Saturday, 25 May 2024
ElectionTime

กรณีศึกษา นโยบายฟรีภาษีของ ‘ประเทศโมนาโก’ สู่ ‘นโยบายลดภาษีบุคคล’ ของชาติพัฒนากล้า

กระแสมาแรงไม่ตกหลังพรรคชาติพัฒนากล้าประกาศนโยบายใหม่ออกมา นั่นคือนโยบาย ‘ลดภาษีบุคคล เงินเดือนไม่ถึง 40,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี’ นโยบายนี้ก็เป็นที่พึงพอใจของเหล่ามนุษย์เงินเดือนมาก ๆ เพราะหากนโยบายนี้ทำได้จริง จะทำให้ไม่ต้องแบกรับภาระภาษีที่หนักพอ ๆ กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

วันนี้ทีมข่าว THE STATES TIMES จะไม่ได้เจาะลึกถึงนโยบายนี้ (ดูเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/watch/?v=1325406588033087) แต่จะพามาดูตัวอย่างประเทศเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ที่มีนโยบายคล้ายกับพรรคชาติพัฒนากล้า ซึ่งได้ฉายาว่า ‘ประเทศที่คนรวยสุดอันดับ 1 ของโลก’ ซึ่งประเทศนี้ประชาชนไม่ต้องเสียภาษี!! 

ประเทศที่กล่าวถึงคือ ‘ประเทศโมนาโก’ เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กมากที่สุด เป็นอันดับ 2 ของโลก ทำให้มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ประเทศนี้มีค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ประชาชนที่นี่ 1 ใน 3 จะเป็นคนที่มีสินทรัพย์รวมกว่า 35 ล้านบาท เรียกได้ว่าหากมีแฟนเป็นคนประเทศนี้ ให้ทายไปเลยว่า 80% เราจะกลายเป็นคุณหญิงคุณนายไปเลย เพราะคนที่นี่มีแต่คนรวยทั้งนั้น

อาจมีคำถามว่าทำไมประเทศเล็ก ๆ นี้มีแต่คนรวยเดินชนกันเต็มไปหมด นั่นเป็นเพราะว่าประเทศนี้ ‘ไม่เก็บภาษีรายได้แม้แต่บาทเดียว’ ใครทำเงินได้มากมายมหาศาลแค่ไหนก็เก็บไว้กับตัวหมดเลย ไม่ต้องเอาเงินนั้นมาเสียภาษีให้รัฐ ด้วยนโยบายนี้ของประเทศโมนาโก ทำให้เหล่าคนดังจากทั่วโลกเช่น Ringo Starr มือกลองประจำวงสี่เต่าทอง หรือ The Beatles, Novak Djokovic นักเทนนิสระดับโลกชาวเซอร์เบีย, หรือ Sir Lewis Hamilton นักแข่งรถ Formula 1 ก็ย้านถิ่นฐานมาอยู่ที่ประเทศนี้กันทั้งนั้น

หากเล่าไปถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับนโยบายนี้ จุดเริ่มต้นมาจาก 160 ปีก่อน ในปี 1863 เจ้าหญิง Marie Caroline Gibert de Lametz แห่งโมนาโก ตัดสินใจสร้างกาสิโน ภายในประเทศขึ้น ชื่อว่า ‘Monte Carlo’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูประเทศ ที่กำลังเผชิญกับการเสี่ยงล้มละลาย ซึ่งแนวคิดของเจ้าหญิง Caroline ถือว่ามาถูกทาง เพราะกาสิโนแห่งนี้กลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เดินทางเข้าออกประเทศเป็นจำนวนมาก และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาล จนในปี 1869 โมนาโกมีรายได้จากกาสิโนมากจนเกินพอ จึงได้ตัดสินใจประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีรายได้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ครม. ไฟเขียว เกือบ 6 พันล้านบาท ให้ กกต.จัดการการเลือกตั้งทั่วไป

