ’ หรือไม่อนุมัติการขอควบรวมธุรกิจได้อยู่แล้ว

สรุปคือ ศาลปกครองเห็นว่าบอร์ดกสทช.มีอำนาจอนุมัติ ไม่ใช่แค่รับทราบ ซึ่งตรงกับความเห็นตามที่รายงานอนุกรรมการของ กสทช. อยากให้เป็น

เท่านั้นยังไม่พอ กสทช. ยังตั้งอนุกรรมการพิเศษด้านกฎหมายขึ้นมาอีก 1 ชุด ประกอบไปด้วย ‘เนติบริกร’ ชั้นนำของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, สมคิด เลิศไพฑูรย์, สุรพล นิติไกรพจน์, จรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งข้อเสนอแนะให้ กสทช. ยื่นตีความอำนาจตัวเองต่อกฤษฎีกาในครั้งนี้

‘ศิริกัญญา’ ชี้ ปิดประตู ควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ ย้ำชัด ด่านสุดท้าย เหลือแค่กสทช. ‘กล้า’ ฟันธง

"ศิริกัญญา" ส.ส.ก้าวไกล ชี้ แม้ความเห็นกฤษฎีกาจะคลุมเครือ แต่ยังตีความได้ว่าอำนาจพิจารณาอนุญาตควบรวมทรู-ดีแทค อยู่ในมือ กสทช. เต็มร้อย พบพิรุธที่ปรึกษาอิสระ ทำรายงานศึกษามิชอบด้วยกฎหมาย ขาดความเป็นกลาง

วันที่ (21 ก.ย. 65) กรณีที่มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับการตีความอำนาจ กสทช. โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตควบรวมทรู-ดีแทค ซึ่งหลายสำนักข่าวได้ให้ข่าวไปในทิศทางว่า กสทช. คกก.กฤษฎีกา ปลดล็อกให้การควบรวมทรู-ดีแทค ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตนั้น ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้ความเห็นไปในทิศทางตรงข้ามว่า ความเห็นของกฤษฎีกาครั้งนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า อำนาจในการอนุญาตควบรวมกิจการนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ กสทช. อย่างเต็มที่

“เอกสารความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาครั้งนี้ ตีความแบบที่ต้องตีความอีก และเต็มไปด้วยความคลุมเครือ ทำให้คนอ่านสับสนและต้องมานั่งตีความกันหลายชั้นว่าตกลง กสทช. มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้เกิดการควบรวมหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่คำถามของกสทช.นั้นตรงไปตรงมา”

ถึงจะกล่าวได้คลุมเครือ แต่เอกสารฉบับนี้มีสาระสำคัญที่ต้องพิจารณา 2 เรื่อง

หนึ่ง คือคณะกรรมการกฤษฎีกาบอกอย่างชัดเจนว่า เรื่องส่วนใหญ่ที่ กสทช. ถามไปนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจตามกฎหมาย กสทช. คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่อาจให้ความเห็นในส่วนอำนาจหน้าที่ กสทช. อันเป็นองค์กรอิสระได้

สอง คณะกรรมการกฤษฎีกายังเขียนอย่างชัดเจนว่าเพื่อกำกับดูแลมิให้การรวมธุรกิจมีผลเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันจึงให้อำนาจ กสทช. กำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะตามประกาศ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้อ้างถึง ข้อ 8 ของประกาศปี 2549 และข้อ 9 ของประกาศปี 2561 ส่วนหนึ่งของการให้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีการะบุว่า

“...เพราะในกรณีที่เข้าข่ายตามข้อ 8 ของประกาศฉบับปี 2549 กสทช.ก็มีอำนาจอนุญาตตามข้อ 8 นั้นได้อยู่แล้ว”

เนื้อความในข้อ 8 ตามประกาศปี 2549 พูดถึงการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน โดยการเข้าซื้อหุ้นเกินกว่าร้อยละสิบ ของผู้รับใบอนุญาตรายอื่น หรือการเข้าซื้อสินทรัพย์ ไม่ว่าจะกระทำโดยทางตรงหรือทางอ้อมผ่านตัวแทนจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กสทช.

