Tuesday, 10 December 2024
APEC

บุคคลสำคัญระดับโลกอยู่ที่นี่แล้ว ‘APEC 2022’

✨บุคคลสำคัญระดับโลกอยู่ที่นี่แล้ว ‘APEC 2022’

อยู่กับ ‘บิ๊กตู่’ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา 

- #จีน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping)
- #ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ฟูมิโอะ
- #สิงคโปร์ นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง
- #นิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น
- #สหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส
- #ออสเตรเลีย นายกรัฐมนตรี แอนโธนี อัลบานีส

- #บรูไน สมเด็จพระราชาธิบดี พระองค์ที่ 29 และนายกรัฐมนตรีสมเด็จพระราชาธิบดีฮาจี ฮัซซานัล บลเกียะฮ์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน ฮาจี โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีน ซาอาดุล ไครี วัดดิน
- #แคนาดา นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด
- #ชิลี ประธานาธิบดี กาบริเอล โบริก ฟอนต์ (Gabriel Boric Font)
- #จีนฮ่องกง ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จอห์น ลี คา-ชิว (John Lee Ka-Chiu)
- #อินโดนีเซีย ประธานาธิบดี โจโก วีโดโด
- #เกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรี ฮัน ด็อก-ซู
- #มาเลเซีย เลขาธิการรัฐบาลมาเลเซีย ตัน ซรี ดาโตะ เซอรี โมฮามัด ซูกี บิน อาลี (Tan Sri Dato’ Seri Mohd Zuki Ali)
- #เม็กซิโก เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทย เบร์นาโด กอร์โดบา เตโย (Bernardo Córdova Tello)

เจาะลึกตัวแทนผู้นำไต้หวัน ท่ามกลางสถานการณ์อันตึงเครียด ในการประชุม APEC2022 | THE STATES TIMES Y WORLD EP.23

เจาะลึกตัวแทนผู้นำไต้หวัน ท่ามกลางสถานการณ์อันตึงเครียด ในการประชุม APEC2022

.

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World x SEED THAILAND

.

#THESTATESTIMESYWORLD #THESTATESTIMESYWORLDxSEEDTHAILAND #APEC2022 #APEC #ผู้นําไต้หวัน #ไต้หวัน #จีน

จับตา!! มกุฏราชกุมารซาอุฯ ในงานประชุม APEC 2022 | APEC Insight Part 8

การเสด็จเยือนประเทศไทย
ของราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย
ในงานประชุม APEC 2022

.

THE STATES TIMES ‘Y World’ ตอน APEC Insight ชวนมาไขข้อสงสัยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดตัวผู้นำใหม่ที่น่าจับตามอง ในการประชุม APEC 2022 | APEC Insight Part 9

Highlight เปิดตัวผู้นำเศรษฐกิจคนใหม่ที่น่าจับตา
ในการประชุม APEC 2022

.

THE STATES TIMES ‘Y World’ ตอน APEC Insight ชวนมาไขข้อสงสัยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทสรุป 3 การประชุมต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียน ‘สุดยอดผู้นำอาเซียน - G20 - APEC’

ตลอด 2 สัปดาห์ที่สายตาของคนทั่วโลกได้เฝ้าติดตาม 3 การประชุมต่อเนื่องที่เกิดขึ้น ณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้…

- การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
- การประชุมเขตเศรษฐกิจ G-20 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
- และ การประชุมสุดยอดความร่วมมือเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC ณ กรุงเทพมหานคร

การประชุมทั้ง 3 ถือเป็นการประชุมระดับผู้นำครั้งใหญ่รอบสุดท้ายก่อนจบปี 2022

แม้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน จะยังไม่ได้มีมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมในการบริหารจัดการกับปัญหาทางการเมืองภายในของประเทศเมียนมา หากแต่ก็มีข่าวน่ายินดี ที่ผู้นำอาเซียนมีฉันทามติที่จะเริ่มต้นกระบวนการรับ ประเทศติมอร์ตะวันออก เข้าเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน ลำดับที่ 11 ถึงแม้ว่ากระบวนการจนกว่า ติมอร์ตะวันออก จะสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์ยังคงต้องใช้เวลา แต่อย่างน้อยที่สุด กระบวนการก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และนั่นเป็นหลักประกันว่า ประชาคมอาเซียน ยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างเข้มแข็งในห้วงเวลาที่ดุลอำนาจทั้งภายในประเทศสมาชิก ในภูมิภาค และในเวทีโลกกำลังเปลี่ยนแปลง

