Wednesday, 15 May 2024
TheStateTimes

วันนี้ถูกยกให้เป็น ‘วันอนุรักษ์ควายไทย’ สัตว์ที่อยู่คู่สังคมเมืองไทยมาเนิ่นนาน ความสำคัญของวันนี้ เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และดูแลควายไทย ตลอดจนส่งเสริมการเลี้ยงควายไทย ไม่ให้ถูกลดความสำคัญลงไป

ที่มา ‘วันอนุรักษ์ควายไทย’ เกิดขึ้นเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสถึงหลักการดำเนินโครงการธนาคารโค กระบือ เป็นครั้งแรกแก่คณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ หลายฝ่ายยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของควายไทย ที่ปัจจุบันถูกลดความสำคัญลงไป จนกลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น

ด้วยเจตนารมย์ทั้งหมดเหล่านี้ ส่งผลให้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ได้จัดการประชุม โดยมีผู้แทนสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทยเข้าร่วมประชุม สรุปมีมติเห็นชอบ กำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น ‘วันอนุรักษ์ควายไทย’

โดยในส่วนของโครงการในพระราชดำริ ‘ธนาคารโค กระบือ’ มีความมุ่งเน้นในการช่วยเหลือเกษตกรยากจนที่ไม่มีโค-กระบือ เป็นของตนเอง โครงการดังกล่าวจะเข้ามาบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ของเกาตรกร อาทิ ให้เช่าซื้อผ่อนส่งระยะยาว ให้เช่าเพื่อใช้งาน ให้ยืมเพื่อใช้งาน หรือให้ยืมเพื่อทำการผลิตพันธุ์ 

ทั้งหมดเหล่านี้ถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อเกษตรกรไทย ในการสนับสนุนการสร้างอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมด้านวิชาการ สร้างความตระหนักรู้ และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ควายไทยสืบไป

แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำ แต่การดูแลใส่ใจในสาธารณูปโภคพื้นฐาน ตลอดจนรากเหง้าของสังคม ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ถือเป็นสิ่งที่ควรดำเนินควบคู่กันไป เพื่อความเจริญของประเทศที่ยั่งยืน


ที่มา:  

http://www.rspg.or.th/special_articles/hm_king60/king_608-2.htm

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/754734

https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/news_4146661
 

วันนี้เป็นวันพิเศษของปวงชนชาวไทย โดยเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เจริญพระชนมายุ 43 พรรษา

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2521 ทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กูลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาระดับปวช. (เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) ณ วิทยาลัยพาณิชยการพระนคร (ชื่อปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พณิชยการพระนคร) จากนั้นจึงทรงศึกษาต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2543

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์  โดยในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

วันนี้เป็นเฉลิมพระชนมพรรษา ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงยิ่งยืนนาน ทรงพระเจริญ


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา_พัชรสุธาพิมลลักษณ_พระบรมราชินี


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9
 

‘ฉีดแล้วต้องรู้’ เช็กอาการหลังฉีดวัคซีน แบบไหนไม่รุนแรง หรือแบบไหนไม่น่าไว้วางใจ

เมื่อวานดีเดย์ เริ่มต้นปฏิบัติการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันทั้งประเทศ งานนี้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งลุย! ออกตรวจงาน ‘ปฏิบัติการปูพรมวัคซีน’ และตรวจเยี่ยมดูแลให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มารับการฉีดวัคซีน ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีในการสู้กับสงครามการระบาดครั้งนี้ ในส่วนของประชาชน เมื่อฉีดแล้วก็อย่าเพิ่งวางใจ ต้องดูแลความปลอดภัยตัวเองให้ดี THE STATES TIMES มีหลักการสังเกตอาการหลังการฉีดวัคซีน มาให้ตรวจเช็กกัน

พิจิตร – สาธารณสุขและฝ่ายปกครองเมืองพิจิตร กวาดต้อนแรงงานก่อสร้าง1,389 ราย จับตรวจหาเชื้อโควิด

