Sunday, 26 May 2024
วราวุธศิลปอาชา

‘วราวุธ’ สั่งดย.เร่งสำรวจ หวังดันค่าอาหารเด็กในสถานรองรับ ชี้ มื้อละ 19 บาท ถือว่าน้อย หากเทียบกับหน่วยงานอื่น

(27 ก.ย. 66) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยถึงการผลักดันการปรับเพิ่มงบประมาณ ค่าอาหาร สำหรับเด็กและเยาวชนในสถานรองรับเด็ก สังกัดกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) ว่า ขณะนี้ มีสถานรองรับเด็ก จำนวน 31 แห่งทั่วประเทศ ที่ดูแลคุ้มครองเด็กและเยาวชนตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี จำนวนกว่า 5,000 คน แต่ได้รับค่าอาหาร 57 บาทต่อหัวต่อวัน ซึ่งเมื่อเฉลี่ยอาหารสามมื้อแล้ว จะอยู่ที่มื้อละเพียง 19 บาทเท่านั้น ถือว่าน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานอื่นๆ ทั้งที่คุณภาพของอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการและการเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจของเด็ก 

ทั้งนี้ จึงคิดว่าเราต้องมานั่งทบทวนกันใหม่ โดยได้มอบหมายให้ ดย. สำรวจสัดส่วนที่เหมาะสม ที่ควรจะปรับเพิ่มค่าอาหารเป็นเท่าไหร่ ซึ่งช่วงวัย 0 - 6 ปีอาจจะรับประทานอาหารในปริมาณไม่มากเมื่อเทียบกับเด็กโต แต่คุณภาพอาหารนับเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ ซึ่งเด็กในช่วง 6 ปีแรก นับเป็นช่วงสำคัญของพัฒนาการและการซึมซับสิ่งที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกาย ขณะที่เด็กโต 6-18 ปี ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของอาหารทั้งปริมาณและคุณภาพ

นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนได้มอบหมาย ดย. ให้เร่งสำรวจข้อมูล เพื่อผลักดันการปรับเพิ่มค่าอาหาร เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองที่ต้องดูแลและทำอย่างไรให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของกระทรวง พม. ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ ต้องช่วยให้เขาเติบโตในสังคมทั้งร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง ซึ่งที่ผ่านมา บางหน่วยงาน เช่น หน่วยงานที่ดูแลผู้ต้องขัง สถานพินิจ นักเรียนทหาร เด็กนักเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยังได้ปรับงบประมาณค่าอาหารเพิ่มขึ้น แต่ของเด็กและเยาวชนในสถานรองรับของ ดย. ยังไม่เคยได้ปรับค่าอาหารเพิ่มขึ้นมานานแล้ว 

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้อาจจะไม่ทันงบประมาณปี 2567 แต่จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุดเพื่อให้ทันเวลาในงบประมาณปี 2568

‘วราวุธ’ มอบรางวัล ‘ประชาบดี’ ยกย่อง ผู้ทำความดี อุทิศตนเพื่อสังคม ‘หนังสืออยู่กับก๋ง-รพ.รามาธิบดี-แว่นท็อปเจริญ’ ได้รับรางวัลนี้ด้วย

(28 ก.ย. 66) ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานพิธีมอบรางวัล ‘ประชาบดี’ ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 เพื่อเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นแก่ผู้ที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก และผู้ที่อยู่ในสภาวะยากลำบากที่ประพฤติตนดีเด่น เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ที่ดูแลช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก อีกทั้งส่งเสริมเจตคติเชิงบวกในการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมในพิธี

นายวราวุธ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ได้ดำเนินการจัดพิธีมอบรางวัล ‘ประชาบดี’ มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2550 เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้ทำความดีอุทิศตนเพื่อสังคมให้เป็นที่ประจักษ์ ซึ่งเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่นำต้นแบบมาจาก ‘พระประชาบดี’ เทพผู้เป็นที่พึ่งและสงเคราะห์ประชาชน ด้วยพลังแห่งการให้และแบ่งปัน เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้รอดพ้นจากสภาวะยากลำบาก

