เปิดข้อสั่งการ 'นายกฯ' พิชิต PM 2.5 ทั่วไทย เดินหน้าทำทันที เคลียร์เป็นข้อๆ ไม่พูดมาก

(28 มี.ค.66) ผู้สื่อข่าวรายงานผลสรุปข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีรายละเอียดดังนี้

(จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำปาง)

>> ข้อสั่งการ

1.ให้ มท. (จังหวัดเชียงใหม่) ร่วมกับ ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ

>> ผลการดำเนินงาน

มท. ร่วมกับ สนง.ทส.จ.เชียงใหม่ ดำเนินการ อาทิ สร้างความยั่งยืนด้วยศาสตร์ พระราชาผ่านโครงการแม่แจ่มโมเดลและดอยหลวงเชียงดาวโมเดล ประชุมถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า/ประชุมร่วมกับกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จัดที่พักผ่อน Safety Zone นำจิตอาสาภัยพิบัติร่วมกับกิจกรรมแก้ไขปัญหาหมอกควันป่า ประชาสัมพันธ์ผ่านรูปแบบ Online, On Air, On Groud และใช้ระบบสั่งการแบบ Single Command

1) ทส. บูรณาการความร่วมมือกับ จ.เชียงใหม่ เพื่อกำหนดมาตรการ เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยมีมาตรการ ดังนี้

1.1) มาตรการป้องกันการลุกลามของไฟ และการป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ร่วมกับทหาร ตำรวจ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร อปท. และผู้นำชุมชนในแต่ละพื้นที่ เข้าไปกำกับการปฏิบัติงานระดับพื้นที่ อย่างใกล้ชิด เน้นทำความเข้าใจกับหมู่บ้านโดยรอบ และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังพื้นที่ ทั้งนี้ หากพบเหตุไฟไหม้ป่า สามารถแจ้งเหตุได้ที่สายด่วน (Hottine) เฝ้าระวังไฟป่าของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายเลข 1362

1.2) จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้ฝ่ายทหารเป็นผู้ปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยสามารถสั่งการแบบเบ็ดเสร็จ และให้เน้นความสำคัญตั้งแต่ระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยกำนัน และ ผู้ใหญ่บ้านต้องเป็นกลไกสำคัญในการเข้าถึงประชาชน และผลักดันการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ รวมถึงให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำความผิดจะถูกลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญา รวมถึงเสนอข่าวให้สังคมได้รับรู้ เพื่อป้องปรามผู้ที่จะกระทำความผิดรายอื่นๆ

1.3) จัดตั้งทีมด้านสาธารณสุขและจิตอาสา ร่วมกันเข้าไปดูแลสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วย ผู้สูงวัย เด็ก ผู้พิการ ในระดับชุมชนอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์ให้ภาคเอกชนและจิตอาสามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และประชาสัมพันธ์ขั้นตอนในการดูแลสุขภาพให้ประชาชนเข้าใจง่าย

2.) จ.ลำปาง ดำเนินการ ดังนี้

2.1) ผวจ.ลำปาง ลงพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2562 เพื่อพบปะ/เยี่ยมเยียน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่อบต. วิเชตนคร พร้อมทั้งหารือเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาหมอกควันไฟป่า และการบริหารจัดการขยะตามโครงการ "ลำปาง สะอาด ปราศจากโฟม"

2.2) เข้าร่วมประชุมการตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือและพิธีมอบโฉนดที่ดิน "คืนความสุขให้ประชาชนลดความเหลื่อมล้ำของสังคม" โดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. และ รมว.กห.

2.3) ประสานความร่วมมือกับนายอำเภอ ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นเพื่อพบปะ พูดคุยกับประชาชน เกี่ยวกับผลกระทบจากไฟป่าหมอกควันและขอความร่วมมือ ในการป้องกันแก้ไขปัญหา รวมทั้งการลดการใช้สารเคมีในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การท่องเที่ยว การพัฒนาเส้นทางคมนาคมและแหล่งน้ำ

2.4) จัดประชุมนายอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจในสังกัด มท. ประจำเดือน โดยเน้นหนักการติดตาม เร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบาย มท. แผนพัฒนาจังหวัด/อำเภอ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

ติดตามสถานการณ์/มาตการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน โดยให้ความสำคัญ ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอต่าง ๆ ตลอดจนออกตรวจพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์การแก้ไขปัญหาไฟป่าในเขตพื้นที่ อ.เมืองลำปาง และรอยต่อระหว่างอำเภอ