‘เลขาสอบ.’ ผุดเอกสารหลุดควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ เชื่อ!! รวมกันเมื่อไร ศก.ดิจิทัลไทยล้าหลังเมื่อนั้น

มหากาพย์ดีลควบรวมระหว่าง TRUE และ DTAC ยิ่งลึกลับซับซ้อน!! หลังเฟซบุ๊ก ‘Saree Aongsomwang’ โดยนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค หรือ สอบ.) ได้ออกมาเผยเอกสารหลุด เรื่องผลกระทบด้านต่างๆ ของไทย หาก ‘ทรู-ดีแทค’ สามารถควบรวมกิจการได้ โดยระบุว่า... 

มีเอกสารหลุดรายงานการศึกษาที่ กสทช. จ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ SCF Associates Ltd. ในเรื่องผลกระทบของการควบรวมค่ายมือถือทรู-ดีแทค ที่มีต่อสังคมไทยทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม โอกาสการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ และสิทธิการเข้าถึงบริการของสังคม 

ซึ่งทำให้เห็นหายนะที่สังคมไทยจะต้องเผชิญหน้า หาก กสทช. มีมติอนุญาตให้เกิดการควบรวม  ที่ทำให้สามค่ายมือถือยักษ์ เหลือสองค่าย (ทรู+ดีแทค และ เอไอเอส) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้...

1. พื้นที่คนจน พื้นที่ห่างไกล ที่ที่ไม่สร้างผลกำไรจะไม่มีโครงข่าย หรือบริการใหม่ๆ เข้าไปถึง ซึ่งแปลว่า “คนจน คนชายขอบจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” โดนละเมิดสิทธิ์การเข้าถึงบริการคลื่นความถี่ที่ประชาชนเป็นเจ้าของ 

2. ในขณะที่กลุ่มรายได้สูง กลุ่มชุมชนเมืองที่จะสร้างกำไรสูงสุดให้สองค่ายที่เหลือในตลาด จะได้รับบริการโดยเฉพาะระบบ 5 จี อย่างเต็มประสิทธิภาพ กลุ่มคนรายได้ปานกลางและคนจนเมืองต้องจ่ายค่าบริการที่สูงเกินความจำเป็น กับเทคโนโลยีทันสมัย

3.  การควบรวมที่มีเหลือสองค่าย หรือ duopoly จะไม่เกิดการแข่งขัน และกลายเป็นระบบร่วมมือกัน หรือ "ฮั้ว" ไปในที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนในโครงข่ายสำหรับการให้บริการใหม่ๆ และ ลดการแข่งขันกันเอง

4.  การเข้าสู่ระบบสองค่ายหรือ duopoly จะทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศล้าหลัง ตามหลังประเทศฟิลิปปินส์ ที่ขณะนี้รั้งท้ายในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

5.  จะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าสิบปีถึงจะสามารถพลิกฟื้นระบบตลาดสองค่ายนี้ กลับเป็นตลาดที่มีการแข่งขัน หรือเกิดคู่แข่งหน้าใหม่ในตลาด

ทันทีที่ข้อความดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมา ด้านนายไตรรงค์ ตันทสุข นักกฎหมาย ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน ก็ได้เข้าแจ้งความกล่าวโทษอาญากับนางสาวสารี และผู้เกี่ยวข้อง ข้อหาเผยข้อมูลลับทางราชการ โดยนายไตรรงค์กล่าวว่า ผลการศึกษาจากที่ปรึกษาต่างประเทศ SCF Associates Ltd. ถือเป็นความลับทางราชการ ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของบอร์ด กสทช. จึงไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลให้คนอื่นล่วงรู้ได้ 

ซึ่งคาดว่าใน 1-2 วันนี้จะยื่นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อกล่าวโทษบุคคลและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป จากกรณีที่เผยแพร่ผลการศึกษาของที่ปรึกษาต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นความผิดฐานเปิดเผยความลับทางราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 , 86 , 164 และบิดเบือนข้อความจริงหรือนำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ตามพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พศ.2550 มาตรา 14

มาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านอาจสงสัย ว่าแท้จริงแล้วมหากาพย์นี้ เริ่มต้นจากตรงไหนกันแน่ ทีมข่าว The States Times จะมาสรุปให้ทราบดังนี้... 

