'ฝ่ายค้านศรีลังกา' ลั่น!! หากมารับช้าง 2 เชือกกลับไทย มีฟ้อง!! ชี้!! การขอของขวัญที่มอบให้คืนนั้น 'ผิดจรรยาบรรณ'

รายงานจากสำนักข่าวท้องถิ่นศรีลังกา เมื่อวันที่ 4 ก.ค.66 ระบุว่า นาย เนรัญชรา ไวเยรัตเน นักการเมือง ผู้นำฝ่ายค้าน อดีตผู้นำผู้ปกครองสำนักงานของหัวหน้าฝ่ายอุปัฏฐาก Sri Dalada Maligawa วัดพระเขี้ยวแก้ว หัวหน้าฝ่ายฆราวาส มีอำนาจหลายอย่างจัดการส่งเสริมเกี่ยวกับวัดในเมืองแคนดี้  

เนรัญชรา ไวเยรัตเน ให้ข้อมูลผ่านสื่อศรีลังกาว่าช้างไทยราชา ได้รับมอบเป็นของขวัญแก่ วัดศรีดาลดา มาลิกาวา (วัดพระเขี้ยวแก้ว) จากพระมหากษัตริย์ไทยเมื่อ 37 ปีที่แล้ว และมีสุขภาพแข็งแรงดี

NGO องค์กรเกี่ยวกับสัตว์ บางรายในศรีลังกากำลังส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปยังรัฐบาลไทยเกี่ยวกับช้าง

หากมีการพยายามนำช้างที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ไทยกลับไปยังประเทศไทยนั้น จะมีการฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยสำหรับค่าใช้จ่ายในการบำรุง ดูแล รักษาช้างจนถึงปัจจุบัน

ช้างได้รับการดูแลอย่างดีจากรุ่นพี่ที่จบทางด้านสัตวแพทย์ศาสตร์ ตั้งแต่รับช้างมาเมื่อ 37 ปีก่อนใช้เงินจำนวนมหาศาลในการดูแล

นอกจากนี้เขายังชี้ให้เห็นว่าการขอของขวัญที่มอบให้คืนนั้นผิดจรรยาบรรณ

(สำหรับการแห่พระบรมสารีริกธาตุศักสิทธิ์ แห่พระเขี้ยวแก้ว เปรียบเสมือนการถวายของแก่พระพุทธเจ้า มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ที่อาจละเลยไม่ได้)

ด้าน NGO องค์กรเกี่ยวกับสัตว์ ที่พึ่งพาเงินจากต่างประเทศกำลังทำงานเพื่อส่งช้าง 2 เชือกกลับประเทศไทย ตามคำกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของไทย ได้กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า หากคนไทยเรียกร้อง พวกเขาพร้อมที่จะนำช้างที่เหลืออีก 2 เชือกกลับไทย 

เนรัญชรา ไวเยรัตเน กล่าวอีกว่า "ข้าพเจ้าทูลขอต่อพระเจ้าภูมิพลมหาราชาแห่งประเทศไทย ขอให้ถวายลูกช้างแก่ วังดาลดา (วัดพระเขี้ยวแก้ว) คำขอนั้นได้รับมอบช้างในปี 2529...ลูกช้างตัวนี้ถูกนำมาโดยเครื่องบินรบเครื่องบินขนส่งของอเมริกา และได้รับอนุมัติพิเศษจาก เจอาร์ เจวาร์ดีน ผู้นำศรีลังกาในสมัยนั้น"

ช้างตัวแรก มุทุราชา (พลายศักดิ์สุรินทร์) นั้นได้ส่งกลับถึงประเทศไทยแล้ว องค์กรเกี่ยวกับสัตว์กำลังพยายามจะนำช้างอีก 2 เชือกกลับในปัจจุบัน

✍️ อื่นๆ
*ศรีลังกา มีการแห่พระเขี้ยวแก้ว  พระบรมสารีริกธาตุ...แห่อื่นๆ จำนวนมาก หลายวัด ใช้ช้างมากถึง 150 เชือก+

ในการแห่ มีหลายแบบ ช้างทรงเครื่องตกแต่ง แห่ 20.00-02.00 + น. บางกรณีช้างเดินหลายกิโลเมตร 

*ช้างเอเชียในศรีลังกานั้นตัวใหญ่แต่ไม่เข้าตำรา เนื่องจากงาสั้น งายาวสุด 20 ซม. ช้างพม่า อินเดีย ไทย เข้าเกณฑ์ งายาว สวยงามตามตำรา จึงถูกขอจากศรีลังกาในโอกาสต่างๆ และถูกส่งมอบให้  ไทย อินเดีย พม่า ศรีลังกา มีความเชื่อมโยงทางศาสนา ประเพณี 

*การแห่พระเขี้ยวแก้ว มีมามากกว่า 270 ปี  
*หลายวัดของศรีลังกา เลี้ยงดูช้าง ที่เข้าตำราสง่า ไว้ร่วมกิจกรรมแห่ต่างๆ การแห่ขบวนด้วยช้างจำนวนมาก ได้รับความสนใจจากคนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว