Monday, 29 April 2024
การเกษตร

‘เฉลิมชัย’ มอบนโยบายเร่ง ‘เพิ่มรายได้’ เกษตรกร พร้อมตั้งเป้าพัฒนา ‘อาชีพปศุสัตว์’ สู่เกษตรมูลค่าสูง

'อลงกรณ์' ขานรับทันทีเดินหน้าเพชรบุรีโมเดลดีเดย์ 11 พ.ย.ระดมพลคนปศุสัตว์ผนึกทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาโคขุนโคนมโคพื้นเมืองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำพร้อมยกระดับวัวลานประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ว่า ภายใต้นโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้เร่งเพิ่มรายได้เกษตรกรอย่างยั่งยืนโดยตั้งเป้าหมายพัฒนาอาชีพปศุสัตว์สู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ในระหว่างปฏิบัติราชการที่จังหวัดเพชรบุรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีโดยคำแนะนำของที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ จึงได้จัดการประชุมเรื่อง 'การพัฒนาโคขุนโคนม โคพื้นเมืองและวัวลานกีฬาประเพณีวิถีไทย' เป็นครั้งแรกเพื่อพัฒนาการปศุสัตว์อย่างเป็นระบบและยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นอย่างยั่งยืนในวันศุกร์ที่ 11 พ.ย. เวลา 14.00- 16.00 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรีโดยประสานงานเขิญทุกภาคส่วนได้แก่จังหวัดเพชรบุรี พาณิชย์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตชะอำ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอาเอ็มอี ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนโคนมโคพื้นเมือง วัวลาน วิสาหกิจชุมชนโค โคแปลงใหญ่ และตัวแทนจากกรมปศุสัตว์ ฯลฯ เข้าร่วมประชุม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโคขุนโคนมและโคพื้นเมืองมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศถือเป็นฐานรายได้สำคัญของเกษตรกรจึงมีความพร้อมที่จะเดินหน้ายกระดับการพัฒนาแบบครบวงจรภายใต้โครงการเพชรบุรีโมเดลตั้งแต่พันธ์ุโค อาหารสัตว์ มาตรการฟาร์ม การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ฟาร์มปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) คอกกักมาตรฐานเอกชนสำหรับการนำเข้า การส่งออก และปลอดโรค FMD การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ และการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์เช่นกรณีของพรี่เมี่ยมบี๊ฟ(Premium Beef)แปรรูปผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้มากกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ เช่น สันนอก สเต็กแช่แข็ง ลิ้นแองกัสสไลด์แช่แข็ง เนื้อหมักกระเทียมพริกไทยเสียบไม้ โดยจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ และส่งไปจำหน่ายยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าได้อีกด้วยหรือกลุ่มโคเพชรบุรีสามารถส่งโคไปภาคใต้สู่ตลาดมาเลเซียเป็นต้นหากมีการยกระดับการพัฒนาจะเพิ่มศักยภาพเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรมากขึ้นโดยเฉพาะการขยายความสัมพันธ์การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียด้านการเกษตรและปศุสัตว์จะเพิ่มช่องทางใหม่ๆให้กับเพชรบุรีซึ่งเลี้ยงและจำหน่ายโคกว่า140,000-150,000ตัวต่อปี พร้อมกันนี้ก็จะจะพัฒนาวัวลานซึ่งเป็นกีฬาประเพณีวิถีไทยสู่มาตรฐานใหม่ให้สามารถจัดการแข่งขันได้สม่ำเสมอรวมทั้งการส่งเสริมวัวเทียมเกวียน

'เกี่ยวข้าวรักษ์โลก' ปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน | THE STATES TIMES Y WORLD EP.31

'เกี่ยวข้าวรักษ์โลก'

ปฏิวัติการทำนาสู่ความยั่งยืน

สร้างรอยยิ้มเกษตรกรผ่าน BCG Model

.
ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World

.

