Sunday, 19 May 2024
BTS

'คนร้าย' ผวา!! รีบคืนมือถือสาวบราซิลหลังปล้นได้แป๊บเดียว เหตุ!! เห็นรูป 'จิน BTS ในชุดทหาร' และคิดว่าเป็นแฟน

เมื่อไม่นานมานี้ สื่อฝั่งบราซิลได้รายงานเรื่องราวของสาววัย 21 ปีที่เจอเหตุการณ์สุดระทึก เผยว่า เธอคนนี้เป็นแฟนคลับของศิลปินวง BTS หรือที่หลายคนรู้จักกันในนามอาร์มี่ โดยวันเกิดเหตุนั้นเธอกำลังยืนรอรถอยู่ตรงป้ายรถเมล์ ก่อนจะถูกคนร้ายก่อเหตุชิงทรัพย์ด้วยการกระชากมือถือของเธอไป ซึ่งภาพหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่เธอเลือกใช้นั้นเป็นรูปถ่ายของ ‘จิน BTS’ ในชุดทหารที่เป็นเครื่องแบบใส่ตอนเข้ากรมของเกาหลีใต้

หญิงสาวรายดังกล่าวเผยอีกว่า หลังจากที่คนร้ายได้คว้าโทรศัพท์มือถือของเธอไป เขาก็ทำการกดดูหน้าจอพร้อมกับมีท่าทีที่ไม่เหมือนเดิม เมื่อเห็นรูปของซอกจินสวมชุดทหารจากโทรศัพท์ ซึ่งดูเหมือนเขาจะคิดเองแล้วว่าทหารในรูปนั้นคงเป็นแฟนของหญิงสาวรายนี้ ก็เลยคืนโทรศัพท์มือถือให้แล้วรีบวิ่งหนีไป

หลังจากที่อาร์มี่สาวรอดพ้นจากการปล้นชิงทรัพย์มาได้อย่างปลอดภัย เรื่องราวของเธอก็ถูกเปิดเผยจนกลายเป็นกระแสฮือฮาขึ้นมาในหมู่แฟนคลับ K-pop โดยชาวเน็ตหลายต่อหลายคนพากันคอมเมนต์ถึงเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น “จินได้ช่วยชีวิตไว้”, “BTS จะช่วยอาร์มี่เสมอ”, “น่าทึ่งมาก”, “ฉันจะตั้งรูปทหารเป็นภาพพื้นหลังของโทรศัพท์ตอนไปต่างประเทศ”, และ “โอ้..แค่รูปถ่ายของเขาก็สามารถช่วยชีวิตคนได้” เป็นต้น

‘Viper Bangkok’ บาร์แฮงค์เอาท์ ย่านสะพานควาย บรรยากาศดี ดนตรีสด พร้อมค็อกเทลสูตรพิเศษ

ค้นพบสวรรค์แห่งความสนุก ค้นหาความสุขกับเครื่องดื่มดีดี ลิ้มลองอาหารเลิศรสในบรรยากาศที่แปลกใหม่กับคนที่รู้ใจ วันนี้ THE STATES TIMES ขอแนะนำที่ร้าน Viper Bangkok

ร้านนี้อยู่ใจกลางเมือง ย่านBTSสะพานควาย ร้านสวย มู๊ดดี น่านั่งมาก แสงสีจัดเต็มถ่ายรูปออกมาคือเริ่ดมากเลยขอบอก ที่สำคัญเพลงเพราะด้วยมีทั้งดนตรีสด และช่วง DJ เครื่องดื่มครบมาก ทั้งเบียร์ ไวน์ และค็อกเทลต่าง ๆ เยอะมากตอบโจทย์ทุกคนอย่างแน่นอน

ตัดมาที่เมนูอาหารก็จัดเต็มไม่แพ้กัน เริ่มจาก ไข่ปลาหมึกทอดคลุกซอส กรอบนอกหนึบในกินกับน้ำจิ้มซีฟู้ด รสชาติสุดฟิน หรือจะจานเส้นอย่างผัดหมี่กระเฉดกุ้งแม่น้ำ หอมกลิ่นคั่วกระทะกุ้งตัวใหญ่มาก สายแซบต้องยำดิบรวม หมึกกุ้งปลาสดมาก อร่อยฉ่ำ ๆ ทุกเมนูกินคู่กับเครื่องดื่มลงตัวมาก ใครกำลังมองหาที่แฮงค์เอาท์ โซนสะพานควายรีบแท็กชวนเพื่อน ๆ ด่วน สามารถโทรไปสำรองโต๊ะล่วงหน้าได้ที่เบอร์ 093-624-9268

‘รฟม.’ ปลดล็อก ‘สายสีส้ม’ เดินหน้าคืนประโยชน์ให้ ปชช. หลังศาลฯ ยกฟ้องปมจัดประมูล ชี้!! ดำเนินการโดยชอบตาม กม.