โควิดระบาดกรุงเทพและปริมณฑลรัฐบาลสั่งล็อกดาวน์รวมถึงพื้นที่ต่าง ๆ ในเมืองใหญ่หรือเมืองท่องเที่ยวก็ล้วนหากินยากลำบากส่งผลแรงงานก่อสร้างและชาวพิจิตรที่ไปทำมาหากินต่างถิ่นแห่กลับบ้านนับรวมจาก12อำเภอของพิจิตร1,389ราย ล่าสุดสาธารณสุขจับมือฝ่ายปกครอง ให้กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และ อสม.ระดมกวาดต้อนจับตรวจหาเชื้อโควิดปฏิบัติการเชิงรุก

วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2564 ที่โรงพยาบาลพิจิตร นายแพทย์กมล กัญญาประสิทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร,นายแพทย์สุรชัย แก้วหิรัญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิจิตร ,นายแพทย์โสภณ โฆษิตวานิชย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิจิตร พร้อมด้วย นายไชยา สมถวิล นายอำเภอเมืองพิจิตร ได้ร่วมกันปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโควิดที่เป็นกลุ่มแรงงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพสาขาอื่นที่ไปทำงานในกรุงเทพฯและปริมณฑลรวมถึงจังหวัดใหญ่ ๆ ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวแต่หลังจากที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ไซต์งานก่อสร้างและกิจการร้านอาหารและสถานบันเทิง ส่งผลให้ชาวพิจิตรที่ไปทำงานยังที่ต่างๆ ต่างเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองพิจิตรกันเป็นจำนวนมาก โดยมีสถิติของฝ่ายปกครองและสาธารณสุขแจ้งจำนวนผู้เข้ามาในพิจิตรเมื่อ 29 มิ.ย. 64  พบว่าจากพื้นที่ 12 อำเภอของพิจิตรมีผู้เดินทางเข้ามา 1,388 ราย และเป็นผู้ที่มาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจำนวน 550 คน  กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี  สมุทรปราการ และมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด 11 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตรัง นครปฐม ปัตตานี เพชรบุรี สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี ยะลา นราธิวาส  อีกจำนวน 391 ราย  รวมถึงมาจากพื้นที่ควบคุม 9 จังหวัด 177 ราย  พื้นที่เฝ้าระวัง 53 จังหวัด 271 ราย

โดยในวันนี้ นายไชยา สมถวิล นายอำเภอเมืองพิจิตร ได้ให้กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านและ อสม.เมืองพิจิตร ไปทำการค้นหาตัวและกวาดต้อนชุดแรกจำนวน 41 คน มาทำการ Swap หาเชื้อโควิดและวันพรุ่งนี้ก็จะนำพามาอีก 35 คน เช่นเดียวกับอำเภออื่น ๆ ก็ดำเนินการด้วยวิธีแบบนี้ด้วยเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ นายสมชาย (นามสมมุติ) เล่าว่าตนเองเป็นชาวบ้านอยู่  ต.บ้านบุ่ง อ.เมืองพิจิตร ไปขี่วินมอเตอร์ไซด์รับจ้างอยู่ที่จังหวัดระยองให้บริการคนงานก่อสร้างและผู้ใช้บริการทั่วไป ขณะนี้แคมป์คนงานก่อสร้างสั่งหยุดงานกิจการร้านค้า  ร้านอาหาร ก็ต้องปิดกิจการไปตาม ๆ กัน ทำให้ไม่มีผู้ใช้บริการจึงทำให้ขาดรายได้ ฝืนอยู่ที่ จ.ระยอง บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ รายได้ก็ไม่พอกิน จึงตัดสินใจพาตัวเองและภรรยากลับพิจิตรบ้านเกิด แต่ก่อนที่จะเดินทางมาก็โทรประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านทุกระยะและเมื่อกลับมาก็ปฏิบัติตามนโยบายของทางราชการไม่ได้ไปมั่วสุมกับใคร วันนี้ อสม.-ผู้ใหญ่บ้าน ชี้แจงชักชวนให้มา Swapหาเชื้อโควิดตนเองก็เต็มใจมาทั้งนี้เพื่อจะได้นำผลตรวจไปแสดงให้เพื่อนบ้านและญาติพี่น้องได้รู้ได้เห็นแล้วจะได้สบายใจ ซึ่งถือว่านโยบายของจังหวัดพิจิตรดูแลชาวพิจิตรได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


