Sunday, 19 May 2024
ศาลรัฐธรรมนูญ

'ธีรรัตน์' พ้อ!! ต่อไปเผด็จการคงฉีกรัฐธรรมนูญไปเรื่อยๆ ไม่ให้มีการสืบต่ออำนาจในตำแหน่งนายกฯ เป็นสำคัญ

ภายหลังมติคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ 'บิ๊กตู่' ได้ไปต่อ ก็เป็นธรรมเนียมที่ขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐจะพาเหรดกันออกมาให้ทรรศนะที่แตกต่างกันไป

(1 ต.ค. 65) ด้านนางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. และโฆษกพรรคเพื่อไทย ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า...

การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นนี้ ต่อไปเผด็จการคงฉีกรัฐธรรมนูญไปเรื่อยๆ และนับหนึ่งใหม่ 

หลักการ คือ ไม่ให้มีการสืบต่ออำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสำคัญ!!!

เคสที่ทุกคนจับตามอง คำวินิจฉัยยังออกมาแบบนี้…

ค้านหลักกฎหมาย ค้านความรู้สึกประชาชน ค้านสภาพความเป็นจริง


ที่มา: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02oy3tsp1YEYngxEXdt3N5S5i9hoUvjfsjyP5jeBZjGtacmnJpory2fuAuKvap8WRZl&id=100002347821176

'ศาลรธน.' ชี้!! ร่างกม.พรรคการเมือง ไม่ขัดแย้ง ต่อ 'รัฐธรรมนูญ' และ 'การปฏิรูปด้านการเมือง

ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ชี้ร่างกฎหมายพรรคการเมือง ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปด้านการเมือง  

(23 พ.ย. 65) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยคำร้องที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 77 คน ที่ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 9 และมาตรา 10 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 มาตรา 83 มาตรา 86 มาตรา 90 มาตรา 91 และมาตรา 258 ก.ด้านการเมือง (2) หรือไม่ และตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ โดยมติที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ร่างกฎหมายพรรคการเมืองไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปด้านการเมือง  

สำหรับประเด็นที่ผู้ร้องเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญคือการลดค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรค เดิมปีละไม่เกิน 100 บาท เหลือไม่เกิน 20 บาท ตลอดชีพลดเหลือไม่เกิน 200 บาท จากเดิมไม่น้อยกว่า 2,000 บาท เหตุผลคือกลัวจะเปิดให้เกิดนายทุนครอบงำและไม่เป็นพรรคของประชาชน และตัดคุณสมบัติผู้ต้องคดีอาญา การฉ้อโกง ยาเสพติด การพนัน การค้ามนุษย์และการฟอกเงิน หากคดีไม่ถึงขั้นติดคุกก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคได้

‘ชลน่าน’ จับตา 30 พ.ย. ศาลรธน. ชี้ชะตา กม.เลือกตั้ง เชื่อ!! ไม่ย้อนกลับไปสูตรหาร 500 แน่นอน

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 65 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง ของ ส.ส.และส.ว 105 คนผ่านประธานรัฐสภา ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่าง พ.ร.ป ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.(ฉบับที่...) พ.ศ. ... มาตรา 25 และมาตรา 26 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94 หรือไม่ และตราขึ้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ และศาลได้กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือและลงมติในวันที่ 30 พ.ย. เวลา 09.30 น. ซึ่ง กกต.ในฐานะเจ้าของร่าง พ.ร.ป.ได้ทำคำชี้แจงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 พ.ศ 2564 และร่าง พ.ร.ป ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่.. พ.ศ. ....ซึ่งประธาน กกต.ได้ชี้แจงว่า รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ม.92 ถึง ม.94 ให้สอดคล้องกับรูปแบบการเลือกตั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเลิกวิธีการคำนวณจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะพึงมี และส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคพึงจะได้รับ กกต.จึงไม่มีกรณีที่จะต้องคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อตาม ม.92 ถึง ม.94

'สุทิน' เชื่อคำวินิจฉัย 'ศาล รธน.' 30 พ.ย.ชี้ทิศทางประเทศ จี้รัฐ 4 เดือนนี้ ควรเร่งทำตามนโยบายหาเสียง อย่าเกียร์ว่าง

(27 พ.ย.65) นายสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน และส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณีศาลรัฐธรรมนูญ เตรียมวินิจฉัยกฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.วันที่ 30 พ.ย. ว่า...