(24 ม.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติหลักการให้สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง จำนวน 5,945 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็นค่าใช้จ่าย รายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ดำเนินการโดยสำนักงาน กกต. จำนวน 5,104,546 บาท อาทิ ภารกิจในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. ภารกิจเตรียมความพร้อมบุคลากร วิทยากร และเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกระดับ รวมทั้งภารกิจจัดการเลือกตั้งกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่าง

ขณะเดียวกันยังมีรายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการโดยหน่วยงานสนับสนุน ทั้งราชการและรัฐวิสาหกิจ รวม 10 หน่วยงาน วงเงิน  840,614,250 ล้านบาท อาทิ  ภารกิจสนับสนุนการควบคุมและการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักร โดยกระทรวงการต่างประเทศ ภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภารกิจสนับสนุนการรณรงค์เผยแพร่ความรู้การเลือกตั้ง โดยกระทรวงศึกษาธิการ ภารกิจขนส่งบัตรเลือกตั้งและวัสดุอุปกรณ์การเลือกตั้ง หนังสือแจ้งเจ้าบ้านและอื่น ๆ โดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นต้น

‘บิ๊กป้อม’ ควงแกนนำ พปชร. เปิดปราศรัยแรก ปักหมุด ‘ป้อมปราบศัตรูพ่าย’ ข่มขวัญคู่ต่อสู้

(24 ม.ค. 66) เมื่อเวลา 16.00 น. ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร. พร้อมด้วย นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์เหรัญญิกพรรค ร่วมกันเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 4 ภาค และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. รวมทั้งสิ้น 71 คน แบ่งเป็นในต่างจังหวัด จำนวน 43 คน ได้แก่ 
จ.ระยอง คือ นายพายัพ ผ่องใส เขต 3
จ.ฉะเชิงเทรา ได้แก่ นายรัฐสภา นพเกตุ เขต 1, พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ เขต 4
จ.ชลบุรี คือ นายเพิ่มพงศ์ วงศ์ทรายทอง เขต 3
จ.ปราจีนบุรี คือ นายเกียรติกร พากเพียรศิล์ เขต 2
จ.ศรีสะเกษ ได้แก่ นายสุรณัฐ แนบเนียม เขต 3, นายอภิชา ระยับศรี เขต 7
จ.อุดรธานี คือ นายวิฑูรย์ นามคุณ เขต 6 
จ.สุรินทร์ ได้แก่ ว่าที่ ร.ต.ศักดินันท์ศุภนิมิตมนตรี เขต 1, นายพิเชษฐ์ สุทธิศิริวัฒนะ เขต 2, น.ส.ณชณฆ์ ตรงใจ เขต 3
จ.ชัยภูมิ คือ นายพีระพล ติ้วสุวรรณ เขต 6

จ.นครราชสีมา ได้แก่ น.ส.กาญจนา เปรมภิรักษา, นายสุกฤษณ์ วัชรมาลีกุล, พ.ต.อ.ปริวัฒน์ นาคำ
จ.เลย คือ นายชูศักดิ์ บัวระภาสิริ
จ.สกลนคร คือ นายอภิวัฒน์ มีชัย เขต 1
จ.กาฬสินธุ์ ได้แก่ น.ส.พาวิไล พิมพะสาลี เขต 1, นายสิทธิศักดิ์ พัฒนชัย เขต 4
จ.ร้อยเอ็ด คือ นายพงศกรณ์ ตั้งกิตติ์ตระกูล
จ.ขอนแก่น ได้แก่นายอัษฎางค์ แสวงการ เขต 1, นายพัฒนา นุศรีอัน เขต 2, นายปัญญา ศรีปัญญา เขต 3, นายณรงค์เลิศ สุรพล เขต 4, นายสมใจ ชาญจระเข้ เขต 5, นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ เขต 8 นายไพฑูรย์ ผิวผาง เขต 9, นพ.กันณพงศ์ อัครไชยพงศ์ เขต 11

