Saturday, 12 October 2024
ArtOfEnergy

'จอง-จ่าย-ชาร์จ' อัปเดต!! แอปฯ EA Anywhere ขยายแล้ว 473 สถานี 2,000 หัวชาร์จ ครอบคลุม 'ห้าง-ปั๊มน้ำมัน-โรงแรม-ร้านอาหาร' ทั่วไทย

ในระหว่างที่กระแสรถยนต์ไฟฟ้าค่อย ๆ ฝ่าทะลวงเข้ามาเกาะความต้องการของผู้บริโภคคนไทยได้ในระดับหนึ่ง

แต่ก็ยังไม่แทรกซึมพอ ที่จะทำให้คนกล้าเปลี่ยนมาใช้งานทันควัน เนื่องจากยังพะวงถึงสถานีชาร์จที่อาจจะยังไม่รอบคลุมเท่าไรนัก 

อย่างไรก็ตาม หากติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง จะพบว่าในวันนี้ สถานีอัดประจุไฟฟ้าในประเทศไทยเริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำ

อย่างล่าสุด EA Anywhere ผู้นำด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า ก็ได้ขยายการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วกว่า 473 สถานี กว่า 2,000 หัวชาร์จ แบ่งออกเป็น...

สยายปีกในต่างแดน!! ‘มาเลเซีย’ ยก EA พันธมิตรใหญ่ ช่วยพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไฟฟ้าเต็มรูปแบบ

ไม่นานมานี้ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA (Energy Absolute) ได้ส่ง EA Mobility Holding จับมือพันธมิตร Computer Forms (Malaysia) Berhad (CFM) ลงนาม HOA (Head of Agreement) ลุยพัฒนามาเลเซียสู่การเป็นสังคมไร้คาร์บอน ยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองในมาเลเซีย ปูทางสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในตัวเมืองลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะร่วมลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมี Mr.Datuk Wira Justin Lim Hwa Tat กรรมการบริหาร, Computer Forms (Malaysia) Berhad (CFM) และนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมในพิธีลงนาม

เรื่องนี้ถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย ภายหลังที่เริ่มให้ความสำคัญกับนโยบายด้านพลังงานสะอาดอย่างชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล มุ่งเน้นให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นถึง 37% ตามแผนนโยบายในปี 2022-2040 อีกทั้งการเข้าร่วม COP26 ของทางรัฐบาล เพื่อตอบสนองต่อนโยบายแห่งชาติในเวทีโลก เข้าสู่สังคมไร้มลพิษ 

ดังนั้นภารกิจร่วมมือเพื่อลงทุนพัฒนาระบบการคมนาคมไฟฟ้าแบบครบวงจรจึงถือกำเนิด ภายใต้บริษัท CFM ของมาเลเซีย ที่ได้เล็งเห็นถึงความสามารถและความเชี่ยวชาญของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรในประเทศไทย ผ่านผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายครอบคลุมเกี่ยวกับการคมนาคมแบบไร้มลพิษ ตั้งแต่การพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เช่น รถโดยสารไฟฟ้า และเรือโดยสารไฟฟ้า และการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งมีเทคโนโลยีระบบ Ultra Fast Charge Technology สามารถอัดประจุไฟฟ้าสู่ยานยนต์ทุกชนิด 80% ในระยะเวลาเพียง 15-20 นาที

ด้านนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับ CFM เพื่อร่วมลงทุนในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนไร้มลพิษ นับเป็นก้าวที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของ EA ที่ได้รับการยอมรับในการนำนวัตกรรม Ultra Fast Charge Technology ของบริษัทฯ ผ่านผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา และผลิตในประเทศไทย เข้าสู่ตลาดขนส่งมวลชนของประเทศมาเลเซีย ก่อให้เกิดการร่วมลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมกันในอนาคต สามารถผลักดันในบริษัทขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก และตลาดโลกต่อไปในอนาคต

