รู้จัก รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ จุดเปลี่ยน สร้างบุคลากรด้านวิทย์ฯ ของไทย ภายใต้ค่าเฉลี่ย PISA สูงลิ่ว จากวิสัยทัศน์ 'เจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ' ที่น้อยคนจะรู้

(8 ธ.ค.66) จากผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'Pornpichit Samaktham' ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ช่วยดึงคะแนน PISA ให้ดีขึ้น (มี 12 โรงเรียน)

เมื่อวาน BBC Thai เอาคะแนน PISA มาเปิดเผยแบบพาดหัวข่าวตัดตอน ขาแช่งประเทศไทยให้ตกต่ำเฮ กันใหญ่ สื่อเล็กสื่อน้อยช่วยกันเล่นสนุกสนานแต่ไม่พูด ภาพกว้างของการพัฒนาวงการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์บ้านเรา

ผมเป็นคนหนึ่งที่คอยให้คำปรึกษาผู้ปกครองทุกวัน รับสายทุกวัน เพราะตั้งใจว่าจะเอาความรู้ที่ร่ำเรียนมา ประสบการณ์จากชีวิตจริง มารับใช้สังคม จนหมดแรง

บทสนทนาแรกๆ กับผู้ปกครองจะเหมือนๆ กัน ไม่รู้ว่าให้ลูกไปเรียนทางไหน ไม่อยากให้ลูกเครียดมาก อยากให้ที่ลูกเรียนที่ลูกชอบ

คำตอบของผม ผู้ปกครองหลายท่านไม่ชอบใจ ไม่โทรมาอีกเลย แต่ส่วนใหญ่ยังมาปรึกษาต่อเนื่อง ให้ช่วยวางแผนการศึกษายาวๆ

ผมจะบอกผู้ปกครองเสมอว่าสิ่งที่ผมแนะนำในการเรียน

1.เรียนอะไรก็ได้อย่าตกงาน

2.เรียนอะไรก็ได้ที่เงินเดือนสูง

3.เรียนง่ายๆ น้อยคนที่ได้เงินเดือนสูง

4.ถ้าเด็กเก่งด้านภาษาแบบโดดเด่นสนับสนุนไปเลย แต่ต้องยอมรับว่าโดยส่วนใหญ่เงินเดือนสายนี้จะน้อยกว่าสายวิทยาศาสตร์

5.ประเทศไทย มีสถาบันการศึกษาที่สอนสายศิลป์มากแล้ว เรียนวิทย์ได้เรียนวิทย์เถอะ

6.ถ้าเด็ก เรียนสายวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ได้ ให้เรียนสายนี้

มาถึงการวัดคะแนน PISA คือวัดเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่าโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ มหิดลวิทยานุสรณ์ กำเนิดวิทย์ และโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัย และโรงเรียน สพฐ.ชั้นนำ ได้คะแนนสูงกว่า ค่าเฉลี่ยของ OECD (Organization for Economic Co operation and Development)

OECD คือองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา หรือประเทศเจริญแล้ว รวยแล้ว มีสมาชิก 38 ประเทศ ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, เบลเยียม, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น เป็นต้น

ดูรายชื่อประเทศพวกนี้ ก็คงมองออกสถานะทางการเงิน

มาดูประเทศที่อันดับดีในเอเชีย มาจากชาติที่การแข่งขันสูง จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฮ่องกง, มาเก๊า, สิงคโปร์, มาเลเซีย รวมทั้งเวียดนาม ต้องยอมรับว่าเป็นประเทศที่แข่งขันสูง ความเครียดสูง วัฒนธรรมคนขยันขันแข็ง

ต้องยอมรับว่าประเทศไทยในยุคนี้ สื่อมวลชนมีส่วนชักนำเยาวชน ผู้ปกครองเยอะมาก ความรู้สึก ค่านิยม ไม่ต้องเรียนสูง เรียนง่ายๆ ขายของออนไลน์ ก็มีกินมีใช้แล้ว แต่ทักษะเหล่านี้ ไม่สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาวได้ ได้แค่เป็นผู้ค้าและเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยีเท่านั้น

ที่ผ่านมาภาครัฐ มีส่วนส่งเสริมการเรียนการสอนเทคโนโลยี มากมายเพื่อรองรับโครงสร้างประเทศในอนาคต รองรับการสร้างงานในพื้นที่ EEC ที่ต้องใช้แรงงานระดับสูง แต่การศึกษานั้น ผู้ปกครองต้องมีส่วนในการสร้างเยาวชนของชาติด้วย ไม่ใช่เรียกร้องแต่สิทธิ์ของฉัน

