Monday, 29 April 2024
กระทรวงยุติธรรม

'สมศักดิ์' แจงฉีดไข่ฝ่อในผู้ต้องหา ต้องมี ‘ความเห็นแพทย์-คำสั่งศาล’

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึง ร่างพ...มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง ว่า ขณะนี้ร่าง พ...อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภา โดยร่างกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการป้องกันภัยคุกคามทางเพศและความรุนแรงต่างๆ รวมทั้งการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้หลักทางจิตวิทยา และมาตรการทางการแพทย์ เพื่อเข้ามามีส่วนในการป้องกันในผู้ต้องหาที่ได้กระทำผิดซ้ำ เช่น การใช้ยา การฉีดฮอร์โมนลดความต้องการทางเพศ หรือฉีดให้ฝ่อ โดยมาตรการทางการแพทย์ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมายใส่อุปกรณ์ติดตามตัว และมีเจ้าหน้าที่คุมประพฤติติดตามดูแล เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้หญิงและเด็ก

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในประเด็นที่สังคมมีการถกเถียงเรื่องการฉีดให้ฝ่อนั้น เราทำโดยพลการไม่ได้ ต้องมีความเห็นจากแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างน้อย 2 คน มีความเห็นพ้องต้องกันโดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้กระทำความผิดด้วย ซึ่งวิธีการต่างๆ ที่เรากำหนดไว้ไม่ใช่เรื่องป่าเถื่อน นานาประเทศเขาก็ทำกัน อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา มีบางรายที่ต้องถูกควบคุมตลอดชีวิต ส่วนค่าใช้จ่ายการฉีดให้ฝ่อ 100,000 บาทต่อรายนั้น ตนคิดว่าคงมีไม่กี่คนที่ต้องฉีด และขั้นตอนไม่ได้เร็วหรือง่าย ซึ่งการที่เรามีกำไล EM และอาสาสมัครคุมประพฤติ ก็สามารถช่วยในเรื่องนี้ได้มากอยู่แล้ว

รมว.ยุติธรรม สั่งเรือนจำ ห้ามกักตัวผู้ต้องขัง 15 -21 วัน หาโควิด เมื่อพ้นโทษ หลังได้รับร้องเรียน เตือน เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ชี้ ต้องตรวจก่อนพ้นโทษ ขู่ ลงโทษหนักหากพบ ขอญาติผู้ต้องขัง ไม่ต้องห่วง

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนมาว่า เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษในเรือนจำแล้ว ยังต้องถูกกักตัว 15-21 วัน เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งเรื่องนี้ ได้กำชับกรมราชทัณฑ์ไปแล้วว่า เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะต้องมีการตรวจหาเชื้อโควิด ก่อนพ้นโทษ และเมื่อเขาพ้นโทษ ก็ต้องปล่อยตัวได้ทันที โดยอย่าพยายามกักกันเขาเพิ่ม

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ ทางอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้รายงานกลับมาแล้วว่า ไม่มีนโยบายกักตัว 15-21 วัน เมื่อผู้ต้องขังพ้นโทษ จึงได้ให้ปฎิบัติตามแนวทางนี้ทั้งหมด โดยไม่มีการกักตัวเมื่อพ้นโทษ เพราะทางเรือนจำ จะทราบอยู่แล้วว่าใครจะพ้นโทษบ้าง ก็แค่แยกออกมากักตัวก่อนล่วงหน้า เมื่อถึงกำหนดเขาก็จะได้รับการปล่อยตัวตามสิทธิ

'สมศักดิ์' ขอบคุณ 'ชัชชาติ' ตอบรับ ก.ยุติธรรม ให้โอกาสผู้ต้องขังชั้นดีลอกท่อช่วยแก้น้ำท่วม

(2 มิ.ย.65) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีกระทรวงยุติธรรมประสานกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อส่งผู้ต้องขังชั้นดีไปช่วยลอกท่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.ว่า ส.ส.กทม.ของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) หลายคนได้มาพูดคุยกับตนเองถึงการดูแลคน กทม. เพราะเขาเห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสามารถจะสนับสนุนได้ 

โดยก่อนหน้านี้กระทรวงยุติธรรมก็พยายามทำอยู่แล้วแต่มีเหตุการณ์ตามที่เป็นข่าว อย่างไรก็ตามขอขอบคุณสื่อมวลชนที่สนใจติดตามที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขกับเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่ออุดตันต่างๆ คิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำอยู่ รวมถึงผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษแล้วจะได้มีเงิน มีความสุขบ้างที่จะได้ออกมาดูบรรยากาศข้างนอกชั่วครั้งชั่วคราวถือเป็นประโยชน์หลายมุม

“ขอขอบคุณผู้ว่าฯ กทม.ที่เห็นตรงกัน เข้าใจว่าการลอกท่อจะต้องมีการว่าจ้างบริษัทเอกชนที่รับทำความสะอาด และงบประมาณคงหมด เข้าใจอยู่และไม่ได้ไปกดดันอะไร เพียงแต่เตรียมพร้อมไว้ เพราะปีงบประมาณนี้เหลืออีกเพียง 3 เดือนกว่าเกือบ 4 เดือน”  รมว.ยุติธรรม กล่าว

'สมศักดิ์' โว!! กม.ใหม่ปราบยาเสพติด เวิร์ก!! ทะลักไทยน้อยลง วัดจากคดีจับกุม-ยึดทรัพย์

(30 มิ.ย.65) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม กล่าวภายหลังร่วมพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2565 ว่า... 

“ในเรื่องยาเสพติดที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดฟื้นฟูและในรายละเอียดต่างๆ จากกระบวนการของประเทศเราที่มีการปรับเปลี่ยนกฎหมาย โดยยกเลิกกฎหมายยาเสพติดฉบับเก่าทั้งหมด 24 ฉบับ และมีประมวลกฎหมายยาเสพติดที่เขียนขึ้นมาใหม่โดยมีผลใช้บังคับในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา พบสถิติการจับกุมมากขึ้น ในเรื่องของทรัพย์สินสามารถยึดทรัพย์ได้มากขึ้น ซึ่งในอดีตยึดได้ไม่เกิน 600 ล้านบาทต่อปี แต่วันนี้ตัวเลขล่าสุด ‘ยึด-อายัด’ ได้ถึงกว่า 9,200 ล้านบาท โดยเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้อยากประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทราบ เงินสินบนที่ประชาชนทั่วไปแจ้งเบาะแส จะได้รับส่วนแบ่ง 5% และในส่วนราชการที่บูรณาการจับกุมทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมจะได้ 25%

'บิ๊กตู่' พอใจ ช่วยประชาชนไกล่เกลี่ยหนี้สำเร็จ กว่า 5.6 หมื่นราย  พร้อมชม 'สมศักดิ์' จัด มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ได้ผล ขณะที่กระทรวงยุติธรรม เตรียมจัดต่ออีก 7 จังหวัด

เมื่อวันที่ 7 ส.ค. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ติดตามข้อสั่งการในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ตามที่ได้ประกาศให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” โดยกระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการ “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สิน หนี้ครัวเรือน”  ผลการไกล่เกลี่ยล่าสุดข้อมูลวันที่ 6 สิงหาคม 2565 มีผู้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย รวมทั้งสิ้น 59,436 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 56,674 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.35 รวมทุนทรัพย์ 11,995 ล้านบาท ลดค่าใช้จ่ายประชาชน 5,114 ล้านบาท ภายในงานได้จัดนิทรรศการและบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

นายธนกร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ชื่นชม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้เช่าซื้อรถยนต์ (ลิสซิ่ง) ทั่วประเทศ การจัดมหกรรมยุติธรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนฯ ทั่วประเทศ จะเหลืออีก 7 ครั้ง  ที่จังหวัดสระแก้ว นครนายก สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ตราด จันทบุรี และชลบุรี เสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม ซึ่งการจัดงานแต่ละครั้งจะมีการไกล่เกลี่ยของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ที่เป็นหนี้ก่อนฟ้อง และการไกล่เกลี่ยของกรมบังคับคดี ที่เป็นหนี้ภายหลังศาลมีคำพิพากษาแล้ว โดยมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสถาบันการเงิน หลายหน่วยงาน อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์  ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน)  บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมด้วย