ภาพ/ข่าว  สิทธิพจน์  พิจิตร

สำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) เพิ่มเติมคำเตือนบนเอกสารข้อเท็จจริงของวัคซีนโควิด-19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ระบุข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอาการระบบประสาทที่เกิดขึ้นยากมาก ๆ ในช่วง 6 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน

เมื่อวันจันทร์ (12 ก.ค. 64) ทางสำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) เพิ่มเติมคำเตือนบนเอกสารข้อเท็จจริงของวัคซีนโควิด-19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ระบุข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอาการระบบประสาทที่เกิดขึ้นยากมาก ๆ ในช่วง 6 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน

ในหนังสือที่ส่งถึงบริษัท ทางเอฟดีเอจัดให้โอกาสเกิดโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre syndrome) หรือโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำให้กล้ามเนื้ออัมพาตอ่อนแรงอย่างเฉียบพลัน ยังคงอยู่ในระดับ 'ต่ำมาก ๆ' และแนะนำว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ควรรีบไปพบแพทย์หากเกิดอาการต่าง ๆ ในนั้น รวมถึงอ่อนแรงหรือเป็นเหน็บชา เดินลำบากและเคลื่อนไหวใบหน้าลำบาก

มีประชาชนฉีดวัคซีนโดสเดียวของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันแล้วราว ๆ 12.8 ล้านคนในสหรัฐฯ และทางเอฟดีเอระบุว่า ได้รับรายงานในเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ในบุคคลที่ฉีดวัคซีน 100 ราย ในนั้น 95 รายเป็นเคสอาการสาหัส ที่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิต 1 ราย

จอห์นสันแอนด์จอห์นสันระบุในถ้อยแถลงว่าพวกเขาอยู่ระหว่างพูดคุยหารือกับทางคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบเกี่ยวกับเคสอาการกิลแลง-บาร์เร

อย่างไรก็ตาม พวกเขาเน้นย้ำว่าเคสอาการกิลแลง-บาร์เร ที่ได้รับรายงานในบุคคลที่ฉีดวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันนั้นถือเป็นอัตราที่เล็กน้อยมาก ๆ

สำหรับกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรืออาการระบบประสาท จัดอยู่ในภาวะภูมิคุ้มกันแปรปรวนที่พบได้ค่อนข้างยาก เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและผลิตสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีออกมาทำลายเซลล์ประสาทของระบบประสาทรอบนอกจนอักเสบและสูญเสียการทำงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนแรง มึนงง เกิดเหน็บชาตามร่างกายในระยะแรก และอาการอาจรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นอัมพาตในที่สุด

ทั้งนี้ เคสกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร เกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ไม่มียาหรือวิธีรักษาเฉพาะ แต่ร่างกายคนเราสามารถเยียวยาตนเองให้หายได้ เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลา แนวทางการรักษาจึงทำโดยประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลง เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และคนส่วนใหญ่มักฟื้นตัวโดยสมบูรณ์จากอาการกิลแลง-บาร์เร

ที่ผ่านมา อาการดังกล่าวเคยถูกโยงกับวัคซีนต่าง ๆ นานา ที่เด่นชัดที่สุดคือ โครงการฉีดวัคซีนระหว่างการแพร่รระบาดของไข้หวัดหมูในสหรัฐฯ ช่วงปี 1976 และอีกหลายทศวรรษก็ถูกโยงกับวัคซีนที่ใช้ระหว่างโรคระบาดใหญ่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ปี 2009

