Thursday, 16 May 2024
หาเสียง

‘ธนาธร’ ลั่น!! เลือกก้าวไกล ทำงานได้จริง ชี้ หาก 4 ปีไร้ผลงาน เทใจพรรคอื่นได้เลย

ประกาศขอ ปชช.เลือกคนที่ทำงานได้จริง ทำเพื่อประชาชน หาก 4 ปีในสภาฯ บอกหาก ‘ก้าวไกล’ ไม่มีผลงานให้เห็น เปลี่ยนใจเลือกพรรคอื่นได้ ย้ำพรรคเป็นประชาธิปไตยแน่นอน

(7 เม.ย. 66) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าหน้า ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์, นางสาวรัชนก ศรีนอก, นายปูอัด ไชยยามพวาน ผู้สมัคร ส.ส.ฝั่งธนบุรี ลงพื้นที่หาเสียงภายในซอยโรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา มาจนถึงห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพระราม 2

หลังลงพื้นที่หาเสียงแล้ว นายธนาธรพร้อมผู้สมัคร ส.ส.ได้ปราศรัยย่อย บริเวณตลาดนัดหน้าบิ๊กซีพระราม 2 โดยย้ำถึงจุดยืนของพรรคก้าวไกล ว่ามีความพร้อมมากกว่าพรรคอนาคตใหม่ เมื่อปี 2562 เพราะ ส.ส.ทุกคนมีคุณภาพ ทำงานเรียนรู้และมีประสบการณ์มาตลอดระยะเวลา 4 ปีในสภาผู้แทนราษฎร มั่นใจจะทำงานตอบโจทย์แก้ปัญหาประชาชนได้ดีกว่าอดีตพรรคอนาคตใหม่ปี 2562 จึงอย่าปล่อยให้ ส.ส.มีคุณภาพหลุดมือไม่ได้รับใช้ประชาชน ‘พวกเราก้าวไกล พร้อมรับใช้ประชาชน’

ขณะที่หลังการลงพื้นที่หาเสียง และปราศรัยย่อยเสร็จสิ้นแล้ว มีประชาชนเดินเข้ามาหานายธนาธร พร้อมยื่นสลากกินแบ่งรัฐบาล 1 ใบ ที่ใบเลขท้ายตรงกับหมายเลขพรรคก้าวไกล คือ เลข 31 และบอกนายธนาธร ว่า หากถูกรางวัลที่ 1 ให้นำเงินไปขึ้นได้ทันที พร้อมสะท้อนเรื่องการประกอบอาชีพของเด็กจบใหม่ว่า สร้างตัวว่ายากแล้ว มีกินมีใช้ไปวัน ๆ ยังยากเลย หางานไม่ยากแต่หาเงินใช้รายวันยากกว่า บางเดือนรายได้รายรับลดลง รายจ่ายกลับสวนทาง

‘ชวน’ ประเดิมปราศรัยใหญ่ ลานคนเมืองเย็นนี้ ก่อนเดินหน้าลุยช่วย ‘ปชป.’ หาเสียงทั่วประเทศ

(7 เม.ย.66) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า การปราศรัยใหญ่ของพรรคฯ ที่ลานคนเมือง กทม.ในวันนี้ (7 เม.ย. 66) ตั้งแต่เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป นอกจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคฯ จะนำทัพผู้สมัคร ส.ส. กทม. ปชป. และผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พบปะประชาชนแล้ว นายชวน หลีกภัย อดีตประธานรัฐสภา และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่ประเดิมเป็นครั้งแรกด้วย ก่อนที่จะเดินสายรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคทั่วประเทศ โดยนายชวน พร้อมด้วยผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวนหนึ่งจะร่วมคณะเดินสายช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส. ปชป. ทั่วประเทศจนเสร็จสิ้นการหาเสียงในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 13 พ.ค. ตามกฎหมายกำหนด ก่อนที่จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566