สำหรับปีนี้ มีผู้รับรางวัล ‘ประชาบดี’ ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 รวมจำนวนทั้งสิ้น 87 คน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1.) ประเภทบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 รวม 19 ราย อาทิ นางสุพัตรา จิราธิวัฒน์ ผู้ริเริ่มโครงการ Centara Academy โดยเปิดสอนด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว พร้อมสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน, นางสาวเรณู ภาวะดี ผู้มีความมุ่งมั่นในงานจิตอาสา เป็นกระบอกเสียงและอุทิศตนเพื่อผู้ประสบความเดือดร้อน, นายแพทย์ศุภชัย โรจน์ขจรนภาลัย ผู้จัดการโครงการช่วยเหลือสังคมในทุกมิติ รวมถึงสนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง, นายสายชล พันพืช อาสามูลนิธิกู้ภัยสว่างกำแพงเพชรธรรมสถาน ผู้เสียสละตนเพื่อช่วยเหลือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก คนเร่ร่อน และกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง

2.) ประเภทองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 รวม 16 ราย อาทิ หอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างงาน สร้างอาชีพแก่ผู้ที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก จนเกิดการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันและพึ่งพาตนเองได้, สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกายเชียงราย ส่งเสริมอาชีพคนพิการให้มีงานทำ มีรายได้ หาเลี้ยงตนเองและครอบครัว, แว่นท็อปเจริญ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาด้านสายตาทั่วประเทศ, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนากระบวนการรักษาและระบบการให้ข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคหายาก

3.) ประเภทสื่อสร้างสรรค์ ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 รวม 23 ราย อาทิ รายการวันใหม่วาไรตี้ ช่วงร้องทุก(ข์) ลงป้ายนี้ นำเสนอการช่วยเหลือประชาชนและผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งประสานช่วยแก้ปัญหาสังคม, รายการ น.ช. ไม่ทิ้งกัน สร้างกำลังใจแก่อดีตเพื่อนนักโทษให้ดำเนินชีวิตในทางที่สุจริต, สถานีเฟซบุ๊กไลฟ์ & ศูนย์ช่วยเหลือออนไลน์ ‘สื่ออาสาประชาชน’, หนังสือเรื่อง ‘อยู่กับก๋ง’ โดยหยก บูรพา รายการที่สอดแทรกคำสอนที่มีคุณค่า ปลูกฝังทัศนคติที่ดีแก่คนทุกช่วงวัย 

4.) ประเภทต้นแบบคนสู้ชีวิต ประจำปี 2565 และประจำปี 2566 รวม 29 ราย อาทิ นายธนเดช  โพธิ์เงิน คนพิการจิตอาสา สู้ชีวิต อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือและให้กำลังใจผู้ที่มีความพิการเช่นเดียวกัน, นายเอนก แก้วผา ผู้เคยเดินทางผิดและเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยอุทิศตนช่วยคนเปราะบาง, นายณรงค์ฤทธิ์ ชาวบางมอญ ใช้การพูดสร้างกำลังใจแก่ผู้ต้องขังและใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวซื้ออาหารเพื่อมอบให้แก่เด็ก คนเร่ร่อน และคนไร้ที่พึ่ง, นางสาวสุวรรณดี อ่ำศรีสุข ผู้ถือคติ “ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ กตัญญู” ลุยช่วยเด็กกำพร้าและผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ

นายวราวุธ กล่าวว่า กระทรวง พม. หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารางวัล ‘ประชาบดี’ ที่ได้มอบให้ จะเป็นกำลังใจ และสามารถขยายผลไปสู่พี่น้องประชาชนทั่วประเทศว่า วันนี้ การทำความดีของท่านมีคนเห็น และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญให้กับสังคมไทยเดินไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภาครัฐจะไม่สามารถทำงานเพียงลำพังได้ การได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดนั้น คือหัวใจสำคัญในการช่วยคนทุกๆ กลุ่ม ทุกๆ เพศ ทุกๆ วัย และทุกๆ สถานะ กระทรวง พม. ขอขอบคุณทุกคนที่ได้รับรางวัล “ประชาบดี” และหวังว่าในปีต่อๆไป เราจะมีผู้ได้รับรางวัลเพิ่มขึ้น และหลากหลายสาขามากขึ้น สำหรับการเข้ามาช่วยกันทำงาน เพื่อให้สังคมไทยน่าอยู่มากขึ้น

‘วราวุธ’ เตรียมหารือ ‘ชัชชาติ’ ดันนโยบายจ่ายค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง เพื่อหาที่อยู่ให้คนไร้บ้าน - ตกงาน ตั้งเป้า!! ปี 79 ทุกคนต้องมีที่อยู่