คิดว่าสิ่งที่รัฐสภาดำเนินการไปนั้น พิจารณาเป็นลำดับด้วยความรอบคอบ ตั้งแต่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะรัฐมนตรี มาจนถึงรัฐสภา คำวินิจฉัยที่ออกมานั้น เชื่อว่าจะเป็นทางออกของประเทศ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ แต่หลายส่วนมีความกังวลว่าถ้าคำวินิจฉัยออกมาทางลบ ก็ต้องไปคิดกันต่อว่าจะแก้ไขที่จุดไหนถึงจะนำไปสู่การเลือกตั้งได้ เช่น กรณีกฎหมายลูกขัดรัฐธรรมนูญ ต้องดูว่าจะแก้ที่กฎหมายลูกหรือที่รัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งสองทางจะมีปัญหาเรื่องเงื่อนเวลาที่อาจไม่เพียงพอต่อกรอบเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาล

เมื่อถามว่าหากที่สุดแล้วต้องออกเป็น พ.ร.ก. ฝ่ายค้านรับได้หรือไม่ นายสุทิน กล่าวว่า "เรายังไม่มั่นใจว่าการใช้พ.ร.ก.จัดการเลือกตั้งนั้นจะสามารถทำได้และชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะไม่เคยมีการทำเช่นนี้มาก่อน คงต้องมีองค์กรใดออกมาชี้เพื่อให้มั่นใจว่าทำได้จริงแล้วค่อยเดินหน้าไปทางนั้น ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน"

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมาก 7:2 กฎหมายเลือกตั้ง สูตรหาร 100 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ กฎหมายเลือกตั้งสูตรหาร 100 ตราขึ้นถูกต้อง มาตรา 25 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ไม่มีข้อความขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 93 และ 94

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ประชุมและมีมติกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 105 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 132 ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … มาตรา 25 และมาตรา 26 มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 และมาตรา 94 หรือไม่ และตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่

2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบ 3 พรรคการเมือง ‘พลังประชาชน - ชาติไทย – มัชฌิมาธิปไตย’

วันนี้ เมื่อ 14 ปีก่อน ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ‘พลังประชาชน - ชาติไทย – มัชฌิมาธิปไตย’ ปมทุจริตการเลือกตั้งปี 2550

เวลา 12.00-13.32 น. วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยกรณีอัยการสูงสุดมีคำร้องให้ยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากกระทำผิดทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อปี 2550 โดยศาลฯ มีคำสั่งให้ยุบพรรคทั้ง 3 พรรค รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน 37 คน, 43 คน, และ 29 คน ตามลำดับ มีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญคำสั่งให้ยุบพรรคสามารถสรุปได้ดังนี้

สำหรับกรณีของพรรคพลังประชาชน นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า กรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคกระทำการฝ่าฝืนและขัดต่อ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ที่มีผลทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต และได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่พรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคคนอื่น ๆ ต้องร่วมรับผิดชอบ

ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่าคำแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องฟังไม่ขึ้น เนื่องจากนายยงยุทธ เป็นนักการเมืองหลายสมัย มีฐานะเป็นถึงรองหัวหน้าพรรค และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ย่อมต้องเพิ่มความเข้มงวดที่จะไม่กระทำการใด ๆ อันฝ่าฝืนกฎหมาย แต่นายยงยุทธ ติยะไพรัช กลับกระทำผิดเสียเอง

นอกจากนี้กรณีที่พรรคพลังประชาชนโต้แย้งว่าได้จัดการประชุมชี้แจงเพื่อกำชับไม่ให้ผู้สมัครของพรรคกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งแล้วก็ตามนั้น ศาลเห็นว่าแม้พรรคจะมีการกระทำดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดในการที่กรรมการบริหารพรรคจะไปกระทำผิดเอง เพราะทำให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้มีผลบังคับใช้

ส่วนที่มีข้อโต้แย้งว่าผลการสืบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ละเมิดสิทธิและไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมนั้น ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่า กกต.มีหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาล และได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมาอย่างถูกต้องแล้ว