#THESTATESTIMESYWORLD 
#ประยุทธ
#นายก
#การเกษตร

‘บิ๊กตู่’ สั่ง ‘ก.แรงงาน’ เร่งพัฒนาฝีมือแรงงานภาคการเกษตร เพื่อยกระดับเป็น ‘เกษตรอัจฉริยะ’ สอดคล้อง BCG Model

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 65 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จากการลงตรวจเยี่ยมพื้นที่ในทุกภูมิภาค นายกฯ ได้มีนโยบายพัฒนาศักยภาพแรงงานทุกกลุ่ม และมีความห่วงใยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งผลกระทบด้านพลังงาน ผลกระทบด้านการผลิต จึงต้องการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน จึงมีนโยบายและมุ่งมั่นยกระดับเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะ Smart Farmer โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพด้านเกษตร เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในทุกมิติ 

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า แต่การเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการและแรงงานในภาคเกษตรด้วย นายกรัฐมนตรี จึงมอบนโยบายไปยัง นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ดำเนินการพัฒนาฝีมือเพื่อเข้าตลาดแรงงานนี้โดยเร่งด่วน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) จึงได้ดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้โรงเรือนเกษตรแม่นยำปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการมืออาชีพด้านเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นโครงการพิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานภาคการเกษตรสู่เกษตรอัจฉริยะ มีเป้าหมาย 95 โรงเรือนทั่วประเทศ และให้แรงงานภาคการเกษตรมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะในปี 2566 จำนวน 32,300 คน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูกแบบมีโรงเรือน เช่น ระบบควบคุมอัตโนมัติสำหรับการปลูกพืช การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ระบบพ่นหมอก ระบบกักเก็บหรือจัดน้ำ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้เพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร ตามเป้าหมาย โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ สามารถสมัครได้ที่สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ หรือสอบถามที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4

พลิกโฉมสุพรรณ!! ‘เพื่อไทย’ หวังชิงเก้าอี้ ส.ส. ‘สุพรรณฯ’ ชูนโยบายพัฒนาเกษตร มั่นใจ!! ปชช.ได้ประโยชน์

(7 มี.ค. 66) ดร.กุลธิดา เหมาเพชร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 จ.สุพรรณบุรี พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า การลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ แม้จะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่มีความมั่นใจ เนื่องจากกระแสและนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่ว่านโยบายทำได้ทำเป็น ที่จะนำสู่พี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรี ตนจึงถือว่าเป็นตัวแทนของพรรคเพื่อไทย ที่จะนำนโยบายมาถึงพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรี

 

ดร.กุลธิดา กล่าวว่า ในส่วนของผู้สมัครพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ทั้ง 5 เขต เราทราบบริบททางการเมืองของความเป็นชาติไทยพัฒนาในสุพรรณบุรีอยู่แล้ว แต่ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่มานั้น ทำให้ทราบข้อมูลจากพี่น้องประชาชน และเชื่อว่าพรรคชาติไทยพัฒนาก็คงจะปฏิเสธข้อมูลจากพี่น้องประชาชนไม่ได้ว่า ท่านบรรหาร ศิลปอาชา ไม่ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นบริบททางการเมืองสุพรรณบุรี ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน กับวันเวลาที่ผ่านไปด้วย

 

“ข้อมูลตรงนี้ทำให้เราทราบว่าความเป็นเพื่อไทย และนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่ลงสู่พี่น้องประชาชนชาวสุพรรณบุรี จะนำพามาได้อย่างไร ในระหว่างที่กระแสความรุนแรงในสุพรรณบุรีมีเกิดขึ้น กระแสเปลี่ยนมีเกิดขึ้นแน่นอนแต่ว่าจะเปลี่ยนไปได้มากน้อยแค่ไหน ก็คงต้องใช้ระยะเวลาจนกระทั่งเลือกตั้งเสร็จ ตอนนี้เรามีความเชื่อมั่นว่ามีกระแสเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งภาพรวมของความเป็นพรรคเพื่อไทยพรรคใหญ่ จะส่งผลต่อจังหวัดสุพรรณบุรีแน่นอน โดยเฉพาะนโยบายทางด้านการเกษตรที่เป็นนโยบายเบอร์ต้นๆของพรรคเพื่อไทย ที่ชาวสุพรรณบุรี จะได้รับประโยชน์จากนโยบายด้านนี้แน่นอน” ดร.กุลธิดา กล่าว

 

นโยบายครอบคลุม ‘ปชป.’ เดินหน้าปล่อยนโยบายก๊อก 2 เพิ่ม 8 เรื่อง เอื้อประโยชน์ให้ด้านการเกษตร เพื่อดันเศรษฐกิจไทย

