Sunday, 19 May 2024
BTS

ราชกิจจาฯ ประกาศห้ามจอดรถ บริเวณช่องเว้าเกาะกลาง ใต้สถานี BTS  เพื่อแก้ไขปัญหา รถติด-อุบัติเหตุ จัดระเบียบการจราจร

(10 มี.ค.67) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567

โดยระบุว่า ด้วยได้มีการจัดทําช่องเว้าเข้าไปในเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถ บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อใช้เป็นที่จอดรถเฉพาะรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่ปรากฏว่ามีประชาชนนํารถเข้าไปจอดในบริเวณดังกล่าว ทําให้รถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถจอดรถได้ ประกอบกับมีการจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรในทางเดินรถ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ จึงจําเป็นต้องออกประกาศข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร เพื่อจัดระเบียบการจราจรในบริเวณดังกล่าว

ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 139 (2) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอ่านาจตามบทบัญผัติแห่งกฎหมายที่ตราชึ้นเพื่อความั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยของประชาชน และคําสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 62/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการห้ามจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานี พ.ศ. 2567”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ห้ามหยุดหรือจอดรถทุกชนิดตลอดเวลา ยกเว้นรถที่ทํางานบํารุงรักษาระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในบริเวณช่องเว้าเกาะกลางถนนทางด้านขวาของทางเดินรถใต้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ดังต่อไปนี้

1.สถานีห้าแยกลาดพร้าว
2.สถานีพหลโยธิน
3.สถานีรัชโยธิน
4.สถานีเสนานิคม

5.สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6.สถานีกรมป่าไม้
7.สถานีบางบัว
8.สถานีกรมทหารราบที่ 11
9.สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

10.สถานีพหลโยธิน 59
11.สถานีสายหยุด
12.สถานีสะพานใหม่
13.สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

14.สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
15.สถานีแยก คปอ.
16.สถานีบางจาก
17.สถานีปุณณวิถี

18.สถานีอุดมสุข
19.สถานีบางนา
20.สถานีแบริ่ง
21.สถานีกรุงธนบุรี

22.สถานีวงเวียนใหญ่
23.สถานีโพธิ์นิมิต
24.สถานีตลาดพลู
25.สถานีวุฒากาศ
26.สถานีโรงจอดและซ่อมบํารุงรถไฟฟ้าบางหว้า

ข้อ 4 นับตั้งแต่วัน เวลา ที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ให้ยกเลิก ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ คำสั่งใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้

ประกาศ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ดร.'สามารถ' ลุ้น!! กทม. ล้างหนี้ BTS ก่อนหมดสัญญาปี 2572  หวั่น!! ชำระหนี้ไม่ครบ ต้องยืดสัญญาสัมปทาน

(17 มี.ค.67) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีการชำระหนี้คืนของ กทม. ให้กับ BTS ระบุว่า...

ลุ้น ! กทม. ล้างหนี้ BTS ก่อนหมดสัญญาปี 2572
น่าดีใจที่ กทม. เตรียมจ่ายหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลให้ BTS ประมาณ 2.3 หมื่นล้าน จากหนี้ทั้งหมดถึงวันนี้ประมาณ 5.3 หมื่นล้าน ไม่รวมหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ หาก กทม. สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญา หรือหาก กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ อะไรจะเกิดขึ้น ?

1. ถึงวันนี้ กทม. เป็นหนี้ BTS เท่าไหร่ ?
ถึงวันนี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นหนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย รวมดอกเบี้ยประมาณ 5.3 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยหนี้งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M หรือ Electrical and Mechanical) เช่น อาณัติสัญญาณ สื่อสาร ระบบตั๋ว และประตูกั้นชาลา เป็นต้น ประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา (O&M หรือ Operation and Maintenance) รวมค่าเช่าขบวนรถไฟฟ้า ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
หนี้ E&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2559 และได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อขยายเส้นทางยาวขึ้น ส่วนหนี้ O&M เริ่มมีตั้งแต่ปี 2560 เมื่อเปิดเดินรถช่วงสถานีสำโรง-สถานีปู่เจ้าสมิงพราย ในวันที่ 3 เมษายน 2560 และหนี้ได้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเปิดเดินรถจากสถานีปู่เจ้าสมิงพราย-สถานีเคหะสมุทรปราการ ในวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ตามด้วยการเปิดเดินรถจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 และจากห้าแยกลาดพร้าว-สถานีคูคต ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563

