Sunday, 26 May 2024
ผู้ว่ากทม

'สวนสาธารณะเบญจกิติ' สร้าง 30 ปี  แทบพังป่นปี้ในสองร้อยกว่าวัน!

ภาพผืนหญ้ากรอบเกรียมเหือดแห้งเหมือนซากหนังสัตว์ถูกแปะเกาะไว้บนเนินดินซึ่งห้อมล้อมด้วยมวลน้ำที่ห่างไกลว่าสะอาด ถูกเผยแพร่ไปมากมายหลายครั้งบนโซเชียลมีเดีย ภายใต้หัวข้อการพูดคุยถึงปัจจุบันของ 'สวนป่าเบญจกิติ' อันขาดซึ่งการดูแลจนมีสภาพเยี่ยงนี้

เป็น 'สวนสาธารณะเบญจกิติ' ที่คนกรุงเทพฯ รอคอยมานานเกินกว่าสามสิบปี

ก่อนกำเนิดสวนเบญจกิติเช่นวันนี้ สถานะที่ตั้งเดิมคือ 'โรงงานยาสูบ' ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เดินกิจการ 'เผาปอด' คนไทยเกินกว่า 40 ปี จนมีคำสั่งคณะรัฐมนตรีให้ย้ายโรงงานออกไปยังภูมิภาค และ 'ต้อง' พัฒนาพื้นที่เดิมขึ้นเป็นสวนสาธารณะ องค์การฯ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายพื้นที่ 'คืน' แด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ (พระราชอิสริยยศขณะนั้น) จำนวน 140 ไร่ เพื่อสร้างสวนน้ำ โดยมีบึงน้ำเก่าความจุ 320,000 ลูกบาศก์เมตร (ชาวบ้านมักเรียกว่า - บึงโรงงานยาสูบ) เป็นปฐม

รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ส่งไม้ต่อ โดยชงเรื่องสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (2535) และนำที่ดินดังกล่าวขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายอย่างเป็นทางการ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนสาธารณะแห่งใหม่นี้ว่า 'เบญจกิติ'

เรื่องล่วงเลยเนิ่นนานผ่านนายกรัฐมนตรีถึง 8 คน จนแทบลืมเลือน 'สวนป่า' ที่ได้รับการดูแลเพียงงบประมาณประจำปีเล็กน้อยจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง กระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 องค์การยาสูบฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดินเพิ่มเติมอีก 311 ไร่

จนกาลจำเนียรผ่านถึงยุคนายกรัฐมนตรีชื่อ - พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่หันมาเอาจริงเอาจัง โดยได้ติดตามกำกับดูแล แก้ปัญหาต่างๆ นานา อย่างต่อเนื่อง ผ่านรายงานความคืบหน้าโครงการจัดสร้าง 'สวนป่าเบญจกิติ' เป็นระยะ อย่างไม่มีรัฐบาลไหนเคยใส่ใจมาก่อน โดยนายกฯ ตั้งใจเพียงว่า ต้องดำเนินงานสร้างสวนนี้ให้เสร็จสิ้นลงภายใต้รัฐนาวาของตนให้ได้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยตั้งกองทัพบกเป็นหน่วยงานดำเนินการก่อสร้าง ทั้งระยะแรก (140 ไร่) และระยะสอง (311 ไร่)

‘4 รองผู้ว่า กทม.’ เผย ความในใจถึง ‘ผู้ว่าฯ ชัชชาติ’ หลังร่วมงานเพื่อเดินหน้าพัฒนากรุงเทพฯ ครบ 1 ปี

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 66 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แถลงผลงาน ‘365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน ตามนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการทำงาน

โดยนายชัชชาติ กล่าวว่า วันนี้ไม่ได้เป็นการแถลงผลงานตนเอง แต่เป็นการแถลงผลงานของทีม กทม. ซึ่งทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ ทั้งข้าราชการ บุคลากร และ ส.ก. โดยหลักการทำงานในปีแรกจะเป็นปีของการนำนโยบายมาทำ Sandbox หรือต้นแบบ โดยเริ่มต้นจากการทำต้นแบบเล็กๆ นำแนวคิดนโยบายมาทดสอบ เมื่อประสบความสำเร็จ จะเป็นการต่อยอด และขยายผลนโยบายไปสู่การปฏิบัติในวงกว้าง

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของการแถลง ได้มีการถามความใจในของท่านรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 4 ท่าน กับการทำงานร่วมกับท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา โดยท่านแรก รองศาสตราจารย์วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ตอบว่า…

“จริงๆ แล้ว ผมค่อนข้างคุ้นชินกับสไตล์ารทำงานของท่านอาจารย์ชัชชาติอยู่แล้ว เพราะผมเคยช่วยงานท่านมาก่อน หากถามว่า ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา มีเรื่องหงุดหงิดอะไร ก็คงจะเป็นเรื่องของระบบภายในที่มีความล่าช้า และยังไม่รวดเร็วทันใจมากพอ เพราะในหลายๆ เรื่อง ผมคิดว่าเราน่าจะทำได้เร็วกว่านี้ แต่เนื่องจากติดขัดในส่วนของกระบวนการต่างๆ ทำให้การดำเนินการต่างๆ ยังไม่คล่องตัวมากเท่าที่ควรจะเป็น 1 ปีผ่านไปเร็วมากครับ นึกว่าเพิ่งผ่านไปแค่ไม่กี่เดือน เพราะท่านผู้ว่าฯ ก็ลงพื้นที่ตลอด และมีโจทย์ใหม่ๆ มาให้ทำ มีปัญหามาให้แก้ไขกันอยู่ทุกวัน คอยตามจัดการสะสางงานที่ได้รับคำสั่งการมาครับ”