‘ปชป.’ เปิดนโยบายก๊อก 2 เพิ่ม 8 เรื่อง อินเตอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุด เรียนฟรีถึงปริญญาตรี 12 สาขา เอื้อความต้องการตลาดแรงงาน เดินหน้ารักษาฟรี ตรวจสุขภาพฟรี บัตรประชาชนใบเดียวไม่ต้องเสีย 30 บาท พร้อมจัดเต็มต่อ SME ลืมตาอ้าปาก พร้อมปลดล็อกกองทุน กบข.ซื้อบ้านได้ เพิ่มเงิน อกม. 1 พันบาทต่อเดือน  

(11 มี.ค.66) เมื่อเวลา 10.10 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรค นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรค และนายพิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานนโยบายพรรค ร่วมกันแถลงนโยบายพรรคที่จะใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง

โดย นายจุรินทร์ ได้นำแถลงเปิดตัวชุดนโยบายของพรรคว่า หลังจากพรรคประชาธิปัตย์เปิดตัว 1 ชุด 8 นโยบาย เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์สร้างเงิน สร้างคน สร้างชาติ วันนี้จึงถือเป็นชุดที่ 2 ที่จะเปิดอีก 8 นโยบาย ได้แก่ 

1.อินเตอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุด ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ทุกห้องเรียน ซึ่งหมายถึงชุมชนในเขตเมือง เทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในกทม. ด้วย

2. นโยบายเรียนฟรีถึงปริญญาตรีในสาขาที่ตลาดต้องการ จากการสำรวจเบื้องต้นโดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พบว่า ตลาดมีความต้องการประมาณ 1.8 แสนคน โดยประมาณ ใน 12 สาขาสำคัญ ซึ่งหากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนตั้งรัฐบาล จะสนับสนุนให้มีการเรียนฟรีในสาขาเหล่านี้ เพื่อที่เรียนจบจะได้มีงานทำได้ทันที 

3. นโยบายตรวจสุขภาพฟรี รักษาฟรี โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียว ซึ่งมี 2 เรื่องในนโยบายเดียวกัน คือ รักษาฟรี และตรวจสุขภาพฟรี เป็นการต่อยอดนโยบายเดิมของพรรคที่ทำมาตั้งแต่สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นรมว.สาธารณสุข (สธ.) ในปี 2531 และตนเป็นเลขานุการรมว.สธ. ต่อมาเมื่อตนเป็นรมว.สธ ในปี 2553 ตนได้ริเริ่มนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรี 48 ล้านคน โดยไม่ต้องเสีย 30 บาท ซึ่งดำเนินการได้อย่างราบรื่น วันนี้จึงเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว 

นายกฯ ยินดี ‘ไทย-กานา’ ขยายความร่วมมือด้านเกษตร เดินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-เกษตรทฤษฎีใหม่

ไทย-กานา ขยายความร่วมมือด้านเกษตรกรรม ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-เกษตรทฤษฎีใหม่  

(16 มี.ค.66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ประเทศกานามีความสนใจในแนวทางพระราชดำริว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยกเป็นต้นแบบพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสนใจการทำการเกษตรแบบ BCG Model นายกรัฐมนตรียืนยันไทยพร้อมสนับสนุนเทคโนโลยี องค์ความรู้ ให้คำแนะนำ และผลักดันความร่วมมือสู่ความสำเร็จระหว่างประเทศ

ประเทศกานา มีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกข้าวและเพิ่มผลผลิตภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งประเทศกานาสนใจในแนวทางพระราชดำริว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการทำการเกษตรแบบ BCG Model โดยกานาชื่นชมโครงการ “ข้าวรักษ์โลก” ของไทยที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี และเป็นแนวทางใหม่ของการทำเกษตรกรรมโลก ซึ่งโครงการข้าวรักษ์โลก เป็นต้นแบบการปฏิวัติการทำนาแบบยั่งยืนตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางไว้ จากแนวคิดการผลิตข้าวแบบใหม่ โดยการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้เพื่อการผลิตและลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต ข้าวที่ได้มีคุณภาพสูง และสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากโครงการข้าวรักษ์โลกตอบโจทย์กระแสผู้บริโภคในโลกยุคปัจจุบัน ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

‘ปักกิ่ง’ ใช้งาน 5G - บิ๊กดาต้า ช่วยทำฟาร์มดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการเกษตร ลดต้นทุนแรงงาน