เผยโครงการไกล่เกลี่ยหนี้ฯ ช่วยคนกว่า 6 หมื่นราย ‘สมศักดิ์’ ชวนปชช.ร่วมงาน 8-11 ก.ย.นี้ ที่เมืองทองธานี

‘ส.ส.ธนกร’ เผยความสำเร็จโครงการไกล่เกลี่ยหนี้ช่วยประชาชนแล้วทั่วประเทศกว่า 6 หมื่นราย ‘สมศักดิ์’ เดินหน้าเก็บตก ชวนประชาชนที่มีข้อพิพาทร่วมงาน 8-11 กันยายน นี้ ที่เมืองทองธานี

นายธนกร วังบุญคงชนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชารัฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน ‘มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน’ ของกระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันดำเนินการ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อน ‘ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน’ ซึ่งได้จัดกิจกรรม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม 2565 มาแล้วทั้งสิ้น 77 ครั้ง ทั่วประเทศ มีผู้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย รวมทั้งสิ้น 105,700 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 64,267 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.59 ทุนทรัพย์ 13,001 ล้านบาท สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนในการดำเนินคดีได้ถึง 5,621 ล้านบาท

นายธนกร กล่าวต่อไปว่า การจัดมหกรรมยุติธรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนฯ ทั่วประเทศ ที่ผ่านมา ถือว่าประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจะจัดกิจกรรมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและ SMEs อีกครั้งภายใต้ชื่องาน ‘มีหนี้ต้องแก้ไข รุกก้าวไปอย่างยั่งยืน’ ระหว่างวันที่ 8-11 กันยายน 2565 เวลา 09.00 16.30 น. ณ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอล์ล 5 เมืองทองธานี

25 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนา ‘กระทรวงยุติธรรม’

หนึ่งในหน่วยงานที่ดำเนินการคู่กับกระบวนการทางกฎหมาย นั่นคือ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งในวันนี้ ถือเป็นวันสำคัญทางกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันก่อตั้ง กระทรวงยุติธรรม ที่มีอายุมากกว่า 130 ปี

กระทรวงยุติธรรมของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยการสถาปนากระทรวงยุติธรรมขึ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นงานปฏิรูปกฎหมายชิ้นแรกของยุคสมัยก็ว่าได้ ทั้งนี้เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง

แต่เดิมมีการใช้ชื่อว่า กระทรวงยุติธรรม และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2495 โดยในระยะแรกเริ่ม ในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างเนติบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการต่างประเทศ เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา ได้แก่ นายกุสตาฟ โรแลง แยกแมงส์ ชาวเบลเยียม ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยราชา สยามนุกูลกิจ

1 มิถุนายน พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศใช้ ประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย

กฎหมายของไทยในสมัยอดีตในยุคก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ได้มีการใช้พระราชศาสตร์ มาเป็นแนวทางในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างขึ้นจากการพิจารณา และคำตัดสินในเหตุการณ์ต่าง ๆ และก็ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินตราขึ้นใช้บังคับ ตัวอย่างเช่น กฎหมายลักษณะแพ่ง กฎหมายลักษณะอาญาหลวง กฎหมายลักษณะผัวเมีย ลักษณะโจร เป็นต้น

พอมาสมัยรัตนโกสินทร์ในตอนต้น ในช่วงรัชกาลที่ 1- 4 ประเทศไทยมีกฎหมายตราสามดวงบังคับใช้ ต่อมามีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้กฎหมายของไทยก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเริ่มมีการปรับปรุงกฎหมายให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับหลักความยุติธรรม

ต่อมาเมื่อ กรมหลวงราชบุรีทรงสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ก็ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้นที่กระทรวงยุติธรรม โดยทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง และได้เขียนตำรากฎหมายขึ้นตามที่เป็นอยู่ในแบบกฎหมายของประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาและการละเมิดนั้นได้เอาหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายอังกฤษมาสอน และผู้พิพากษาศาลไทยก็นำเอากฎหมายอังกฤษตามใช้ที่สอนในตำรามาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี 

การร่างกฎหมายใหม่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายใหม่นี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยมีนักกฎหมายชั้นนำของไทยและของต่างประเทศ ได้เลือกร่างกฎหมายลักษณะอาญาก่อนกฎหมายฉบับอื่น โดยร่างเป็นภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงค่อยแปลเป็นภาษาไทย เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2450