(18 ส.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ภายหลังศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘บีทีเอสซี’ ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ครั้งที่ 2 และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2563 โดยศาลพิพากษายกฟ้องทุกข้อกล่าวหา ชี้ดำเนินการชอบโดยกฎหมาย

จากกรณีดังกล่าวส่งผลให้การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มล่าช้ากว่าแผนไปแล้วประมาณ 2 ปีเศษ และยังส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังแผนการเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ‘ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)’ ไปพร้อมๆ ด้วย เนื่องจากรฟม.ยังไม่สามารถหาผู้ประกอบการเดินรถได้ เพราะการหาผู้ประกอบการเดินรถทั้งเส้นทางถูกผูกรวมอยู่กับการหาผู้ร่วมลงทุนที่จะมาก่อสร้างโครงการฯ ส่วนตะวันตก

ทั้งนี้ รฟม.ได้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกล่าช้าว่า ประเทศอาจจะเสียหายสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท/ปี ประกอบด้วย

1.) ค่าดูแลรักษา (Care of Works) โครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออก 495 ล้านบาท/ปี
2.) ค่าเสียโอกาสเก็บค่าโดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก 1,764 ล้านบาท/ปี
3.) ค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจ 40,644 ล้านบาท/ปี

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 พบว่าโครงการรถไฟฟ้าสีส้มส่วนตะวันออก ดำเนินการก่อสร้างงานงานโยธาแล้วเสร็จ 100% เหลือแต่เพียงการทดลองวิ่งและการประกาศเปิดใช้ที่ รฟม. จะประกาศในอนาคตนี้

ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก หากไม่มีเอกชนรายใดยื่นคัดค้านคำพิพากษา เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าและการเสียโอกาสของประชาชนในการใช้ประโยชน์ รวมถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในการดูแลโครงสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันออก รฟม. จะเร่งรัดและผลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ตามขั้นตอนเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีที่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘บีทีเอสซี’ ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือน กรกฎาคม 2563 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเหตุให้บีทีเอสซีเสียหาย

‘ผู้โดยสาร’ อึ้ง!! ประตูรถไฟฟ้า ‘เปิดค้าง’ ขณะวิ่งให้บริการ ชาวเน็ตต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงมาตรการความปลอดภัย

(21 ก.ย. 66) คลิปวิดีโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรถไฟฟ้าประเทศไทยกลายเป็นไวรัล มีผู้ชมแล้วกว่า 1.4 ล้านครั้ง ภายหลังเผยแพร่เพียง 17 ชั่วโมง โพสต์โดยผู้ใช้ติ๊กต็อกชื่อว่า star111042 ขณะที่รถไฟฟ้ากำลังเคลื่อนที่จากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่ง ปรากฎว่าประตูรถไฟฟ้าบานหนึ่งกลับเปิดอยู่ และมีเจ้าพนักงานมาดูแล แจ้งสถานการณ์ผ่านลำโพงแก่เจ้าหน้าที่ในขบวนรับทราบ

เจ้าของคลิป เปิดเผยว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (20 ก.ย.) ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางจาก (BTS บางจาก) มีพนักงานมาไขล็อคประตูไว้ คาดว่าจะล็อคผิดทำให้ประตูค้าง ไม่ยอมปิดมาจนถึงอีกสถานีหนึ่ง

พนักงานหญิงที่อยู่ในคลิปเป็นผู้เดินมาเจอว่าประตูค้างไม่ยอมปิด ตอนที่รถไฟฟ้าออกจากสถานีแล้ว พนักงานรายดังกล่าวจึงได้โทรประสานกับพนักงานที่เป็นคนไขล็อคไว้ พอถึงสถานีรถไฟฟ้าปุณณวิถี (BTS ปุณณวิถี) พนักงานที่ไขไว้ได้กลับมาปิดประตูแล้วล็อคให้ใหม่ พร้อมแปะป้าย ‘ประตูขัดข้อง’ ไว้