ต่อมาการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ถึงแม้จะไม่สามารถแสวงหาแถลงการณ์ร่วมได้ เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างประเทศคู่กรณีหลากมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติการเมือง-ความมั่นคง ต่อกรณียูเครน และมิติเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในรูปแบบที่ผู้นำหลากหลายประเทศมีความห่วงกังวล ท่ามกลางสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยี แต่อย่างน้อยที่สุด เวที EAS ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้นำของมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลทางความมั่นคง การเมือง และเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้เปิดใจพูดคุยกัน 

ไม่ว่าจะเป็น Sergey Lavrov รมต.ต่างประเทศของรัสเซีย ที่ได้เปิดใจวิพากษ์สหรัฐฯ ที่ดำเนินนโยบายในการสร้างภาพลบให้กับจีน และรัสเซียในมิติเศรษฐกิจ ในขณะที่ประธานาธิบดีสหรัฐ Joe Biden ก็ได้แสดงข้อห่วงกังวลต่อจีนในมิติที่ต้องการขยายอิทธิพลเข้าครอบงำอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น Fumio Kishida ที่ก็รับลูกนำไปขยายผลต่อ 

แต่เวทีนี้ก็ยังเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีจีน Li Keqiang ได้อธิบายเจตจำนงของจีนในการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งหมดแม้จะเป็นความขัดแย้ง ไม่สามารถสรุปผลและออกแถลงการณ์ร่วมได้ แต่ก็วางอยู่บนหลักการที่ไม่นำไปสู่ความรุนแรง หากยังสามารถนำพาผลของการเปิดใจเหล่านี้ไปสู่บรรยากาศที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นในการประชุมอีก 2 ประชุมที่ต่อเนื่องตามมา

บรรยากาศที่ผ่อนคลายหลังผ่านศึกการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ และหลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนสมัยที่ 20 ทำให้ทั้ง 2 ผู้นำมหาอำนาจแห่งโลก ประธานาธิบดี Joe Biden และ ประธานาธิบดี Xi Jinping สามารถหารือกันได้ในการประชุมทวิภาคีต่อเนื่องยาวนานถึง 3 ชั่วโมง 8 นาที และหลังจากที่ได้แสดงความไม่พอใจต่อกันไปแล้วจากเวที EAS การประชุม 2 ฝ่ายก็ทำให้ทั้งโลกมั่นใจได้ว่า ถึงแม้ทั้ง 2 ฝ่ายจะยังคงเป็นคู่แข่งขัน และยังคงต่อสู้กันต่อไปในทางยุทธศาสตร์ แต่อย่างน้อยที่สุดทั้ง 2 มหาอำนาจก็ได้ขีดเส้นแดงในประเด็นที่แต่ละฝ่ายไม่สามารถยินยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งล่วงละเมิดได้ และทั้ง 2 ฝ่ายก็ยอมรับ รวมทั้งยังจะเปิดช่องทางในการสื่อสารระหว่างกันให้มากกว่านี้ 

การประชุม G-20 แม้จะมีประเด็นหลักในการเดินหน้าสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสาธารณสุขหลังการระบาดของโควิด-19 การเตรียมความพร้อมสมาชิกสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และการเดินหน้าสู่การใช้พลังงานทางเลือก สำหรับ 1 เขตเศรษฐกิจ นั่นคือ สหภาพยุโรป และ 19 ประเทศสมาชิก แต่ด้วยสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างรัสเซีย และพันธมิตร NATO ซึ่งปะทุในสนามรบยูเครน ทำให้ประเด็นการเมืองความมั่นคง ถูกดึงขึ้นมาเป็นประเด็นหลักของการประชุม (ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์ขีปนาวุธจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ ตกลงในพื้นที่ของประเทศโปแลนด์ก็ยิ่งสร้างความตึงเครียดให้กับการประชุมมากยิ่งขึ้น) 

แน่นอนว่า เมื่อผู้นำระดับโลกมารวมตัวกันมากขนาดนี้ คงปฏิเสธความรับผิดชอบในการที่จะไม่พูดถึงประเด็นความมั่นคงและประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองจนทำให้ผู้คนในยูเครนบาดเจ็บล้มตายไม่ได้ นั่นจึงนำไปสู่การประชุมทางไกลที่อนุญาตให้ประธานาธิบดี Volodymyr Zelenskyy เข้ามานำเสนอแผนการสร้างสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้จะทำให้ฝ่ายรัสเซียไม่พอใจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางกลับก่อนที่จะสิ้นสุดการประชุม G-20 แต่ผู้นำ G-20 ก็ยังคงสามารถออกปฏิญญาบาหลี ที่ประณามการรุกรานอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนได้ แม้จะไม่มีคำว่า War และ Russia ในเอกสารก็ตาม

