Thursday, 2 May 2024
Omicron

กนอ.จัดสัมมนา ‘สร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโควิด-19’ กระตุ้นบุคลากรเกี่ยวเนื่องในนิคมฯ การ์ดแน่น

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จับมือสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จัดสัมมนา ‘สร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโควิด-19’ ให้กับบุคลากร กนอ. ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม หวังสร้างการตระหนักรู้ในการป้องกันตนเอง ลดการแพร่กระจายและความเสี่ยง รวมถึงลดภาระสถานพยาบาล

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้มากขึ้น รัฐบาลจึงยกระดับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด โดยได้ออกประกาศข้อกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 41) เพื่อใช้ควบคุมสถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังระบาดในไทย ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2565 (ข้อ 6) การยกระดับการปฏิบัติงานเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด ด้วยการประเมินสถานการณ์แพร่ระบาดที่จำนวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

กนอ.มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ‘โครงการสร้างภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโควิด-19’ กับสมาคมสมาพันธ์สถานประกอบการเพื่อสุขภาพและผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการฯ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แนวทางการดูแลตนเอง การทำ Home Isolation เพื่อรักษาตนเองที่บ้าน และการทำ Company/Factory Isolation รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย Rapid Antigen Test Kit แก่บุคลากรของ กนอ. และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อลดอัตราการแพร่กระจายเชื้อ ลดความเสี่ยง รวมถึงลดภาระสถานพยาบาล

Oxford ยัน!! ฉีดเชื้อตายแล้วบูสต่อด้วยเชื้อเป็น สร้างภูมิต้านทานได้ดีกับทุกสายพันธุ์โควิด

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford) และทีมนักวิจัยในบราซิล ยืนยันแล้วว่า ผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ครบโดส หรือวัคซีนที่พัฒนาจากเชื้อตาย เมื่อมารับวัคซีนเข็มกระตุ้นจากวัคซีนที่สร้างจากชิ้นส่วน โมเลกุลของเชื้อไวรัส หรือ DNA สกัดอย่าง mRNA อาทิ AstraZeneca, Pfizer หรือ Johnson & Johnson สามารถเพิ่มภูมิต้านทานได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการต้านทานโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ทั้ง Delta และ Omicron ได้ดีอีกด้วย

เรื่องนี้นับเป็นข่าวดีสำหรับประเทศที่ใช้วัคซีนประเภทเชื้อตายเป็นพื้นฐานอย่าง Sinovac ที่ฉีดกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน และอีกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ทั้งไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, บราซิล, อาร์เจนตินา, ตุรกี ส่งผลให้การวางแผนการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ของภาครัฐเป็นไปในทิศทางที่ง่ายขึ้นได้ 

ทั้งนี้รายงานวิจัยดังกล่าวของทางมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มีความสอดคล้องกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเคยได้รับรองการใช้วัคซีน Sinovac เพื่อการป้องกัน Covid-19 ได้ทั่วไป รวมถึงต่อมาได้แนะนำให้เพิ่มเติมฉีด Sinovac ไขว้กับวัคซีนเทคโนโลยีรุ่นใหม่เป็นเข็ม 2 ได้เลย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มกันโรค 

เกาหลีใต้เกินต้าน ยอดติด Covid พุ่งทะลุ 90,000 รายต่อวัน หวั่น!! ตัวเลขพุ่งสูงได้ถึง 360,000 รายภายในเดือนมีนาคม

รายงานสถานการณ์ Covid-19 รายวันจากเกาหลีใต้ พบผู้ป่วยล่าสุดทุบสถิติสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 93,135 ราย เกือบทั้งหมดเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ และคาดว่าอีกไม่นานจะแตะหลักแสนราย

ยอดการติดเชื้อพุ่งอย่างก้าวกระโดด จากเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อเกิน 50,000 ราย ซึ่งนับว่าสูงแล้ว แต่มาวันนี้ (17 ก.พ. 65) ตัวเลขพุ่งทะยานเกือบทะลุแสน และนับเป็นการพบผู้ติดเชื้อรายวันเกินหลัก 9 หมื่นคนติดต่อกันเป็นวันที่สอง ส่วนยอดผู้เสียชีวิตก็มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็น 36 รายในวันนี้

คิม โบ-กยึม นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ออกมากล่าวถึงสถานการณ์ Covid-19 ในประเทศว่า การระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้ยังไม่ถึงจุดพีก โดยหน่วยงานด้านสาธารณสุขคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันอาจพุ่งสูงได้ถึง 170,000 รายต่อวัน ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และอาจทำสถิติต่อถึง 360,000 รายต่อวันในเดือนมีนาคมได้

ดังนั้น รัฐบาลเกาหลีใต้จำเป็นจะต้องนำระเบียบมาตรการป้องกันโรคกลับมาพิจารณาอีกครั้ง ที่อาจส่งผลกระทบกับธุรกิจ SME ในประเทศ โดยทางการเกาหลีใต้จะประกาศรายละเอียดภายในวันศุกร์ที่จะถึงนี้

‘หมอธีระ’ เตือน! ‘Long COVID’ น่ากลัวกว่าที่คิด ชี้ อย่าหลงคำลวง ‘Omicron’ เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตือนคนไทยอย่าหลงคำลวงว่าแค่หวัดธรรมดา หากติด Omicron รุนแรงน้อยกว่าเดลต้าก็จริง แต่มีโอกาสเกิดภาวะผิดปกติระยะยาว หรือ Long COVID จากเคยปกติ กลายเป็นไม่ปกติ

วันนี้ 15 เม.ย. รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 โดยระบุว่า "Long COVID is real" อย่าหลงคำลวงว่าแค่หวัดธรรมดา กระจอก เป็นแป๊บเดียวก็หาย เอาอยู่ เป็นโรคธรรมดาประจำถิ่น

"หาย ตาย และ Long COVID" เป็นสามทางที่จะเกิดขึ้นหากติดเชื้อ Omicron รุนแรงน้อยกว่าเดลต้าก็จริง

ติดแล้วป่วยมีอาการ มากกว่าไม่มีอาการ มีโอกาสปอดอักเสบ รุนแรง ใช้ท่อช่วยหายใจ มีโอกาสตาย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top