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความหวาดเสียวแก่ผู้โดยสารในขบวนอย่างมาก ส่งผลให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงมาตรการความปลอดภัยด้วย เช่นว่า

– คนแน่นๆ ประตูไม่ปิด หรือเปิดเอง มันจะเป็นโศกนาฏกรรมไหม
– ถ้าเป็นช่วงห้าโมงเย็นนะ หือออไม่อยากจะคิด
– รถไฟฟ้าเปิดประทุน
– อันตรายมาก ถ้าคนเยอะๆ นี้ตกไปแน่เลย
– เขาถึงบอกว่าอย่ายืนหน้า หรือพิงประตู อะไรก็เกิดขึ้นได้
– สิ่งที่เคยจินตนาการไว้ ได้เกิดขึ้นแล้ว
– ถ้าเป็นช่วงเวลาพีคไม่อยากจะคิด
– จากผู้โดยสาร สู่ ผู้ประสบภัย
– หลายปีก่อนก็มีเหตุการณ์แบบนี้ค่ะ แต่ไม่มีใครเป็นอะไร ทำให้ระแวงทุกครั้งที่ยืนเบียดหน้าประตู และคิดเตรียมพร้อมตลอดเวลาเผื่อเกิดเรื่องแบบนี้ค่ะ

‘บีทีเอส’ โร่ชี้แจง กรณีประตูรถไฟฟ้า ‘ขัดข้อง’ ระหว่างวิ่ง เตรียมหามาตรการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก

(21 ก.ย. 66) จากกรณีที่มีการแชร์ภาพในโลกโซเชียล ปรากฏให้เห็นว่าประตูรถไฟฟ้า BTS เปิดอ้างขณะขนวบรถกำลังวิ่ง สร้างความหวาดเสียว ตกใจให้แก่ผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก รวมถึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์

ล่าสุด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงถึงกรณีประตูรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ระหว่างสถานีบางจาก ถึงสถานีปุณณวิถี เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากระบบความปลอดภัยมีสัญญาณแจ้งเตือนประตูรถไฟฟ้าขัดข้อง เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า (TC) จึงได้ทำการติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ห้องศูนย์ควบคุม (CCR) และประสานเจ้าหน้าที่ไปยืนดูแลบริเวณประตูที่ขัดข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารเข้าใกล้บริเวณประตู พร้อมทั้งได้ดำเนินการแก้ไขประตูดังกล่าวที่สถานีถัดไป

อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบขบวนรถไฟฟ้าดังกล่าว และประตูที่ขัดข้องอย่างละเอียด เพื่อหามาตรการป้องกันเพิ่มเติม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำขึ้นอีก พร้อมกำชับพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกราย ให้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในทุกกรณี และเข้าประจำจุดโดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสาร บริษัทฯ ได้เน้นย้ำให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสาร และหากพบเหตุไม่ปกติในขบวนรถไฟฟ้า ผู้โดยสารสามารถกดปุ่มกระดิ่งแจ้งเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้าได้ทันที

บริษัทฯ ต้องขออภัยผู้โดยสารทุกท่านที่เกิดเหตุขัดข้อง และได้รับความไม่สะดวกในการเดินทาง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บีทีเอส โทรศัพท์ 0 2 - 617- 6000 Line official : @btsskytrain หรือเช็กสถานะการเดินรถได้ที่  Application ‘THE SKYTRAINs’ และ Facebook Page : รถไฟฟ้าบีทีเอส

ไขข้อสงสัย!! ‘รถไฟฟ้า’ แต่ละสาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นหน่วยงานใดบ้าง 🚈✨

ไขข้อสงสัย!! ‘รถไฟฟ้า’ แต่ละสาย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาเป็นหน่วยงานใดบ้าง 🚈✨

หมายเหตุ : ข้อมูลนี้เป็นของรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วเท่านั้น สำหรับรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการในอนาคต ต้องรอดูความคืบหน้าในการเลือกสังกัดหน่วยงานรับผิดชอบอีกครั้ง

'สาวท้อง' โวย!! 'ที่นั่งบุคคลพิเศษ' ใน รฟฟ. แต่คนท้องไม่ได้นั่ง ชาวเน็ตเสียงแตก!! บ้างบอกควร 'เสียสละ' บ้างบอก 'สิทธิ์ส่วนบุคคล'

(4 ม.ค. 67) กลายเป็นเรื่องราวถกสนั่นร้อนระอุไปทั่วโลกโซเชียล เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งออกมาแชร์ประสบการณ์การเดินทางที่ ‘คนท้อง’ ต้องเผชิญ สะท้อนทัศนคติผู้คนในสังคมต่อ คนท้อง และทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ คนท้อง ในสังคมนั้นมีเพียงพอหรือยัง?

โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้โพสต์ข้อความว่า “ขอบคุณที่นั่งสำหรับ คนพิการ พระสงฆ์ และ คนท้อง (ที่ไม่ได้นั่งเลย ยืนตลอดสาย ) ตั้งแต่ แบริ่ง – อโศก และเป็นวัน ที่ 3 ม.ค. 67 เป็นวันที่คนเริ่มกลับมาทำงาน และ บนรถไฟฟ้า ผู้คนแน่นมาก ๆ แต่สำหรับคนท้องที่มีที่นั่งพิเศษ กลับไม่ได้นั่ง”

“ส่วนคนที่แข็งแรง และ เป็นผู้ชาย แหงนหน้ามามองหลายรอบมาก แต่กลับนิ่งเฉย (ฉันยืนเหงื่อแตก ตาลาย ไหนมือนึงจะเกาะเสา ไหนอีกมือ จะคว้านหายาดมในกระเป๋า (แทบล้มตอนขบวนออกตัว)”

“แต่เขาก็ยังนั่งมองฉันเฉย ๆ แบบไม่มีจิตสำนึกอะไรเลย ผู้คนในรถไฟฟ้าต่างมองเขากัน แต่เขาก็ยังทำตัวนิ่งเฉย เริ่มไม่เข้าใจแล้วว่า ที่นั่งสำหรับ คนท้อง คนพิการ พระสงฆ์ ติดป้ายยังไม่ชัดเจนใช่ไหม? หรือ เข็มกลัดที่ท้องเรา มันเห็นไม่ชัดใช่ไหม (ทั้งๆที่มันอยู่ตรงหน้าคุณแท้ๆ)”

เมื่อโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็กลายเป็นไวรัลสร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่นในสังคม ความคิดเห็นจากโลกโซเชียลแตกออกหลายเสียง

ความคิดเห็นบางส่วนมองว่า การลุกให้ คนท้อง นั่งใน ที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ เป็นเรื่องของ ‘การเสียสละ และมีน้ำใจ’ คอมเมนต์บางรายถึงขั้นมองเป็นหน้าที่ เพราะผู้ที่ตั้งครรภ์ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเดินทางอย่างมาก โดยเฉพาะการเดินทางโดยรถสาธารณะ

ยิ่งไปกว่านั้น ที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ ก็มีไว้เพื่อให้บุคคลพิเศษที่มีความจำเป็นนั่ง ทั้งยังมองว่าเป็นเรื่องของจิตสำนึกที่ควรตระหนักรู้ได้ด้วยตนเอง

พร้อมกันนี้ยังมีเสียงจาก คนท้อง ที่ออกมาแชร์ประสบการณ์ความยากลำบากในการเดินทางเช่นเดียวกันจำนวนมาก

คอมเมนต์อีกด้านมองว่า แม้ว่าที่นั่งดังกล่าวจะเป็น ที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ แต่ไม่ได้มีกฎระเบียบข้อบังคับ เพียงแค่ขอความร่วมมือเท่านั้น ดังนั้นการจะลุกหรือไม่ลุกให้นั่ง จึงไม่ใช่ความผิด แต่เป็นความสมัครใจส่วนบุคคล

ขณะที่คอมเมนต์อีกส่วน จวกแรง วิจารณ์พฤติกรรมของเจ้าของโพสต์ว่า ทำไมถึงไม่พูดกับชายที่นั่งตรง ๆ แทนที่จะถ่ายมาโพสต์ประจาน? และมีคอมเมนต์โจมตีมากมาย

โดยทางเจ้าของโพสต์เผยว่า เธอต้องการเป็นกระบอกเสียงให้กับคนที่ท้อง แต่ไม่ได้รับการซัพพอร์ตทางสังคมในที่สาธารณะ ทั้งยังยกกรณีคอมเมนต์จากคนท้องที่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน ซึ่งเธอหวังว่า จะสร้างความตระหนักรู้ในสังคมได้

อย่างไรก็ดี ทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) เคยมีการชี้แจงถึง ที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ ไว้ดังนี้

