Thursday, 16 May 2024
BankRun

วิเคราะห์!! ธนาคารดังยุโรปจะแห่ล้มตาม SVB หรือไม่? ในวันที่หลายแบงก์มะกัน เชื่อ!! ไม่เกิด Bank Run ซ้ำรอย

(14 มี.ค.66) World Maker ได้ตั้งคำถามถึงวิกฤตสภาพคล่องธนาคาร ว่าจบลงหรือยัง? แล้วธนาคารดังในยุโรปจะล้มตาม SVB หรือไม่? ซึ่งถือเป็นคำถามสำคัญที่สุดของภาคการเงิน ณ วินาทีนี้เลยก็ว่าได้ หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมามีรายงาน ว่าหุ้นกลุ่มธนาคารเกือบทั้ง Sectors ยังคงโดนเทขายร่วงลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Commerzbank AG ของยุโรปที่ร่วงเกือบ -13% ในคืนนี้

ขณะเดียวกัน สิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญและกลายเป็นข่าวใหญ่ก็คือการที่ Credit Default Swap หรือ CDS ของ Credit Suisse ซึ่งเป็นตราสารอนุพันธ์ที่จะมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อบริษัทเสี่ยงที่จะผิดชำระหนี้ ได้พุ่งทำระดับ All Time High ใหม่สูงกว่า 452 หน่วยหลังเปิดตลาด พร้อมกับราคาหุ้นที่ร่วงลงเกือบ -6%

นั่นเป็นการบ่งชี้ว่า นักลงทุนกำลังกลัวว่า Credit Suisse จะไม่สามารถชำระหนี้ได้? หรืออาจถึงขั้นล้มละลาย? ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธ ว่าความเสี่ยงนั้น 'มีจริง' แต่ต้องเข้าใจด้วยว่านี่ไม่ได้เป็นการการันตีแต่อย่างใดว่าธนาคารจะล้มจริงๆ เพราะในช่วงปลายปี 2022 ก็เคยมีข่าวว่า Credit Suisse จะล้มและ CDS ดีดทำ All Time High เช่นกัน แต่สุดท้ายธนาคารก็รอดวิกฤตครั้งนั้นมาได้โดยไม่ล้มละลาย ดังนั้นครั้งนี้จึงต้องลุ้นกันต่อไปว่าจะล้มหรือไม่?

ทั้งนี้ Credit Suisse ยังถือว่ามีเรื่องฉาวในภาคการเงินมานานหลายปี และอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่หลังจากราคาหุ้นร่วงยับ ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่นักลงทุนจะกังวลเกี่ยวกับบริษัทนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤตสภาพคล่องของ SVB เข้าไปเสริม จึงไปกระตุ้นให้นักลงทุน Bet ว่าบริษัทจะไม่สามารถชำระหนี้ได้และทำให้ CDS พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง

ขณะเดียวกัน หุ้นกลุ่มธนาคารยังคงเผชิญการเทขายจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง (สอดคล้องกับราคาหุ้นที่ร่วงลงในระยะสั้น) แม้รัฐบาลสหรัฐฯ และ FED จะก้าวเข้ามาอุ้มเงินฝากภายใน SVB แล้วก็ตาม แต่อย่างที่ World Maker บอกไปว่าเรื่องนี้ต้องพิจารณาแยกกับอารมณ์ (Sentiment) ของตลาดและราคาหุ้น ซึ่งเคลื่อนไหวเป็นอิสระและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอุ้มของหน่วยงานกำกับดูแล

โดยเฉพาะ First Republic ซึ่งร่วงมากกว่า -70% ในช่วง Premarket วันนี้ รวมไปถึง Charles Schwab ที่ร่วงเกือบ -20% หรือแม้แต่ธนาคารยักษ์ใหญ่อื่น ๆ ใน Wall Street ของสหรัฐฯ เช่น JPMorgan, Goldman Sachs, Citigroup, Well Fargo, Bank of America, Morgan Stanley ล้วนร่วงกันหมดยกแผงคืนนี้ แม้จะไม่หนักเท่ากับธนาคารเล็กๆ ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม First Republic ยังให้ความมั่นใจกับนักลงทุน โดยกล่าวว่าได้รับสภาพคล่องเพิ่มเติมจาก JPMorgan และ Federal Home Loan Bank มาอย่างน้อย 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้ไม่น่าจะเกิด Bank Run ซ้ำรอย SVB แต่ทั้งนี้ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป

ความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าภาคการเงินของสหรัฐฯ-ยุโรป มีความเชื่อมโยงถึงกัน และกำลังช่วยกันดูแลสภาพคล่องในตลาด รวมไปถึงการได้รับแรงหนุนจากภาครัฐและธนาคารกลางที่ดูเหมือนจะไม่อยากให้เกิด Domino Bank Run เหมือนในช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าวิกฤตสภาพคล่องจะจบที่ SVB แล้ว เพราะยังไม่มีอะไรการันตีเลยว่าจะเป็นเช่นนั้น ซึ่งก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่นักลงทุนยังคงเทขายหุ้นธนาคารหรือเข้าสู่โหมด Risk-Off อย่างที่เราเห็นว่า Bond Yield ปรับตัวร่วงลงพร้อมกับราคาพันธบัตรพุ่งสูงขึ้น รวมไปถึงทองคำที่พุ่งทะลุ 1900 $/Oz ไปในวันนี้

อนึ่ง นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า Bank ใหญ่ๆ ระดับ Top ของสหรัฐฯ ไม่น่าจะเกิดวิกฤต Bank Run อย่าง SVB หรือธนาคารเล็กๆ อื่นๆ เนื่องจากยังมีงบดุลค่อนข้างแข็งแกร่งมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปี 2008 นั้นมีความแตกต่างกันอย่างหลาย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ผลกระทบของ Bank Run ครั้งนี้จะเป็นลูกโซ่แค่ในวงจำกัด?

และถึงแม้ว่าธนาคารต่างๆ จะยังมีการขาดทุนค้างพอร์ตจากหลักทรัพย์ต่าง ๆ รวมถึงพันธบัตรอยู่สูงถึง -21.5 ล้านล้านบาทหรือ -6.2 แสนล้านดอลลาร์ แต่สามารถกล่าวได้ว่า การขาดทุนเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นจริง ตราบใดที่รัฐบาลและ FED เสริมสภาพคล่องให้ธนาคารมากเพียงพอที่พวกเขาจะ Run ระบบต่อไปได้โดยไม่ต้องขายหลักทรัพย์ที่ถืออยู่ก่อนครบกำหนด

อย่างไรก็ตามการล้มของ SVB ก็ได้ทำให้ตลาดมีแรงสะเทือนไปบ้างแล้วในหลายจุด โดยเฉพาะการคาดการณ์เรื่องดอกเบี้ยของ FED ที่ถูกปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว แม้ว่า FED เองจะยังไม่ได้ออกมาพูดชัดเจนว่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่ตลาดก็คาดการณ์ไปแล้ว ดังนั้นจึงมีกรณีที่ต้องระวังอยู่บ้าง เพราะถ้าอยู่ๆ ในการประชุมวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ FED ยืนยันจะขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก ตลาดก็อาจมีการ Risk-Off มากกว่าเดิมได้

ที่น่าจับตามองต่อไปจากวิกฤต Bank Run ก็คือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากวิกฤตของ SVB นั้นมีสาเหตุหลักอย่างหนึ่งมาจากผลกระทบด้านดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ธนาคารที่เข้าไปถือพันธบัตรอยู่สูงมากต้องยอมเทขายหลักทรัพย์ออกมาในราคาขาดทุน เมื่อลูกค้าแห่ถอนเงินจนมีเงินสดไม่เพียงพอจะไปชำระคืน

ดังนั้น ภาคอสังหาฯ ที่มีการลงทุนในพันธบัตรอย่างเช่น Mortgage Backed-Secuirty หรือ MBS ซึ่งได้รับผลกระทบไม่ต่างจากพันธบัตรรัฐบาลเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น จึงถือว่ามีความเสี่ยงโดยตรง ขณะที่ตลาดอสังหาฯ ก็เริ่มแสดงสัญญาณชะลอตัวไปแล้ว หลังราคาบ้านพุ่งสูงลิ่วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนไปถึงระดับที่หลายคนเอื้อมไม่ถึง

และเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น จึงทำให้ภาระของผู้ผ่อนบ้านหนักหนาสาหัสเข้าไปอีก ดังนั้นหากเกิดวิกฤตสภาพคล่องในตลาดอสังหาฯ ก็อาจคล้ายคลึงกับลักษณะของ Bank Run ที่จะต้องมีการเทขายหลักทรัพย์ออกมา ซึ่งก็รวมถึงตัว MBS หรือตัวบ้าน อพาร์ตเมนต์ คอนโด หรืออื่นๆ

โดยเฉพาะพวกกองทุนอสังหาฯ อย่าง REIT ซึ่งมีการกู้ยืมเงินและระดมทุนจากนักลงทุนไปพัฒนาโครงการอสังหาฯ หรือแม้แต่การนำไปเก็งกำไรราคาที่อยู่อาศัย ซึ่งแม้ว่าการใช้ระดับ Leverage จะไม่สูงและแพร่หลายเท่ากับในช่วงวิกฤตการเงินโลก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการใช้ Leverage เลย ดังนั้นมันจึงถือเป็นความเสี่ยงที่ปฏิเสธไม่ได้

‘พงษ์ภาณุ’ มอง!! แม้ FED แก้ปัญหาเร็ว แต่ยังไม่จบ เมื่อระเบิดเวลาจากอัตราดอกเบี้ย ยังรอซ้ำดาบสอง

(26 มี.ค.66) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และอดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้มุมมองถึงผลกระทบต่อการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ต่อภาคธนาคาร ผ่านรายการ ‘NAVY TIME เรื่องดี ๆ ประเทศไทยยามเช้า’ ออกอากาศช่วงเช้า เวลา 07.00- 08.00 น. ทางสถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือวังนันทอุทยาน (ส.ทร.วังนันทอุทยาน) FM93 เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 66 ระบุว่า…

แม้เราจะมองเห็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างรวดเร็วของ Fed ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะกับการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วนที่เกิดขึ้น จาก ‘Bank Run’ ด้วยการเข้ามาค้ำประกันเงินฝาก ให้แบงก์เอาพันธบัตรไปวางค้ำและปล่อยกู้ในมูลค่าเต็มของราคาพันธบัตรนั้นๆ แต่จริงๆ แล้วปัญหามันยังไม่จบ ผมคิดว่า มันยังมีความเสี่ยงด้าน ‘Credit risk’ เป็นส่วนใหญ่ซ่อนอยู่ เช่น ความเสี่ยงของผู้กู้ที่อาจจะไม่สามารถชำระคืนได้ 

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Interest Rate Risk’ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ไม่หมดเอย หรืออีกส่วนหนึ่งก็นำไปลงทุนในหลักทรัพย์เอย โดยเฉพาะอย่างหลังกับหลักทรัพย์ ที่เวลาเจอดอกเบี้ยขึ้นเมื่อไร ราคาทรัพย์มันมักจะตกลงตาม โดยเฉพาะกับกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีรายได้คงที่ แบบ ‘Fixed Income Securities’ (ตราสารหนี้) ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรเอกชน ที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ตามกำหนดเวลา และชำระคืนเงินต้นเมื่อครบอายุของหลักทรัพย์

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ สมมติว่าเราไปซื้อพันธบัตรรัฐฯ ไว้ 1 หมื่นบาท แล้วภายในระยะเวลา 5-10 ปี เขาก็จะคืนมาให้ 11,000 บาท โดยเงื่อนไขในพันธบัตรจะเขียนว่า รัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ย เป็นจำนวน 5 บาท ทุกวันที่นั้น วันที่นี้ และเมื่อครบกำหนด ก็จะชำระคืนเงินต้น ซึ่งจำนวนเงิน 5 บาทนี้ แม้ดอกเบี้ยจะขึ้นเร็ว-ขึ้นแรงแค่ไหน รีเทิร์นมันก็จะถูกฟิกซ์ไว้อยู่ดี

เมื่อ Bank Run พาคนแห่ถอนเงินออกจากธนาคารไปยังสินทรัพย์อื่น ส่งผลกระทบ 'รายย่อยชะลอซื้อหุ้น' หวั่นฟองสบู่ตลาดเงิน

เราจะต้องเตรียมรับมือวิกฤตฟองสบู่แตกลูกต่อไปหรือไม่ ?!? เพราะหลังจากเกิด Bank Run ขึ้นในสหรัฐฯ จนผู้คนแห่ถอนเงินออกจากธนาคารไปยังสินทรัพย์อื่น ๆ โดยเฉพาะกองทุนตลาดเงิน (Money Market Funds) ตอนนี้กลายเป็นว่าฟองสบู่ลูกใหม่ล่าสุดได้เกิดขึ้นในตลาดเงินแทนแล้ว !!!

(3 เม.ย.66) World Maker เผย Market Cap ของตลาดเงินเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีมูลค่าเกือบ 5.5 ล้านล้านดอลลาร์แล้ว ! จากที่ต้นปีอยู่เพียง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีเงินไหลเข้ามาราว 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ !

ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะคนแห่หนีความกังวลจากภาคธนาคารมาแสวงหาผลตอบแทนดอกเบี้ยที่สูงกว่าในตลาดการเงิน แต่เมื่อปัญหาด้านการธนาคารเริ่มบรรเทาลง และหน่วยงานกำกับดูแลได้เข้ามาควบคุมเพื่อเพิ่มเสถียรภาพในระยะยาว แปลว่าการแห่เข้า Money Market Funds อาจไม่ใช่กระแสที่อยู่ได้นานหรือมั่นคง ?

โดยเฉพาะหาก FED เริ่มลดดอกเบี้ยลงหลังจากนี้ เราก็อาจได้เห็นฟองสบู่ในตลาดเงินแตกออกจากการไหลออกของเงินทุนที่เข้ามาในช่วงก่อนหน้านี้ (รวมถึงปัจจุบัน) ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใดหลังจากนี้ แต่ในระยะกลางถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะถ้าดอกเบี้ยไปถึงจุด Peak แล้ว และการทำ QT เริ่มจบลง จะหมายความว่าสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ มีโอกาสให้ผลตอบแทนดีกว่าดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยพันธบัตร !

นอกจากนี้ ยอดเงินที่ไหลเข้าสู่ Money Market Fund เริ่มชะลอตัวลง โดยอยู่ที่ 6.15 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากประมาณ 1.26 แสนล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ซึ่งเมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ หมายความว่ายอดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ที่พุ่งขึ้นถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็อาจกลายเป็นฟองสบู่ที่รอวันแตก !

📌 ปัจจุบันนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากกำลังชะลอการซื้อหุ้นลง หลังจากมีการแห่ซื้อจำนวนมากในช่วงต้นปี 2023 ซึ่งทำให้การซื้อหุ้นสหรัฐฯ สุทธิของรายย่อยแตะระดับ All Time High ที่ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนกุมภาพันธ์

แต่หลังจากเกิดวิกฤต Bank Run ในเดือนนี้ พบว่าปริมาณการซื้อของรายย่อยได้ลดลงเกือบ -50% จาก 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์เหลือเพียงประมาณ 8.9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของรายย่อยได้ลดลง

ขณะเดียวกัน ดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ดูเหมือนจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างโดดเด่นท่ามกลางวิกฤต Bank Run ในครั้งนี้ โดย Nasdaq ปิดไตรมาสแรก +17% และ S&P500 ปิดไตรมาสแรก +7.5% ซึ่งบางคนให้ความเห็นว่าเขาอาจจะพลาดโอกาสบางส่วนในขาขึ้นรอบใหญ่ ? แต่เขาต้องการปิดรับความเสี่ยงที่หุ้นอาจจะร่วงลงได้อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

ส่วนหนึ่งของการที่นักลงทุนรายย่อยชะลอการซื้อหุ้นนั้น ก็เป็นเพราะพวกเขาได้นำเงินไปพักไว้ในที่ที่ดูปลอดภัยในระยะสั้น อย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น, Money Market Fund, บัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง แต่แนวโน้มดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้หลังจากนี้ โดยเฉพาะเมื่อดอกเบี้ยและการทำ QT ได้ไปถึงจุด Peak (อย่างที่อธิบายไปแล้วข้างต้น)

ในระยะสั้น บางคนมองว่าเรายังจำเป็นต้องระวัง After Shock จากวิกฤต Bank Run เนื่องจากผลกระทบของดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นต่อเศรษฐกิจอาจตามมาด้วยฟองสบู่ลูกอื่น ๆ ที่แตกออก ซึ่งแน่นอนว่าจะเป็นผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็เพื่อทำให้เงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจชะลอตัวลง

⚠️ นั่นหมายความว่าตลาดหุ้นเองอาจมีความผันผวนมากขึ้นอีกได้ทั้ง 2 ทางในระยะสั้นนี้และยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดการปรับฐานได้ แม้ว่าในอนาคตระยะยาวจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่ม Zombie Company ที่อาจทยอยล้มหายตายจากไปท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่ !

ปัจจุบัน Zombie Company (บริษัทที่ไม่มีความสามารถในการทำกำไรหรือขยายธุรกิจ) คิดเป็นประมาณ 15% ของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศพัฒนาแล้ว (เพิ่มขึ้นจาก 4% ในช่วงปลายทศวรรษ 1980) ซึ่งบริษัทเหล่านี้เอาชีวิตรอดได้ในช่วงยุคดอกเบี้ยต่ำและ Easy Money เนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำกำไรมากในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้

แต่เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น จึงถือเป็นหายนะสำหรับกลุ่ม Zombie Company ทันที เพราะบริษัทเหล่านี้ไม่มีความสามารถมากพอในการสร้างทำกำไรมาชำระหนี้ที่สูงขึ้นจากดอกเบี้ย ดังนั้นจึงหมายความว่าบริษัทราว 15% ในประเทศพัฒนาแล้วกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง และบางแห่งก็อาจต้องล้มละลายหายไปเรื่อย ๆ จากวงจรการเงินที่ตึงเครียดขึ้นในรอบนี้

แน่นอนว่าหลายแห่งจดทะเบียนในตลาดหุ้นเช่นกัน แต่ไม่ใช่แค่การลงทุนเท่านั้นที่บริษัทซอมบี้สามารถสร้างผลกระทบได้ เพราะในกรณีที่เกิดการล้มละลายอย่างกะทันหันของ Zombie Company มันก็อาจทำให้คนจำนวนมากตกงาน การบริโภคลดลง และการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้นอีก (สอดคล้องกับวิกฤต Bank Run ที่เกิดขึ้น) ซึ่งอาจผลักดันให้บริษัทอื่น ๆ เสี่ยงล้มละลายตามอีก


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top