เมื่อวันที่ (25 มี.ค. 66) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สวนสาธิตการเกษตร 2 แห่งในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึง 5G และคลังข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ ‘บิ๊กดาต้า’ เพื่อทำฟาร์มอัจฉริยะ

ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ อุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกเก็บรวบรวมและส่งกลับไปยังแพลตฟอร์มการจัดการที่ควบคุมโดยส่วนกลางผ่านเครือข่าย 5G

‘อู ชุนฟาง’ จากสวนการเกษตรสือเหวยเซียนในปักกิ่ง บอกเล่าว่า “เราเริ่มสร้างฟาร์มอัจฉริยะในปี 2016 โดยผสมผสานเทคโนโลยี 5G อุปกรณ์ทันสมัย และแพลตฟอร์มการจัดการที่ควบคุมโดยส่วนกลาง”

บิ๊กตู่’ โชว์ผลงาน ‘การท่องเที่ยว-การเกษตร’ ฟื้นตัว ส่งผลเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง - ความเชื่อมั่นพุ่งสูง

(28 เม.ย.66) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ตนมุ่งมั่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยจากวิกฤติการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควด-19 และผลกระทบจากสงครามในทวีปยุโรป ทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

ล่าสุด รายงานสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน มี.ค.2566 เศรษฐกิจได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและภาคการเกษตรที่ขยายตัวได้ดี อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง จากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 20.1% การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ลดลงจากเล็กน้อยช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -0.9% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.8 จากระดับ 52.6 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และสูงสุดในรอบ 37 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง

พลเอกประยุทธ์ กล่าวว่า โดยเฉพาะในช่วงเดือน มี.ค. 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวมจำนวน 2.22 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 953.0% ขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2566 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นใน 6 เดือนข้างหน้า ปรับตัวดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 83.5 ภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 82.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 77.4 ภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 76.8 ภาคกลางอยู่ที่ระดับ 71.9 กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 60.9 

‘เพื่อไทย’ หารือ ‘สมาคมการค้ามันสำปะหลัง’ มุ่งแก้ปัญหาโรคระบาดใบด่างในมันสำปะหลัง

(25 ก.ค. 66) นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับปัญหาไวรัสใบด่างระบาดในมันสำปะหลัง ที่ฉุดให้ผลผลิตตกต่ำลง ระบุว่า..

พรรคเพื่อไทยเดินหน้าแก้ปัญหาโรคไวรัสมันสำปะหลังระบาดให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติร้อนแล้งซ้ำเติม คาดฉุดผลผลิตลดฮวบ รายได้เกษตรหาย ปากท้องรายได้ ปัญหาเร่งด่วนที่เพื่อไทยรอไม่ได้

ทีมวิชาการการเกษตรเพื่อไทย นำโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง นายสรวงศ์ เทียนทอง นายพรหมมิน สีตบุตร นายคมเดช ไชยศิวมงคล พบนายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช ผู้แทนสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย และคณะ แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และการดำเนินการด้านการป้องกันรักษาโรคไวรัสใบด่างระบาดในมันสำปะหลัง และแนวทางเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำแล้ง จากภาวะเอลนีโญ ที่จะส่งผลโดยตรงต่อการผลิตภาคเกษตรที่อาจรุนแรง และส่งผลต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปีจากนี้

นายบุญศรี ให้ข้อมูลว่า เรื่องโรคระบาดในมันสำปะหลังขณะนี้ ยังอยู่ในสถานการณ์ที่สามารถบรรเทาความรุนแรงของการระบาดลงได้ หากได้รับการดูแลอย่างจริงจัง แต่หากยังล่าช้าละเลย สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ อาจสร้างความเสียหายลุกลาม แก่อุตสาหกรรมแปรรูปและส่งออกมันสำปะหลังของประเทศไทยมูลค่ารวมกว่าแสนล้านบาท 

ผู้แทนสมาคมมันสำปะหลังไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาสถานการณ์แพร่ระบาดโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประมาณการความเสียหายกินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังขณะนี้กว่า 3 ล้านไร่ ขณะที่รายงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่าสามารถควบคุมพื้นที่การระบาดได้อยู่ที่ 4 แสนไร่เท่านั้น โดยผลกระทบโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลัง อาจทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังหายไปอย่างน้อย 50% จากผลผลิตปีละ 40 ล้านตัน อาจเหลือเพียง 20 ล้านตันเท่านั้น

