Thursday, 9 May 2024
นโยบาย

‘จิ๊บ ศศิกานต์’ ชี้ ‘แจกเงินดิจิทัล’ หัวหน้าพรรคพูดไม่ตรงกับเอกสาร แนะ พิจารณานโยบายให้ถี่ถ้วน ต้องมีความชัดเจน-ทำได้จริง

เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 66 จากกรณีที่พรรคเพื่อไทย ประกาศนโยบายหาเสียงด้วยการแจกเงินดิจิทัล จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้ รวมไปถึงประเด็นที่ว่า เงินดิจิทัลที่จะนำมาแจกนั้นขัดต่อกฎเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่ เพราะถือเป็นการออกเงินตราอย่างหนึ่ง ซึ่งทาง ธปท.ยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการ

แม้ว่าล่าสุด จะได้มีการแจงผ่านรายการพิเศษ ‘เลือกตั้ง 66 เปลี่ยนใหม่หรือไปต่อ’ ตอน ยุทธศาสตร์เลือกตั้งภาคเหนือ ทางช่อง 3 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 โดยระบุว่า ‘เงินดิจิทัล’ ที่จะแจกให้ประชาชนนั้น ไม่ใช่เงินดิจิทัล แต่เป็นเงินสกุลบาท ที่ใส่เข้าไปในกระเป๋าเงินดิจิทัล

‘บิ๊กป้อม’ ปลื้ม ‘พปชร.’ กระแสดี มั่นใจ!! นโยบายกินขาด ลั่น!! พร้อมจับมือทุกพรรค หากนโยบายต้องตรงกัน

(4 พ.ค. 66) ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์หลังแถลงสรุปภาพรวมนโยบายของพรรค พปชร.ถึงถึงเรตติ้งความนิยมของพรรคที่เพิ่มขึ้น หลังนำทีมแกนนำนั่งรถไฟลงพื้นที่ ว่า ดีใจ ถ้าผู้สื่อข่าวสนับสนุน พรรค พปชร.ก็ดีขึ้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า อีก 9 วัน จะถึงวันลงคะแนนเลือกตั้ง มีความพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี คนต่อไป มากน้อยแค่ไหน พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า จะว่าพร้อมก็พร้อม แล้วแต่ประชาชนจะเลือก ถ้าเลือกตนก็พร้อม

เมื่อถามว่า ได้ดูกระแสตอบรับของพรรคในโซเชียล มีเดียบ้างหรือไม่ พล.อ.ไม่ได้ดูเลย

เมื่อถามว่า มองนโยบายภาพรวมแล้วมีความมั่นใจอย่างไรบ้าง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ถ้าไม่มั่นใจก็คงไม่ประกาศออกไป มั่นใจว่าเราทำได้ ถ้าเราได้เป็นรัฐบาลก็ทำได้ทันที เมื่อถามว่า โค้งสุดท้ายจะมีอะไรมาตีตื้นคะแนนเป็นหมัดเด็ดหมัดน็อกหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า สื่อนั่นแหละ สื่อจะเลือกหรือเปล่า ถ้าคุณเลือกก็ได้

เมื่อถามว่า หลายพรรคเริ่มมีการตีกันจะไม่จับขั้วรัฐบาล โดยระบุว่า พรรคพลังประชารัฐเป็นหนึ่งที่จะไม่จับมือด้วย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ไม่เป็นไร “ใครไม่จับผมก็อยู่คนเดียว” ถ้าได้ 300 กว่าเสียงแล้วจะไปจับกับใครล่ะ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชน ปล่อยให้ประชาชนเป็นคนตัดสินใจเอาแล้วกันว่าจะเลือกใคร ถ้าเขาอยากพูดก็พูดกันไป เพราะอยู่ที่การตัดสินใจของประชาชนเป็นหลัก ก็ต้องเชื่อมั่นในประชาชน ต้องไว้ใจประชาชนว่าเขาจะเลือกใคร

เมื่อถามว่า ผลโพลที่ออกมาขณะนี้แสดงว่าเชื่อไม่ได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า โพลใครก็ทำได้ ก็เป็นความคิดของคน ได้ไปถามทุกบ้านหรือเปล่า ถามทุกคนหรือเปล่า แล้วทุกคนตอบหรือเปล่า มันก็อย่างนี้แหละโพลก็คือโพล เมื่อถามว่า จากการลงพื้นที่และได้สัมผัสประชาชนโดยตรง รวมถึงกระแสพรรคพลังประชารัฐตอนนี้ จะทำให้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนไม่รู้ ก็แล้วแต่ประชาชน จะไปคิดข้างหน้าได้อย่างไร สื่อคิดก็ตอบเอาเองก็แล้วกัน เมื่อถามว่าจากการลงพื้นที่เชื่อมั่นในประชาชนหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็เชื่อมั่น ตนลงพื้นที่มาตลอดทั้งปี พื้นที่เขาก็ต้อนรับตน ไม่เห็นมีใครมาด่าเลย

‘ก้าวไกล’ นโยบายเร่งด่วน 100 วัน เรื่องฝันๆ หรือทำได้จริง?