จากถ้อยแถลงของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) พบว่า เคสส่วนใหญ่เกิดกับผู้ชาย ในนั้นจำนวนมากมีอายุ 50 ปีขึ้นไป และซีดีซีพบว่ามันไม่สูงไปกว่าเคสอาการกิลแลง-บาร์เร ที่คาดหมายว่าจะเกิดกับบุคคลที่ได้รับวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ของไฟเซอร์ อิงค์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา อิงค์

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบยุโรปแนะนำออกคำเตือนแบบเดียวกันกับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งใช้พื้นฐานเทคโนโลยีเดียวกับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

คำเตือนนี้ถือเป็นอีกหนึ่งความผิดหวังสำหรับวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งถูกคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือสำคัญสำหรับฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ยากเข้าถึงและในหมู่ผู้คนที่ลังเลฉีดวัคซีน เพราะมันใช้เพียงแค่โดสเดียว และสามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ ต่างจากวัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา

แต่วัคซีนตัวนี้มีอันต้องสะดุดลง จากการถูกโยงกับอาการลิ่มเลือดอุดตันที่เกิดขึ้นน้อยมาก แต่เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิต และปัญหาการผลิตที่ล่าช้า ณ โรงงานผลิตหลัก

อย่างไรก็ตาม คณะผู้ควบคุมกฎระเบียบของสหรัฐฯ สรุปในเดือนเมษายน ว่า ประโยชน์ของวัคซีนมีมากกว่าความเสี่ยงจากประเด็นลิ่มเลือดอุดตัน

 

 

(รอยเตอร์)

ที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9640000068027


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'พิธา' แนะ!! รับมือโลกร้อนต้องเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ปรับพฤติกรรมอย่างเดียว ไม่พอ!!

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

เศรษฐกิจสีเขียว: การรับมือสภาวะโลกร้อนต้องใช้การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเท่านั้น

ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมาที่ผมได้ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผมได้เห็นกับตาตัวเองถึงผลกระทบของความผันผวนในสภาพภูมิอากาศต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนในภาคการเกษตร และพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม 

ปี 2563 เป็นปีที่แล้งที่สุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรติดลบ 6% และ GDP ภาคเกษตรติดลบ 1.5% ในปี 2564 ที่จังหวัดชัยภูมิซึ่งผมเดินทางไปเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา เพิ่งประสบภัยน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 50 ปี เหตุการณ์น้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาในระดับโลก เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมายุโรปก็เพิ่งเผชิญกับน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 400 ปี และในเดือนกันยายนที่ผ่านมานครนิวยอร์กก็เพิ่งเผชิญกับวิกฤติน้ำท่วมฉับพลันครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่ผ่านมาในช่วงระหว่างที่ผมกำลังเดินทางลงพื้นที่ติดตามปัญหา ที่ดิน การเกษตร และน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุมในหัวข้อ Green Economic Recovery หรือการพลิกฟื้นและพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR - ASEAN Parliamentarians for Human Rights)

ผมได้ย้ำต่อที่ประชุมว่าการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิดบนฐานของเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ยกตัวอย่างกรณีของประเทศไทยในปี 2563 GDP ของเราติดลบจากโควิด 6% แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรกับภาวะโลกร้อน วิกฤติเศรษฐกิจที่จะตามมาจะเลวร้ายกว่าในปัจจุบันอีกมาก 

จากการประเมินของบริษัท Swiss Reinsurance Company บริษัทประกันภัยต่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก การปล่อยให้โลกร้อนขึ้นบนเส้นทางของการร้อนขึ้น 3.2 องศาเซลเซียสในปี 2643 GDP ของประเทศไทยจะติดลบสะสม 48% ในปี พ.ศ. 2591 ซึ่งจะเป็นความพังพินาศทางเศรษฐกิจที่มากมายมหาศาลกว่าวิกฤติโควิดมาก แต่ถ้าโลกสามารถจำกัดภาวะโลกร้อนได้ต่ำกว่า 2 องศาตามเป้าหมายของ Paris Agreement แล้ว GDP ของไทยจะติดลบสะสมจากโลกร้อนเพียง 5% ในปี พ.ศ. 2591