โดยมาตรการการของหน่วยงานรัฐ ที่ใช้เพื่อการควบคุมโรคระบาดไวรัสใบด่างที่ใช้อยู่ในขณะนี้ คือการตัดเผาทำลายหากตรวจพบในรัศมี 1 ตารางกิโลเมตร และควบคุมการขนย้ายท่อนพันธุ์ ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเกษตรกรในทางปฏิบัติด้วยกรอบกฎระเบียบราชการ

ในส่วนการทำงานของทีมวิชาการเกษตรพรรคเพื่อไทย รับทราบและติดตามปัญหามันสำปะหลังมาโดยตลอด โดยทีมทำงานได้ทำแปลงทดลองแก้ไขปัญหาไวรัสใบด่างในมันสำปะหลังด้วยวิธีการหลากหลาย และเก็บผลเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ 

แปลงที่ 1 ใช้จุลินทรีย์กรีนพลัส ฉีดลงดินเพื่อขจัดเชื้อรา และใช้ชีวพันธุ์โอซิล ตระกูลไคโตซานที่เป็นนาโน ร่วมกับซิลเวอร์นาโน ฉีดพ่นที่ใบและลำต้น เพื่อฆ่าเชื้อและบำรุงท่อน้ำเลี้ยง ร่วมกับน้ำหมักจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นการผสมรวมน้ำหมักจุลินทรีย์ และจีพลัส ฮอโมนพืช ควบคุมแปลงโดยนายคมเดช ไชยศิวมงคล ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าสามารถระงับการแพร่ระบาดได้และต้นมันที่ติดโรคก็สามารถแข็งแรงผลิใบใหม่ได้ 

แปลงที่ 2 ใช้แคลเซียมเซียมคาร์บอเนตเข้มข้น ฉีดพ่นต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรค ในแปลงทดสอบ ที่นครราชสีมา พบว่าผนังเซลล์ของมันสำปะหลังแข็งแรงขึ้นสามารถต้านทานโรคได้ดี และฟื้นตัวจากโรคไวรัสใบด่างได้

และแปลงที่ 3 ทดสอบรวมผลการใช้ผลิตภัณฑ์จากแปลงที่ 1 และแปลงที่ 2 ควบคู่กัน สู่ผลลัพธ์ การควบคุมป้องกันโรค และสมมุติฐานความสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ขึ้นได้ด้วยหรือไม่

พรรคเพื่อไทยลงมือทำงานและศึกษาเรื่องมันสำปะหลังในฐานะพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานสมาคม และทีม สส. พรรคเพื่อไทย มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบข้อเท็จจริงและเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาความเดือดร้อน อุปสรรคการทำมาหากินของพี่น้องประชาชน ตรงประเด็นที่สุด รวดเร็วที่สุด เพราะปัญหาปากท้องคือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่เรารอไม่ได้ โรคระบาดแก้ได้ต้องรีบจัดการ ส่วนภัยแล้งยังแก้ไม่ได้ต้องหาทางบรรเทาบนพื้นฐานการจัดการที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

‘สมบัติ’ จวก!! นโยบายด้านการเกษตรของ รบ.เศรษฐา ‘เลื่อนลอย-ไร้หลักเกณฑ์’ เป็นนโยบาย Metaverse ที่เสมือนจริง แต่ไม่ใช่ความจริง

(12 ก.ย. 66) จากรัฐสภา อภิปรายการแถลงนโยบายรัฐบาลของ ครม.เศรษฐา วันแรก 11 ก.ย. 2566 นายสมบัติ ยะสินธุ์ สส.แม่ฮ่องสอน เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล ไว้ว่า...

นโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลชุดนี้ ยังกว้าง เลื่อนลอย สร้างความฝัน ไม่มีหลักเกณฑ์ หลักประกันให้แก่พี่น้องเกษตรกร

โดยเฉพาะที่กล่าวไว้เรื่อง นโยบาย 'ตลาดนำ' นำแบบไหน เขียนไว้แต่หัวข้อ วิธีแนวปฏิบัติก็ไม่มี เช่น...