กกต. แจ้ง 10 ข้อห้ามทำในช่วงเลือกตั้ง ฝ่าฝืนเจอโทษหนัก ‘เพิกถอนสิทธิ-ยุบพรรค’

(7 เม.ย.66) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เน้นย้ำเกี่ยวกับ ‘ข้อห้าม’ ไม่ให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น หรือบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการ

1.จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด

2.ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์หรือสถาบันอื่นใด

3.ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ

4.เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด

5.หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิด ในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง

‘ธนาธร’ ปล่อยไก่ หาเสียงให้พรรคก้าวไกล แต่ดันพูดชื่อ ‘เพื่อไทย’ เต็มปากเด็มคำ

เรียกว่าโป๊ะ แบบโบ๊ะบ๊ะ ขำลั่นกันทั้งรถ เมื่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ช่วยหาเสียงของพรรคก้าวไกล ได้ขึ้นรถหาเสียง ส่งเสียงขายนโยบาย แต่พูดไปพูดมากลายเป็นขอคะแนนเสียงให้เพื่อไทยซะงั้น…
 

ย้อนมอง ‘หาเสียง-สื่อประชาสัมพันธ์’ สมัยแรกของสยาม ท่ามกลางกุศโลบายสร้างสรรค์ ไม่ฟาดฟันกันด้วยอวิชชา

ในตอนที่ผมกำลังพิมพ์เรื่องราวนี้อยู่นั้น การรับสมัครผู้ที่ต้องการเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อนั้นก็คงได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกพรรคคงเดินหน้าในการหาเสียงกันเต็มรูปแบบ ผมก็เลยอยากมาเท้าความถึงเรื่องราวการหาเสียงเลือกตั้งในอดีตให้ทุกท่านได้นึกจินตนาการสักหน่อย 

ผมจะเล่าถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 เพื่อเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 91 ที่นั่ง จาก 182 ส่วนอีกครึ่งนั้นมาจากการแต่งตั้งโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบทางตรง คือผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกบุคคลหรือพรรคการเมืองได้โดยตรง 

แต่เวลานั้นยังไม่มีพรรคการเมืองครับ ผู้สมัครที่ลงรับเลือกตั้งจึงเป็นผู้สมัครอิสระ สำหรับ ส.ส. ก่อนหน้าการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2480 นั้น มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งผู้มีสิทธิลงคะแนนจะเลือกผู้แทนตำบลเพื่อให้ไปเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง เพราะประชาชนยังอ่านออกเขียนได้มีจำนวนไม่มากนัก และ ส.ส. ชุดเลือกทางอ้อมนั้นได้พ้นตำแหน่งไปแล้ว แต่สุดท้ายพวกเขาก็กลับมาเป็นผู้แทนประเภทที่ 2 ด้วยการแต่งตั้ง เอาน่ะ ยุคนั้นราษฎรยังไม่เยอะ พวกผู้แทนที่กลับมาเป็นอีกมีความจำเป็น (หลัก ๆ ก็ก๊วนคณะราษฎรนั่นแหละ) 

แต่วัฒนธรรมหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในยุคแรกเริ่มเลือกตั้งแห่งสยามนี้คือการหาเสียงแบบ ‘เคาะประตูบ้าน’ ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ผมว่าเป็นการหาเสียงสุดคลาสสิกที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เพราะการเลือกตั้งในยุคนั้นต้องอาศัยการรู้จักหน้าตาของผู้สมัคร ยิ่งถ้าผู้สมัครรู้จักเข้าหาผู้นำหรือผู้ที่ได้รับความนับถือในสังคม ที่ปัจจุบันก็คือ ‘หัวคะแนน’ (มีมาตั้งแต่สมัยนั้น) อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครูจากเมืองหลวง ตลอดจนพระสงฆ์ ก็ย่อมมีสิทธิ์ได้รับเลือก อันนี้คือการหาเสียงทางตรงซึ่งมักถูกนักเลือกตั้งรุ่นใหม่ดูถูกเหยียดหยาม ว่าช่างโบราณได้รับเลือกมาก็เป็นแค่ ‘ผู้แทนตลาดล่าง’ แต่ผมว่าเอาเข้าจริงการหาเสียงในรูปแบบนี้ยังใช้ได้ทุกยุค ทุกสมัย ขนาดที่พรรคการเมืองที่ว่ารุ่นใหม่บางพรรคยังต้องยอมศิโรราบ ‘การเคาะประตูและการใช้หัวคะแนน’ กลืนน้ำลายตัวเองตั้งแต่ยังไม่ได้รับเลือกตั้ง อันนี้ก็งง งงดี 