แล้วในตอนนี้ประเทศไทยอยู่บนเส้นทางไหนในการรับมือภาวะโลกร้อน? จากการประเมินของ Climate Action Tracker ซึ่งเป็น Consortium ระหว่าง 3 สถาบันวิจัยระดับโลกด้านภูมิอากาศนั้น นโยบายของประเทศไทยในด้านภาวะโลกร้อนอยู่ในระดับ “ไม่เพียงพออย่างร้ายแรง” (Critically insufficient) และจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในระดับ 4 องศา 

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือวิกฤติโควิดในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออย่างยิ่งต่อการรับมือกับสภาวะโลกร้อน การล็อกดาวน์จากโควิดนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนอย่างสุดขั้วให้คนเดินทางไปไหนไม่ได้เลยแล้วก็เป็นการลดการบริโภคของประชาชนจน GDP โลกตกอย่างมหาศาล ถึงกระนั้นทั้งโลกก็ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 6% เท่านั้นจากวิกฤติโควิด

การจะทำได้ตามเป้าหมายของ Paris Agreement ที่จำกัดสภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 - 2 องศา นั้น ทั้งโลกต้องลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี 2573 และลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากระบบเศรษฐกิจให้เหลือศูนย์ หรือเป้าหมาย “Net-Zero Emission” ให้ได้ภายในปี 2593 

หากเราหลงในศรัทธาที่จอมปลอม เราจะโลภ คาดหวังบางสิ่งบางอย่าง และถ้าไม่ได้อย่างที่หวัง จะไม่นับถือศรัทธา นี่เป็นการศรัทธาแบบธุรกิจ

หากเราหลงในศรัทธาที่จอมปลอม เราจะโลภ คาดหวังบางสิ่งบางอย่าง และถ้าไม่ได้อย่างที่หวัง จะไม่นับถือศรัทธา นี่เป็นการศรัทธาแบบธุรกิจ ซึ่งวันนี้มนุษย์เริ่มแยกไม่ออก ระหว่างศรัทธาที่แท้จริง กับ ศรัทธาแบบธุรกิจ

‘ก๊อต-จิรายุ ตันตระกูล’ นักแสดง นักเขียน และนักคิดมากฝีมือ กล่าวในรายการ ‘เกลา นิสัยอันตราย’ เมื่อวันที่ (28 พ.ค. 2022)

เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าคิดตามจาก ‘ก๊อต-จิรายุ ตันตระกูล’ นักแสดง นักเขียน และนักคิดมากฝีมือ ที่ได้มาแชร์แนวคิดในการเรียนรู้ชีวิตด้วยตนเอง ผ่านช่อง KlaoShow ทางยูทูบชาแนล โดยส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ได้พูดถึง ‘การแยกแยะในศรัทธา’ ที่ดูเหมือนคนยุคนี้จะเริ่มแยกไม่ออกระหว่าง ‘ศรัทธาแบบนักธุรกิจ’ และ ‘ศรัทธาที่แท้จริง’ เสียแล้ว...

ก๊อต เล่าว่า ศรัทธาอย่างเดียวไม่ทำให้คนมีสติปัญญา เพราะศรัทธาแยกได้ 2 แบบ คือ ‘ศรัทธาแบบนักธุรกิจ’ กับ ‘ศรัทธาที่แท้จริง’