(3 ต.ค. 66) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึง กรณีที่กระทรวงผลักดันนโยบายจ่ายค่าเช่าบ้านคนละครึ่ง เพื่อสนับสนุนชาวบ้านให้มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ว่า นโยบายดังกล่าวกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการดำเนินการมา 1 ปีมีผู้เข้าโครงการเพียง ไม่ถึง 100 คน ซึ่งโครงการนี้จะสนับสนุนเงินครึ่งหนึ่งให้กับผู้ที่ไร้บ้าน ที่เป็นการเช่าบ้านไม่เกิน 2,000 บาทถึง 3,000 บาท โดยเงื่อนไขที่จะเข้าร่วมโครงการ คือ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย และไม่มีงานทำ เป็นการใช้บ้านเช่าที่มีราคาถูก และหากไม่มีงานทำกระทรวงก็จะร่วมมือกับภาคเอกชน ออกเงิน ค่าเช่าบ้านให้ครึ่งหนึ่งและหางานให้ เพื่อช่วยลดปัญหาให้ประชาชนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยมีที่อยู่ และให้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ โดยผู้ที่เข้าเงื่อนไขสามารถสมัครเข้าโครงการได้ ตามแผนของกระทรวง เพิ่งเริ่มเมื่อปีที่แล้ว และตามเป้าหมายของกระทรวง ภายในปี 2579 ทุกคนที่ไร้บ้านจะต้องมีที่อยู่อาศัย

นายวราวุธกล่าวว่าสถานการณ์คนไร้บ้านปัจจุบันใน กทม. มีปริมาณมากขึ้น จึงถือเป็นภารกิจหนึ่งของพม. ที่อยากให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย และมีรายได้ ที่ไม่ใช่งานประจำ ซึ่งจะหารือกับนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่กระทรวงอีกครั้งในสัปดาห์หน้าเพื่อประเมินตัวเลข ที่ชัดเจน และแม่นยำ 

'วราวุธ' เผย!! ขอควงล่ามภาษามือทุกครั้งที่ 'แถลง-สัมภาษณ์' หวังเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางหู รับรู้ทุกข้อมูลข่าวสาร

(16 ต.ค. 66) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยถึงความช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดินทางจากอิสราเอลว่า พม.ได้ส่งสหภาพวิชาชีพ เข้าไปพูดคุย 90 ราย แบ่งเป็นผู้ชาย 88 ราย ผู้หญิง 2 ราย ในจำนวน 90 รายนี้ ประสงค์รับการสนับสนุนเรื่องที่พักและค่าใช้จ่ายเดินทาง 29 ราย เป็นจำนวนเงินที่สนับสนุน 28,880 บาท ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และในส่วนแต่ละจังหวัด ได้ให้เจ้าหน้าที่ พม.จ.ทุกจังหวัด ที่มีความพร้อมเข้าไปพูดคุย กับครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ มีอยู่ทั้งหมด 18 จังหวัด  

และได้มีการบูรณาการร่วมกับกาชาด และกรมสุขภาพจิตแต่ละจังหวัด เยี่ยมบ้านทุกบ้านที่ได้รับผลกระทบ และมีการประเมินความต้องการปรึกษาฟื้นฟูสภาพจิตใจ 87 ราย พิจารณาเงินสงเคราะห์ 13 ราย และมีการทำแผนช่วยเหลือรายบุคคล ในระยะสั้น ระยะยาว โดยการเยี่ยมครอบครัว แบ่งเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ 16 ราย ครอบครัวที่ถูกจับตัวประกัน 17 ราย และมีสายด่วน 1330 พร้อมให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง 

ขณะเดียวกัน ให้รายงานกับตนทุกวัน พร้อมแสดงความเสียใจกับครอบครัว รัฐบาลกำลังประสานงานเร่งพิสูจน์อัตตลักษณ์ ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะทางการอิสราเอลได้การประสานจากหลายประเทศ  ทั้งนี้ รัฐบาลไทยเร่งดำเนิการอยู่ ยืนยันเจ้าหน้าพม.มีพอเพียงในการเข้าไปดูแลเยียวยา

อย่างไรก็ตาม การให้สัมภาษณ์ นายวราวุธ นำล่ามภาษามือ มาแปลในการให้สัมภาษณ์ข้างๆ โดยชี้แจงว่า จากนี้ไปจะมีล่ามภาษามือทุกครั้ง ในการแถลง หรือการสัมภาษณ์ ในการประชุมครม.ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีปัญหาผู้พิการทางหู ส่วนการเดินทางไปภารกิจต่างประเทศ จะพิจารณาเป็นกรณีไป เพราะแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน และการฟังภาษามือต้องเรียน ซึ่งตนเองก็ต้องเรียนและฝึกใช้ภาษามือ พร้อมกันยังได้โชว์สกิลภาษามือ เพลงหมอกและควัน ให้สื่อมวลชนดูด้วย