ยังมีปัญหาความวุ่นวายให้แก้ หลัง ‘นายพิธา  ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นำ 8 พรรค 313 เสียง ลงนาม ‘เอ็มโอยู’ ประกาศแนวทางนโยบายร่วมกัน 23 ข้อ กับ อีก 5 แนวปฏิบัติของพรรคร่วมรัฐบาล

แต่เส้นทางการก้าวขึ้นสู่อำนาจ ของรัฐบาลก้าวไกลก็ยังไม่ราบรื่น นอกจากต้องหาเสียงสนับสนุนให้ถึง 276 เสียงเพื่อโหวตนายกฯ แล้ว ปัญหาการแช่งชิงตำแหน่ง ‘ประธานสภาฯ’ กับพรรคเพื่อไทยก็ยังตกลงกันไม่ได้

แต่หากพรรคก้าวไกล สามารถฝ่าด่านไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็น่าสนใจว่า ในช่วง 100 วันแรก  ซึ่งก่อนหน้านี้ ‘พิธา’ เคยออกมาแถลง ‘โร้ดแมป’ ที่จะเร่งทำให้ ‘การเมืองดี ปากท้องดี มีอนาคต’ จะเป็นไปตามนั้นหรือไม่  วันนี้ลองมาทวนดู ว่าสิ่งที่เคยให้คำมั่นไว้ มีอะไรบ้าง 

สำหรับ 100 วันแรก ที่ ‘ก้าวไกล’ ประกาศจะทำทันที เช่น การเสนอ ครม.ทำรัฐธรรมนูญใหม่ เปิดทางให้มี สสร. จากการเลือกตั้ง ให้รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลงบประมาณ เอากฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่พิจารณาค้างมาจากรัฐบาลที่แล้ว มาทำให้เสร็จ ยกเลิกบังคับใส่ชุดนักเรียน และทรงผม พร้อมกับแก้สูตรค่าไฟ เดินหน้าสุราก้าวหน้า ออกโฉนดนิคมสหกรณ์ และนิคมสร้างตนเอง และเปิดเสรีโซลาร์เซลล์

ส่วนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากออกหวยใบเสร็จแล้ว ที่ดูท้าทายมากที่สุดคือ ‘การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาท’

หลังนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นำทีมไปที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อรับฟังข้อเสนอนโยบายสะท้อนปัญหา และข้อกังวลจากตัวแทนภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาท ซึ่งก็พบว่า แม้ก้าวไกลจะตั้งเป้าทำทันที แต่นายพิธา ก็ย้ำว่า การขึ้นค่าแรงจะขึ้นตามใจตัวเองไม่ได้ เพราะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝั่ง ทั้งนายจ้าง ที่จะสามารถควบคุมต้นทุนได้ ขณะที่ลูกจ้างก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานสามารถเกิดขึ้นได้จริง

‘ค่าแรง 450 บาท’ เป็นโจทย์ต้นๆ ที่พรรคก้าวไกล เลือกหยิบมาเดินหน้าทำ ซึ่งก็อาจเป็นกระจกสะท้อนให้เห็น ว่า นโยบาย 100 วัน ที่อยากเห็น กับความจริงที่เป็น อาจยังเป็นคนละภาพกัน ซึ่งแต่ละเรื่องไม่ง่าย เพราะมีรายละเอียด และความเห็นแตกต่างที่ต้องนำมาพิจารณาให้รอบด้าน ขณะเดียวกันก็ต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อดำเนินการผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ซึ่งท้ายที่สุดหากฝ่าด่านอุปสรรคนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็รอลุ้นว่าจะสามารถผลักดันตามที่ประกาศไว้ได้หรือไม่

‘นักวิชาการ’ เผย เห็นด้วย รบ.ใหม่ปรับแก้เก็บภาษีไม่เป็นธรรม แนะ โครงสร้างส่วนใหญ่ดีอยู่แล้ว ปรับเปลี่ยนแค่บางเรื่องก็พอ

เมื่อไม่นานมานี้ นายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘Pat Hemasuk’ ถึงประเด็น นโยบายปรับโครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม ของแคนดิเดตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ภายใต้การทำงานของรัฐบาลชุดใหม่ โดยระบุว่า…