ปีที่แล้วได้มีข่าวออกมาว่าบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE กำลังเจรจาซื้อกิจการบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ต่อมาสำนักข่าวรอยเตอร์ ก็ได้เผยว่า บริษัทแม่ของ DTAC กำลังเจรจากับ CP Group เกี่ยวกับการควบรวม DTAC เข้ากับ TRUE

'ศิริกัญญา' ยกเคส 'ฟิลิปปินส์-เม็กซิโก' ควบรวมมือถือเหลือ 2 ไม่มีการแข่งขัน-ค่าบริการสูง-ขาดแคลนเทคโนโลยีใหม่

'ศิริกัญญา-ก้าวไกล' เรียกร้อง กสทช. หยุดฟ้องปิดปากภาคประชาชน ขอเรียกร้องให้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาต่างประเทศ 10 ล้าน และรายงานการศึกษาอื่นกรณีการควบรวมทรู-ดีแทคต่อสาธารณะ

จากกรณีที่มีทนายความภาคประชาชนขู่ฟ้อง นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์ผู้บริโภค ที่ได้เผยแพร่รายงานผลการศึกษาเรื่องการควบรวมทรู-ดีแทค ของบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ อ้างว่าเป็นความลับของทางราชการ 

ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ให้ความเห็นว่า นี่นับว่าเป็นการใช้กฎหมายเพื่อฟ้องเพื่อปิดปากภาคประชาชน เพราะข้อมูลที่เผยแพร่ไม่ได้เป็นความลับแต่อย่างใด อีกทั้งเป็นข้อมูลที่กสทช.ต้องเผยแพร่ตามกฎหมายอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นทนายความภาคประชาชนก็ไม่ควรฟ้องปิดปากภาคประชาชนด้วยกันเอง 

"ตามพรบ.กสทช. มาตรา 59 ได้กำหนดให้ กสทช.ต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ต่อสาธารณะ ซึ่งรวมถึงผลการศึกษา และวิจัย และผลงานอื่น ๆ ที่ว่าจ้างให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการ (วงเล็บ 5)" ศิริกัญญา กล่าว

รายงานฉบับนี้ นับเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ทำให้บอร์ด กสทช. ต้องเลื่อนการพิจารณาลงมติการควบรวมทรู-ดีแทคอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้ประชาชนเกิดความสนใจว่าเนื้อหาที่แท้จริงเป็นอย่างไร การที่มีผู้นำมาเผยแพร่จึงเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน และไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใด กสทช. จึงไม่เป็นผู้เผยแพร่เอง 

ส่วนหนึ่งจากรายงานฉบับนี้ที่มาการเผยแพร่โดยสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า "ผลจากสภาพตลาดที่ไม่แข่งขันภายหลังการรวมธุรกิจนั้น การทำให้สภาพตลาดกลับคืนมาด้วยวิธีการเพิ่มการแข่งขันผ่านมาตรการต่างๆ ทำได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม MNO (ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีโครงข่ายของตัวเอง) รายใหม่, การเพิ่มผู้เล่น MVNO (ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่มีโครงข่ายของตัวเอง) รวมถึงการใช้มาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแข่งขันหรือทางราคา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจไทยในภาพรวมได้ผลกระทบรุนแรงได้ ซึ่งจะมีการศึกษาในรายงานงวดต่อไป

"ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย หากไม่มีการแข่งขันที่ดึงดูดการลงทุนจากทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งช่วยผลักดันอุตสาหกรรมในด้านอื่น ๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในครั้งนี้ อาจส่งผลกระทบในภาพกว้างได้ เช่น การลดลงของเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment-FDI)

"ในทางตรงข้าม ตลาดในประเทศไทยอาจจะเป็นเหมือนเหตุการณ์ในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อหลายปีก่อนที่มีจำนวนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายหลักเหลือเพียง 2 ราย หรือในประเทศเม็กซิโกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งทั้ง 2 ประเทศได้รับผลกระทบจากการไม่มีการแข่งขัน ทำให้อัตราค่าบริการอยู่ในราคาที่สูง และการใช้งานอยู่ในระดับต่ำ และขาดแคลนเทคโนโลยีใหม่"

เปิดมาตรการเข้มคุ้มครองผู้บริโภค หลัง 'กสทช.' มีมติรับทราบควบรวมทรู-ดีแทค

(21 ต.ค. 65) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม หลังมีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวม ทรู-ดีแทค โดยที่ประชุมมีข้อกังวล 5 ข้อและเห็นชอบ เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะดังนี้