ที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ (Priority seat) คือ ที่นั่งสำรองให้แก่ เด็ก, สตรีมีครรภ์, คนพิการ, ผู้ป่วย, พระภิกษุสงฆ์ และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ทางบีทีเอส ได้ออกแบบสัญลักษณ์ที่นั่งสำรอง เพื่อให้เห็นเด่นชัด สังเกตได้ง่าย พร้อมที่จะเอื้อเฟื้อที่นั่งสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ที่นั่งพิเศษนี้

ที่นั่งสำรองนี้ ผู้โดยสารทุกคนสามารถนั่งได้ แต่ต้องพร้อมที่จะเสียสละ เมื่อมีบุคคลพิเศษที่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ร่วมสร้างสังคมมีน้ำใจในการเดินทาง มีน้ำใจให้แก่กัน ทำให้การเดินทางในแต่ละวันมีแต่รอยยิ้ม

กลายเป็นประเด็นดราม่าถกสนั่น สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่ ผู้คนในสังคม มีต่อ คนท้อง ขณะที่ประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับภาวะเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงจนถึงขั้นวิกฤต ยิ่งทำให้เกิดคำถามต่อสังคมว่า สวัสดิการและสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ คนท้อง ในพื้นที่สาธารณะในสังคมไทยนั้นมีเพียงพอแล้วหรือยัง? โดยเรื่องราวจะจบลงอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป

‘บางจาก’ จับมือ ‘บีทีเอส’ เปิดตัว 'PINTO' เสิร์ฟตลาดเช่าซื้อสองล้อพลังงานสะอาด

(12 ม.ค. 67) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในงานเปิดตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Pinto (ปิ่นโต) โดยบริษัท สมาร์ท อีวี ไบค์ จำกัด (Smart EV Bike) บริษัทร่วมทุนของบริษัท วินโนหนี้ จำกัด (Winnonie) บริษัทสตาร์ทอัพในกลุ่มบริษัทบางจาก และบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง (วินมอเตอร์ไซค์) ในบริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

เพื่อสร้างบริการขนส่งสาธารณะระบบรอง หรือ Feeder ที่สะดวก ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ

โดยมีนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายกวิน กาญจนพาสน์ และนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา ผู้บริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมงาน ณ ลานจอดแล้วจร สถานีบีทีเอสหมอชิต อีกทั้งยังมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มาเยี่ยมชมการสาธิตการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในภายหลัง

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วินโนหนี้เป็นสตาร์ทอัพภายในองค์กรของบางจากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563

ด้วยการนำนวัตกรรมพลังงานสีเขียวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า มายกระดับคุณภาพชีวิตของจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ ให้เช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ตอบโจทย์การเข้าสู่ธุรกิจรถไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทบางจาก และเป็นการสร้าง Net Zero Ecosystem หรือระบบนิเวศเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของบริษัทในปี 2593

วินโนหนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากวันเริ่มต้นดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ใช้งานกว่า 1,000 ราย ผ่านเครือข่ายสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่อัตโนมัติจำนวน 120 สถานี ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งถือเป็น Win-Win Solution ใน 3 ด้าน คือ

ช่วยให้ชีวิตผู้ขับขี่วินมอเตอร์ไซค์ดีขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย จากการเช่าใช้จักรยานยนต์ ประมาณเดือนละ 4,000 บาท หรือ 48,000 บาทต่อคนต่อปี รวม 48 ล้านบาทต่อปี

โลกดีขึ้น จากการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด วินโนหนี้วิ่งใช้งานแล้วมากกว่า 42 ล้านกิโลเมตร ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปประมาณ 2 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อีกทั้งยังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ ลดการเกิดฝุ่น PM2.5 และมลภาวะทางเสียง

ประเทศดีขึ้น จากการที่วินโนหนี้ พัฒนาโดยคนไทยในประเทศไทย ทำให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรม การพัฒนาคนและการสร้างงานในประเทศ

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า “ในวันนี้ นับเป็นอีกความก้าวหน้าทางธุรกิจที่สำคัญของวินโนหนี้ ในการร่วมเริ่มต้นธุรกิจให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Pinto กับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ผ่านเครือข่ายสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่อัตโนมัติของวินโนหนี้ที่ครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยเฉพาะสถานีที่จะตั้งเพิ่มเติมตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสเพื่อให้เกิดความสะดวกและเพียงพอต่อการใช้งานมากขึ้น