“สมมติ ‘แพนด้า’ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วผมอ้างว่าศรัทธาในตัวแพนด้ามาก ผมไหว้แพนด้า หวังให้แพนด้าช่วยให้ถูกรางวัลที่ 1 และเมื่อไรที่ถูก ผมก็จะมาเต้นแก้บนรอบตัวแพนด้า แต่ถ้าไม่ถูก ผมก็จะไม่ไหว้แพนด้านี่เรียก ‘ศรัทธาแบบนักธุรกิจ’ หรือ คุณต้องให้ผมก่อน ผมถึงจะรับถือคุณ แต่ถ้าไม่ให้อะไร ผมจะไหว้ทำไม

ธอส. ปรับเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ปลดล็อกให้คู่ LGBTQ+ กู้ร่วมซื้อบ้านได้

ธอส.ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร ปลดล็อกให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สามารถกู้ร่วมกันได้แล้ว

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธอส.ได้ปรับปรุงเงื่อนไขในการให้สินเชื่อของธนาคาร โดยกำหนดให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) สามารถกู้ร่วมกันได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เช่นเดียวกับกรณีกู้ร่วมกับคู่สมรส พี่-น้อง และบิดา-มารดา เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย สนับสนุนให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น 
 

‘หม่อมปลื้ม’ ปลื้ม!! เดินหน้าโครงการเหมืองโปแตซ ยก ‘สุริยะ’ ตัวจริงพาฉลุย!! แนะอย่าแคร์เอ็นจีโอแขวะ

ถือเป็นความเคลื่อนไหวจากภาครัฐ โดยเฉพาะผลงานที่ถูกขับเคลื่อนโดยกระทรวงอุตสาหกรรม จนทำให้พิธีกรฝีปากกล้าอย่าง ‘หม่อมปลื้ม’ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการ ‘The Daily Dose’ ที่ออกมาเชียร์ให้รัฐบาลเดินหน้าสุดซอยกับโครงการเหมืองโปแตซ โดยหม่อมปลื้มได้ลงรายละเอียด ระบุว่า...

ข่าวดี!! ครม.อนุมัติ ‘เอเชีย แปซิฟิค’ บริษัทในเครืออิตาเลียนไทย เดินหน้าเหมืองโปแตซ อุดรฯ ลงทุน 3.6 หมื่นล้านบาท เตรียมให้ประทานบัตร กำลังการผลิตปีละ 2 ล้านตัน เพื่อลดการพึ่งพาปุ๋ยต่างประเทศเสียที

ทุกวันนี้ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยปีละ 4 ล้านตัน มูลค่า 60,000 ล้านบาท เป็นปุ๋ยโปแทชเซียมประมาณ700,000 ตัน คิดเป็น 9,000 ล้านบาทต่อปี ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตโปแตซเซียมสูงมาก ซึ่งคาดว่าไทยมีสำรองแร่โปแตชสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลกอยู่ที่ 400,000 ล้านตัน รองจากแคนาดา, เบลารุส และเยอรมนี

สำหรับพื้นที่พบแร่โปแตชขนาดใหญ่ในไทยมี 2 แหล่ง คือ ‘แอ่งสกลนคร’ ประกอบด้วย จังหวัดสกลนคร, หนองคาย, อุดรธานี และ นครพนม

และ ‘แอ่งโคราช ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น, กาฬสินธุ์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครราชสีมา และ ชัยภูมิ

แน่นอนว่าตอนนี้ ‘กระทรวงอุตสาหกรรม’ ได้อนุมัติประทานบัตรให้กับเอกชน 2 ราย คือ บริษัท ไทยคาลิจำกัด จ.นครราชสีมา และ บริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) จ.ชัยภูมิ เพื่อเข้ามาดำเนินโครงการเหมืองโปแตซ ที่จะนำไปสู่การผลิตปุ๋ยใช้เองในประเทศได้แล้ว

โดยล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเมื่อวันที่ (28 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการของบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตชคอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์จำกัด (มหาชน) หรือ ไอทีดี ซึ่งเข้าไปซื้อกิจการบริษัทเอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่นจำกัด เมื่อปี 2549

สำหรับเรื่องของการเคาะโครงการเหมืองโปแตช ‘อุดร’ นั้น นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยขั้นตอนจากนี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จะไปเร่งออกประทานบัตร เพื่อเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