ความสำเร็จในการเจรจาพูดคุยเรื่องการเมือง ความมั่นคงจากเวที G-20 ทำให้ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาประชุมกันต่อใน กรุงเทพมหานคร ในการประชุม APEC มีความตั้งใจที่จะเน้นการหารือมาที่ประเด็นเศรษฐกิจ ความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง ของประชากรกว่า 2 พันล้านคน จากเขตเศรษฐกิจที่ครอบคลุมกว่า 2 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจของโลกได้อย่างไม่ต้องห่วงกังวล และนั่นทำให้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการประชุม เขตเศรษฐกิจทั้ง 21 เขต จึงสามารถมีแถลงการณ์ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ทั้งใน 3 มิติ นั่นคือ...

บทบาทยังไม่จบ เจตจำนงจาก APEC 2022 ต้องไม่เลือนหาย ความท้าทายที่รัฐบาลไทยต้องดันซ้ำสู่ปีต่อๆ ไป

ย้อนไปเมื่อ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ อาคารรัฐสภาสหรัฐ ใจกลางกรุงวอชิงตัน ดีซี ได้มีการจัดงานเลี้ยง US-Asia Institute 2022 Capitol Hill Reception: A Tribute to Special Supporters + Celebrating US Chairmanship of APEC 2023 เพื่อเป็นการต้อนรับวาระที่สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้รับไม้ต่อจากประเทศไทยในการเป็นประธานและเจ้าภาพการประชุม APEC และการประชุมที่เกี่ยวข้องตลอดปี 2023 

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าหน้าที่ของประเทศไทย รัฐบาลไทย และภาคเอกชนไทย จะสิ้นสุดลง และเราสามารถผลักความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้สหรัฐฯ ขับเคลื่อนสิ่งที่เป็นเป้าหมายกรุงเทพฯ ได้โดยไม่ต้องทำอะไร 

หากแต่ประเทศไทยยังคงต้องแสดงความจริงใจ และดำเนินการในเรื่องสำคัญๆ ที่ไทยแจ้งต่อที่ประชุม APEC 2022 ว่าเป็นวาระสำคัญของโลกต่อไป เพราะต้องอย่าลืมว่าการประชุม APEC มีลักษณะเป็น Concerted Unilateralism นั่นหมายความว่า ผลการประชุม APEC มิได้เป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพัน หากแต่เป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันของผู้นำทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ว่าเห็นพ้องต้องการที่จะขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ดังที่แถลงการณ์ร่วมกันเอาไว้ในการประชุมที่กรุงเทพ

แน่นอนว่า ในแถลงการณ์ร่วมในปี 2023 และในฉบับของปีต่อๆ ไป ก็จะมีการอ้างถึง Bangkok’s Goal 2022 เช่นเดียวกับที่ก็จะมีการอ้างถึง APEC Putrajaya Vision 2040 ที่เสนอโดยมาเลเซียในปี 2020 และ Aotearoa Plan of Action ที่เสนอโดยนิวซีแลนด์ในปี 2021 

เรื่องสำคัญประการแรกที่ไทยคงต้องเฝ้าระวัง คือ คอยสนับสนุนส่งเสริมให้ทุกเขตเศรษฐกิจยังคงต้องร่วมกันเดินหน้าอย่างจริงจัง นั่นคือ แผนการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP ที่ถูกวางเอาไว้ในระยะ 4 ปีต่อจากนี้ เขตการค้าเสรีของ 21 เขตเศรษฐกิจ ประชากรกว่า 3 พันล้านคน และเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าเศรษฐกิจของโลก จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นฟูห่วงโซ่อุปทานของโลกที่กำลังซัดส่ายจากสงครามการค้า รวมทั้งจะเป็นตัวเร่งการฟื้นตัวจากภาวะซึมเซาในช่วงโควิด-19 ไทยคงต้องเร่งสนับสนุนผลักดันในทุกเวทีให้มีการเร่งดำเนินการตามแผนที่วางเอาไว้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในปี 2023 มีแนวโน้มที่จะไม่สนับสนุนแนวคิดการค้าเสรีอีกต่อไป

