ตรรกะเดียวกันของพวกหลงตัวไม่ต่างจาก 'วัวลืมตีน' ต่างอยู่ในโลกที่มีผิวขรุขระ คล้ายผลส้มเหมือนกัน

คำว่า 'วัวลืมตีน' บันทึกไว้ว่าไม่ใช่คำหยาบ แต่จะเรียกว่าเป็นสำนวน หรือสุภาษิตไทยก็ตามแต่ ความหมายก็ประมาณว่า...

"คนที่พอได้ดีแล้วก็ลืมฐานะเดิม ลืมที่มาของตนเอง ที่หนักหน่อยก็ลืมหน้าที่ ลืมว่าที่สมควรต้องทำนั้นคือสิ่งใด จะมึนงงหลงทางบาป ผยองอยู่ในร่างกลวง ๆ ที่ไร้น้ำหนัก ไร้แก่นสาร ที่ยังไปต่อได้รายวันก็เพราะยังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อย 'หลงยกหาง' ให้เห่าหอนพ่นพิษสู่สังคมรายวัน"

คนจำพวกนี้ นอกจากจะมองไม่เห็นสิ่งที่ดีงามที่ดำรงอยู่มาช้านาน แต่จะคิดตรงกันข้าม จะแก้ จะทำลายให้สูญหายไป โดยไม่เคยดูว่าตนเองนั้นมีคุณค่ามากพอจะคิดจะทำสิ่งนั้นได้หรือไม่? 

ฉากหน้านอกจากไม่สวย ไม่สง่างาม ฉากหลังยังรอวันถูกกระชากให้ 'สังคมที่ยังไร้ปัญญา' ได้มองเห็นกระจ่างชัดในอีกไม่ช้าไม่นาน 

หนึ่งนั้นคือ 'ไอ้หนู' ในคราบ สส. ในสภา ที่คนอายุมากกว่าเรียกขานด้วยความใกล้ชิดเอ็นดู ยังตีความไปในทาง 'ต่ำถ่อย' เสมือนความคิด จิตใจ และการกระทำของตัวเอง 

แต่เรื่องที่ 'ต่ำสถุน' และน่ารังเกียจกว่านั้นมากมาย เช่น การแอบรับเงินต่างชาติมาสร้างความปั่นป่วนในแผ่นดินถิ่นอาศัยของตัวเอง ไอ้หนูตัวเดิมกลับเบือนหน้าปฏิเสธเสียงแข็ง สิ่งใดที่หลักฐานยังโผล่ไม่สุด สังคมยังไม่เห็นถนัด ไอ้หนูก็ยังรอดพ้น 'ลูกกรงขังหนู' ยังพอมีเวลาแต่งสูทฟอกตัวตบตาบรรดา 'คนสมองน้อย' ได้อีกหลายทิวาราตรี 

แต่ไม่ได้หมายความว่า กรรมที่กำลังไล่ล่าจะไม่ได้มาก่อนกาล อยู่ที่ 'บุญของไอ้หนู' แต่ชาติปางก่อน สะสมไว้มากแค่ไหน 

จบเรื่องของไอ้หนู มาต่อเรื่องครูสามกีบที่แอบสอดใส่ความคิดความอ่านอันตื้นเขิน ชั่วร้าย และเต็มไปด้วยอคติ เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมปลายเกิดความรู้สึกมั่นใจไปในทางที่ผิดเพี้ยน แฝงสอนให้เด็กกล้าหาญ กล้าแสดงออก ในขณะที่ยังขาดความรู้ ความจริง ไม่ลึกซึ้งถึงที่มาที่ไปก่อน กลับผลักให้เอนเอียงไปในทางเกลียดชังสิ่งต่าง ๆ คล้ายสิ่งที่หลบซ่อนอยู่ในหัวใจของครู

ทั้งไอ้หนู และครูสามกีบ คือ ผลผลิตเดียวกัน มีตรรกะและวิธีคิดเดียวกัน อยู่ในโลกที่มีผิวขรุขระ คล้ายผลส้มเหมือนกัน ถ้าปล่อยกลิ้งไปมากับพื้นก็จะหมุนไปแบบเอียง ๆ ด้วยผิวสัมผัสนั้นไม่เรียบ ข้างนอกถ้าดูไกล ๆ อาจจะเห็นความสวย ถ้าเพ่งมองใกล้ ๆ จะเห็นรอยคล้ำดำ มีตำหนิมากมาย 

ทำท่าว่ากำลังจะเน่าในอีกไม่นาน


เรื่อง: แจ็ค รัสเซล