ส่วนอีกเรื่องที่น่าสนใจในยุคการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2480 ก็คือการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ที่เรียกว่า ‘โปสเตอร์’ ผมว่าอันนี้น่าสนใจเพราะเขาใช้สื่อชนิดนี้ด้วยความสร้างสรรค์ สร้างคอนเทนต์กันสุดฤทธิ์ โดยเน้นการโฆษณาว่าตนเป็นใคร เก่งแบบไหน ใส่นโยบายกันสุดลิ่มทิ่มประตู ยกตัวอย่างให้อ่านดังนี้...

เลือกให้ นายชอ้อน อำพล เป็นผู้แทนดีกว่า นายชอ้อน อำพล บรรณาธิการ ‘สยามรีวิว’ เมื่อได้เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการแล้ว จะฟันฝ่าชาวสมุทรปราการเป็นลูกเมียหลวงให้ได้ จะไม่ต้องได้รับความลำบากอย่างที่ท่านเห็นอยู่เดี๋ยวนี้ ถ้าเขาได้เป็นผู้แทนมาแต่แรกแล้ว สมุทรปราการและพระประแดงจะไม่เป็นเช่นนี้เลย....ปิดท้ายด้วย....ท่านจะเห็นว่า นายชอ้อน อำพล ช่วยท่านจริงก็ต่อเมื่อท่านได้ ให้เขาเป็นผู้แทนในวันเลือก...

...เอากับเขาสิ อยากใช้ผมก็เลือกผม อะไรประมาณนั้น

หรืออย่างเช่น...ทองหล่อ บุณยนิตย์ เนติบัณฑิต ทนายความ พูดจริง ทำจริง มนตรีนครธนบุรี...ศรีกรุง ฉบับวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2480 ว่า นายทองหล่อ บุณยนิตย์ เนติบัณฑิตอัยการผู้นี้นับว่าเป็นผู้มีความรู้ในทางกฎหมายและการเมืองทั้งเป็นผู้ที่มีใจเป็นกุศล.... 

หรือจะเป็นอย่าง...โปสเตอร์ของขุนพิเคราะห์คดี....รักชาติ, ถิ่น, ฐาน, รักบ้าน, รักเรือน ก็อย่าให้ได้ชื่อว่าขายชาติ อย่าเชื่อคำยุยงส่งเสริมฯ ของเขาเราจะเสียแนวไก่ต่อ (ไก่ต่อไปซะอย่างนั้น)...

บ้างก็วางนโนบายเป็นข้อ ๆ แบบของ นายพันตรีหลวงขจรกลางสนาม ที่ระบุนโยบายเป็นคำคล้องกันดังนี้...ข่าวสาส์นการเดิน...เหินห่างโจรภัย...ไม่เสียเวลาไปศาล...สมานสามัคคี...มีที่พึ่ง...ปิดท้ายอีก 3 เรื่องจากหลวงขจรฯ คือ... พ้นความยากจน...มีคนรักษา...วิชาความรู้....หลัก ๆ พออ่านจบผมก็อดอมยิ้มไม่ได้ เพราะมันช่างสนุกสนานจริง ๆ ‘โปสเตอร์’ หาเสียงยุค พ.ศ. 2480