ประการที่ 2 ที่ไทยต้องเร่งผลักดันทั้งในเวทีระหว่างประเทศ และในเวทีภายในประเทศ นั่นคือ แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งประกาศไว้อย่างชัดเจนใน เป้าหมายกรุงเทพฯ ความห่วงกังวลคือ ถ้าประเทศไทยเรานำเสนอเรื่องนี้ แต่ประเทศไทยเราเองกลับมีความขัดแย้งทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จนทำให้ไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายดังกล่าวที่ประเทศไทยเองนำเสนอว่า นี่คือสิ่งที่ดี นี่คือสิ่งที่ถูกต้องในเวทีโลก นั่นก็เท่ากับ เราเองทำลายผลงานของเราด้วยตนเอง ดังนั้นความต่อเนื่องในมิติ กำลังคน งบประมาณ และการสนับสนุนด้านงบประมาณ ที่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของแนวร่วมใดที่ขึ้นมามีอำนาจที่ต้องร่วมกันผลักดันวาระ BCG Model ต่อเนื่องในเวทีโลกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

อีกหนึ่งข่าวดีของไทยในเวทีโลก! ไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Bank/IMF ปี 2026

 

อีกหนึ่งข่าวดีของไทยในเวทีโลก!
ไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Bank/IMF ปี ค.ศ. ๒๐๒๖

ผู้แทนของไทยประจำ IMF ได้แจ้งแก่เอกอัครราชทูตไทยประสหรัฐฯ ว่า ตามที่กลุ่ม Executive Board ได้เสนอต่อ Board of Governors ให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี สภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 ระหว่าง 16-18 ตุลาคม พ.ศ.2569 ซึ่งไทยได้เสนอตัว โดยไทยสามารถเอาชนะกาตาร์ในการลงคะแนนรอบสุดท้ายได้ ซึ่งก่อนนี้มีประเทศเข้าสมัครเพื่อรับการคัดเลือกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กรีซ ไทย และกาตาร์ โดยหลังจากนี้ Board of Governors จะพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะประกาศผลดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ในช่วงการประชุม Spring Meeting เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา

การประชุมดังกล่าว จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลก ทั้งผู้เข้าร่วมการประชุม และการประชุมอื่น ๆ คู่ขนานในช่วงเดียวกันรวมประมาณ 14,000 คน โดยผู้แทนกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีคุณ Wempi Saputra มาจากอินโดนีเซียและคุณ Rosemary Lim จากสิงคโปร์ ได้ทำงานประสานกับผู้แทนไทยและประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ในการสนับสนุนให้ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Bank/IMF ปี 2026 โดยร่วมกับสำนักงานที่ปรึกษาการคลังและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และจัดให้ นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และ เจ้าหน้าที่ทีมเศรษฐกิจได้ร่วมทำงานในการขอรับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกทั้ง WB/IMF โดยเฉพาะ Board of Governors โดยจัดงานเลี้ยงรับรองได้จัดให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน กล่าวสุนทรพจน์แนะนำความพร้อมของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ เช่น ประสบการณ์ที่ไทยเคยจัดการประชุม IMF/WB มาแล้ว การเป็นเจ้าภาพการประชุมระหว่างประเทศทุกระดับ ล่าสุดไทยยังเป็นประธานอาเซียนที่มีการผลักดันการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี RCEP ขยะทะเลและทะเลจีนใต้ รวมทั้งเป็นเจ้าภาพเอเปคเมื่อปีที่แล้ว ที่ผลักดันวางกรอบเวลาการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเปค หรือ ‘FTAAP’ ความเชื่อมโยงในทุกมิติเพื่อเตรียมความพร้อมหลังโควิด และปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วย BCG นำเรื่องความยั่งยืนเข้าไปใส่ในวาระของเอเปคอย่างเต็มที่เป็นครั้งแรก

‘แพทองธาร’ เตรียมทะยานฟ้า บินไปร่วมประชุม ‘เอเปค’ เผย!! มีเป้าหมายดึงนักลงทุนมาไทย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

(9 พ.ย. 67) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และร่วมการประชุมผู้นำประเทศเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เอเซีย-แปซิฟิก (เอเปค) ครั้งที่ 31 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ในระหว่างวันที่ 10-18 พฤศจิกายน 2567นี้ โดยภารกิจแรกนายกรัฐมนตรีจะออกเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และจะพบกับทีมไทยแลนด์เป็นครั้งแรกเพื่อมอบนโยบายแก่เอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ และหัวหน้าสำนักงานทีมประเทศไทยในภูมิภาคอเมริกา เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคอเมริกา ให้เป็นไปตามเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง เน้นส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงและ ความมั่นคงของมนุษย์ การส่งเสริมการค้าการลงทุนเพิ่มเติมในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่เป็นเป้าหมายของไทย