>> ข้อสั่งการ

2.การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. ร่วมกับ กษ. ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน

อาทิ การตรวจหาความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วยข้อมูลดาวเทียม TERRAVAQUA ระบบ MODIS พื้นที่ภาคเหนือตอนบน และการพัฒนาระบบสถานีตรวจวัดและรายงานคุณภาพฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5 และ 10 ไมครอน (PM10) ผ่านระบบแอปพลิเคชันแผนที่ออนไลน์ ทั้งนี้ ให้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง

>> ผลการดำเนินงาน

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยือวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. ดำเนินการใช้ระบบ MODIS เพื่อตรวจหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 10 ไมครอน (PM10) จุดความร้อน ไฟป่า และพื้นที่หมอกควัน ทั้งนี้ ได้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวผ่าน http:/firie.gistda.or.th

/download.html สทอภ.ดำเนินการดังนี้

1) การจัดให้มีระบบเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์หมอกควันและไฟป่า โดยได้พัฒนาระบบเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ประมวลผล ผลิตแผนที่ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และรายงานกรวิเคราะห์สถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศ (NUSAIS) โดยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://gistdaportal.gistda.or.th/pmoc/nusais/

2) การจัดให้มีช่องทางประสานและรายงานสถานการ์ไฟป่า หมอกควัน และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดตั้งกลุ่มไลน์ ได้แก่ กลุ่มไลน์-HAZE ไฟป่า 62 กลุ่มไลน์-PMOC กลุ่มไลน์-ศอญ. กลุ่มไลน์-ปกปภ.ช. แก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน รวมถึงช่องทางโทรสารเพื่อส่งข้อมูลถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 9 จังหวัด

ภาคเหนือตอนบน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการการทำงาน การรายงานและการเข้าถึงข้อมูลในทุกภาคส่วน

3) การใช้ดาวเทียมสนับสนุนการปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขสถานการณ์หมอกควันไฟป่าและค่าฝุ่นละออง

ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปรับเพิ่มระบบสัญญาณดาวเทียมของสทอภ. ระบบ VRS ให้สามารถประมวลผลและเผยแพร่ข้อมูลให้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4) การสนับสนุนทีมเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจประจำ ณ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก้ไขไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ เพื่อเพิ่มการดำเนินการในมาตรการให้มากยิ่งขึ้น อาทิ การสนับสนุนการนำเทคโนโลยี

จากดาวเทียมเพื่อชี้เป้า ตรวจสอบ และเข้าดับไฟเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย ในทางที่ดีให้ได้ภายใน 7 วัน

5) การควบคุมการเผาในพื้นที่ 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน แม้ภายหลังวันที่ 30 เม.ย. 2562 เข้าสู่การสิ้นสุดช่วงประกาศห้ามเผาในพื้นที่ 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน แต่ยังคงอยู่ในช่วงบริหารจัดการเชื้อเพลิงและเศษวัสดุจากการเกษตรหลังช่วงห้ามเผา โดย สทอภ. ได้ติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันรายจังหวัดและจัดส่งข้อมูลสรุปภาพรวม สถานการณ์รายจังหวัดอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดฤดูกาลไฟป่า (31 พ.ค. 2562)

>> ข้อสั่งการ

3.การสร้างการรับรู้วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ให้ ทส. ร่วมกับ สธ. กษ. พน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องวิธีการป้องกันฝุ่นละอองฯ และเร่งดำเนินการลดปริมาณฝุ่นละอองฯ อาทิ การพ่นละอองน้ำ การทำฝนหลวง รวมทั้ง การรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เช่น การลดการเผาป่า การเผาพืชผลทางการเกษตร การใช้น้ำมันดีเซล B20 เป็นต้น

>> ผลการดำเนินงาน

ทส. ดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล และพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ มาตรการระยะเร่งด่วน อาทิ การส่งเสริมการใช้น้ำมัน B20 ในรถโดยสารดีเซล ขยายพื้นผิวการจราจร งดเว้นกิจกรรมที่ส่งผลทำให้เกิดฝุ่นละออง มาตรการระยะกลาง

อาทิ พัฒนาโครงข่ายการบริการบริการขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยงทุกระบบพัฒนาระบบฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อพื้นที่สีเขียว มาตรระยะยาว อาทิ กำหนดมาตรฐานระบายอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เทียบเท่า EU และ USA

>> ข้อสั่งการ

4.การบรรเทาและแก้ไขปัญหาปริมาณฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ให้ กษ. (กรมชลประทาน) ร่วมกับหน่วยงานมี่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณฝุ่นละออง เกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่