แต่ถึงกระนั้นแผ่นปิดเหล่านี้ก็ไม่ได้โจมตีใครอย่างเอิกเกริก และไม่มีการกลั่นแกล้งกันอย่างจริงจัง เป็นสีสันแห่งการเลือกตั้งอย่างแท้จริง ผิดกับยุคนี้ที่การทำสื่อเลือกตั้ง เน้นให้มีจำนวนมาก เน้นให้ได้เปรียบคนอื่น เน้นบังป้ายคนอื่นจนกระทั่งไม่สนใจว่าจะบดบังทัศนวิสัยหรือไม่ รวมไปถึงบางป้ายที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งก็ออกมาตั้งกันอย่างน่าประหลาด อย่างป้ายสีแดงของโครงการหมู่บ้านแคนดิเดตผู้นำก็ตั้งบังชาวบ้าน เยอะยิ่งกว่าป้ายหาเสียงเสียอีก อันนี้หยอกนะครับ เพราะน่าจะไปแก้ไขกันแล้ว มั้งนะ !!! 

‘ชวน’ นำทีมผู้สมัคร บุก 3 ตลาดใหญ่ กลางเมืองชลบุรี อ้อน ปชช. ขอคะแนน หนุน ‘ปชป.’ ทั้งคน ทั้งพรรค

(8 เม.ย. 66) นายชวน หลีกภัย ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะอดีตหัวหน้าพรรคฯ ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี ที่ตลาดบ้านโรงโป๊ะ ตลาดพระวัดกระทิงลาย เเละตลาดเก่านาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อช่วยผู้สมัคร ส.ส.ชลบุรี ของพรรคประชาธิปัตย์ หาเสียง ทั้ง 10 เขตเลือกตั้ง พร้อมขอคะแนนให้ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ปชป.เบอร์ 26 จากประชาชน ก่อนจะขึ้นรถกระจายเสียง เพื่อเดินทางไปตามจุดต่าง ๆ ทั่วจังหวัดชลบุรี ขอคะแนนสนับสนุนให้ผู้สมัครของพรรคฯ และรณรงค์การเลือกตั้ง เชิญชวนให้ประชาชนเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งคน ทั้งพรรค ทั้งบัตร 2 ใบ ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้

‘อดีตผู้ว่าการ ธปท.’ ชี้ นโยบายแจกเงิน ก่อหนี้โดยไม่จำเป็น จวก!! ไร้ความรับผิดชอบ ทำ ปชช.ขาดวินัย-ทักษะทางการเงิน

(11 เม.ย. 66) นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เขียนข้อความเรื่องภาระการคลังของการแจกเงิน โดยระบุว่า…

ประชากรอายุ 16 ปีขึ้นไปมีประมาณ 85% ของประชากร 67,000,000 คนจึงเทียบเท่ากับประมาณ 55,000,000 คน แจกให้คนละ 10,000 บาท เทียบเท่ากับค่าใช้จ่ายทั้งหมด 550,000 ล้านบาท

ถามว่าจะเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาจากไหน?

ถ้าเงิน 550,000 ล้านบาทที่ใช้จ่ายออกไปมีการเก็บภาษีวีเอที 7% เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็จะได้ภาษี 38,500 ล้านบาท แต่จริง ๆ เป็นไปไม่ได้ที่จะเก็บได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะร้านขายของในละแวกบ้าน นอกอาจจะเป็นร้านเล็ก ๆ ยังไม่อยู่ในระบบภาษี แต่เอาเถอะยกผลประโยชน์ให้ว่าเก็บได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเขาอาจจะโต้แย้งได้ว่าเงิน 550,000 ล้านบาทสามารถหมุนได้หลายรอบ ก็จะเก็บภาษีได้หลายรอบ และบริษัทที่ผลิตสินค้าขายได้มากขึ้นก็น่าจะเก็บภาษีนิติบุคคลได้มากขึ้น