ท่านต่อมา รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวความในใจว่า…

“เวลาทำงานลงพื้นที่ ท่านผู้ว่าฯ จะชอบถามคำถามว่า “ว่ายังสนุกอยู่หรือเปล่า?” ก็ขอตอบว่า สนุกค่ะ ยังอยากทำอยู่ และยังมีอีกหลายเรื่องที่อยากทำ ก่อนเข้ามารับตำแหน่ง เคยมีความเชื่อว่าตัวเองมีความรู้เกี่ยวกับ กทม.อยู่พอสมควร แต่เมื่อเข้ามาและเจอนโยบายที่ท่านผู้ว่าฯ อยากให้ทำ มันเหมือนกับว่าเราต้องเรียนรู้ใหม่เกือบทั้งหมดเลย เพราะว่ารายละเอียดต่างๆ มันเยอะมาก และถนนในกรุงเทพฯ ที่เคยคิดว่ามันมีความกว้างเพียงพอ ไม่ได้เล็กอะไร เมื่อลงพื้นที่ อยู่ๆ ก็รู้สึกว่าถนนหนทางดูเล็กลงไปมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ชอบมาก คือ ผู้ว่าฯ จะลงพื้นที่ไปดูงานให้ เนื่องจากที่ผ่านมา ไม่เคยมีผู้บริหารคนไหน คอยลงพื้นที่ติดตามงานให้มาก่อน ตรวจเช็กความเรียบร้อย เป็นเหมือนกระบวนการตรวจสอบให้ด้วย ซึ่งตรงนี้ช่วยให้งานของรองผู้ว่าทั้ง 4 คนนั้น ลดลงไปมากพอสมควร และยังให้คำแนะนำในส่วนที่เรายังมีความบกพร่อง ว่าควรแก้ไขตรงจุดไหนเพิ่มเติม มีความท้าทายใหม่ๆ ทุกวัน ตอน 6 โมงเช้าจะมีงานใหม่ๆ ส่งมาให้ทุกวัน ก็รู้สึกดีค่ะ มีพลังงานในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม”

ท่านต่อมา นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวความในใจว่า…

“นอกจากการทำงานที่เราทุกคนจะมีการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ลักษณะของผู้บริหารที่มาจากการแต่งตั้ง และมาจากการเลือกตั้ง ย่อมมีความแตกต่างกัน ลักษณะการเข้าถึงประชาชน การใกล้ชิดกับประชาชน การยึดโยงประชาชนเป็นส่วนรวม ก็ย่อมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น การทำงานก็ย่อมไม่เหมือนกันด้วย การทำงานในตอนนี้ให้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น และในขณะเดียวกัน เราทุกคนก็พยายามทำทุกอย่างเพื่อประชาชนทุกคนที่เลือกตั้งท่านผู้ว่าฯ มา”
.
และต่อมา ท่านสุดท้าย นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวความในใจว่า…

“สนุกมากครับ เหมือนเป็นงานในฝันที่เราอยากทำ ทำให้เราอยากตื่นขึ้นมาทำงานทุกวัน และมีความตั้งใจที่อยากจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นมากกว่านี้ยิ่งๆ ขึ้นไปในทุกวัน และรู้สึกว่า ถ้าพวกเรามีเวลามากกว่านี้ หรือได้ทำให้ละเอียดมากกว่านี้ ผมเชื่อว่าภาพรวมจะออกมาดีกว่านี้”

นอกจากนี้ ท่านผู้ว่าฯ ชัชชาติ ยังได้กล่าวความในใจของตัวเองทิ้งท้ายไว้อีกด้วย “พวกเราทำงานร่วมกันเป็นทีม ผมต้องขอขอบคุณทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่ายที่รวมแรงรวมใจกัน ตั้งแต่ท่านปลัด พี่ๆ เพื่อนๆ ตลอดจนถึงถึงเจ้าหน้าที่ กทม.ทุกท่าน ผมคิดว่าเราไม่มีดีไปกว่าทีมงานของเราได้ ต่อให้นโยบายที่เราคิดกันมาจะดีแค่ไหนก็ตาม หากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ซึ่งเปรียบเหมือนโซ่ข้อสุดท้ายที่เชื่อมเรากับประชาชน ถ้าหากเขาไม่ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดี ทุกอย่างๆ ก็คงไม่มีทางออกมาดีได้ และผมต้องขอกราบเรียนตรงนี้เลยว่า ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ผลงานของชัชชาติ แต่เป็นผลงานของทีม กทม.ทุกคน และงานในหลายๆ เรื่องก็ไม่ใช่งานที่ทำให้สมัยนี้ด้วย เป็นงานที่ต่อเนื่องกันมานานแล้ว จึงขอถือว่าเวลาแถลงก็แถลงในนาม กทม.”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top