นายจิรายุ กล่าวว่า นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังเน้นนโยบายส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พลังงานสะอาดและเศรษฐกิจสีเขียวและการส่งเสริม soft power อีกด้วย โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้พบปะ แลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นกับพี่น้องคนไทยที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 4แสนคน และที่แอลเอยังเป็นชุมชนไทยในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีคนไทยอาศัยอยู่ประมาณ 107,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัว และทำงาน ร้านอาหารไทย และนักศึกษาในทุกระดับ

นายจิรายุกล่าวต่อไปว่า ส่วนกำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเซียแปซิฟิก หรือ เอเปค ครั้งที่ 31 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 21 ประเทศ อาทิ ไทย สหรัฐอเมริกา เปรู ชิลี แม็กซิโก รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ ฯลฯ โดยนายกรัฐมนตรีจะหารือกับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษของประธานเอเปค นอกจากนี้ ยังจะหารือระหว่างผู้นำเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคในช่วงระหว่างการเลี้ยงรับรองอาหารกลางวัน ในการประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปค ประจำปี 2567 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในรูปแบบ Retreat อีกด้วย

“นายกรัฐมนตรีจะใช้การเข้าร่วมเวทีระดับโลกนี้ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของไทยในการมีส่วนร่วมในเวทีพหุภาคี สร้างความเชื่อมั่น และยืนยันความต่อเนื่องของนโยบายต่างๆ ที่ รัฐบาลไทยพร้อมจะมีส่วนร่วมสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ในที่ประชุม เอเปค พร้อมใช้โอกาสนี้ หารือทวิภาคีกับผู้นำเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมการประชุมฯ อาทิ นางดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา (H.E. Ms. Dina Ercilia Boluarte Zegarra) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเปรู โดยมีเป้าหมายที่จะเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น“ นายจิรายุ กล่าว

นายจิรายุ ยังกล่าวว่า สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค ปัจจุบันเอเปคมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจประกอบด้วย ประเทศไทย ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ชิลี เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู รัสเซีย และเวียดนาม

นายจิรายุ กล่าวอีกด้วยว่า เอเปคดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติ ความเท่าเทียมกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน ของประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคปี 2564 ได้รับรองวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 (Putrajaya Vision 2040) เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของเอเปคในระยะข้างหน้า โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การค้าและการลงทุนเสรี (2) นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล และ (3) การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุม

โซเชียลญี่ปุ่นวิจารณ์นายกฯ ไม่ลุกขึ้นขณะทักทายผู้นำชาติอื่น

(21 พ.ย.67) นายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะของญี่ปุ่นถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับ 'มารยาทที่ไม่เหมาะสม' หลังจากมีคลิปวิดีโอจากการประชุมสุดยอด APEC ที่เปรู เผยให้เห็นว่าเขาทักทายผู้นำประเทศอื่นในขณะที่ยังคงนั่งอยู่ 

ในคลิปดังกล่าว อิชิบะกำลังนั่งใช้สมาร์ทโฟน ในขณะที่ผู้นำประเทศอื่น อาทิ นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโดของแคนาดา และนายอันวาร์ อิบราฮิมของมาเลเซีย เดินเข้ามาทักทายนายกฯ ญี่ปุ่นคนใหม่ แต่นายอิชิบะเพียงแค่เงยหน้าจากโทรศัพท์และจับมือกับผู้นำเหล่านั้น แต่ไม่ได้ลุกขึ้นยืน 

นอกจากนี้ ยังปรากฏภาพเขายังคงนั่งขณะจับมือกับประธานาธิบดีดีนา โบลูอาร์เต ผู้นำเจ้าภาพของเปรู  

"น่าอายจริงๆ" ผู้ใช้โซเชียลมีเดียรายหนึ่งโพสต์เป็นภาษาญี่ปุ่น ขณะที่อีกคนกล่าวว่า "ไม่ใช่แค่เรื่องที่เขาเป็นนายกฯ แต่นี่เป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าเชื่อสำหรับผู้ใหญ่คนหนึ่ง"

นอกจากนี้ อิชิบะยังถูกวิจารณ์ว่ามีท่าทีไม่สุภาพ หลังจากมีคลิปวิดีโออีกชุดที่แสดงให้เห็นว่าเขานั่งกอดอกระหว่างชมการแสดงเต้นรำในพิธีต้อนรับการประชุม APEC  

อิชิบะเพิ่งเปิดตัวในเวทีการทูตในฐานะผู้นำญี่ปุ่นเมื่อเดือนที่แล้ว ในการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่ประเทศลาว


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top