จ.แพร่ ได้แก่ น.ส.อาทิตยา อินนะไชย เขต 1, นายสุรสิทธิ์ เพชรปิตุพงษ์ เขต 2, นางปอรวัลย์ มุดเจริญ เขต 3 
จ.ตาก ได้แก่ นายเชิงชัย ก่อประกิจ เขต 3
จ.พิษณุโลก ได้แก่ นายเอกพงษ์ กุลเจริญ เขต 5
จ.นครสวรรค์ ได้แก่ นายธนริชต์ วิเชียรรัตนี เขต 1, นายนัยศาลิน ถนอมมิตรวัฒนา เขต 2
จ.นครปฐม ได้แก่ นายศิรวริศสวนแก้ว เขต 2, นายณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม เขต 3, นายมนตรี บุญประคอง เขต 5
จ.กาญจนบุรี ได้แก่ นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์, นายชูเกียรติ จีนาภักดิ์, พล.ต.ต.กมลสันติ กลั่นบุศย์, นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ
จ.นครศรีธรรมราช คือ นพ.พิชาญศักดิ์ บุญมาศ เขต 8

จากนั้น พล.อ.ประวิตร และผู้บริหารพรรคได้ร่วมกันเปิดตัว นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ที่จะรับผิดชอบเป็นหัวหน้าทีมดูแลการเลือกตั้งในพื้นที่ กทม. พร้อม ว่าที่ผู้สมัครส.ส.กทม. ล็อตแรก จำนวน 28 คน ได้แก่ นายธิชดล สกุลำ ผู้สมัคร ส.ส.เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ และดุสิต, นายภูมิพิชัย ธํารดํารงค์ เขตปทุมวัน สาทร บางรัก, น.ส.ชญาภา ปรีดาพากย์ เขตบางคอแหลม ยานนาวา, ร.อ.รชฎ พิสิษฐบรรณกร เขตดินแดง พญาไท, นายพณิชย์ วิทยาภัทร์ เขตราชเทวี, นายสฤษดิ์ ไพรทอง เขตดุสิต, นายภักดีหาญส์ หิมะทองคํา เขตลาดพร้าว 

นายปราโมทย์ เพ็ชรฤทธิ์ เขตจตุจักร, นายศิววงศ์ วงศ์พิชญา เขตดอนเมือง, น.ส.นํ้าฝน ไพรทอง เขตสายไหม, ภ.ญ.นพวรรณ หัวใจมั่น เขตบางเขน, นางนฤมล รัตนาภิบาล เขตบางกะปิ, นายรังสรรค์ กียปัจจ์เขตหลักสี่ ดอนเมือง, นายกานต์ กิตติอําพน เขตวังทองหลาง ห้วยขวาง, น.ส.ณิรินทร์ เงินยวง เขตบึงกุ่มคันนายาว, นายกิตติภูมิ นีละไพจิตร์ เขตคลองสามวา, นายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส.กทม. เขตหนองจอก, นายพีระพงษ์ รัสมี เขตลาดกระบัง นางนาถยา แดงบุหงา เขตสะพานสูง แขวงประเวศ, นายตรีสิทธิ์ ศิริวรรณ เขตพระโขนง บางนา, นายศันสนะ สุริยะโยธิน เขตคลองสาน ธนบุรี

นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ เขตจอมทอง ธนบุรี เฉพาะแขวงดาวคะนอง, นายระพีพัฒน์ สุเมธโชติเมธา เขตทุ่งครุราษฎร์บูรณะ, น.ต.นิธิ บุญยรัตกลิน เขตทวีวัฒนา หนองแขม เฉพาะแขวงหนองค้างพลู, พ.ต.ท.วันชัย ฟักเอี้ยง เขตตลิ่งชัน บางกอกน้อย เฉพาะแขวงบางขุนศรี, น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ เขตบางกอกน้อย, ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อํานรรฆสรเดช เขตบางซื่อ และนายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล เขตบางพลัด นายเอกชัย ผ่องจิตร์ เขตบางแค

โดยพล.อ.ประวิตร กล่าวว่า วันนี้เราเปิดผู้สมัครทั้งหมด 71 คน และเปิดไปแล้ว 350 คน และจะทยอยเปิดให้ต่อเนื่องให้ครบทุกเขตเลือกตั้ง พยายามจะส่งให้ครบทุกจังหวัดทั้ง 400 คน อยากฝากให้ผู้สมัครทั้งหลายลงพื้นที่ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ให้มากที่สุด อยู่ที่ทุกท่านจะทำต้องทำงานอย่างหนัก หลังจากอบรมผู้สมัครแล้วควรรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ฝากทุกคนด้วย ทางพรรคไม่มีอะไร