เพื่อให้ผู้โดยสารบีทีเอสมีประสบการณ์การเดินทางแบบ First Mile to Last Mile ด้วยพลังงานสะอาด คือสามารถเดินทางออกจากบ้านจนถึงกลับเข้าบ้านด้วยการบริการขนส่งสาธารณะที่ใช้ไฟฟ้าตลอดเส้นทาง”

“การใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตอีกมาก หากได้รับการสนับสนุนและผลักดันจากหน่วยงานภาครัฐในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนค่าพลังงานไฟฟ้าในราคาพิเศษสำหรับสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ การจัดตั้งหน่วยงานกลางแบบ One Stop Service ในการขออนุมัติการติดตั้งมิเตอร์ หรือ การพิจารณากฎหมาย เช่น กฎหมายขนส่ง การจดทะเบียนป้ายเหลือง การจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า กฎหมายเกี่ยวกับวินเพื่อรองรับการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้า”

“รวมถึงการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนและการทำ Carbon Credit Certificate และมาตรการสนับสนุนอื่นๆ อาทิ การทำประกันภัยสำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า การให้ใช้พื้นที่หน่วยงานภาครัฐหรือกรุงเทพมหานคร เพื่อทำจุดติดตั้งสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยไม่คิดค่าเช่าพื้นที่หรือในอัตราพิเศษ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และทุนวิจัยและพัฒนา”

สำหรับ วินโนหนี้ ที่มุ่งมั่นเป็นผู้นำการให้บริการแพลตฟอร์มการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ Battery as a Service (BaaS) สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานจากกว่า 1,000 รายและสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ 120 แห่ง ณ สิ้นปี 2566 เป็นผู้ใช้งาน 60,000 ราย และสถานี 3,000 แห่งในปี 2573

เดินหน้าส่งเสริมการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ สนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของประเทศและของโลก ผ่านประสบการณ์การขับขี่ที่ดีต่อเราและต่อโลก

เปิดสูตรค่าโดยสาร ‘ชมพู+BTS’ ตามแผนตั๋วร่วม  ปรับลดเพดาน 107 บาท ให้จบที่ไม่เกิน 65 บาท

เมื่อวันที่ 13 ม.ค.67 เพจ ‘โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure’ ได้โพสต์ข้อความในหัวข้อ ‘เข้าใจปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู ต่อ BTS 107 บาท มายังไง??? แล้วแก้อย่างไรได้บ้าง เพื่อให้ประชาชนโดยสารได้ในราคาที่เหมาะสม!!’ ระบุว่า...

จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘รถไฟฟ้าสายสีชมพู’ ได้เก็บค่าโดยสารอย่างเป็นทางการ พร้อมกับการเก็บค่าโดยสารใน BTS ส่วนต่อขยายสายเหนือ (หมอชิต-คูคต) ที่สามารถซื้อตั๋วโดยสารจากต้นทางสายสีชมพู เพื่อตรงเข้ากลางเมือง ด้วย BTS ได้ด้วยบัตรใบเดียว!!

ทำให้เกิดการช็อกกับค่าโดยสารต่อ Trip ของการเดินทางต่อเนื่องตลอดเส้นทาง จากสายสีชมพูต่อสายสีเขียว เพื่อเข้ากลางเมือง ซึ่งราคาสูงสุดกว่า 107 บาท!!

ซึ่งเราต้องมาทำความเข้าใจ โครงสร้างราคาปัจจุบัน ของรถไฟฟ้าทั้ง 3 ส่วนนี้ก่อนนะครับ

1.) รถไฟฟ้าสายสีชมพู (ผู้ให้สัมปทาน รฟม.) ค่าโดยสาร 15-45 บาท ซึ่งถ้านับจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (จุดเชื่อมต่อ BTS) ซึ่งค่าโดยสารจะไปถึงค่าสูงสุด ตั้งแต่สถานีแยกปากเกร็ด และ สถานีนพรัตน์ ออกไป

2.) รถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) ส่วนต่อขยายเหนือ หมอชิต-คูคต (เป็นของ กทม. เอง) ซึ่งปัจจุบันเก็บค่าโดยสารอัตราเดียว 15 บาท ตลอดสาย

3.) รถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) ส่วนสัมปทานหลัก (ไข่แดง) ค่าโดยสาร 17-47 บาท ซึ่งถ้านับจากสถานีหมอชิต จะชนอัตราสูงสุด ที่สถานีสยาม

ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบที่ BTS เป็นผู้ให้บริการ แต่แตกต่างที่เจ้าของสัมปทานต่างๆ ทำให้ คนที่เดินทางจากมีนบุรี เข้าสยาม ต้องจ่ายค่าโดยสารที่อัตราสูงสุด 107 บาท!!