ข้อกังวลเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้

1) การกำหนดเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย

ก. อัตราค่าบริการเฉลี่ยลดลงร้อยละ 12 โดยใช้วิธีการเฉลี่ยราคาใหม่ ด้วยการถ่วงน้ำหนักตามจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละรายการส่งเสริมการขาย (WEIGHTED AVERAGE) ภายใน 90 วันหลังจากมีการควบรวม)

ข. ให้มีทางเลือกของราคาที่แยกรายบริการเพื่อให้เป็นทางเลือก

ค. ให้นำส่งข้อมูลต้นทุนและข้อมูลที่จำเป็นโดยให้มีหน่วยงานตรวจสอบ

ง. ให้ผู้แจ้งการรวมธุรกิจประกาศให้ผู้ใช้บริการรับทราบ เพื่อมีการตรวจสอบและมีบทลงโทษกรณีทำไม่ได้ เช่น ปรับเป็นจำนวนร้อยละของรายได้ หรือปรับเป็นขั้นบันได และเพิกถอนใบอนุญาต

2) การกำหนดราคาค่าบริการ โดยใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ (Average Cost Pricing)

ก.ให้นำส่งข้อมูลตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรายงานบัญชีแยกประเภทในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2564 ให้ครบถ้วน โดยให้แยกรายละเอียดเป็นรายเดือน และนำส่งสำนักงาน กสทช. ทุก 3 เดือน หรือเมื่อ กสทช. ร้องขอ เพื่อใช้ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนรวมเฉลี่ย ซึ่งเป็นราคาในตลาดที่มีการแข่งขัน (Average Cost Pricing) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่เป็นปัจจุบันและถูกต้อง

ข. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านการสอบทาน (Verify) ข้อมูลโครงสร้างต้นทุน อัตราค่าบริการ หรือข้อมูลด้านอัตราต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในต่างประเทศมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ผู้ยื่นคำร้องรวมธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ เพื่อสอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น เมื่อมีการรวมธุรกิจให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

ค. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกับข้อ (ข) เพื่อทำหน้าที่สอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น ปีละ 4 ครั้ง (รายไตรมาส) โดยต้องจัดให้มีที่ปรึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือตลอดระยะเวลาอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณีที่อายุใบอนุญาตน้อยกว่า 10  ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ผู้ยื่นคำร้องรวมธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ

ง. จะต้องมีการกำหนดและแสดงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แยกตามรายบริการ (Unbundle)  เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น หรือการส่งเสริม การขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) เพื่อให้ผู้ใช้บริการปลายทางได้รับทราบก่อน โดยให้กำหนดอัตราค่าบริการตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) โดยคิดราคาตามที่มีการใช้งานจริง โดยจะต้องไม่มีการกำหนดการซื้อบริการขั้นต่ำไว้ ทั้งนี้ การกำหนดอัตราตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) ให้นำไปใช้กับกรณีค่าบริการส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรายการส่งเสริมการขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) และการส่งเสริมการขายแบบรวมรายบริการ (Bundle Package) ด้วย

จ. จะต้องจัดช่องทางการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ครอบคลุมและง่ายต่อการเลือกซื้อ เปลี่ยนแปลง (เพิ่ม ลด) การใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการปลายทาง โดยปราศจากข้อจำกัด ทั้งนี้ ต้องแสดงรายละเอียดของบริการ อัตราค่าบริการแยกตามรายบริการ หรืออัตราค่าบริการแบบส่งเสริมการขาย ตลอดจนวิธีการ เงื่อนไขการเลือกรับบริการไว้โดยชัดแจ้ง และเป็นปัจจุบัน

3) การคงทางเลือกของผู้บริโภค  การกำหนดให้บริษัท TUC และ บริษัท DTN ยังคงแบรนด์การให้บริการแยกจากกัน เป็นระยะเวลา 3 ปี

4) สัญญาการให้บริการ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องคงไว้ซึ่งเงื่อนไขของสัญญาและข้อตกลงระหว่างบริษัทและผู้ใช้บริการ รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้รับตามที่ได้มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงไว้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา เว้นแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นคุณหรือเป็นประโยชน์และได้รับการยินยอมจากผู้ใช้บริการแล้ว

5) การประชาสัมพันธ์การให้บริการเพื่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ ภายหลังการรวมธุรกิจ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการคงไว้ซึ่งคุณภาพในการให้บริการและค่าบริการที่เป็นธรรม และจะต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการหลังการรวมธุรกิจ โดยสำนักงาน กสทช. อาจกำหนดแนวทางและระยะเวลาการดำเนินการ รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริษัท TUC และบริษัท DTN ดำเนินการต่อไป