โครงสร้างด้นดิจิทัลของประเทศไทย ตอนนี้เอื้อแก่การเรียนรู้ ทางเลือกออนไลน์มาก อยู่ที่จะนำไปใช้แบบไหน ที่เอามาพัฒนาตัวเอง

การตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ตามปณิธานของ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทั่วประเทศ จำนวน 12 แห่ง ครั้งแรกวันที่ 27 กรกฎาคม 2536 สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมัยนั้น นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ต่อมาได้ให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นต้นแบบร่วมจัดหลักสูตรและบุคลากร และเป็นพี่เลี้ยง แทบจะเรียนฟรีทั้งหมด ให้โอกาสลูกคนที่มีฐานะอ่อนแอกว่า จะเห็นว่าผู้ใหญ่ของประเทศไม่ได้นอนอยู่เฉยๆ เลย พัฒนาต่อเนื่องแม้การเมืองจะล้มลุกคลุกคลาน 

***ข้อมูลจากกูเกิล

ส่วนโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยต้องยอมรับว่าเป็นโรงเรียนที่ผู้ปกครองมีโอกาสทางสังคมสูง จากการแสวงหาโอกาส ไม่ใช่นั่งอยู่เฉยๆ ต้องยอมรับว่าเป็นกลุ่มผู้ปกครองตัวอย่าง ที่ทำให้ค่าคะแนน PISA ดึงกลุ่มอื่นขึ้นมา  

ผู้ปกครองกลุ่มนี้ควรดึงผู้ปกครองกลุ่มอื่นที่อ่อนแอกว่าขึ้นมาด้วย ช่วยกัน ให้คำปรึกษาแนะนำ สังคมถึงจะร่วมกันพัฒนาเจริญไปด้วยกัน ดีกว่าก่นด่ากัน

ส่วนนักเรียนกลุ่ม มหิดลวิทยานุสรณ์ กำเนิดวิทย์ วมว. และ รร.ชั้นนำ สังกัด สพฐ.ในกรุงเทพ และภูมิภาค อันนี้ไม่น่าเป็นห่วง เพราะผู้ปกครอง และเด็ก เป็นหัวกะทิของประเทศอยู่แล้ว

จะบอกตรงนี้ว่าปัจจุบันจำนวนนักเรียนไทยสายวิทยาศาสตร์ที่เก่งๆ เยอะมากมาย ตามรร.ชั้นนำข้างต้น ด้วยนโยบายข้างต้น เราเลยผลิตบุคลากรด้านนี้ได้มากมาย

***ลองไปดูการแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติประเทศไทย กวาดเหรียญรางวัลมาทุกปี ใช่อาจจะกลุ่มเดียว แต่จะมองเห็นศักยภาพเด็กของประเทศ ว่าไม่ด้อย ถ้าขยันพอ

ถ้าเอาจำนวนเด็ก ที่เด่นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ไปวัดกับสิงคโปร์ เราจะเหนือกว่าด้วยซ้ำ แต่พอวัดตามสัดส่วนประชากร เราจึงแพ้หลายประเทศ

ดังนั้น เชื่อในที่นี้ว่าเด็กที่อันดับไม่ดี ไม่ใช่เริ่มที่ตัวเด็ก เริ่มที่ผู้ปกครองก่อนเลย อย่าพูดว่าเด็กสมัยนี้มีมือถือเครื่องเดียวมันเก่งแล้ว เด็กจะรู้กว่าผู้ปกครองได้ยังไง

ผู้ปกครอง คือ คนที่ช่วยกันสร้างประเทศ ในโอกาสแรกให้เด็ก

ปล.นี่คือ การวัดด้าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นหลัก

ตอนเช้า ผมเห็น ดร.คนนึง เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยดัง สามย่าน และเป็นอดีต สส.

โพสต์สะใจกับเรื่องนี้

ผมถามว่า เข้าใจเรื่องนี้ดีแล้วเหรอ

ดูเนื้อในหรือยัง ?

จากคนจิตอาสาแนะแนวด้านการศึกษา เพราะรู้ว่าเรื่องการศึกษาคือ การสร้างอนาคตประเทศ สร้างโอกาสให้คนบ้านนอกแบบผม มีโอกาสในการทำมาหากิน