แล้วเราทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้ค่าโดยสารถูกลง?

1.) ให้ BTS ทำส่วนลดค่าแรกเข้า ภายในระบบที่ BTS เป็นผู้ให้บริการ เช่น ระหว่าง ชมพู และ เขียว ซึ่งจะสามารถลดราคาได้ 15 บาท ก็จะเหลือ 92 บาท

2.) เคลียร์ปัญหาสัมปทาน BTS-กทม. และเพิ่มข้อบังคับด้านการรองรับตั๋วร่วม และมาตรฐาน EMV ของ ให้ใช้กับระบบ BTS ได้

3.) แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ‘ผลักดัน พรบ. ตั๋วร่วม’ ซึ่งจะจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วม เพื่อเป็นกองทุนที่จ่ายส่วนต่างที่เกิน จากสัมปทาน และผลักดัน ตั๋วโดยสารกลาง ซึ่งก็อาจจะได้เห็นตั๋ววัน หรือตั๋วเดือน ที่จะใช้ได้ทั้งกรุงเทพทุกระบบการเดินทาง!!

ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้น ค่าโดยสารสูงสุดด้วยการใช้ระบบตั๋วร่วม อยู่ที่ 65 บาท/การเดินทาง!!

มาทำความเข้าใจ รายละเอียดการศึกษา การพัฒนาตั๋วร่วม ได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ >> http://www.thaicommonticket.com

ซึ่งจากแผนการพัฒนาระบบตั๋ว ร่วมจำเป็นต้องมีการออก พรบ. ตั๋วร่วม โดยจะมีส่วนประกอบ คือ…

- จัดตั้งตั้งองค์กรกลางในการควบคุม และบริหารตั๋วร่วม
- จัดตั้งกองทุนส่งเสริมตั๋วร่วม ซึ่อจะมีที่มารายได้จากหลายด้าน เช่น การรับส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทาน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการบริหารจัดการบัตร

โดยประชาชนจะได้ประโยชน์ จากตั๋วร่วม จากหลายส่วน คือ…

- ใช้บัตรมาตรฐานเดียว ซึ่งเป็นระบบเปิด ไม่ว่าหน่วยงานไหนก็ออกบัตรให้ได้ รวมถึงการใช้มาตรฐาน EMV ซึ่งติดอยู่ในบัตรเครดิต ทุกใบ

- รวมอัตราค่าโดยสารของทุกระบบ และทุกรูปแบบในบัตรเดียว 
ซึ่งในส่วนรถไฟฟ้ารวมทุกสาย สูงสุดไม่เกิน 65 บาท และลดค่าแรกเข้าระหว่างเปลี่ยนสาย

- มีส่วนลดค่าแรกเข้าเปลี่ยนระหว่างระบบขนส่ง เช่น รถเมล์ และ เรือ อย่างน้อย 10 บาท

ซึ่งถ้าสามารถผลักดัน พรบ.ตั๋วร่วมออกมาและถูกนำไปใช้ได้จริง จะช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าเดินทางไปอีกมหาศาล!!

คงต้องขอฝากท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สุรพงษ์ ปิยะโชติ - Surapong Piyachote กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม และ สนข. ช่วยผลักดันเพื่อลดค่าครองชีพให้ประชาชนครับ

‘บีทีเอส’ แจง!! กรณี ‘2 ตายาย’ ติดลิฟต์สถานีสนามกีฬาฯ กว่า 1 ชม. เหตุกระแสไฟฟ้าขัดข้อง พร้อมกราบขออภัย ตอนนี้ใช้งานได้ปกติแล้ว

(21 ม.ค. 67) จากกรณีเกิดเหตุ ระทึกกับ 2 ตายายที่จะเดินทางไปทำธุระ แต่ลิฟต์ของ BTS เกิดขัดข้อง ทำให้ติดอยู่ภายในลิฟต์นานเกือบ 1 ชั่วโมง โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา อาสาฯ ป่อเต็กตึ๊งจุดปทุมวัน รับแจ้งมีคนติดภายในลิฟต์ ของ BTS สนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระราม 1 เจ้าหน้าที่กู้ภัย จึงนำอุปกรณ์ตัดถ่าง พร้อมทีมแพทย์ รพ.ตำรวจ เข้าช่วยเหลือ