'สกลธี' กลับ พปชร. ขอบคุณ 'บิ๊กป้อม' ไฟเขียวทำงาน รับ!! สนามเมืองกรุงไม่หมู แต่มีกลยุทธ์ทำกระแสขยับ

(24 ม.ค. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะหัวหน้าทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรค พปชร. ให้สัมภาษณ์ถึงความรู้สึกหลังกลับเข้าพรรคพปชร.อีกครั้ง ว่า ตื่นเต้น วันนี้มาสมัครเป็นสมาชิกพรรค ต้องขอบคุณ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค พปชร.ที่ให้โอกาสตนในการดูแลนโยบาย ตัวผู้สมัคร ส.ส.และรายละเอียดต่างๆ ของทีม กทม. ทั้งนี้ตนตอบรับเข้ามาดูแลในภาพรวม ส่วนจะลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อหรือบริหารพรรคด้านไหน แล้วแต่หัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคจะเห็นสมควร

เมื่อถามถึงนโยบายที่จะเอาชนะใจประชาชน นายสกลธี กล่าวว่า ได้พูดตรงๆ กับหัวหน้าพรรค พปชร.ว่าการเลือกตั้ง กทม.ครั้งนี้ไม่ง่าย เพราะหลายพรรคมีตัวผู้สมัครดี ๆ และส่งผู้สมัครกันเยอะ โอกาสมีกันทุกพรรค อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ตนลาออกจาก พปชร.ไปก่อนหน้านี้ เพราะต้องการลงสมัครผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ แต่การกลับมาครั้งนี้หัวหน้าพรรคได้ให้โอกาสและอิสระตนเต็มที่ในการหาเสียง ซึ่งความอิสระที่หัวหน้าพรรคมอบให้ทำให้ตนดึงคนที่ช่วยตอนลงสมัครผู้ว่าฯกทม.มาได้ ส่วนสนามเลือกตั้ง กทม.ครั้งนี้คงเป็นการสู้กันด้วยนโยบายและกระแส แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวผู้สมัครก็สำคัญ เพราะเป็นบัตรเลือกตั้งสองใบ แต่สนาม กทม.คาดเดายากเสมอ ในเรื่องกระแสและนโยบายจึงมีส่วนสำคัญอย่างสูง 

เมื่อถามว่าในสนามกทม.มีแต่พรรคที่คุ้นเคย เช่น พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) นายสกลธี กล่าวว่า ส่วนใหญ่ฐานเสียงขึ้นอยู่กับตัวผู้สมัครส.ส. ฉะนั้นจะใช้ประสบการณ์ที่มีทั้งหมด ทั้งการเป็นอดีตส.ส.กทม. และอดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ต่อยอดนโยบายตอนลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. นโยบายสำคัญของแกนนำพรรค มาระดมสมองให้ตอบโจทย์พี่น้อง กทม.

อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ 'บี พุทธิพงษ์' ตัดสินใจเลือก พรรคภูมิใจไทย เป็นเส้นทางใหม่ทางการเมืองให้กับตน

“เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจ ส่วนตัวมองว่าพรรคภูมิใจไทย มีจุดเด่นที่แข็งแกร่ง คือ 4 ปีที่ผ่านมา พูดจริงทำจริง หาเสียงเสนอนโยบายอะไรเอาไว้สามารถพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า…ทำได้จริงเสมอ”

‘ไอติม’ อัด!! ศธ.ยกเลิกระเบียบทรงผม ยิ่งเปิดช่องโรงเรียนออกกฎไร้ขอบเขต

‘พริษฐ์-ก้าวไกล’ ชี้ ศึกษาธิการ ยกเลิกระเบียบทรงผม ไม่ได้แก้ปัญหา ยิ่งเปิดช่องโรงเรียนออกกฎไร้ขอบเขต แนะ ต้องมีมาตรฐานให้ชัด ห้ามโรงเรียนบังคับทรงผมเด็ก พร้อมสะท้อน ศธ. บทบาทกลับหัวกลับหาง เรื่องที่ควรให้อิสระโรงเรียนกลับไม่ให้ เรื่องที่ควรต้องคุ้มครองสิทธิเด็กในทุกโรงเรียน กลับไม่ทำ