ล้ำหน้าไปอีกก้าว!! EA เปิดตัว EV Mini Truck MT30 รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกฝีมือไทย

คนไทยทำได้ EA เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% EV Mini Truck MT30 พร้อมจดทะเบียนเป็นรถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย ภายใต้นวัตกรรมไทย ยกระดับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบ New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

นับเป็นก้าวสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ด้านการคมนาคม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ออกแบบและพัฒนา ‘EV Mini Truck MT30’ รถกระบะไฟฟ้าฝีมือคนไทย 100% สำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษในภาคขนส่ง 

ทั้งนี้ EV Mini Truck MT30 หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้ประกอบการที่สนใจการใช้งานรถไฟฟ้า ที่คำนึงถึงการลดต้นทุนค่าขนส่งและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด (Li-Ion Battery) 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ผลิตโดย อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที (30-80%) ด้วยเทคโนโลยี DC Fast Charge จาก EA Anywhere ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่ม EA ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้การใช้งานยานยนต์เชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพสูงสุด 

EA คว้า 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ ‘Best Innovative Company Award’ ควบ 2 รางวัลผลงานดีเด่นจาก ‘SET Awards 2022’

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA คว้ารางวัล ‘Best Innovative Company Award’ พร้อมผลงานดีเด่น 2 รางวัล จากงาน ‘SET Awards 2022’ 

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2565 นายวสุ กลมเกลี้ยง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และวางแผนการลงทุน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เข้ารับรางวัล ‘Best Innovative Company Awards’ ในงาน ‘SET Awards 2022’ ที่จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ วารสารการเงินธนาคาร โดยได้รับรางวัลจากผลงานนวัตกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอมิตา (AMITA Li-ion Battery) 

สำหรับนวัตกรรมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอมิตา (AMITA Li-ion Battery) เป็นนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นในการอัดประจุไฟฟ้าได้รวดเร็วภายใน 15-20 นาที มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน กักเก็บพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบา และยังเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในการสร้างอุตสากรรมแบบ New S-Curve

ไทย สมายล์ บัส เข้าร่วมกลุ่ม EA ควบรวมรถ – เรือโดยสาร ยกระดับระบบขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้า

ไทย สมายล์ บัส เข้าร่วมเป็นบริษัทในกลุ่ม EA สยายปีก ควบรวมรถโดยสารเข้ากับเรือโดยสารยกระดับการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าไร้มลพิษครบวงจร นำร่องช่วยลดการปล่อย CO2 พร้อมสะสม Carbon Credit

ไม่นานมานี้ที่ไทย สมายล์ บัส สาขาตลิ่งชัน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำพิธีเปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าสาย 515 เส้นทาง ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งในวันดังกล่าว บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด (หรือ ‘ไทย สมายล์ บัส’) ยังได้ประกาศผลสำเร็จในการขยายธุรกิจของบริษัทที่สามารถควบรวมกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารรวมทั้งสิ้น 21 บริษัท ไว้เป็นกลุ่มเดียวกันภายใต้แนวคิด ‘Thai Smile as One’ ไทยสมายล์รวมใจเป็นหนึ่ง เป็นผลให้กลุ่มไทย สมายล์ และบริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (หรือ BYD) ได้เข้าไปเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (หรือ ‘EA’) ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานสะอาดและด้านยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า EA มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะพัฒนาและส่งเสริมการนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ PM2.5 ตลอดจนลดต้นทุนพลังงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถเพื่อการพาณิชย์ที่มีการใช้งานสูง เช่น รถโดยสารประจำทาง รถบรรทุก เป็นต้น 