ดังนั้น ยังต้องหาเงินมาโปะส่วนที่ขาดอีก 511,500 ล้านบาท ปัดตัวเลขกลมๆเป็น  500,000 ล้านบาทเลยก็ได้ ถ้าไม่ขึ้นภาษีก็ต้องเบียดมาจากการใช้จ่ายรายการอื่น ๆ ซึ่งไม่น่าจะเบียดมาได้มากนัก เพราะตัวเลข 500,000 ล้านบาทนี้ เทียบเท่ากับ 17 ถึง 18% ของงบประมาณคาดการณ์ของปี 2023 จึงเป็นสัดส่วนไม่น้อย เมื่อหาเงินหรือลดค่าใช้จ่ายรายการอื่นไม่ได้ ก็ต้องกู้มาโปะส่วนที่ขาดดุลมากขึ้นนี้

อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีในปี 2023 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 61.36% ถ้าต้องกู้มากขึ้นอีก 500,000 ล้านบาทสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 2.8% รวมเป็น 64.16%

เราเคยตั้งเป้าว่าสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีจะไม่ให้เกิน 60% แต่ช่วงที่ผ่านมาเราต้องประคับประคองเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด จึงยอมให้สัดส่วนนี้สูงเกิน 60% และมีเป้าหมายจะดึงลงมาให้อยู่ในระดับ 60% โดยเร็ว

นโยบายแจกเงินนี้มีผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะโตประมาณ 3 ถึง 4% โดยมีตัวช่วยคือการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาในช่วงโควิดรัฐบาลได้ใช้เงินไปในการพยุงเศรษฐกิจมามากพอแล้ว ปีหน้าจึง​ไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระตุ้นต่อเนื่อง และการจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตโดยการใช้จ่ายเป็นวิธีที่ไม่รับผิดชอบ (ยกเว้นในกรณีจำเป็น อย่างเช่นในช่วงโควิดที่หัวรถจักรทางเศรษฐกิจตัวอื่น ๆ ไม่ทำงาน) เพราะใช้แล้วก็หมดไป ไม่มีผลในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในระยะยาว

สมุทรปราการ- เบอร์ 6 มาแล้ว!! “ดร.ยงยุทธ” ผู้สมัคร สส.เบอร์ 6 ลุยหาเสียงพบปะพี่น้องในชุมชน ลั่น!! ก้าวข้ามความขัดแย้ง มุ่งมั่นพัฒนาสมุทรปราการ

ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ผู้สมัคร สส.เบอร์ 6 เขต 2 สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ ลงพื้นที่หาเสียงอย่างต่อเนื่องภายในชุมชนพื้นที่ เขต 2 สมุทรปราการ ประกอบด้วย ต.บางปู ต.บางปูใหม่ ต.แพรกษา และ ต.ท้ายบ้านใหม่ โดยพบปะพูดคุยกับพี่น้องประชาชนในชุมชนต่างๆ พร้อมทั้งรับฟังปัญญาและพร้อมหาทางออกเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เขต 2 สมุทรปราการ ซึ่งการลงพื้นที่หาเสียงในครั้งนี้มีประชาชนจำนวนมากมาคอยให้กำลังใจ พร้อมทั้งส่งเสียงเชียร์อย่างต่อเนื่อง

อีกทั้ง ยังมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขเพื่อพัฒนาพื้นที่สมุทรปราการให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป โดยยึดมั่นอุดมการณ์ขอก้าวข้ามความขัดแย้ง ขจัดทุกปัญหา พัฒนาทุกพื้นที่

นิพนธ์ นำทีมอ้อนขอคะแนน ปชป. วันสงกรานต์ ทั้งคน ทั้งพรรค ยันนโยบายประชาธิปัตย์มุ่งสร้างคน สร้างครอบครัวให้อบอุ่น