จากนั้นก็พิมพ์เป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส เมื่อเสร็จแล้วคณะกรรมการก็นำขึ้นทูลเกล้าถวาย และได้ทรงประกาศใช้เป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2451 และเรียกประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้ว่า ‘กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127’

ว่ากันว่าประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้เป็นกฎหมายที่ทันสมัยมากในสมัยนั้น เพราะได้นำเอาหลักกฎหมายอาญาอันเป็นที่นิยมกันในประเทศต่าง ๆ มาพิจารณาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคมไทยขณะนั้น และเพื่อเป็นการยกระดับประเทศขึ้นสู่ระดับอารยประเทศ

กฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นประมวลกฎหมายที่แท้จริงฉบับแรกของไทย มีทั้งสิ้นรวม 340 มาตรา 
และได้ใช้บังคับมาจนถึง พ.ศ. 2486  จึงได้มีการปรับปรุงใหม่ ฉบับใหม่เรียกว่า ‘กฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ. 2486’ และได้ใช้ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2499 จึงได้มีการปรับปรุงใหม่อีกครั้งคือประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

'พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงนโยบายรัฐบาล ประกาศฟื้นฟูหลักนิติธรรม-ไม่ยืนฝั่งคนทำผิด

เมื่อวานนี้ ( 12 กันยายน 2566 ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 21.25น. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ขอเรียนว่า วันนี้รัฐบาลยังไม่ได้ทำงาน การทำงานได้ต้องหลังแถลงนโยบาย นโยบายเป็นทิศทางให้เห็น 4 ปีข้างหน้าจะบริหารงานไปทิศทางใด ในส่วนกระทรวงยุติธรรม ผมถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุด เนื่องจากรัฐบาลนี้หยิบการฟื้นฟูหลักนิติธรรมขึ้นมา หลักนิติธรรม เป็นหลักพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นหลักในการควบคุมการใช้อำนาจของทุกหน่วยงาน ไม่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ อันนี้คือ บทบาทสำคัญที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องรับนโยบาย ขณะที่สิ่งที่ท้าทาย คือ เราต้องนำตัวชี้วัด มาตรฐานหลักนิติธรรม การคอร์รัปชัน ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องเข้าไปแก้ไข ผู้ที่ดูอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ต้องไม่ไปยืนในฝั่งผู้กระทำความผิด หลักนิติธรรม คือ บ้านเมืองต้องปราศจากคอร์รัปชัน ขณะที่รัฐบาลต้องโปร่งใส และต้องส่งเสริมสิทธิพื้นฐาน ไม่ว่าเรื่องแรงงาน ชุมชน ป่าไม้ การปกป้องนักสิทธิมนุษยชน ที่ออกมาต่อสู้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีคำถาม นโยบายรัฐบาลนี้ ทำไมไม่มีเรื่องนโยบายภาคใต้ ผมได้สอบถามที่ประชุม ครม.แล้วว่า ทำไม นโยบายรัฐบาล ทั้ง 14 หน้าไม่มีเรื่องภาคใต้ ก็ได้รับคำตอบ เรามีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้เอามาเขียน เรื่องแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ 

"ส่วนกรณียาเสพติดร้ายแรง บทบาทกระทรวงยุติธรรมได้เปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา คือ เราเอาประมวลยาเสพติดขึ้นมาใช้ ประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้ตั้งแต่ปี 2564 แต่กฎหมายลูกล่าช้าก็ยังไม่ประกาศใช้" พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว

‘ปตท.’ รับรางวัลสูงสุด ‘องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน’ ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน สะท้อนองค์กรยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล-สร้างความเท่าเทียม-ยกระดับคุณภาพชีวิต

เมื่อเร็ว ๆ นี้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธี มอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 (Human Rights Awards 2023)” จัดโดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ระดับดีเด่น ประเภทองค์กรรัฐวิสาหกิจ ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยมีนายวรพงษ์ นาคฉัตรีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน ปตท. เป็นผู้แทนรับมอบรางวัล นับเป็นรางวัลระดับสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สะท้อนการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ที่ยึดมั่นพันธกิจดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี มีธรรมาภิบาล และเคารพซึ่งหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรในระยะยาว และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมไทยให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top