EA ได้มองเห็นศักยภาพของ BYD ซึ่งมีการลงทุนในบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด อันเป็นกลุ่มบริษัทที่เป็นเจ้าของใบอนุญาตให้บริการรถโดยสารประจำทางจากกรมการขนส่งทางบกจำนวนรวมสูงถึง 80 เส้นทาง และกำลังจะลงทุนเพิ่มอีก 6 เส้นทาง โดยมุ่งเน้นให้บริการด้วยรถโดยสารไฟฟ้าเป็นหลัก จึงนับว่ามีวิสัยทัศน์และแนวคิดที่สอดประสานกันกับกลุ่ม EA อย่างลงตัว จึงตัดสินใจนำบริษัทย่อยเข้าลงทุนใน BYD ร้อยละ 23.63 คิดเป็นมูลค่าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 6,997 ล้านบาท และมีการจัดโครงสร้างด้วยการขายกลุ่มธุรกิจให้บริการรถโดยสารในเครือ EA จำนวน 37 เส้นทาง และเรือโดยสาร 3 เส้นทาง ให้แก่ไทย สมายล์ บัส เพื่อให้มีการควบรวมกิจการในคราวเดียวกัน 

ส่งผลให้กลุ่มไทยสมายล์มีสายการเดินรถในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 120 เส้นทาง และเรือโดยสารอีก 3 เส้นทาง นับเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่เสริมศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม EA ให้ครบวงจรอย่างแท้จริง และยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสทางธุรกิจจากการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าของบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด ให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและมั่นคง 

อีกทั้ง EA ได้ร่วมมือกับ BYD ในโครงการขายคาร์บอนเครดิตกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมขึ้นอีกในอนาคตได้ ส่งเสริมให้กลุ่ม EA เป็นผู้นำทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจร

นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเดินหน้าลงทุนในกิจการรถโดยสารและเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าตามแผนที่วางไว้ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก BYD ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในรูปเงินให้กู้ยืมถึง 8,550 ล้านบาท และยังได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ทั้งในด้านเทคโนโลยี บุคลากร การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ และการสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่สอดประสานกันอย่างเป็นระบบ ทำให้ไทย สมายล์ บัสเชื่อมั่นว่าจะสามารถขยายการให้บริการแก่ประชาชนเพื่อตอบโจทย์ให้ทันใจต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้ตามแผน ทั้งนี้ ได้ประมาณการไว้ว่าต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้นอีกกว่า 18,000 ล้านบาท และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับพี่น้องประชาชน มากกว่า 7,500 ตำแหน่ง

“เราจะเป็นผู้นำในการพลิกโฉมการให้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะของกรุงเทพฯ และปริมณฑลให้เป็นเครือข่ายของระบบให้บริการขนส่งมวลชนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าที่ไร้มลพิษและไร้ PM2.5 มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และครบวงจรเป็นประเทศแรกและใหญ่ที่สุดในเอเชีย ด้วยการให้บริการเส้นทางเดินรถและเดินเรือจำนวนกว่า 120 เส้นทาง เราได้นำเทคโนโลยีมาใช้เชื่อมต่อการเดินทางและการเก็บค่าโดยสารทางบกและทางน้ำเป็นโครงข่ายเดียวกัน (หรือ Single Network) ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยกระดับคุณภาพการให้บริการและจัดระบบการควบคุมได้อย่างรัดกุมแบบรวมศูนย์ หรือ (Single Service) และจะนำระบบการคิดค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย ภายในโครงข่ายของกลุ่มไทยสมายล์ (หรือ Single Price) เพื่อลดภาระของผู้โดยสาร แนวคิด 3-Single นี้ จะนำไปสู่การสร้างคุณค่าให้กับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยทุกคนต่อไป” นางสาวกุลพรภัสร์ กล่าว

ปัจจุบัน กลุ่มไทยสมายล์เปิดให้บริการรถโดยสารสาธารณะแล้ว กว่า 70 เส้นทาง หรือกว่า 900 คัน โดยแบ่งเป็น รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า 35 เส้นทาง หรือจำนวนรถที่บริการ 612 คัน และรถโดยสารสาธารณะเอ็นจีวี 37 เส้นทาง หรือคิดเป็นจำนวนรถที่ให้บริการ 365 คัน สำหรับวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 นี้ เป็นวันที่เปิดให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าสาย 515 เส้นทาง ศาลายา - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งคาดว่า จะได้รับการตอบรับและการสนับสนุนจากผู้โดยสารเป็นอย่างดีดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา และจากเสียงสะท้อนที่แสดงถึงความพึงพอใจในการใช้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า 100% ของเรา กลุ่มไทยสมายล์จึงมีความยินดีที่จะแจ้งว่า เรามีแผนที่จะเปลี่ยนรถโดยสารทั้งหมด เป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นไป  