โดยพบว่า คนที่ติดค้างอยู่ภายใน เป็น 2 ตายาย ซึ่ง ยังมีสติดี แต่อากาศหายใจไม่ค่อยออก เนื่องจากอากาศไม่ถ่ายเท

ทั้งนี้ เบื้องต้นจุดเกิดเหตุลึกประมาณ 4 เมตร ลิฟต์ค้างติดอยู่ตรงบริเวณกลางพอดี เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจเรียกช่างลิฟต์ มาพร้อมเจ้าหน้าที่ BTS มาตรวจสอบ จากนั้นจึงได้เร่งใช้ไฟสำรอง จนทำให้ลิฟต์ที่ติดขัดขึ้นมายังด้านบนได้ ส่วนทั้ง 2 ตายายนั้นปลอดภัยดี ทีมแพทย์ รพ.ตำรวจ จึงได้ให้ออกซิเจนช่วยเหลือ เนื่องจากทั้ง 2 นั้นอยู่ภายในลิฟต์เป็นเวลานานเกือบ 1 ชม.

โดยจากการสอบถามทั้ง 2 ตายาย เล่าว่า ได้เดินทางมาจากแถวถนนจันทน์ เพื่อที่จะเดินทางไปทำธุระแถวสนามหลวง จึงได้นั่ง BTS มาแล้วลงสนามกีฬาแห่งชาติ แล้วจะนั่งรถเมล์ไปต่อ พอลงมาจึงได้ขึ้นลิฟต์เพื่อที่จะลงไปข้างหลัง ขณะนั้นลิฟต์กระแสไฟตก มีปัญหา จึงค้างกะทันหันเป็นเวลาเกือบ 1 ชม. ทั้งนี้หลังจากได้ให้ออกซิเจนและปฐมพยาบาลเสร็จอาสากู้ภัยป่อเต็กตึ๊งจุดปทุมวัน ได้ไปส่ง 2 ตายาย ขึ้นรถเมล์ไปทำธุระอย่างปลอดภัยทั้งสองราย

ล่าสุด บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า…

“บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส รายงานถึงกรณีผู้โดยสารคุณตา และคุณยายติดลิฟต์ ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) เมื่อช่วงเวลา 08.00 น. ของวันนี้ว่า จากการตรวจสอบหาสาเหตุเบื้องต้นพบว่า มาจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้หม้อแปลงไฟฟ้า ส่งผลให้ลิฟต์หยุดทำงาน และเมื่อได้รับแจ้งเหตุ ทางเจ้าหน้าที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ดำเนินการเข้าซ่อมแซมในบริเวณหม้อแปลงไฟฟ้าและลิฟต์ที่ขัดข้องทันที พร้อมได้ประสานงานกับทางศูนย์เอราวัณ (สายด่วน 1669) เพื่อให้สามารถปฐมพยาบาล และช่วยเหลือคุณตา และคุณยายได้ทันท่วงที ซึ่งในระหว่างดำเนินการช่วยเหลือนั้น พบว่าคุณตา และคุณยาย ยังคงมีสติ แต่มีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือทั้ง 2 ท่าน อย่างระมัดระวัง และรอบคอบมากที่สุด

โดยหลังจากเจ้าหน้าที่ซ่อมแซมระบบที่ขัดข้อง จนกระแสไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ปกติ และช่วยเหลือคุณตา และคุณยาย ออกมาจากลิฟต์ได้แล้วนั้น จึงได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และทั้ง 2 ท่านประสงค์ที่จะเดินทางต่อทันที ทางเจ้าหน้าที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงได้อำนวยความสะดวกให้กับทั้ง 2 ท่าน ในการเดินทางต่ออย่างปลอดภัย

บริษัทฯ กราบขออภัยคุณตา และคุณยาย ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขี้น และไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางครั้งนี้ ซึ่งขณะนี้ระบบที่ขัดข้องทั้งหมดได้ถูกดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว และบริษัทฯ จะปรับปรุงระบบการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวก และปลอดภัยกับผู้โดยสารให้มากที่สุด

ขอขอบพระคุณ

ฝ่ายสื่อสารองค์กร”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top