'วราวุธ' หนุนช่วย 'คนพิการ' เข้าถึงสิทธิสวัสดิการอย่างทั่วถึง เร่ง ‘แก้กฎหมาย-จ้างงาน-เพิ่มศูนย์บริการ’ ครอบคลุมทั่วประเทศ

(18 ต.ค.66) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยม กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ว่า 

ได้ดำเนินงานและทิศทางการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการของประเทศ ภายใต้ Campaign 'EQUAL' เพื่อคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมบนพื้นฐานความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อให้ 'คนพิการ' เข้าถึงสิทธิสวัสดิการอย่างทั่วถึง นำไปสู่ 'ความคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมและครอบคลุม' 

ซึ่งได้มอบนโยบายให้ พก. ดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในการส่งเสริมให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สิ่งอำนวยความสะดวก สวัสดิการ และความช่วยเหลือต่าง ๆ ตามความต้องการและความจำเป็นที่เหมาะสม เร่งเพิ่มศูนย์บริการคนพิการทั่วไปให้ครอบคลุมทั่วประเทศในทุกมิติทั้งประเภทความพิการและบริการ และยกระดับองค์กรด้านคนพิการให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน พร้อมทั้งนำฐานข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย มาใช้ประโยชน์ เพื่อยกระดับศักยภาพคนพิการ

สำหรับการจ้างงานคนพิการตามที่กฎหมายกำหนด ขอให้ พก. ตระหนักถึงศักยภาพของคนพิการและตำแหน่งงานที่เหมาะสม มุ่งส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานตามมาตรา 33 และการส่งเสริมการประกอบอาชีพตาม มาตรา 35 อีกทั้งควรปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและให้ครอบคลุมคนพิการอย่างทั่วถึง ด้วยการใช้กลไกของคณะกรรมการด้านกฎหมาย ก่อนที่จะมีการรับฟังความคิดเห็น และควรบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นต่อการทำงานและการใช้งบประมาณกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนพิการเป็นสำคัญ

‘พม.’ พร้อมเยียวยาจิตใจ-ให้คำปรึกษา ‘เหยื่อก้าวไกล’ หากร้องขอ ปมถูก สส.คุกคามทางเพศ โดยไม่ตัดสินใครเป็นผู้กระทำผิด

(24 ต.ค. 66) เวลา 08.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเยียวยาจิตใจเหยื่อที่ถูก ส.ส.พรรคก้าวไกล (ก.ก.) คุกคามทางเพศว่า ในแต่ละเคสที่โดนกระทำนั้น หากมีการติดต่อเข้ามาทางกระทรวง พม. เราก็ยินดีเข้าไปให้คำปรึกษาโดยไม่ตัดสินว่า ใครเป็นผู้กระทำ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละเคสย่อมมีความกระทบกระเทือนด้านจิตใจ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่อยู่ภายใต้กระทรวง พม. จะเข้าไปดูแลสภาพจิตใจของเหยื่อผู้เสียหายในแต่ละเคส 

เมื่อถามว่า จะถูกมองว่าเป็นการเมืองระหว่างพรรค ก.ก. และพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) หรือไม่ นายวราวุธ กล่าวว่า ตนไม่คิดเช่นนั้น แต่เมื่อมีการร้องเรียนขึ้นมา ก็เป็นสิทธิของเหยื่อแต่ละคนที่จะดำเนินการ รวมถึงการกระทำเช่นนี้ก็มีขั้นตอนทางกฎหมายอยู่แล้ว ทั้งเรื่องกฎหมายจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กฎหมายอาญา หรือกฎหมายด้านอื่นๆ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะรับไปดำเนินการต่อไป 

‘วราวุธ’ สวน!! โซเชียลวิจารณ์นโยบายลดใช้ถุงพลาสติกช่วยหรือซ้ำเติม แนะ!! ดูสถานการณ์โลกบ้าง ฟากชาวเน็ตหนุน!! สิ่งแวดล้อมต้องช่วยกัน

(29 ต.ค. 66) มาตรการลดใช้ถุงพลาสติก งดแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจากร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เพื่อลดการกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ทางชีวภาพ รวมถึงส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยเริ่มลดการใช้ถุงพลาสติกตั้งแต่ 1 มกราคม 2563

อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวก็เกิดการตั้งคำถามมากขึ้น เพราะลดการแจกถุงพลาสติกฟรีแต่ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าชั้นนำหลากหลายพื้นที่กลับหันมาจำหน่ายถุงพลาสสิกสำหรับผู้ประสงค์จะซื้อถุงในราคาเริ่มต้น 15 บาท ว่าเป็นการช่วยเหลือประชาชนจริงหรือไม่

ดังที่มีเพจหนึ่งออกมาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวว่า “งงกับนโยบายเลิกใช้ถุงพลาสสิกของวราวุธ ห้างใหญ่สนองนโยบายไม่ให้ถุงแล้ว แต่หันมาขายถุงใบละ 15 บาท ช่วยหรือซ้ำเติม ปชช.กันแน่ วราวุธ”

งานนี้ ไม่ต้องสงสัยนาน เพราะ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ออกมาตอบกลับเอง โดยระบุว่า…

- “ก็ลองรวมหัวกันไม่ซื้อถุง ทำให้ห้างใหญ่ที่ผลิตถุงมาขายเจ๊งไปเลยสิครับ ได้ลองดูสถานการณ์โลกบ้างไหมครับ ว่าเข้าขั้นวิกฤตแค่ไหน”
- “สงสัยในประเด็นใดหรืออยากเปิดโลกทัศน์เพิ่ม ผมยินดีให้ความรู้ครับ”

นอกจากนี้ ยังมีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์ถึงประเด็นการงดแจกถุงพลาสติก ว่า…
- “ซื้อถุงก็ไม่จำเป็นต้องขายแพงขนาดนี้ก็ได้ครับ (ซื้อถุงเพราะความจำเป็นไม่ได้อยากซื้อ)”
- “เรื่องสิ่งแวดล้อม ทุกคนต้องช่วยกัน ปัญหาถึงจะเบาบางลง ไม่มีทางแก้ปัญหาได้”
- “เจตนาคิดค่าถุงราคาสูงก็เพื่อให้ลูกค้าคิดว่าแพงจะได้เตรียมถุงมาเองอย่างน้อยก็มีคนคิดว่าแพงแล้วละถูกต้องตามเจตนา!!”

‘วราวุธ’ ย้ำ!! พฤศจิกายนเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรง ชวนคนไทย สร้างความอบอุ่นต่อ ‘เด็ก-สตรี-บุคคลในครอบครัว’

(4 พ.ย.66) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า เนื่องในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น ‘เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว’ และวันนี้สังคมไทยของเรามีความเปราะบางมากเหลือเกิน ความเข้มแข็งความอบอุ่นในครอบครัว เป็นเกราะป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับเด็กและเยาวชนของเรา ความอบอุ่นของครอบครัวนั้นจะมาจากการเริ่มยุติความรุนแรงเสียก่อน แต่ไม่ใช่ยุติความรุนแรงแค่เดือนพฤศจิกายนนี้เท่านั้น แต่เราต้องยุติความรุนแรงในทุกวันทุกปีและตลอดไป เพื่อให้เด็กและเยาวชนของเรานั้นเติบโตมาในครอบครัวที่มีความอบอุ่น ปกป้องสิทธิของสตรีและดูแลสมาชิกทุกคนในครอบครัว เราต้องมาช่วยกันรณรงค์ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็น ‘เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว’

รมว.พม. กล่าวว่า สำหรับสัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาว ‘White Ribbon’ เป็นสัญลักษณ์สากลที่ใช้ในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว เพื่อแสดงจุดยืนของการไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวทุกรูปแบบ

หากพบเห็นการกระทำความรุนแรงในสังคม สามารถแจ้งเหตุมาที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน พม. 1300 บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง หรือ แจ้งเหตุผ่าน Line OA ‘ESS Help Me’ เพียงกดเพิ่มเพื่อน @esshelpme ซึ่งกระทรวง พม. โดย ทีม ‘พม. หนึ่งเดียว’ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่

‘วราวุธ’ เร่งประสาน ‘ตร.-หน่วยงานเกี่ยวข้อง’ แก้ปมขอทาน ฝากปชช.ช่วยเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแส ย้ำ!! ถ้าถูกขออย่าให้

