‘รอยยิ้มกังฉิน’ สิ้นชื่อ!! เมื่อชาวเน็ตจีนลุกฮือล้วงอดีตฉาว สะท้อน!! คอร์รัปชันเหนือความดี แม้กฎหมายจะแรง...แต่กล้าเสี่ยง
เหตุการณ์นี้เริ่มต้นขึ้นในปี 2012 ที่มณฑลซานซี ประเทศจีน เมื่อมีการเผยแพร่ภาพถ่ายของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ยืน ‘ยิ้ม’ ท่ามกลางสาธารณชนอยู่ในบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุรถชนครั้งใหญ่ ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าวมากถึง 36 ราย ใบหน้ายิ้มแย้มของเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวจึงทำให้ชาวเน็ตชาวจีนที่มี ‘อารมณ์อ่อนไหว’ ได้พากันเร่งรีบตรวจสอบประวัติส่วนตัวของเจ้าหน้าที่รายนี้
ในเวลาไม่ถึง 5 วัน ชาวเน็ตชาวจีนได้รวบรวมนาฬิกายี่ห้อต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคนนี้สวมใส่ในที่สาธารณะ รวมทั้งหมด 11 ยี่ห้อ โดยมีราคาตั้งแต่ 10,000 หยวนถึง 500,000 หยวน ซึ่งเป็นราคาที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนทั่วไปไม่น่าที่จะซื้อหามาครอบครองได้
2 วันต่อมา นักศึกษาวิทยาลัยในท้องถิ่นได้ยื่นคำร้องขอการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลต่อกรมการคลังของจังหวัด โดยขอรายการเงินเดือนประจำปี 2011 และการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของ ‘เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผู้ยิ้มแย้ม’ จากอุบัติเหตุรถชนครั้งใหญ่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ยิ้มแย้มได้ปฏิเสธ โดยอ้างว่านาฬิกาทั้งหมดของเขาซื้อโดยใช้รายได้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย (นั่นคือตอนที่รัฐบาลกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง)
หลังจากที่ ‘เจ้าหน้าที่ผู้ที่มีใบหน้ายิ้มแย้ม’ ถูกตัดสินจำคุก 14 ปี ผู้คนจึงได้ตระหนักว่าเขามีใบหน้าที่ยิ้มแย้มโดยธรรมชาติ รอยยิ้มของเขาเป็นการแสดงออกบนใบหน้าตามปกติธรรมชาติของเขาอยู่แล้ว ชายคนนี้เป็นที่รู้จักในประเทศจีนในนามของ ‘ไอ้หนุ่มนาฬิกา’
ภาพนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่คิดว่าเป็นภาพถ่ายที่ดีที่สุดของการทุจริตของรัฐบาล เมื่อ ‘หลี่เค่อเฉียง’ นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีนเดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในพื้นที่ร่วมเดินทางไปด้วย การแสดงออกของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผู้นี้เป็นการบอกว่า "ไม่ ผมไม่ได้ใส่นาฬิการาคาแพง" ซึ่งทำให้ชาวเน็ตจีนก็พากันขุดเอาภาพเก่า ๆ ของเขาขึ้นมา และพบว่าเขามีนาฬิการาคาแพงจริง ๆ หลายเรือน ต่อมาชายคนนี้ก็ถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีเช่นกัน ซึ่งเขาเป็นที่รู้จักในประเทศจีนในนามของ ‘ไอ้หนุ่มไม่มีนาฬิกา’
หากแบ่งแบบคร่าว ๆ แล้ว การทุจริตคอร์รัปชันที่พบได้ทั่วไปในประเทศจีน มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ การทุจริต / การแสวงหาผลประโยชน์ และ การยักยอกเอาทรัพย์สินของชาติ (หาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่)
>> การทุจริตเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยที่สุด ประกอบไปด้วย การติดสินบน คือ การให้สินบนที่ผิดกฎหมาย / การยักยอกทรัพย์และการขโมยเงินของรัฐ / การทุจริตเกี่ยวข้องกับสิ่งของมีค่าที่มอบให้และยอมรับโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่ซื่อสัตย์หรือผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ใช้จ่ายเงินของรัฐอย่างฉ้อฉลหรือใช้เงินของรัฐเพื่อประโยชน์ของตนเอง
>> ส่วนการแสวงหาผลประโยชน์ หมายถึง พฤติกรรมทุจริตทุกรูปแบบ โดยบุคคลที่มีอำนาจผูกขาด-เจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้รับ ‘ส่วย’ ซึ่งเป็นรายได้เพิ่มเติมอันเป็นผลจากตลาดที่ถูกจำกัด ด้วยการให้ใบอนุญาตหรือการผูกขาดแก่ลูกค้า และการแสวงหาผลประโยชน์จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่มอบค่าเช่าให้กับผู้ที่สนับสนุนพวกเขา ซึ่งกรณีนี้จะคล้ายกับการคอร์รัปชันของจีน ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นทั้งผู้หาผลประโยชน์และผู้แสวงหาผลประโยชน์ โดยทั้งคู่จะมีลักษณะของการสร้างโอกาสในการหาผลประโยชน์ให้กับผู้อื่น และแสวงหาโอกาสดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของตนเอง ซึ่งอาจรวมถึงการแสวงหากำไรโดยเจ้าหน้าที่หรือบริษัทของเจ้าหน้าที่ การกรรโชกในรูปแบบของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย
>> การหาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ หมายถึง เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะได้รับสิทธิพิเศษและ
ผลประโยชน์ผ่านตำแหน่งนั้น ด้วยตำแหน่งหน้าที่ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าหรือการชำระเงินสำหรับกิจกรรมจริงหรือปลอม และองค์กรต่าง ๆ จะถูกเปลี่ยนจากสถานที่ทำงานเป็น ‘ธนาคารทรัพยากร’ ซึ่งบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ แสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง คอร์รัปชันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทางการเงิน แต่รวมถึงการแย่งชิงสิทธิพิเศษของทางการ การทำข้อตกลงลับ การอุปถัมภ์ การเล่นพรรคเล่นพวก การใช้เส้นสาย
ต้องขอบคุณอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียที่ทำให้ชาวเน็ตจีนยังคงเฝ้าติดตามการทุจริตต่อไป
เรื่อง: ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล
👍 ติดตามผลงาน อาจารย์ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/author/ดร.ปุณกฤษ%20ลลิตธนมงคล