2.2 ข้อกังวล อุปสรรคการเข้าสู่ตลาด – ขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน และการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้ 

'ก้าวไกล' ผิดหวัง 'กสทช.' แค่รับทราบควบรวม 'ทรู-ดีแทค' จ่อยื่นป.ป.ช.เอาผิด ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่

(21 ต.ค. 65) ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ประชุมสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีมติ 3 ต่อ 2 เสียงรับทราบการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หรือทรู และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค แบบมีเงื่อนไข โดยมีการกำหนดมาตรการเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้น ว่า เป็นไปตามที่คาดเดา แต่ยังคงผิดหวัง เพราะเราคาดหวังไว้ว่า กสทช.จะใช้อำนาจตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งหากสังเกตมติครั้งนี้ไม่ใช่การอนุญาตให้ควบรวมแต่เป็นการรับทราบ มีการโหวต 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการลงมติว่าสรุปแล้วกสทช.มีอำนาจให้ควบรวมหรือไม่ สิ่งที่ลงมติออกมาเป็น 2 ต่อ 2 เสียง ซึ่งก็เป็นประเด็นว่าในการลงมติเรื่องนี้จำเป็นจะต้องได้เสียงข้างมากของคณะกรรมการทั้งหมด คืออย่างน้อยต้องได้ 3 เสียงแต่กรณีนี้เป็นการที่คะแนนเท่ากัน จึงต้องให้ประธานชี้ขาด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่เป็นกรณีพิเศษไม่ใช่ในกรณีนี้ ตามข้อบังคับการประชุมของกสทช.

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวต่อว่า เมื่อมาดูมติเสียงข้างมากบอกว่าตัวเองไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตและใช้วิธีเพียงแค่การรับทราบผลการขอควบรวมธุรกิจ แสดงว่ากสทช.ตีความว่า ทรูและดีแทคไม่ได้อยู่ในธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งค้านสายตาคนทั้งประเทศ และการที่ออกมาตรการหรือเงื่อนไขภายหลังแบบนี้ ตนคิดว่าสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีสำหรับกฎหมายกำกับดูแลในประเทศนี้ ถ้าต่อไปเอไอเอสต้องการจะควบรวมกับ 3BB เขาจำเป็นต้องขออนุญาตหรือไม่ และในกรณีนี้จะนับว่าเป็นธุรกิจประเภทเดียวกันอีกหรือไม่ ฉะนั้น ตนคิดว่ามีปัญหาตั้งแต่กระบวนการโหวตและการตีความกฎหมายทั้งคู่ ผลที่ออกมาในส่วนที่เป็นเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะในหลายเรื่องทั้งในเรื่องเชิงโครงสร้างและในเชิงพฤติกรรม ซึ่งหลายคนอาจจะรู้สึกพอใจแล้วว่ามาตรการที่จะช่วยควบคุมราคา แต่ขอบอกว่าไม่มีการตัดสินของการอนุญาตควบรวมใด ๆ ในโลกนี้ที่ให้รัฐเป็นผู้ควบคุมราคา เพราะทราบกันดีว่าในความเป็นจริงทำได้ยากมาก

“ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีที่สุดคือมาตรการในเชิงโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นการขายลูกค้าให้กับเจ้าอื่น หรือขายคลื่นหรือคืนคลื่นออกมาในส่วนที่มีถือครองคลื่นเกินจำนวนที่กสทช.กำหนดไว้ หรือการใช้เสาสัญญาณร่วมในราคาที่เป็นธรรม ที่สำคัญที่สุดคือทำให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ขึ้นเป็นเจ้าที่ 3 ซึ่งในกรณีนี้ต้องมีการกันคลื่นไว้ส่วนหนึ่งเพื่อที่จะนำไปประมูลสัมปทานให้กับรายใหม่ได้ และอาจจำเป็นต้องให้แต้มต่อกับรายใหม่ให้ได้ราคาที่ถูกเป็นพิเศษด้วยซ้ำ เพื่อดึงดูดให้มีรายที่ 3 เข้ามา จึงคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเงื่อนไขและมาตรการที่ไม่เพียงพอที่จะกู้คืนสภาพการแข่งขันที่เคยมีอยู่ 3 เจ้าได้เลย จึงเป็นที่มาของการคัดค้านการตัดสินใจของ กสทช. ในครั้งนี้ต่อไป เนื่องจาก กสทช.ไม่ได้ใช้อำนาจของตัวเองอย่างที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว

‘ชลน่าน’ ไม่เห็นด้วยปมควบรวม ‘ทรู-ดีแทค’ จ่อตั้งกระทู้ถามสด - เสนอญัตติด่วนหลังสภาเปิด

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ตามที่มีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทคนั้น ตนกังวลและไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการที่อาจนำไปสู่การผูกขาดในธุรกิจใดๆ โดยมีความเห็นดังนี้ 

1.) ตนไม่เห็นด้วยกับการควบรวมที่เป็นการผูกขาดการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะกระทบการแข่งขันของผู้ประกอบการ สภาวะการทำธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และจะกระทบผู้บริโภคในท้ายที่สุด 

2.) ตนเห็นว่าการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทค น่าจะมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นกิจการประเภทเดียวกัน และมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมาก 

3.) มีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่ามติ กสทช.ในการรับทราบการควบรวมนั้น ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ และ กสทช.ได้ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตนเห็นว่า กสทช.ต้องตอบคำถามนี้ 

4.) ตนกังวลและเห็นว่าการผูกขาดการประกอบธุรกิจ จะมีผลกระทบต่อสิทธิ์และประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างแน่นอน ซึ่งภาครัฐมีหน้าที่ต้องดูแลและปกป้องคุ้มครองอย่างมากที่สุด

5.) พรรคเพื่อไทยยึดมั่นในหลักนิติธรรมและระบบกฎหมาย และคัดค้านการผูกขาดไม่ว่าในธุรกิจใด 

“ดังนั้นพรรคเพื่อไทยเห็นด้วยกับการที่ผู้มีส่วนได้เสีย ที่จะดำเนินการตามกฏหมาย และยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการควบรวมกิจการดังกล่าว ในเบื้องต้นพรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การตรวจสอบในสภาฯ โดยการตั้งกระทู้ถามสดในสัปดาห์แรกของการประชุมสภาฯ และเสนอพิจารณาญัตติด่วนเพื่อให้สภามีมติในเรื่องนี้ต่อไป” นพ.ชลน่าน กล่าว

‘ศิริกัญญา’ หอบหลักยื่น ป.ป.ช. เอาผิด กสทช. ปล่อยควบรวม True-DTAC ผิดมาตรา 157

‘ศิริกัญญา’ ยื่นหนังสือ ป.ป.ช. ให้เอาผิด กสทช. เสียงข้างมากที่ปล่อยควบรวม True-DTAC พร้อมหอบหลักฐานมีกรรมการ กสทช. บางคนมีรับผลประโยชน์จากซีพี

ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางไปยังอาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี เพื่อยื่นหนังสือให้มีการไต่สวนและตรวจสอบกรณีการปล่อยให้มีการควบรวมทรู-ดีแทค ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หลังกสทช.มีการลงมติเพียงแค่รับทราบการควบรวมกิจการ 2 ค่ายมือถือ โดยทำการยังยั้งการควบรวมตามอำนาจหน้าที่ที่ตนเองมี

ศิริกัญญา ได้พูดถึงปัญหาของการควบรวมกิจการไว้ว่าได้ทำการศึกษาราคาค่าบริการหลังควบรวมพบว่า ราคาค่าบริการจะสูงขึ้นและศักยภาพการให้บริการจะด้อยลง แตกต่างจากในตลาดมือถือที่มีการแข่งขันของรายใหญ่ 3 เจ้า แต่กสทช. ไม่ทำหน้าที่ของตนให้เหมาะสมในการยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในการลงมติของกสทช. ที่เป็นมติพิเศษ มีหลักเกณฑ์ว่า จะต้องได้เสียงกึ่งหนึ่งในการลงมติ และคณะกรรมการในครั้งนี้มีทั้งหมด 5 คน จึงจะต้องลงเสียงให้ได้คะแนน 3:2 แต่มติในครั้งนี้คือ 2:2:1 งดออกเสียงหนึ่งเสียง หากว่ากันตามข้อบังคับการประชุมจะต้องได้ทั้งหมด 3 เสียงขึ้นไป ดังนั้นกสทช. กำลังทำผิดกฎหมายที่ตนเองร่างขึ้นมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top