‘ปฏิญญา Balfour’ สารตั้งต้นแห่งความรุนแรงในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แรงบันดาลใจของ ‘กลุ่มไซออนิสต์’ สู่การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์

การแบ่งแยกและยึดครอง : มรดกของ ‘Arthur James Balfour’

กรุงเตหะราน, ประเทศอิหร่าน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2023 ถือเป็นวันครบรอบ 106 ปี ปฏิญญาของรัฐมนตรีต่างประเทศสหราชอาณาจักร ‘Arthur James Balfour’

สิ่งที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ ‘ปฏิญญา Balfour’ คือข้อความสั้น ๆ ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตไม่เพียงแค่ชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้คนหลายล้านคนในเอเชียตะวันตกด้วย เนื่องจากมันก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เลวร้าย เช่น การก่อตัวของระบอบการปกครองจอมปลอม การสังหารหมู่ผู้หญิงและเด็กหลายแสนคน พลเมืองปาเลสไตน์หลายล้านคนต้องพลัดถิ่น และการถูกขับไล่ออกจากบ้านเกิด กระทั่งท้ายที่สุด จึงนำไปสู่การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์โดยอิสราเอล

คำประกาศที่ชั่วร้ายนี้ปูทางไปสู่การก่อตัวของเนื้องอกที่เป็นมะเร็ง และเรื่องผิดกฎหมายในเอเชียตะวันตก โดยผลที่ตามมายังคงส่งผลกระทบต่อผู้คนปาเลสไตน์และในภูมิภาค หลังจากผ่านไปเกือบ 80 ปี คำแถลงต่อสาธารณะอาจเป็นประเด็นสำคัญของการหารือทางโทรศัพท์ ของรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอิหร่านและสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน โดยหัวหน้านักการทูตอิหร่านอาจทำให้ชาวสหราชอาณาจักรสนใจว่า ประเทศของเขาสนับสนุน ‘การสถาปนา ‘มาตุภูมิแห่งชาติสำหรับชาวยิว’ ในดินแดนปาเลสไตน์’ เมื่อปี 1917 ซึ่งเป็นรากฐานของทุกความท้าทาย และความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันตกในปัจจุบัน

‘กลุ่มไซออนิสต์’ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าพ่อแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) ในการส่งเสริมประวัติศาสตร์จอมปลอมและการกดขี่ กำลังเผชิญกับวิกฤติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเอเชียตะวันตก การตื่นตัวและลุกขึ้นต่อต้านของชาวปาเลสไตน์ได้เปิดหูเปิดตาของผู้คนทั่วโลก ให้มองเห็นความโหดร้ายและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของไซออนิสต์ ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะอ่านปฏิญญา Balfour อีกครั้ง เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมิติของ Nakba (ภัยพิบัติ, หายนะ) ในปี 1948

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ‘ปฏิญญา Balfour’ แสดงความเห็นอกเห็นใจของสหราชอาณาจักร ต่อความปรารถนาและแรงบันดาลใจของไซออนิสต์ในนานาชาติ ที่จะสถาปนาสิ่งที่เรียกว่า ‘มาตุภูมิแห่งชาติของไซออนิสต์ในดินแดนปาเลสไตน์’ ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 21 ปีก่อนที่ชาวยุโรปจะเดินหน้าสร้างสันติภาพระหว่างประเทศอีกครั้งในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อรู้ว่า ‘อดอล์ฟ ฮิตเลอร์’ ลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวจำนวนมาก ดูเหมือนว่าสหราชอาณาจักรและสหายไซออนิสต์จะตระหนักดี ถึงสิ่งที่รอคอยชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่ 2

การปรากฏตัวโดยชอบธรรมของไซออนิสต์ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์นั้น ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่บิดเบี้ยวและเป็นเท็จ 2 เรื่อง โดยเรื่องราวแรกคือ ในพระคัมภีร์ของชาวยิว ดินแดนนี้ถูกสัญญาไว้กับพวกเขา (ไซออนิสต์) และคำบรรยายที่ 2 อ้างว่า เป็นการสังหารและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชาวยิวโดยพวกนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องเล่าทั้ง 2 นี้ โดยเฉพาะเรื่องที่ 2 ได้ส่งชาวยิวจำนวนมากไปยังปาเลสไตน์ และปูทางไปสู่การยึดครองและการทำลายล้างประเทศอาหรับ 3 ปีหลังจากการเผยแพร่ปฏิญญา Balfour และในสนธิสัญญาที่ลงนามโดยประเทศที่ได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ชะตากรรมของดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งปาเลสไตน์ถูกส่งมอบให้กับสหราชอาณาจักร และคำมั่นสัญญาของ Balfour ที่มีต่อไซออนิสต์ก็ดำเนินไป

คงจะเป็นเรื่องไร้เดียงสามาก หากเชื่อว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องบังเอิญ

สหราชอาณาจักรส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้กับไซออนิสต์ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ชาวปาเลสไตน์ซึ่งแท้จริงแล้ว คือทายาทที่แท้จริงของชาวยิวปฐมวัย อาศัยอยู่ที่นั่นมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ตลอดช่วงชีวิตนอกกฎหมายของระบอบการปกครองที่ฆ่าเด็ก รัฐบาลตะวันตกได้นำเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อมาใช้เล่นเกมกล่าวโทษและวาดภาพผู้กดขี่ว่า เป็นผู้ถูกกดขี่ พวกไซออนิสต์ได้ก่ออาชญากรรมครั้งใหญ่และไม่มีที่สิ้นสุด โดยไม่ต้องรับผิดชอบ เมื่อใดก็ตามที่มีการประท้วงเพื่อปกป้องปาเลสไตน์ ไซออนิสต์จะเป่าสโลแกน ‘ต่อต้านชาวยิว’ หลังจาก ‘ปฏิบัติการพายุแห่งอัล-อักซอ’ (Operation Al-Aqsa Storm) โดยกลุ่มฮามาส เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ผู้สนับสนุนระบอบการปกครองเทลอาวีฟก็ออกมาเดินหน้าอีกครั้งเพื่อบิดเบือนความจริง ในขณะเดียวกันก็เตรียมการและให้กำลังใจอิสราเอล

ภารกิจที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่บนบ่าของสหราชอาณาจักร ถูกโอนไปยังสหรัฐอเมริกา หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศในระบบของการเมืองระหว่างประเทศ การสนับสนุนอย่างไม่มีเงื่อนไขของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร สำหรับระบอบไซออนิสต์เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ล้มเหลวในการยอมรับสิทธิของชาวปาเลสไตน์ ด้วยการยับยั้งมติ (Veto) ถึง 45 ครั้ง สหรัฐฯ ไม่เพียงแต่ต่อต้านการหยุดยั้งอาชญากรรมของระบอบไซออนิสต์ในฉนวนกาซาเท่านั้น แต่ยังปฏิเสธที่จะช่วยบรรลุแนวทางแก้ไข เพื่อบรรเทาวิกฤติด้านมนุษยธรรมในดินแดนที่ถูกปิดล้อมอีกด้วย

ในความขัดแย้งที่ชัดเจนกับการกล่าวอ้างที่เป็นเท็จเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สหรัฐฯ ยังได้ลงคะแนน ‘ไม่เห็นด้วย’ กับมติที่ร่างขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ความพยายามของสหรัฐฯ ในการสนับสนุนไซออนิสต์ยังแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนอาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นในฉนวนกาซา เป็นที่ชัดเจนว่าการกระทำล่าสุดของสหรัฐฯ เป็นตัวอย่างของการเพิกเฉยต่อหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ประเด็นก็คือ ระบอบการปกครองจอมปลอม แม้ว่า อิสราเอลจะได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ มานานหลายปี แต่ก็ไม่ก็สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า อนาคตมีไว้สำหรับปาเลสไตน์


เรื่อง : ดร.ปุณกฤษ ลลิตธนมงคล