กระบะไฟฟ้าสัญชาติไทย EA ‘เผยโฉม-เปิดจอง’ MINE MT30 ครั้งแรกในงาน Motor Expo 2022

‘EA’ ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าส่ง MINE Mobility เปิดโฉม พร้อมเปิดจอง MINE MT30 ครั้งแรกในงาน Motor Expo 2022 นี้

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ (EA) เดินหน้าเต็มสูบขับเคลื่อนธุรกิจผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 100% โดยส่ง MINE Mobility บริษัทในกลุ่ม เปิดตัวและเปิดให้จองรถกระบะไฟฟ้า MINE MT30 ภายใต้แนวคิด ‘Driving Toward Net Zero by MINE MT30’ ตอกย้ำวิสัยทัศน์มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero เพื่อสร้างความยั่งยืน เสริมความมั่นใจหลังการขายด้วยศูนย์บริการชั้นนำ Cockpit ที่มีจุดบริการครอบคลุมทั่วประเทศ

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พลังงานบริสุทธิ์ กล่าวถึง วิสัยทัศน์ของ EA ที่มุ่งเน้นด้านพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจขององค์กรให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย Net Zero พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ล่าสุดเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘MINE MT 30’ รถกระบะไฟฟ้าสัญชาติไทย 100% ประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำรถ ‘MINE MT30’ ไปใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ ทั้งด้านโลจิสติกส์ ด้วยการดีไซน์เป็น Shutter Van หรือ Mobile Office หรือแม้แต่สามารถดัดแปลงเป็น Food Truck ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้ด้วย การทำเป็น Campervan เป็นต้น

MINE MT30 เป็นรถกระบะไฟฟ้าคุณภาพสูงที่พัฒนาขึ้นด้วยกลยุทธ์ Respect Environment กับแนวทางดำเนินงานตามกลยุทธ์ 5E

MEA - PEA - EGAT - OR - EA 5 พันธมิตร ผนึกกำลังยกระดับการให้บริการ EV พัฒนาแอปฯ ดูหมุดสถานีชาร์จข้ามค่ายได้แล้ว

MEA - PEA - EGAT - OR - EA นำร่องพัฒนาแอปฯ ยกระดับการให้บริการ EV ในประเทศไทย ดูหมุดสถานีชาร์จข้ามค่ายได้แล้ว

ไม่นานมานี้ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ 5 หน่วยงาน ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง / การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย / บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) และ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันพัฒนาและบริหารจัดการแพลตฟอร์มกลางของสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 

โดยทั้ง 5 หน่วยงาน ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงโครงข่ายแอปพลิเคชันการจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งในเฟสแรกของความร่วมมือดังกล่าวได้ร่วมกันพัฒนาให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถค้นหาพิกัดสถานีอัดประจุไฟฟ้าของทั้ง 5 หน่วยงาน ผ่านแอปพลิเคชันทุกเครือข่าย ได้แก่ MEA EV (MEA), PEA VOLTA (PEA), EleXA (EGAT), EV Station PluZ (OR) และ EA Anywhere (EA) ได้สำเร็จ และเปิดทดลองใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับพัฒนาในเฟสต่อไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา

นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง (MEA) เปิดเผยว่า MEA ได้ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 เป็นวาระครบรอบ 10 ปีที่ MEA ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ EV มีโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาครอบคลุมทั้งในด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า และรูปแบบยานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตลอดจนการสร้าง MEA EV Application ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้รถ EV อย่างครบวงจร ซึ่ง MEA พร้อมที่จะบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