นโยบาย เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิผล ก็เขียนไว้ลอยๆ ทางสมาชิกสภา และคนที่อยู่ทางบ้าน ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ ว่ารัฐบาลจะหาทางออก หรือทำให้เกษตรกรอยู่ดีกินดีได้อย่างไร เกษตรกร รอความหวัง รอทางรอด กันต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายหาเสียง โดยจะทำให้ราคาสินค้า 'ขึ้นยกแผง' และกล่าวว่า รายได้เกษตรกรจะเพิ่มอีก 3 เท่าภายใน 4 ปี

แต่ในคำแถลงนโยบายของท่าน เผยว่า มีเป้าหมายทำให้รายได้ของเกษตรกรทั้งประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ... ตรงไหน คือ 3 เท่า ก็ไม่มีบอก บอกว่าจขึ้นเป็นนัย และนี่คือความไม่ชัดเจนของรัฐบาลชุดนี้

สำหรับพี่น้องเกษตรกร ที่กำลังมีความหวังกับรัฐบาลชุดนี้ แต่กลับต้องมาเจอกับการไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ เพื่อออกมาให้เขาชื่นอกชื่นใจ

ผมขอยกตัวอย่าง พืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด (ข้าว, ยางพารา, มันสำปะหลัง, ปาล์มน้ำมัน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 'ข้าว' อย่างเดียวก็ได้ เพราะประเทศไทยเราผลิตข้าวได้มาก

เวลาผลผลิตข้าวออกมาในช่วงฤดู แน่นอนว่าคนย่อมต้องการขาย เยอะกว่าคนต้องการซื้อ แต่ถ้าราคาตกต่ำแล้ว ท่านจะมีมาตรการอย่างไร ที่จะรองรับสถานการณ์ข้าวล้นตลาดได้บ้าง

เพราะตอนข้าวล้นตลาด ท่านก็เคยบอกว่าไม่เอาประกันราคาข้าว ไม่เอาจำนำราคาข้าว แล้วท่านจะมีวิธีการทำให้ข้าวราคาดีได้อย่างไร

สมัยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เรามีโครงการ 'ประกันรายได้' ซึ่งได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร เฉพาะข้าวอย่างเดียวมากกว่า 4.6 ล้านครัวเรือน และถ้ารวมพืชเศรษฐกิจทั้ง 5 ชนิด เกษตรคนไทยที่ได้รับประโยชน์ก็มีมากกว่า 8 ล้านครัวเรือน สะท้อนให้เห็นถึงการดูแลจากรัฐบาลหลังเกษตรกรปลูกพืชต่างๆ ขึ้นมาแล้ว จะไม่ต้องประสบกับความยากลำบาก

แต่ว่าวันนี้รัฐบาลชุดนี้ มีแต่โยบายภาพลวงๆ กว้างๆ ไม่ชัดเจน ไม่มีแนวปฏิบัติ

ดังนั้น ผมจึงอยากเรียกนโยบายชุดนี้ว่า 'นโยบาย Metaverse อยู่ในโลกเสมือนจริง ที่ไม่ใช่ความจริง'

มีแต่นโยบายที่สร้างให้คนฝัน ปิดสวิตช์เมื่อไร เราก็จะกลับสู่โลกแห่งความจริง ก็คือ 'เกษตรกรลำบากเหมือนเดิม'

อันที่จริงรัฐบาลนี้ ยังมีนโยบายหาเสียงอีกมากมาย แต่กลับไม่ได้นำมาบรรจุไว้ เช่น...

นโยบายโคขุนเงินล้าน ... หายไปไหนครับ? เกษตรกรที่อยากรวยเงินล้าน เขารอท่านอยู่ แต่กลับไม่มีอยู่ในเนื้อนโยบายแถลง

นโยบายทุเรียนล้านไร่ ... อยู่ไหนครับ? 

นโยบายปลูกพืชทดแทน ... พืชตัวไหนราคาตกต่ำ จะหาพืชมาทดแทนให้ คำถามคือ ชนิดไหนบ้าง หรือแม้แต่เลี้ยงสัตว์ทดแทนชนิดไหนบ้าง ที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จริง

นโยบายสนับสนุนประมงพื้นบ้าน ... ไม่มีครับในคำแถลง

ทั้งหมดเป็นคำพูด เป็นนโยบายที่สวยหรู เพื่อขอคะแนนจากพี่น้องประชาชน ให้ชนะเลือกตั้งเท่านั้นหรือไม่ ท่านไม่ได้มุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงใช่หรือไม่

ผมหวังให้พวกท่านหลุดออกจาก Metaverse แล้วกลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยได้อย่างตรงจุดและเป็นความหวังให้พวกเขาได้จริงๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top