(23 พ.ย. 66) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงกรณีการแก้ไขปัญหาขอทานชาวต่างชาติที่เข้ามาหากินในประเทศไทย ว่า กรณีขอทานที่มาหากินในประเทศไทย ยืนยันว่าขอทานเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย ไม่สามารถทำได้ เพราะผิดกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติก็ไม่สามารถจะมาขอทานได้เพราะเรามีกฎหมายเอาผิด และเมื่อจับตัวได้แล้วหากเป็นคนไทยทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็จะรับช่วงต่อจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อนำตัวเข้าสู่สถานคุ้มครอง แต่หากเป็นขอทานชาวต่างชาติ กระทรวงพม. จะประสานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อส่งให้กระทรวงการต่างประเทศ ส่งกลับประเทศต้นทาง  หรือหากพิสูจน์ได้ว่าหากเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ ก็จะเข้าสู่กระบวนการภายหลังการคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism - NRM) ในการตรวจสอบและดำเนินการต่อไป 

นายวราวุธ กล่าวว่า การที่มีภาคเอกชนเข้ามาช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับภาครัฐเราก็ต้องขอขอบคุณ การที่ออกสื่อเป็นประจำก็เป็นสิ่งที่ช่วยในการแจ้งเบาะแสได้ ทางเจ้าหน้าที่กระทรวงพม. ได้ร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานในพื้นที่ เช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งทำงานร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง หากประชาชนคนใดพบเห็นเหตุ ขอให้แจ้งเบาะแสเข้ามาได้ เพราะนอกจากเอกชนแล้วกระทรวงพม. และหน่วยงานของรัฐเราก็มีศูนย์รับแจ้งโดยตรงเช่นกัน อาจจะทำงานไม่ทันใจเราก็ต้องขออภัย เพราะจำนวนเจ้าหน้าที่มีอยู่หยิบมือเดียวหากเทียบกับประชาชนทั่วประเทศที่จะช่วยเป็นหูเป็นตาได้ หากทุกคนช่วยกันแจ้งเบาะแสเข้ามาเราต้องขอขอบคุณ

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ขอทานต่างชาติเป็นชาวจีนถูกจับถึง 7 คน นั้น มองว่าเป็นขบวนการหรือไม่ นายวราวุธ กล่าวว่า ทุกอย่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องดูสาเหตุว่าการที่เขาเดินทางเข้าประเทศ เป็นการเดินทางเข้ามาอย่างไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการใดหรือไม่  แต่ทางกระทรวงพม. เราไม่มีอำนาจในการสอบสวนหรือดำเนินการ ดังนั้นต้องรอข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนประเทศไทยเองก็มีขบวนการขอทาน ในเชิงธุรกิจสงเคราะห์เช่นกัน ตรงนี้ทางกระทรวงพม. จะเข้าไปแก้ปัญหาอย่างไร รมว.พม. กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ของกระทรวงพม. เราทำงานร่วมกับอีกหลายภาคส่วน มีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ทำงานควบคู่กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่การที่จะบอกว่าเป็นขบวนการหรือไม่นั้น เราก็ต้องทำงานร่วมกับตำรวจในการดูว่า มีการทำงานอย่างเป็นขบวนการหรือไม่ ขอย้ำว่า ปัญหาเรื่องขอทานไม่ยากเลยหากประชาชนที่เดินผ่านไปผ่านมา ร่วมใจกันอย่าให้เงินแก่ขอทาน เมื่อเขาไม่ได้เงินมันก็ไม่เป็นธุรกิจ ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วการแก้ปัญหาขอทานถ้าว่ายากมันก็ยาก ปราบปรามเก็บกวาดเท่าไหร่ก็เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ การแก้ปัญหาขอทาน คือ ไม่ให้เงินขอทานเท่านั้นก็จบ เพราะเท่าที่มีข้อมูลขอทานบางคนมีเงินมากกว่านักศึกษาจบปริญญาตรีเสียอีก ดังนั้นสำคัญที่สุดคือคนไทยเป็นคนใจบุญแต่เราต้องใจบุญในทางที่ถูกต้องดีกว่า อย่าส่งเสริมในทางที่ผิดกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ล่าสุดมีการสรุปหรือไม่ว่าขอทานชาวจีนที่ถูกจับนั้น ร่วมขบวนการขอทานข้ามชาติหรือไม่ นายวราวุธ กล่าวว่า การจะได้ข้อมูลดังกล่าวเราต้องรอทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ กระทรวง พม. ไม่มีอำนาจไปสอบสวน และที่สำคัญเราต้องใช้ทีมสหวิชาชีพในการเข้าพูดคุย ตรวจสอบกับผู้เสียหายก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทำงานเพื่อนำข้อมูลประสานงานกับทางตำรวจ การจะตัดสินได้ว่าเป็นขบวนการค้ามนุษย์ หรือเป็นขบวนการอย่างไรนั้น มีขั้นตอน และมีองค์ประกอบอยู่ ซึ่งการตรวจสอบในชั้นนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังตรวจสอบว่าเข้าข่ายหรือไม่ อย่างไร ซึ่งหากทราบผลตำรวจคงได้แจ้งให้ประชาชนทราบว่าเป็นขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่ แต่ตอนนี้ต้องรอความชัดเจนจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียก่อน 