‘รถโดยสารไฟฟ้า’ หนึ่งในกุญแจสำคัญพาเมืองไร้มลพิษ ช่วยปลดล็อกปัญหาโลกร้อน - ส่งมอบอากาศใสบริสุทธิ์

ปัญหาโลกร้อน มลพิษทางอากาศ ถือเป็นปัญหาที่ผู้คนทั้งโลกกำลังเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็เริ่มตระหนักและมองหาทางออกที่ยั่งยืน เพื่อรักษาอุณหภูมิและสภาพแวดล้อมของโลกให้คงความเหมาะสมสำหรับอยู่อาศัยกันต่อไป

ทางออกที่มองหาจนเจอก็คือการพาโลกทั้งใบไปสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’ โดยมีตัวแปรสำคัญคือ ‘พลังงานสะอาด’ ที่จะมาทำหน้าที่ทดแทนพลังงานรูปแบบเดิม (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน) แต่มีประสิทธิภาพไม่ด้อยไปกว่ากัน

และหากมองกระแสโลกในปี 2023 ก็พอจะเห็นว่า ‘พลังงานไฟฟ้า’ กำลังได้รับความสนใจจากคนทุกกลุ่ม และหลาย ๆ อุตสาหกรรมพยายามประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากเห็นประโยชน์และศักยภาพที่คุ้มค่า แต่ที่เห็นได้ชัดก็คงเป็นเรื่องของ ‘ยานพาหนะ’ ที่ตอนนี้มีหลายเจ้ายานยนต์ได้เปิดตัวอวดโฉม ‘รถยนต์พลังงานไฟฟ้า’ ในค่ายของตัวเอง แถมมียอดจับจองถล่มทลาย

แต่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่อง ‘จำนวนผู้โดยสาร’ ที่บรรจุได้เพียงไม่กี่คนต่อหนึ่งเที่ยว (บางครั้งก็แค่ 1 คน 1 คัน) และหากทุกคนหันมาเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลกันหมด เราก็คงจะได้เห็นภาพท้องถนนที่เต็มไปด้วยรถยนต์ที่ขยับทีละ 2 เมตรก็ต้องจอดนิ่งเหมือนเดิมแน่

หนทางเลี่ยงเหตุการณ์น่าสะพรึงแบบนั้นก็คงต้องหันหน้าเข้าหา ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ หรือ e-Buses เพราะนอกจากจะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดฝุ่น-มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง เป็นยานพาหนะที่เข้าถึงคนได้จำนวนมาก บรรทุกผู้โดยสารต่อรอบได้เยอะกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล และหากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและหันมาใช้บริการรถโดยสารสาธารณะกันมากขึ้น ทำให้ปริมาณความหนาแน่นบนท้องถนนลดลงด้วย

ซึ่งแนวโน้มการหันมาใช้รถโดยสารไฟฟ้าก็พอจะเด่นชัดมากขึ้น สอดคล้องกับรายงานที่น่าสนใจของ Bloomberg ที่คาดว่าภายในปี 2040 หรืออีก 17 ปี ข้างหน้า รถโดยสารสาธารณะทั่วโลกจะถูกปรับเปลี่ยนเป็น ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ ในสัดส่วนมากกว่า 67% ของรถโดยสารทั้งหมด

แน่นอนกว่า หากมีปัจจัยอื่น ๆ หนุนนำให้สังคมโลกนิยมใช้รถโดยสารไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เช่น ระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ นวัตกรรมทันสมัยที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ก็คงได้เห็นรถโดยสารไฟฟ้าวิ่งให้บริการมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศ ก็เริ่มเดินหน้าจัดหารถโดยสารพลังงานไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการประชาชนในประเทศกันแล้ว

เอาล่ะ!! มองกลับมาที่ ‘เมืองไทย’ ของเราก็ไม่น้อยหน้าต่างประเทศเหมือนกัน ทั้งภาครัฐและเอกชนก็เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจกับรถโดยสารไฟฟ้าแล้ว ซึ่งหากได้ยืนรอรถที่ป้ายรถเมล์สักแห่งในกรุงเทพฯ หรือแม้แต่สัญจรบนท้องถนนทุก ๆ วัน ก็ต้องสะดุดตากับรถโดยสารไฟฟ้าสีน้ำเงินเข้มที่วิ่งมาจอดเทียบป้ายอยู่เรื่อย ๆ แถมยังมีหลากหลายเส้นทางให้บริการด้วย

หากเพ่งมองให้ดีจะพบว่า ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ สีน้ำเงินเข้มนี้เป็นของ ‘ไทย สมายล์ บัส’ ตอนนี้ให้บริการครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และพื้นที่ปริมณฑล ภายใต้สโลแกน “เดินทางด้วย รอยยิ้ม ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” 

ซึ่งก็เป็นการ ‘ใส่ใจสิ่งแวดล้อม’ ที่เห็นเป็นรูปธรรม เพราะการใช้รถโดยสารไฟฟ้าจะไม่เพิ่มมลพิษทางอากาศ ไม่ปล่อยฝุ่น PM2.5 หรือควันสีดำเหม็น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อระบบทางเดินหายใจ

ทั้งนี้ รถโดยสารไฟฟ้า 1 คัน สามารถลดก๊าซคาร์บอนฯ ได้มากถึง 72 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนฯ ของต้นไม้ 7,602 ต้นต่อปี (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักเศรษฐกิจป่าไม้ กรมป่าไม้ ระบุว่า ป่าไม้พื้นเมืองดูดซับคาร์บอนฯ 0.95 ตันคาร์บอน / ไร่ / ปี หรือ 100 ตัน / ไร่)

เรียกได้ว่า ยิ่งมีรถโดยสารไฟฟ้ามากแค่ไหน ผู้คนก็ยิ่งได้สูดอากาศบริสุทธิ์เต็มปอดมากเท่านั้น หรือหากต่อยอดให้ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ นอกจากจะได้อากาศที่สดชื่นชุ่มปอดแล้ว ระบบการเดินทางของไทยก็จะเชื่อมต่อหากันแบบไม่สะดุด ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว ส่วนผู้ประกอบการก็คงได้ยิ้มออกกันถ้วนหน้า

สรุปง่าย ๆ ก็คือได้ประโยชน์หลายต่อนั่นเอง!!

ก็มารอดูกันว่าในอีก 17 ปีข้างหน้า ระบบขนส่งบ้านเราจะพลิกโฉมไปใช้ ‘พลังงานไฟฟ้า’ ได้มากน้อยแค่ไหน แต่หากฝันอยากเห็น ‘เมืองไทยไร้คาร์บอน’ แบบครอบคลุมทั่วประเทศ ก็คงต้องเร่งมือพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้โดนใจประชาชน และจัดหา ‘ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า’ มาแล่นให้บริการโดยไว

‘EA’ เอาใจนักลงทุนสายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ออกกรีนบอนด์ 3 รุ่น ชูดอกเบี้ย 3.20% - 4.10% ต่อปี

‘หุ้นกู้’ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนสำหรับคนที่อยากได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ รับความผันผวนได้น้อย และต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

แต่คงดีไม่น้อยหากว่า การลงทุนในหุ้นกู้แล้ว ได้ทั้งดอกเบี้ย และยังได้ดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน

ปัจจุบันมี ‘หุ้นกู้’ ที่เรียกว่า เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ กรีนบอนด์ (Green Bond) โดยเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้นั้น บริษัทหรือองค์กรที่ออกหุ้นกู้ จะนำไปใช้ในการลงทุนที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการพลังงานสะอาด การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการขนส่ง เป็นต้น

ล่าสุด บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม กำลังจะเสนอขายหุ้นกู้ให้กับผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน (Public Offering) ซึ่งเป็นหุ้นกู้กรีนบอนด์ จำนวน 3 รุ่น 