2. ความเป็นไปได้ในการจ่ายหนี้โดย กทม.
เวลานี้ กทม. มีความพร้อมที่จะจ่ายหนี้ก้อนแรกค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ค่าจ้างเดินรถที่ถึงเวลานี้มีประมาณ 3 หมื่นล้านบาท กทม. ยังไม่จ่าย เนื่อง
จากยังมีคดีค้างอยู่ที่ศาลปกครอง นอกจากนี้ ยังมีหนี้ค่าจ้างเดินรถที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้ไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 อีกก้อนใหญ่ ถ้า กทม. ไม่สามารถจ่ายได้ รัฐบาลจะช่วย กทม. หรือไม่ ? 
โอกาสที่จะเกิดขึ้นในการชำระหนี้มีดังนี้

(1) กทม. จะสามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมดโดย กทม. เอง หรือโดยความช่วยเหลือจากรัฐบาล กทม. ก็ไม่จำเป็นจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS แต่ กทม. จะต้องจ้าง BTS ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวรวมทั้งซ่อมบำรุงรักษาไปจนถึงปี 2585 ตามสัญญาจ้างระหว่าง กทม. กับ BTS ที่ทำกันมาหลายปีแล้ว การว่าจ้างส่วนต่อขยายบางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2555-2585 บางช่วงเริ่มตั้งแต่ปี 2559-2585 และที่สำคัญ ได้ว่าจ้างให้เดินรถส่วนหลักด้วยหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 จนถึงปี 2585
กรณี กทม. จ้าง BTS ให้เดินรถและซ่อมบำรุงรักษา กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง เป็นอิสระจาก BTS ค่าโดยสารอาจจะถูกลงก็ได้ ทั้งนี้ กทม. ควรเก็บค่าโดยสารให้มีรายได้พอที่จะเลี้ยงตัวเอง นั่นคือพอเพียงกับค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งค่าซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่าเปลี่ยนขบวนรถไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้งานมานานหลายปี

(2) กทม. ไม่สามารถล้างหนี้ได้ก่อนหมดสัญญาปี 2572
ในกรณีที่ กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดภายในปี 2572 กทม. จะต้องเจราจากับ BTS ให้รับหนี้ที่เหลือแทน ซึ่ง กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS ออกไปตามระยะเวลาที่เหมาะสมกับมูลค่าหนี้ อัตราค่าโดยสาร รวมทั้งผลตอบแทนที่ กทม. จะได้รับจาก BTS

3. สรุป
การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งยืดเยื้อมานานหลายปี ถึงเวลานี้พอจะมีความหวัง ไม่ว่า กทม. จะสามารถชำระหนี้ได้หมดก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 หรือไม่ BTS ก็จะยังคงมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อไป 
หาก กทม. สามารถชำระหนี้ได้หมด BTS ก็จะเป็นผู้รับจ้างเดินรถไปจนถึงปี 2585 กทม. จะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง รายได้ทั้งหมดจะเป็นของ โดย กทม. จะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด 

หาก กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ได้หมด กทม. อาจจะต้องขยายสัมปทานให้ BTS โดย BTS จะต้องรับภาระหนี้แทน กทม. และจะต้องแบกรับความเสี่ยงเองทั้งหมด
อีกไม่นานก็คงรู้ว่า BTS จะมีบทบาทในรถไฟฟ้าสายสีเขียวในฐานะผู้รับจ้างเดินรถ หรือผู้รับสัมปทานแบบเดิมต่อไป


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top