เมื่อถามว่า ในบ้านเราที่ผ่านมาเคยมีกระบวนการลักษณะนี้หรือไม่ที่จะเข้าข่ายค้ามนุษย์ และนำเข้ามาเพื่อการแสวงหาประโยชน์ นายวราวุธ กล่าวว่า เคยมี ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เราต้องเร่งทำงาน เพราะประเทศไทยต้องส่งทริปรีพอร์ตให้กับสหรัฐ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่าเป็นขบวนการค้ามนุษย์ ดังนั้นเท่ากับว่ายังไม่กระทบกับการทำทริปรีพอร์ตของไทย ยังมีเวลาอีกสักพักหนึ่ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่มีล่ามหรือทนายความคนเดิมๆ เข้ามาช่วยในคดีขอทานจีน จะสามารถมองได้หรือไม่ว่าเป็นขบวนการค้ามนุษย์ นายวราวุธ กล่าวว่า มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็น แต่การที่จะยืนยันให้ได้ว่าเป็นขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่นั้นต้องขอให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นคนยืนยัน คงจะไม่ใช่ทางกระทรวงพม.ที่จะยืนยัน

‘ชาวเน็ต’ ฉะ!! ‘ติ่งส้ม’ หลังแซะคลิป ‘รมว.วราวุธ’ ฝึกภาษามือ ชี้!! เรื่องดีที่ควรสนับสนุน วอนแยกแยะ หยุดเหยียด-บูลลี่ผู้พิการ 

(26 พ.ย. 66 ) บนโลกโซเชียลได้มีการวิจารณ์ผู้ที่ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลและนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ มีผู้ติดตามกว่า 12,600 ราย โพสต์วิดีโอคลิปจากติ๊กต็อกของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กำลังทำภาษามือเพื่อสื่อสารถึงผู้พิการ โดยระบุข้อความว่า “มึงรัฐมนตรีประเทศกูแต่ละคนสิ อี…”

ปรากฎว่าชาวเน็ตที่พบเห็นต่างแสดงความไม่พอใจ วิจารณ์ผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกลจำนวนมาก อาทิ

- อันนี้ไม่ควรแซะครับ เขาฝึกใช้ภาษามือครับ ภายใต้กระทรวงที่เขาดูแล ก่อนวิจารณ์หรือแซะอะไร ใช้สติปัญญา ไตร่ตรองเยอะๆ หน่อยครับ สมองอะ คิด วิคราะห์ แยกแยะ มือไม่พาย อย่าเอาเท้าราน้ำ

- อันไหนดีก็ควรชื่นชมนะ อย่ามาแซะอะไรแบบนี้เลย และที่เขาทำมันก็เหมาะสมแล้วเพราะกระทรวงที่เค้าดูแลมันก็คือเรื่องผู้พิการโดยตรง

- เราว่าอันนี้เขาทำดีนะคะ คือ การพยายามที่จะสื่อสารกับคนที่ไม่ได้สื่อสารภาษาเดียวกัน คือเป็นเรื่องที่ดีค่ะ

- เขาเห็นถึงความสำคัญของผู้พิการทางการได้ยิน มันไม่ดีตรงไหนเหรอคะ?

- ผมก็เป็นส้มนะ แต่อย่าไปอคติให้มันมากครับ ฝั่งเราร้องเพลงยังเห็นชมกันเลย

- แซะการใช้ภาษามือ มึงนี่เหยียดคนพิการมากๆ เลยนะ ด้อมส้มมันสันดานแบบนี้ของแท้

- จะให้เอาคลิปคนในสังกัดก้าวไกลเต้นเย้วๆ เต็มติ๊กต็อกมาลงแหกไหมครับ

- ใช้อคติ บังตา จนไม่เห็นว่าเขาทำอะไร

- เขาฝึกภาษามือเผื่อประโยชน์ในการทำงาน สื่อสารกับคนหูหนวก ที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่เขาดูแลไหม เสียหายตรงไหน?