1.รุ่นอายุ 1 ปี อัตราผลตอบแทน 3.20% ต่อปี
2.รุ่นอายุ 3 ปี อัตราผลตอบแทน 3.70% ต่อปี 
3.รุ่นอายุ 5 ปี อัตราผลตอบแทน 4.10% ต่อปี

โดยหุ้นกู้ทั้ง 3 รุ่น กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน (ตลอดอายุหุ้นกู้)

ทั้งนี้ จากการประเมินความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ EA ปัจจุบันอยู่ในระดับ ‘A-’ ซึ่งหมายความว่า เมื่อดูระดับความเสี่ยงที่มี 8 ระดับ (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 และสูงสุดที่ระดับ 8) กรีนบอนด์ของ EA รุ่นอายุ 1 ปี มีความเสี่ยงเพียงระดับ 2 เท่านั้น ส่วนรุ่นอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 3 ในขณะที่ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ สูงกว่าผลตอบแทนจากการฝากเงินทั่ว ๆ ไปอย่างชัดเจน

ไม่เพียงเท่านั้น EA ยังเป็น ‘ผู้นำในธุรกิจพลังงานสะอาด’ ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘MISSION NO EMISSION’ และได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากว่า 10 ปี มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน ปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 16,860.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,589.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.16 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากธุรกิจใหม่ เป็น New S-Curve อย่าง รถโดยสารไฟฟ้าและรถเพื่อการพาณิชย์ ธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน รวมถึงธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

สำหรับเงินที่ได้จากการออกกรีนบอน์ในครั้งนี้ ทาง EA เตรียมจะนำไปขยายธุรกิจ ที่กำลังเติบโต และเป็นธุรกิจแห่งอนาคตอย่างแท้จริง โดยมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไออนที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์กำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 1 GWh และกำลังขยายกำลังการผลิตที่ 4 GWh ในช่วงไตรมาสที่ 2/2567

อีกทั้งมีโรงงานผลิตและประกอบยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิตสูงสุด 9,000 คันต่อปี โดยที่ผ่านมา EA ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง เช่น รถโดยสารไฟฟ้าหรือ E-Bus ที่วิ่งให้บริการในหลากหลายเส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถบรรทุกไฟฟ้า เรือโดยสารไฟฟ้า ตลอดจนมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากว่า 490 สถานี ครอบคลุมทุกภูมิภาค

แน่นอนว่าการที่ EA ออกหุ้นกู้ ‘กรีนบอนด์’ ในครั้งนี้นั้น มีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินเพื่อการลงทุนที่ชัดเจน และ ผู้ลงทุนจะได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากธุรกิจของ EA เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อโลกที่ยั่งยืน ไม่จะเป็นธุรกิจเดิมอย่าง ไบโอดีเซล โรงฟ้าพลังงานลม และพลังแสงอาทิตย์ หรือ ธุรกิจใหม่ด้าน EV

สำหรับหุ้นกู้กรีนบอนด์ ทั้ง 3 รุ่น จะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2566 นี้ โดยเสนอขายผ่านสถาบันการเงิน 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ และ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย)

ทดลองวิ่ง ‘หัวรถจักรไฟฟ้าจาก EA’ สู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ แบตเตอรี่ 4.1 MWh - วิ่งฉิวกว่า 300 กม. - ชาร์จเร็วเพียง 1 ชม.