(25 ม.ค. 66) พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบาย พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณี ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงนามยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 เปลี่ยนเป็นการกำหนดแนวปฏิบัติกว้าง ๆ เกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนหรือนักศึกษา ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ไปกำหนดเป็นระเบียบหรือข้อบังคับเอง

พริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าพูดเฉพาะประเด็นการกำหนดทรงผม สิ่งที่รัฐมนตรีทำ ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องทรงผมของนักเรียน และอาจทำให้เป้าหมาย 'เสรีทรงผม' ห่างไกลกว่าเดิม เพราะการยกเลิกกฎระเบียบส่วนกลางเกี่ยวกับทรงผม และโอนความรับผิดชอบและการตัดสินใจทั้งหมดไปที่โรงเรียน จะยิ่งเปิดช่องให้โรงเรียนแต่ละแห่งออกกฎเกณฑ์เรื่องทรงผมที่ละเมิดสิทธิผู้เรียนอย่างไรก็ได้แบบไร้ขอบเขต เช่น โรงเรียนแห่งหนึ่งสามารถออกกฎให้เด็กทุกคนต้องโกนหัวก็ได้ ดังนั้น ถ้าอยากแก้ปัญหาจริง ๆ กระทรวงควรออกระเบียบหรือมาตรฐานขั้นต่ำจากส่วนกลางให้ชัด ห้ามไม่ให้โรงเรียนออกกฎระเบียบตนเองที่บังคับเด็กเรื่องทรงผม

‘ณัฐธิดา’ รองปธ. อบจ.ปทุมธานี สวมเสื้อ ภท. เผย ชื่นชอบนโยบายพรรค ‘พูดแล้วทำ’

‘ภูมิใจไทย’ เปิดบ้านต้อนรับ ‘หนึ่ง-ณัฐธิดา’ รองปธ.อบจ. ปทุมธานี เข้าเป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ เจ้าตัวบอกชื่นชอบนโยบายพรรค ‘พูดแล้วทำ’   

เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่พรรคภูมิใจไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย ให้การต้อนรับ น.ส.ณัฐธิดา เกียรติพัฒนาชัย สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ลำดับที่ 1 เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย และสวมเสื้อแจ็คเก็ตพรรคภูมิใจไทย

มหากาพย์ เลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 กกต.ถูกจำคุก-จ้างพรรคเล็ก-ยุบพรรคไทยรักไทย

ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนทำให้ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกตั้งอีกครั้ง โกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป

แต่ทว่า ก่อนการเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549 ฝ่ายค้านในห้วงนั้นประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เรียกร้องให้ทำสัตยาบันร่วมกันว่า หลังการเลือกตั้งจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 313 เพื่อตั้ง ‘คนกลาง’ ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่พรรคไทยรักไทยประกาศไม่ลงสัตยาบันร่วมกับฝ่ายค้าน แต่เชิญหัวหน้าพรรคทุกพรรคให้มาทำสัญญาประชาคมร่วมกันว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้ง ‘คนกลาง’ เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฝ่ายค้านจึงประกาศคว่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัคร

การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 จึงเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายมากมาย มีการฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อแสดงอารยะขัดขืน เช่น รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร, มีการกรีดเลือดมาเป็นหมึกกาบัตรเลือกตั้ง, คูหาเลือกตั้งหันหลังออก, มีผู้สมัคร ส.ส. หลายสิบเขตได้รับคะแนนเสียงน้อยกว่าคะแนนโนโหวต มีการใช้ตรายางประทับบัตรเลือกตั้ง และมีบัตรเสียเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความเคลือบแคลงใจในความโปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนั้นอย่างหนัก