“ในสังคมคอมมิวนิสต์ยังทำไม่ได้เลยครับ ลองคิดดูว่าข้าวในจานของวิศวกรสร้างจรวด กับข้าวในจานของคนสานตะกร้า คุณภาพอาหารมันยังไม่เท่าเทียมกันเลย ถึงแม้จะกินอิ่มเหมือนกันก็ตาม 

สิ่งที่ควรคิด คือ ทำอย่างไรให้มีช่องทางหาข้าวจากนอกบ้าน มาเติมเพิ่มให้จานทุกใบในบ้านกินได้ดีขึ้น อิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่ไปแย่งเอาข้าวในบ้านจากจานของคนทำงานหนักกว่า มาใส่ในจานคนทำงานน้อย

แบบนี้ใครจะอยากทำงานหนักตอนหนุ่มเพื่ออนาคตตอนแก่ของตัวเอง ที่เงินถูกสูบออกไปในรูปของภาษีที่เกินกว่าเหตุในทุกช่องทางอยู่ตลอดเวลา อีกสิบปีข้างหน้า คนแก่ที่ไม่ได้ทำงานแล้วจะเหลือเงินให้กินใช้เพียงพอก่อนตายหรือเปล่าก็ไม่รู้

ผมไม่แปลกใจหรอกนะ ที่ตลาดหุ้นตลาดทุนมันเจริญลงฮวบๆ อย่างที่เห็นในเวลานี้ คงได้เห็นการดิ่งลงทะลุแนวต้านที่พันห้าร้อยในเวลาอันใกล้

ทุกรัฐบาลในอดีตเน้นการเรียกทุนต่างชาติจากภายนอกให้เข้ามาในประเทศ ไม่ต่างกับการหาข้าวนอกบ้านมาเติมให้จานข้าวทุกใบมีอาหารมากขึ้น

ผมเห็นด้วยในนโยบายบางเรื่องของแคนดิเดต รมว.คลังของรัฐบาลใหม่ ที่จะปรับโครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม ผมเน้นอีกที่ว่า ‘บางเรื่อง’ เท่านั้น แต่ไม่ใช่ทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องไปแตะมันแล้ว คือ การสร้างความวิบัติให้ระบบโครงสร้างหลักที่กำลังเดินมาดีแล้วให้หยุดลง

ผมรู้ ทุกคนรู้ ว่าการออกไปหาข้าวนอกบ้านมาเติมในจานทุกคน มันยากกว่าที่จะแย่งข้าวในจานคนอื่นบนโต๊ะอาหารเดียวกัน ถ้ายังไม่เลิกความคิดแบบนี้ ระบบเศรษฐกิจจะล้มจากภายใน ที่เป็นการล้มที่แก้คืนได้ยากมาก สำหรับรัฐบาลที่จะเข้ามาใหม่ในอีกหลายปีข้างหน้า ที่ต้องมาเช็ดขี้รัฐบาลก่อนหน้า คือ รัฐบาลที่กำลังจะมีในเวลานี้ที่ขี้แตกทิ้งไว้เต็มเก้าอี้ไปหมด

รถเมล์สายประเทศไทยคันเดิมมันดีอยู่แล้ว ส่วนที่เสียต้องซ่อมไม่ถึง 5% หรอกครับ ซ่อมได้ แต่อย่าไปรื้อเครื่องยนต์เก่าออกหมด แล้วเอาเครื่องใหม่ที่ยังไม่รู้เลย ว่าจะติดเครื่องได้หรือเปล่ามาฝันละเมอว่าดีกว่าแล้วใส่แทน นั่นคือความวิบัติของประเทศจากคนด้อยประสบการณ์ แต่คิดว่าตัวเองเก่งสุดในสามโลก”

 

สภาไฟเขียว!! แถลงนโยบาย 2 วัน รวม 30 ชั่วโมง ด้าน ‘วันนอร์’ เผย ‘ก้าวไกล’ รับปากไม่ใช้เป็นเวทีซักฟอก

(7 ก.ย. 66) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วม 3 ฝ่าย (วิป 3 ฝ่าย) โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม และมีตัวแทนจากวุฒิสภา (สว.) สส. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาทิ นายสมคิด เชื้อคง ตัวแทน ครม. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ นายประมวล พงษ์ถาวราเดช สส.ประจวบคีรีขันธ์ และประธานสส.พรรคประชาธิปัตย์ นายมหรรณพ เดชพิทักษ์ สว. เป็นต้น เพื่อวางกรอบเวลาการอภิปรายการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภา และแบ่งสัดส่วนเวลาของแต่ละฝ่าย ซึ่งใช้เวลาการประชุมประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