ถือเป็นก้าวสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่ระบบขนส่งทางรางของไทยจะได้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ พร้อมมีความมั่นคงทางด้านพลังงาน ภายใต้บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA และ CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ได้ร่วมกันพัฒนา ‘หัวรถจักรไฟฟ้า’ (EV) หรือ ‘MINE Locomotive’ 

บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ ได้รับโอกาสจากทางกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และภาควิชาการ ร่วมผลักดันนโยบาย EV on Train โดยได้ทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ไปเมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา 

ความพิเศษของหัวรถจักรไฟฟ้า (EV) หรือ ‘MINE Locomotive’ พร้อมตู้แบตเตอรี่แยก (Power Car) เพื่อเพิ่มระยะทางการวิ่ง รวมแบตเตอรี่ขนาด 4.1 MWh สามารถชาร์จเต็มภายใน 1 ชั่วโมง ออกแบบตามมาตรฐานการรถไฟไทยเพื่อการใช้งานหลากหลาย ทั้งการสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) เข้าชานชาลาสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อลดมลพิษในอาคารผู้โดยสารและสามารถลากขบวนสินค้า (Cargo train) จาก ICD ลาดกระบังถึงแหลมฉบัง และขบวนโดยสาร (Passenger Train) ในเขตเมืองและระหว่างจังหวัด ด้วยความเร็วสูงสุด (Max Operating Speed) 120 km/h พร้อม Regenerative Braking ที่สามารถชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จากการเบรก โดยจากการทดสอบประเมินว่าสามารถวิ่งได้ระยะกว่า 300 กิโลเมตร ตามแต่การใช้งาน ซึ่งจะประหยัดต้นทุนพลังงานได้ถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซล สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ลงทุนต่ำกว่าระบบไฟฟ้าเหนือหัวกว่าครึ่งและสามารถขยายได้ทั้งประเทศ

นอกจากนี้ EA ได้ออกแบบพัฒนานวัตกรรมระบบชาร์จ Ultra Fast Charge ในเวลา 1 ชม. ในระยะแรก และ Battery Swapping Station เพื่อการสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในเวลาไม่เกิน 10 นาที ลดเวลาการรอชาร์จ และนำมาขยายผลใช้งานในระบบขนส่งได้จริง สามารถขยายผล ยกระดับการขนส่งโดยสารเมืองรอง สามารถรองรับการใช้งานทุกระดับ และนำไปพัฒนาระบบ Light Rail Transit (LRT) สำหรับขนส่งตัวเมือง

“นับเป็นโอกาสสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์การคมนาคมทางราง ที่จะขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานและการคมนาคมของประเทศ” 

ทั้งนี้ทาง EA เล็งเห็นว่า Electritication ที่เป็นเทรนด์โลกในการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานฟอสซิลไปสู่ไฟฟ้า นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศไทยที่เอื้อให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นของคนไทยที่ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างก้าวกระโดด 

แน่นอนว่าหัวรถจักรไฟฟ้า (MINE Locomotive) จะกลายเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะช่วยสร้างอุตสาหกรรมและมูลค่าให้กับประเทศไทยบนพื้นฐานความยั่งยืน เพราะเป็นเทคโนโลยี Zero Emission ไม่ก่อให้เกิด PM2.5 และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลด Carbon footprint ที่เป็นพันธกิจของประเทศไทยในเวทีโลก นับเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งสำคัญนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19-20

นอกจากหัวรถจักรไฟฟ้า (MINE Locomotive) แล้ว EA ยังมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ ‘Green Product’ ยกระดับการขนส่งด้วยยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้แก่ รถโดยสารไฟฟ้า (MINE Bus) รถบรรทุกไฟฟ้า (MINE Truck) หัวรถลากไฟฟ้า(MINE Tractor) รถกระบะไฟฟ้า (MINE MT30) เรือโดยสารไฟฟ้า (MINE Smart Ferry) เพื่อตอบโจทย์การคมนาคมด้าน ‘รถ-เรือ-ราง’ และจะกลายเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะช่วยสร้างอุตสาหกรรมให้กับประเทศไทยบนพื้นฐานความยั่งยืนให้เดินหน้าพร้อมสร้างความสมดุล ในการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของภาคธุรกิจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต (New S-curves) เพื่อพัฒนาประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตามนโยบายภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy)

ก็หวังว่าคนไทยจะได้ใช้บริการ ‘รถ-เรือ-ราง’ ไร้มลพิษแบบครอบคลุมทั้งระบบในเร็ววัน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top