ถึงตรงนี้ ผมขอปรบมือให้ครับ!! โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐมนตรีอย่างคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ คุณสมศักดิ์ เทพสุทิน

เขา 2 คนเป็นคนที่อยู่เงียบๆ แต่ทำงานจริง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการอนุมัติโครงการสำคัญต่อประเทศ อย่างโครงการเหมืองโปแตซนี้ ที่ได้รับการอนุมัติจากคุณสุริยะ มันสำคัญมากๆ

(กลับมาที่เนื้อหาต่อ) ทั้งนี้ในส่วนของโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นเหมืองแร่ขนาดใหญ่โดยเหมืองดังกล่าว มีแผนการผลิต 2 ล้านตันต่อปี โดยประเมินว่า จะมีปริมาณการผลิตตลอดอายุโครงการ 25 ปี อยู่ที่ 33.67 ล้านตัน เบื้องต้นมีมูลค่าการลงทุนของโครงการประมาณ 36,000 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้ยื่นขอประทานบัตรไปแล้ว

ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และส่วนราชการตามกฎหมายถึงโครงการดังกล่าวแล้ว รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแล้วด้วย ซึ่งก็พบว่าเป็นไปตามข้อกำหนด ดังนั้นจึงได้เสนอเข้ามาใน ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

หลังจากโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ได้ผ่านการเห็นชอบจาก ครม.แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะไปเร่งออกประทานบัตร ซึ่งภาคเอกชนก็อยากทำไห้เร็ว คาดว่า อย่างเร็วที่สุดภายใน 6 เดือน หรือ 1 ปีก็คงเริ่มต้นดำเนินการได้ โดยจะค่อยๆ เริ่มทำไป ซึ่งเหมืองแร่แห่งนี้มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี

ส่วนอีก 2 บริษัทที่ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแล้ว คือ บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) จังหวัดชัยภูมิ อยู่ระหว่างให้กระทรวงการคลังดำเนินการเริ่มการเพิ่มทุน ขณะที่บริษัท ไทยคาลิ จำกัด จังหวัดนครราชสีมา อยู่ระหว่างการขุดอุโมงค์เพื่อเริ่มทำเหมืองตามขั้นตอน แต่ยังไม่ได้เปิดการทำเหมืองได้ โดยในส่วนของกำลังการผลิตเหมืองโพแทชในประเทศไทยทั้งหมด หากสามารถเปิดเหมืองทั้ง 3 แห่งได้นั้น จะอยู่ที่ 3.2 ล้านตันต่อปีเลยทีเดียว

‘นิพนธ์’ ประสานทุกความร่วมมือเดินแนวทาง "น้ำเสีย อยู่คู่ชุมชนได้” ชี้ความสำเร็จอยู่ที่การร่วมมือทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ในงานครบรอบ 27 ปี สถาปนาองค์การจัดการน้ำเสีย(อจน.)

เมื่อวันที่ (15 ส.ค. 65) ที่ศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานและมอบนโยบายเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสีย(อจน.) โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ,  รองนายกเทศมนตรีเมืองแพรกษา , นายชีระ วงศบูรณะ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย, ผู้บริหาร, เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย, เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้นำชุมชน และประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ



นายนิพนธ์ กล่าวว่า  การจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 27 ปี วันสถาปนาองค์การจัดการน้ําเสียในวันนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งท่ี ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำอย่างไรให้น้ำเสียสามารถอยู่คู่กับชุมชนได้ และทำอย่างไรให้ทุกคนได้มีส่วนในการรับผิดชอบในการจัดการน้ำเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชน เยาวชนได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ําเสีย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้ ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการลดความสกปรกของน้ําเสียจากแหล่งกําเนิดซึ่งจะช่วยให้คุณภาพน้ําของแหล่งรองรับน้ําในพื้นท่ีดีข้ึน 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top