จากนั้น นายวันมูหะมัดนอร์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ว่าบรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นผ่อนปรนไปมา เพื่อให้การประชุมเรียบร้อย โดยการประชุมเพื่อแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 ก.ย.นี้ จะใช้เวลา 2 วัน รวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็น ประธานรัฐสภา 1 ชั่วโมง ฝ่าย ครม.แถลง และชี้แจง 5 ชั่วโมง ฝ่าย สว. 5 ชั่วโมง ฝ่ายรัฐบาล 5 ชั่วโมง ฝ่ายค้าน 14 ชั่วโมง ซึ่งคิดว่าคงเพียงพอในการที่ทุกฝ่ายจะปรับเวลาที่ชัดเจนให้ตามจำนวนคน คาดว่าคงไม่เกินในเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ทำให้การประชุมจบด้วยดี ไม่มีใครไม่ยอม แม้ทุกฝ่ายจะอยากได้เวลา แต่เมื่อทราบข้อจำกัดของเวลา และความสนใจของพี่น้องประชาชนแล้ว จึงตกลงกันเช่นนี้

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า ในวันแรกอาจจะเลิกประชุมดึก แต่คงไม่เกินเที่ยงคืน และวันที่สองคงไม่เกิน 23.00 น. แม้บางฝ่ายจะบอกว่าไม่อยากให้เกิน 21.00 น. แต่เพื่อให้การอภิปรายในวันถัดมามีคุณภาพมากขึ้น และความสนใจของพี่น้องประชาชน รวมถึงครม. แจ้งว่าในวันที่ 13 ก.ย. 66 จะมีการประชุมครม. ทุกฝ่ายจึงบอกว่าจะกลับไปเตรียมทั้งตัวบุคคลและเนื้อหาสาระให้ดี เพื่อให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

เมื่อถามว่า อยากฝากอะไรถึงฝ่ายค้านหรือไม่ เนื่องจากฝ่ายค้านอยากใช้เวทีนี้ในการซักฟอกรัฐบาล? นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ฝ่ายค้านยืนยันเองว่า จะอยู่ในกรอบของการอภิปรายเรื่องนโยบายและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามนโยบายนั้น แต่ไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตนคิดว่าฝ่ายค้านตอนนี้เป็นฝ่ายค้านที่มีคุณภาพ มีข้อมูลพร้อมที่จะอภิปรายในกรอบกฎหมายและข้อบังคับ รวมถึงความสนใจของพี่น้องประชาชน

เมื่อถามว่า การรักษาความปลอดภัยในวันนั้น จะเป็นไปตามกฎระเบียบ หรือต้องมีการรักษาความปลอดภัยเข้มที่เป็นพิเศษหรือไม่ เนื่องจากอาจจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาในบางวัน? นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า คิดว่าคงไม่มีกลุ่มผู้ชุมนุม หรือมีการกดดันสภา เพราะพี่น้องประชาชนติดตามการประชุมตลอดเวลาผ่านการถ่อยสดในหลายช่องทาง เนื่องจากทุกฝ่ายคงอยากให้การอภิปรายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีคุณภาพ ไม่มีแรงกดดันใดๆ นอกจากเนื้อหาที่จะพูดอย่างเต็มที่ หากมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาที่สภาคงไม่เกิดประโยชน์อะไร ไม่ได้หมายความสภาจะรังเกียจ การมีผู้ชุมนุมหรือผู้สนับสนุนก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ช่วงอภิปรายต้องใช้เวลา หากมาคงเสียงทั้งค่าใช้จ่าย และเวลามาก

พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผบช.สตม. ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย ตม.จว.นครพนม

ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จึงได้กำหนดมาตรการดูแลอำนวยความสะดวกด้านพิธีการเข้าเมือง เพื่อบริการให้รวดเร็วประหยัดเวลา ลดความแออัด โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่มีผู้โดยสารหนาแน่น ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสะดวกเรียบร้อยในทุกพื้นที่ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 

วันนี้ (22 เม.ย.2567)  เวลา 9.00 น. พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติราชการ ณ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครพนม อ.เมืองนครพนม จว.นครพนม  พร้อมทั้งมอบสิ่งของบำรุงขวัญให้กับข้าราชการตำรวจในสังกัดตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครพนม ครั้งนี้ พล.ต.ต.ปิยะอนันต์ โตสกุลวงศ์ ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 4 กำหนดให้ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครพนม นำโดย พ.ต.อ.ภัทรพงศ์ อินวรรณา ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครพนม รายงานผลการปฏิบัติงานและการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการเข้าเมืองตามนโยบายของผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในห้วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 

จากนั้น พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รองผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้เดินทางต่อไปตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) โดยได้ตรวจดูความเรียบร้อยในการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการเข้าเมือง และ พบปะประชาชนที่มารับบริการ ณ จุดผ่านแดน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครพนม กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 4


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top