- แล้วการใช้ภาษามือผิดอะไรถึงเอามาแซะ?

- ลองเป็นคนหูหนวกดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่ามันยิ่งใหญ่ขนาดไหน ในสิ่งที่ รมว.ทำ คนเท่าเทียมกันไม่ใช่หรือ หรือเค้าแค่พิการสิทธิ์ใด ๆ ของเค้าจึงหายไปด้วย อย่าใจร้ายกันนักเลย

- มึงไม่ชอบคงไม่แปลกหรอกฮะ ปกติของด้อมส้ม ปากว่าเท่าเทียม คนเท่ากัน ไม่คุกคามทางเพศ บลาๆ ... จากที่เห็นก็แค่ใช้ในทางโฆษณาก็เท่านั้น สุดท้ายแ...งเข้าตัวทุกดอก น่าเวทนาฉิบ

- มึงดูคนมาวิจารณ์รัฐมนตรีประเทศกูสิ มันความคิดตื้นเขิน เหยียดคนพิการ แต่ปากเรียกร้องความเท่าเทียม มันกำลังเรียกร้องสิ่งที่มันไม่รู้จัก

- เมื่อไหร่จะเห็นด้อมส้มคิดวิเคราะห์ แยกแยะได้เป็นเสียทีนะ อ.ปิยบุตรก็เตือนแล้ว แถมออกตัวว่าไม่ใช่นางแบก แต่เขาเตือนด้วยความเป็นจริง คุณท็อปร้องเพลงภาษามือผิดตรงไหน อย่าลืมสิ ว่าคนเล่นออนไลน์มีทั้งคนหูหนวกด้วย เขาเคยแนะวิธีทำมือขอความช่วยเหลือเมื่อถูกคนลักพาตัวหรือบังคับขู่เข็ญนะ

- สงสัยมึงชอบคลิปแนวเต้นแหก...ของ สส.ก้าวไกลนะคะ

- ส่วนตัวมองว่า ทำดีนะ เพราะเขาอยู่กระทรวงที่ต้องดูแลคนพิการ ที่ 1 ในนั้น มีคนหูหนวก เขาใช้ภาษามือได้ ก็เป็นสัญญานการเปิดประตูสู่มิตรภาพที่ดีระหว่างกัน ดีออก

- เขาอยากให้คนใบ้ได้รู้เรื่อง ไหนพวกมึงบอกคนเท่ากัน เขาศึกษาการใช้ภาษามือ แล้วมึงด่า มึงแขวนเขาทำไม คนเท่ากันไม่จริงนี่หว่า

- ปัญญาอ่อน ... มึงนะอ่อน เข้าฝึกใช้ภาษามือ เพื่อสื่อสารกับคนหูหนวก แ...งมีประโยชน์กว่าบักเหบือก (คาดว่าสื่อถึงนายวิโรจน์ ลักษณาอดิศร) ไปเต้นลงติ๊กต็อกอีก

- ฝึกภาษามือผิดตรงไหน เรื่องอื่นๆ ท่านก็ทำ อย่างสัปดาห์ที่แล้ว ท่านก็เป็น 1 ใน panelists ของ The Seventh Asian and Pacific Population Conference ที่จัดโดย UN ESCAP ลองไปหาฟังนะ (ถ้าฟังภาษาอังกฤษออก)

- อีเ...ย อันนี้คือมึงใช่มั้ย...? เป็นอะไรมากป่าวสมองอคติของมึงอ่ะ ถึงเขาจะมีตำแหน่งอะไร เขาร้องเพลงด้วยภาษามือ แล้วมันหนักหัวมึงตรงไหน เอาเขามาแขวนด่าทำไม..? ยิ่งนับวันด้อมมึงยิ่งต่ำตมกู่ไม่กลับนะ

- เขาใช้ภาษามือ เพื่อกลุ่มคนที่มีปัญหาทางร่างกาย ให้เข้าถึงกลุ่มนี้ แต่ติ่งส้มก็เหยียดเค้า คราวที่แล้วก็เหยียดเรื่องภาษาอังกฤษ ว่าภาษาอังกฤษกะเหรี่ยง คนในพรรคมีทั้งกลุ่มคนชาติพันธุ์และคนพิการ แต่ดูติ่งส้มทำ กนห. (ก้าวหน้าห...) สุดๆ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top