วันนี้ 13 เม.ย.66 นายนิพนธ์ บุญญามณี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นรถแห่ ออกเยี่ยมเยือนพี่น้องประชาชนเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ในเขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 และเขตเลือกตั้งที่3  พร้อมเป็นตัวแทนพรรคปชป. ขอคะแนนเสียงจากพี่น้องประชาชนทั้ง 3 เขตเลือกพรรคประชาธิปัตย์เบอร์ 26  จะได้นายชวน หลีกภัย  นายบัญญัติ บรรทัดฐาน  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  นายนิพนธ์ บุญญามณี และเลือกผู้แทนของพรรคประชาธิปัตย์ทุกเขต ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566  ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีบัตรสองใบคือ เลือกผู้แทนเขต กาเบอร์ 4 และเลือกพรรคประชาธิปัตย์กาเบอร์ 26  

‘พิธา’ ขอบคุณ ปชช.เทคะแนนโหวต หนุนเป็นนายกฯ คนต่อไป สะท้อนคนไทยเบื่อการเมืองแบบเดิม พร้อมลุยหาเสียงโค้งสุดท้าย

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 66 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีประชาชนโหวตให้เป็นอันดับ 1 คนที่จะเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้ง 2566 จากผลโพลของสำนักข่าวมติชนที่ร่วมกับสำนักข่าวเดลินิวส์ ซึ่งสำรวจกลุ่มตัวอย่างผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 84,076 ราย กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับอายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ และเป็นการโหวตแบบไม่ซ้ำไอพีแอดเดรส (IP Address) ระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา

นายพิธา กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณประชาชนที่สนับสนุนพรรคก้าวไกลมากขึ้นเรื่อย ๆ คะแนนจากโพลนี้สอดคล้องกับสิ่งที่เราสัมผัสได้ในทุกจังหวัดที่เดินทางไป และสอดคล้องกับตัวเลขในทางออนไลน์ ที่ประชาชนแสดงออกว่าสนับสนุนพรรคก้าวไกลมากขึ้น ยิ่งกว่าสมัยอดีตพรรคอนาคตใหม่ในปี 2562 อย่างเห็นได้ชัด ทั้งอยากเห็นตนเป็นนายกฯ อยากได้ ส.ส.เขตแบบก้าวไกลมาทำงานรับใช้ประชาชน และในภาพใหญ่ คืออยากให้คนบริหารประเทศเป็นคนแบบก้าวไกล

เสียงสนับสนุนที่เราได้รับ สะท้อนให้เห็นว่า ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เราพิสูจน์การทำงานให้ประชาชนเห็นแล้วว่า ส.ส.พรรคก้าวไกล ทำงานได้โดดเด่นและแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นที่เคยมีมาอย่างไร จนได้รับคำชมว่า ก้าวไกลทำงานตรงไปตรงมา ทำงานคุ้มค่า และมุ่งแก้ปัญหาที่ต้นตอ

“สิ่งที่สำคัญที่สุด เสียงสนับสนุนที่ก้าวไกลได้รับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนว่าคนไทยไม่ต้องการวนเวียนอยู่กับการเมืองแบบเดิม ๆ อีกแล้ว เพราะนักการเมืองแบบเดิม ๆ วิธีคิดและวิธีการทำงานการเมืองแบบเดิม ไม่สามารถตอบโจทย์ของสังคมไทยยุคใหม่ได้ ประชาชนจึงต้องการพรรคก้าวไกลมาทำในสิ่งที่นักการเมืองในอดีตทำไม่ได้” นายพิธา กล่าว

หัวหน้าพรรคก้าวไกลทิ้งท้ายว่า ในช่วง 30 วันสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง พวกเราพรรคก้าวไกลต้องทำงานให้หนักมากขึ้น ทั้งเปิดเวทีปราศรัยทั่วประเทศ ทั้งสื่อสารทางออนไลน์และผ่านสื่อมวลชน ทั้งเดินเคาะประตูบ้าน เพื่อเข้าหาพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด เพราะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ชัยชนะของพรรคก้าวไกลจะเป็นปัจจัยชี้ขาดโฉมหน้าของรัฐบาลชุดต่อไป ว่าจะน่าไว้วางใจแค่ไหน และจะมีพรรคทหารจำแลงร่วมรัฐบาลด้วยหรือไม่


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top