ส่วนผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ มีผู้มาใช้สิทธิ 29 ล้านคนเศษ จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 44.9 ล้านคน คิดเป็น 64.77% มีบัตรเสีย 1,680,101 ใบ หรือ 5.78% มีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน หรือ โนโหวต สูงถึง 9,051,706 คน คิดเป็นสัดส่วน 31.12%

และผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต มีผู้มาใช้สิทธิเกือบ 29 ล้านคน หรือ 64.76% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีบัตรเสีย 3,778,981 ใบ 13.03% มีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน 9,610,874 คน 33.14%

หลังจากนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพิกถอนการเลือกตั้ง และให้มีการเลือกตั้งใหม่

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 และคำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 607-608/2549 วันที่ 16 พฤษภาคม 2549 วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีการจัดคูหาที่อาจส่งผลให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยลับ และให้จัดเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

นอกจากนี้ ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ศาลอาญา ได้พิพากษาให้ กกต. ที่จัดการเลือกตั้งมีความผิดเนื่องจากการจัดการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม โดยให้ลงโทษจำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี แต่ต่อมา เมื่อปี 2556 หลังจากที่ กกต. (สามคนในเวลานั้น) ผ่านการติดคุก/ต่อสู้คดีแล้ว ศาลกลับได้มีคำสั่งยกฟ้อง กกต. ทั้งสาม

หลังจากนั้นก็มีการสรรหา กกต.ใหม่ และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ แต่ยังไม่ทันได้เลือกตั้ง ก็ถูก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการปฏิวัติเสียก่อนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

แต่ผลพวงจากการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสในครั้งนั้น ยังตามหลอนพรรคไทยรักไทยไม่จบสิ้น เมื่อ ‘สุเทพ เทือกสุบรรณ’ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นเรื่องร้องเรียน กกต.ว่า พรรคไทยรักไทย จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็ก อย่างพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทยลงสมัคร ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ กกต.ปลอมแปลงฐานข้อมูลสมาชิกพรรคเล็กเมื่อปี 2549

‘รักษามะเร็งฟรี’ ประโยชน์ที่ดีต่อคนทั้งชาติ เกมฉีกจาก ‘ภูมิใจไทย’ ในจังหวะนโยบายชู ศก.เดือด

ตามกติกา เหลือเวลาอีกประมาณ 2 เดือน ก็จะหมดวาระของรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้ว และหน้าสื่อตอนนี้ ก็เริ่มหันไปสนใจกับนานาพรรคการเมือง ที่ปล่อยก๊อกนโยบายของพรรคตนออกมา ‘ปาดหน้า’ ชิมลาง เรียกคะแนนทิพย์จากประชาชนกันแบบเล่นใหญ่ บ้างชูนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน บ้างเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการเป็น 700 บาททันทีหากได้เป็นรัฐบาล บ้างปลดล็อกการจ่ายภาษีขั้นต่ำ ฯลฯ

แน่นอนว่า พอปล่อยเป็นนโยบายเชิงหาเสียง ก็ย่อมสัมผัสได้ถึงนานาประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับกันทั้งนั้น แต่จะทำได้จริงหรือไม่ หรือต่อให้ตั้งใจจะทำจริง จะต้องใช้อายุขัยรัฐบาลกี่เดือน กี่ปี ก็ต้องตามดูกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียน มีข้อติดใจเรื่องหนึ่ง คือ นานานโยบายที่ก่อตัวขึ้นในห้วงเวลานี้ ล้วนต่อยอดสถานภาพการเงินแบบเกทับ แต่หลังจากชีวิตผู้คนที่เริ่มหลับนอนในท้องห้องโรงพยาบาลบ้าง ศูนย์พักพิงบ้าง ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา มันก็พลันให้คิดว่า มิมีใครอยากจะถอยนโยบายด้านสุขภาพมาให้ประชาชนได้ฝากผีฝากไข้กันบ้างเลยหรือ

ทั้งที่เรื่องสาธารณสุข หรือเรื่องสุขภาพ มันเป็นเรื่องใกล้ตัว และประชาชนทุกคนหากคิดจะเดินหน้าไปทำมาหากินได้ ก็ต้องมีสุขภาวะที่แข็งแกร่ง แต่ถ้าเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็ต้องเสียทั้งเงินและเสียเวลาไม่มากก็น้อย แล้วจะไปต่อยอดชีวิตได้อนาคตได้เยี่ยงไร 