>> ผลการดำเนินงาน

กรมชลประทาน ร่วมกับ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่อง อาทิ ดส่งรถบรรทุกน้ำ 3 คัน นำไปล้างทำความสะอาดฝุ่นละอองบนพื้นผิวถนนบริเวณเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ต่อเนื่องจนถึงถนนประชาธิปก โดยทางกทม. จะแจ้งมายังกรมชลประทานว่า แต่ละคืนจะให้ไปล้างทำความสะอาดถนนสายใด ในเขตไหนบ้าง ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดจากการจราจรที่คับคั่งในแต่ละวัน นอกจากนี้ได้เตรียมความพร้อมหน่วยฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว หน่วยพร้อมปฏิบัติการอยู่ได้แก่ หน่วยฝนหลวงจังหวัดระยอง จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หวังผลลดมลพิษได้ทั้งในพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ ปริมณฑล รวมถึงจังหวัดราชบุรี นครปฐม สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และ นครสวรรค์ซึ่งมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

(กรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้ : เขตบางแค และเขตบางขุนเทียน)

>> ข้อสั่งการ

1.การเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

-ให้ ดศ. ร่วมกับ มท. กษ.กปส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ช่องทางการเข้าถึงบริการภาครัฐผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก

ออนไลน์ (Agri-Map Online) ระบบปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตือนล่วงหน้า น้ำหลาก-ดินถล่ม (Early Warning System) ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศ (Air4Thai) เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถทราบข้อมูลข่าวสารและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทันต่อสถานการณ์

>> ผลการดำเนินงาน

1) กษ. ได้ดำเนินการจัดทำ "คู่มือระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map Online) ซึ่งเป็นเครื่องมือแสดงผลข้อมูลเชิงภูมิสารสนเทศพร้อมระบบแนะนำผลการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตด้วยพืชทดแทน ในรูปแบบเว็บแผนที่แบบออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานสามารถได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง กษ. วท. (โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) ร่วมพัฒนาระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์สามารถเข้าใช้งาน

ได้ที่ http://agri-map-online.moac.go.th/

1) ทส. ดำเนินการ ดังนี้

2.1) กรมทรัพยากรน้ำ ได้ดำเนินการจัดทำ "ระบบปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตือนภัยล่วงหน้าน้ำหลาก-ดินถล่ม (Early Warining System " เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://ews.dwr.go.th/ews/mainreport.php

2.2) กรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทำระบบรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย (Air4thai) ประกอบด้วย ข้อมูลแผนที่คุณภาพอากาศ ข้อมูลอุตตุนิยมวิทยา (ทิศทางลมในภูมิภาคอาเซียน ความกดอากาศ) ข้อมูลย้อนหลังรายชั่วโมง ข้อมูลสภาพฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพ/ปริมณฑล และสถานการณ์

หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ผ่านระบบเครื่อข่ายอินเตอร์สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://air4thai.pcd.go.th/webV2/index.php

(สรุปข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการมอบนโยบายแก่กษตรกรแห่งชาติ)

1.การแก้ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก

- ให้สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจและร่วมมือกับเกษตรกรในการแก้ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เช่น การลดการเผาในที่โล่ง และการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชชนิดอื่นแทนการปลูกข้าวโพด เป็นต้น

(จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี)

>> ข้อสั่งการ

1.ข้อเสนอ ด้านการเกษตร การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต้นแบบระบบการตัดอ้อยสดและบรรทุกอ้อยเข้าโรงงาน

- ให้ อก. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กก. ทส. พณ. ศธ. อว. เป็นต้น ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต้นแบบระบบการตัดอ้อยสดและบรรทุกอ้อยเข้าโรงงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยกำหนดรายละเอียดแผนการดำเนินงานและรูปแบบการบริหารจัดการแบบบูรณาการ เพื่อลดต้นทุน ลดมลพิษ ลดปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ อนึ่ง จำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการบรรทุกอ้อยเกินขนาดที่กฎหมายกำหนดจะทำให้ถนนเสียหายและส่งผลกระทบเกิดเป็นวงจรปัญหาต่อเนื่อง

>> ผลการดำเนินงาน

อก. รายงานผลการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาต้นแบบระบบการตัดอ้อยสดและบรรทุกอ้อยเข้าโรงงานให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อแนวทางในการเก็บเกี่ยวอ้อยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ลดความเดือดร้อนของชุมชน ลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5