‘ศาลรธน.’ มีมติเอกฉันท์ สูตรคำนวน ส.ส ชี้ ไม่นับรวมต่างด้าว ต้องรื้อแบ่งเขตใหม่

วุ่น! กกต.ต้องแบ่งเขตใหม่ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ชี้คำนวณจำนวนส.ส.แต่ละจังหวัด-แบ่งเขต ไม่ต้องนับรวมผู้ไม่มีสัญชาติไทย

วันนี้ (3 มี.ค. 66) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่าการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 86 (1) ซึ่งกำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร์ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งนั้นคำว่า 'ราษฎร' ไม่หมายรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลตั้งแต่วันนี้ (3มี.ค.) เป็นต้นไปตามพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งส.ส. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้กรณีดังกล่าวเป็นสืบเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของกกตตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 วรรคหนึ่ง(2) ว่าการคิดคำนวณจำนวนส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมีโดยนำจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรตามที่สำนักทะเบียนกลางประกาศณวันที่ 31 ธ.ค. ของปีที่ล่วงมามาใช้ในการคิดคำนวณจำนวนส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ถูกต้องหรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี ปม 'ถือหุ้น-เป็นเจ้าของ' หจก.บุรีเจริญ

(3 มี.ค.66) องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมปรึกษาคดี กรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบ มาตรา 187 หรือไม่

ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จํานวน 54 คน ยื่นคําร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ผู้ถูกร้อง) ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้น และเจ้าของห้างหุ้นส่วนจํากัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง ซึ่งจะทําให้ผู้ถูกร้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วน

เป็นการกระทําอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 (1) เป็นเหตุให้ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคําร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ผลการพิจารณา

'ก้าวไกล' ขยี้ต่อ!! ร้อง ครม.ระงับทุกโครงการ ก.คมนาคม หลังผนึกกำลังฝ่ายค้าน เอาผิด 'ศักดิ์สยาม' นอกสภาฯ

'ก้าวไกล' เรียกร้อง ครม. หยุดอนุมัติโครงการคมนาคมทุกโครงการทิ้งทวนก่อนยุบสภา หลังศาลรัฐธรรมนูญสั่ง "ศักดิ์สยาม" หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว เพื่อรักษาผลประโยชน์ประชาชน

(3 มี.ค.66) ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้อง กรณีที่ขอให้ศาลฯ วินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สิ้นสุดลงเฉพาะตัว สืบเนื่องจากการคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของ หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น โดยศาลฯ พิจารณาให้ศักดิ์สยาม ผู้ถูกร้อง หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี จนกว่าศาลฯ จะวินิจฉัย

ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า กรณีนี้เป็นการยื่นคำร้องร่วมกันของ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน 54 คน ตั้งประเด็นหลักมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจของตนเมื่อกลางปี 2565 โดยจากข้อมูลเอกสารที่ตนได้รับมานั้น พบว่าการโอนหุ้น หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ซึ่งเคยเป็นของศักดิ์สยาม และได้โอนหุ้นออกไปก่อนจะรับตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น มีพิรุธอยู่ในหลายจุด

ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่รับโอน ซึ่งปรากฏว่ามีความพัวพันกับครอบครัวชิดชอบมาอย่างยาวนาน, การให้ หจก. ใช้ที่อยู่บ้านของตระกูลตนเองต่อยาวนานเป็นปี ทั้งๆ ที่ไม่มีสถานะผู้ถือหุ้น หรือกรรมการใน หจก.แล้ว, การยื่นทรัพย์สินของศักดิ์สยาม ที่น้อยจนผิดปกติ หากมีการขายหุ้นครั้งนี้จริง, ตัวเลขในงบการเงิน ที่มีความขัดแย้งกันในตัวเอง, ราคาในการซื้อขายซึ่งไม่สมเหตุสมผลกับรายได้ของธุรกิจ และไม่ปรากฎหลักฐานการโอนเงินการซื้อขายหุ้นครั้งนี้

แต่ละจังหวัดมี ส.ส.ได้กี่คน?

หลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดกำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย


 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top