พลันคิดได้เช่นนี้ ก็แอบเซ็ง แต่ก็เอาวะ เพราะแนวนโยบายเปิดปฐพีในช่วงแรก มันก็ต้องยิงกระแสแรง ๆ ไว้แซงพรรคเพื่อนพ้องไว้ก่อน เพียงแต่หลังจากได้เห็นกระแสนโยบายเกทับด้านการเงินแรง ๆ ไปช่วงหนึ่ง ก็ต้องจ้องอ่านอย่างคนสงสัย เมื่อยังมีพรรคที่ชูนโยบายสุขภาพขึ้นแรงดูดี 

นโยบาย ‘รักษามะเร็งฟรี’ ของพรรคภูมิใจไทย เป็นอีกข้อความที่สะกดใจ และรู้สึกว่า ‘หมอหนู’ อยู่สาธารณสุขจนอิน เลยเบนเข็มจากกัญชาเสรี มารักษามะเร็งฟรี หรือเป็นกลยุทธ์แสนครีเอทที่เข้าใจปัจจัยแห่งทุกข์พื้นฐานของประชาชนกันแน่

รู้จัก 'ปลื้ม สุรบถ' ลูกนายหัวชวน หลังขยับนั่ง ส.ส.ป้ายแดงของ ปชป.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า นายสุรบถ หลีกภัย หรือ ปลื้ม ลูกชายของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ จ่อจะได้เป็นผู้เเทนฯ สมัยเเรก ในช่วงท้ายของสภาฯ ชุดปัจจุบันซึ่งจะครบวาระ 4 ปี ในเดือนมี.ค. 2566 เนื่องจากนายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ยื่นใบลาออกจาก การเป็นส.ส.ในวันที่ 19 ม.ค.2566 ต่อเนื่องจากนางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. ต่อประธานสภาฯไปก่อนหน้า 

ทั้งนี้ นายอิสระ เป็นคณะทำงานใกล้ชิดของนายชวน หลีกภัย ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานต่าง ๆ ของประธานสภาฯ โดยตลอด รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็น เลขานุการประธานรัฐสภา ก่อนหน้าจะมาดำรงตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. ส่วน นายสุรบถ หรือ ปลื้ม อยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 33 ของ ปชป. เป็นอดีตรองโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม และเคยเป็นพิธีกรวีอาร์โซ และยังเคยเป็นที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการด้วย

นายสุรบถ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2530 ปัจจุบัน อายุ 36ปี เป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของชวนและนางภักดิพร สุจริตกุล เป็นที่รู้จักของสังคมมาตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยมักนิยมเรียกติดปากว่า 'น้องปลื้ม' โดยชื่อ 'สุรบถ' นั้น แปลว่า ท้องฟ้า เป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องจากภักดิพร ผู้เป็นมารดาได้ขอพระราชทานจากพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นสหายร่วมชั้นเรียนมาด้วยกันในโรงเรียนจิตรลดา

>> ประวัติการศึกษา 
นายสุรบถสำเร็จการศึกษาชั้นอนุบาลจากโรงเรียนจิตรลดา ประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และโรงเรียนพร้าววิทยาคม (เป็นประธานนักเรียน และตั้งวงดนตรี ชื่อ 'วงหมากเหนือ' เป็นมือคีย์บอร์ดของวง) และระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

>> บทบาททางการเมือง
ที่ผ่านมานายสุรบท นอกจากความเป็นบุตรชายของนายชวนแล้ว ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองมักได้รับคำวิจารณ์ว่าเสนอความคิดเห็นได้เฉียบแหลม จนได้รับฉายาว่า 'มีดโกนน้อย' คู่เคียงกับฉายา 'มีดโกนอาบน้ำผึ้ง' ของบิดาเคยช่วยนายชวนหาเสียงให้แก่พรรคประชาธิปัตย์อย่างสม่ำเสมอ 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top