(จังหวัดชัยภูมิ)

>> ข้อสั่งการ

1.การลดฝุ่นและมลพิษ PM2.5 จากการเผาอ้อย

- ให้ กษ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลและแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมลพิษ PM2.5 ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็ก ผู้ป่วย และผู้สูงอายุ

>> ผลการดำเนินงาน

อก.รายงานผลการดำเนินงานโดยได้กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ดังนี้

1) มาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2562

1.1) มาตรการทางกฎหมาย ออกระเบียบให้โรงงานน้ำตาลลดการรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบในแต่ละปี และจะทำให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายใน 3 ปี

1.2) มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ขยายโครงการส่งเสริมสินเชื่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2562 - 2564 เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย จัดซื้อรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ ในวงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท โดยมีผลการดำเนินงาน (ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2562 คือ พัฒนาแหล่งน้ำ/อุปกรณ์ จำนวน 31 ราย เป็นเงิน 8,025,000 บาท รถตัดอ้อย/รถคีบอ้อย จำนวน 328 ราย เป็นเงิน 2,048,842,690 บาท รถแทรคเตอร์/บรรทุกอ้อย จำนวน 119 ราย เป็นเงิน 130,452,000 บาท รวมทั้งสิ้น 478 ราย เป็นเงิน 2,187,319,690 บาท

1.3) มาตรการขอความร่วมมือด้านการบริหารจัดการ เพื่อเป็นต้นแบบการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยให้โรงงาน ในการกำหนดพื้นที่ปลอดการเผาอ้อยเป็นจังหวัดต้นแบบ รวม 5 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.ชัยภูมิ จ.เลย และ จ.อุตรดิตถ์

2) แผนการดำเนินการระยะยาว

2.1) กำหนดนโยบายลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ คือ ปีการผลิต 2563/2564 อ้อยไฟไหม้เหลือร้อยละ 30 ปีการผลิต 2564/2565 อ้อยไฟไหม้เหลือร้อยละ 0-5

2.2) แนวทางการนำใบอ้อยที่เกิดจากมาตรการตัดอ้อยสดมาเพิ่มมูลค่า เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร 50 บาทต่อตัน

2.3) การจูงใจให้มีการตัดอ้อยสด โดยนำค่าจ้างตัดอ้อยสดมาเป็นฐานในการคำนวณราคาอ้อย

2.4) ส่งเสริมชาวไร่อ้อยทำเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อรองรับเครื่องจักรกลการเกษตรและการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวและเร่งรัดการปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อซื้อเครื่องสางใบและรถตัดอ้อยมากขึ้น

3) แผนงาน/โครงการตามงบประมาณ ปีงบประมาณ 2563

3.1) โครงการจัดการผลิตอ้อยแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อย โดยใช้เทคโนโลยี Smart Farming วงเงิน 10,000,000 บาท เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอ้อย การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

3.2) โครงการการพัฒนาการผลิตอาหารสัตว์อัดเม็ดจากอ้อยด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ วงเงิน 7,000,000 บาท เพื่อลดการเผาอ้อยก่อนตัดเข้าโรงงาน ส่งเสริมการนำวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาสร้างมูลค่าและลดการนำเข้าอาหารสัตว์จากต่างประเทศ

3.3) โครงการการพัฒนาต้นแบบแผ่นกั้นเสียงจากวัสดุเหลือใช้จากอ้อย วงเงิน 2,270,000 บาท เพื่อส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดการเผาอ้อยก่อนตัดเข้าโรงงานและส่งเสริมการนำวัสดุเหลือทิ้ง

ทางการเกษตรมาสร้างมูลค่า

(จังหวัดนราธิวาส)

>>ข้อสั่งการ

1.การประชาสัมพันธ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)

- ให้ ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประชาสัมพันธ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 25) ในแต่ละระดับ (ความเข้มข้นตั้งแต่ 20 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป) พร้อมกับแนะนำวิธีการป้องกันให้แก่ประชาชน

(จังหวัดพะเยาและน่าน)

>>ข้อสั่งการ

1.การสร้างการรับรู้เรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเขตพื้นที่ จ.น่าน

- ให้ ทส. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนให้ทราบถึงสาเหตุการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน วิธีการป้องกัน และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

(บริเวณสวนรักษ์ธรรมชาติ (วงเวียนหลักสี่) ถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร)

>>ข้อสั่งการ

1.การพัฒนาสวนสาธารณะและเพิมพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร

- ให้ กทม. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งระบบไฟส่องสว่างภายในสวนสาธารณะ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ที่สามารถช่วยลดฝุ่นละออง (PM2.5) เพิ่มเติมในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ตามความเหมาะสมต่อไป

(จังหวัดเชียงราย)

>>ข้อสั่งการ

1.การส่งเสริมการใช้ยานพาหนะที่ลดการสร้างมลพิษและสิ่งแวดล้อม

- ให้ พน. ร่วมกับ คค. ทส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชน หน่วยงานราชการ และระบบขนส่งสาธารณะใช้ยานพาหนะที่ลดการสร้างมลพิษ และสิ่งแวดล้อม โดยให้กำหนดแผนการดำเนินงานการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดการสร้างมลพิษและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน

>> ผลการดำเนินงาน

1.พน. ดำเนินการ ดังนี้

1) อยู่ระหว่างดำเนินการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดการสร้างมลพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกำลังดำเนินโครงการจัดทำแผนพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ โดยในวันที่ 8 มี.ค. 2564 ได้ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างที่ปรึกษาโครงการฯ ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก

2) แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรมในไทย และมีแผนที่จะของบกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการจัดทำโครงการสนับสนุนการลงทุนในการซื้อขายยานยนต์ฟฟ้า โดยสนับสนุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ในสถานศึกษา นิติบุคคล และประชาชนทั่วไป

3) ออกประกาศกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำมันดีเชลหมุนเร็วและกลุ่มเบนซินให้เทียบเท่าระดับยูโร 5 เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2562 ซึ่งมาตรฐานใหม่จะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป เพื่อให้โรงกลั่นน้ำมันและผู้ผลิตรถยนต์มีระยะเวลาเพียงพอในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

4) ออกประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลพ.ศ. 2563 กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาจะต้องมีส่วนผสมของไบโอดีเซล ร้อยละ 9 - 10 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2563 ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลในภาคขนส่ง ซึ่งช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เกิดจากภาคขนส่งได้ประมาณร้อยละ 35 - 13.5 ทั้งนี้ ข้อมูลในเดือน ธ.ค. 2563 พบว่ามีปริมาณการใช้ บี 10 เฉลี่ยอยู่ที่ 23.8 ล้านลิตร/วัน และในปี 2564 จะดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ โทรทัศน์ วิทยุสื่อสิ่งพิมพ์

>>ข้อสั่งการ

2.การกำหนดตัวชี้วัดในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน

- ให้ ทส. ร่วมกับ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการกำหนดตัวชี้วัดในการป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยให้การกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดในลักษณะลำดับขั้นที่สอดคล้องกับการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นต่อเนื่อง และนำไปสู่การขจัดปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างถาวร

>> ผลการดำเนินงาน

มท. ดำเนินการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยมีมาตรการที่สำคัญ เช่น ทบทวนและจัดทำแผนเผชิญเหตุ ตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมประสิทธิภาพการติดตามและตรวจสอบคุณภาพอากาศและบัญชาการดับไฟป่า เน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก รวมทั้งกำหนดมาตรการ 4 พื้นที่ 5 มาตรการบริหารจัดการ สำหรับพื้นที่เกิดไฟป่า โดย 4 พื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ (1) พื้นที่ป่าสงวนป่าอนุรักษ์ (2) พื้นที่เกษตรกรรม (3) พื้นที่ชุมชน/เมือง และ (4) พื้นที่ริมทาง โดยมี 5 มาตรการในการบริหารจัดการ ดังนี้

(1) ระบบบัญชาการเหตุการณ์

(2) สร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมให้ประชาชน เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลป่า

(3) ลดปริมาณเชื้อเพลิง โดยให้จัดแนวกันไฟ การควบคุมการเผา

(4) การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

(5) จัดตั้งทีมประชารัฐ โดยบูรณาการให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ มท. เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564)

มท. ร่วมกับ ทส. กำหนดแนวทาง/ตัวชี้วัดร่วม (Joint KPls) ตามแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรฐานการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยกำหนดตัวชี้วัดระดับจังหวัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 19 จังหวัดภาคเหนือ โดยให้กำหนดตัวชี้วัดจุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือลดลงร้อยละ 20 ของจำนวนจุดความร้อนที่เคยเกิดในปีงบประมาณ 2563 ตลอดจนรับทราบความเห็นจาก 17 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือเพื่อรับทราบข้อเท็จจริง เพื่อใช้ในการพิจารณาความเป็นได้ ความเหมาะสม รวมทั้งการส่งเสริมมาตรการ/วิธีการดำเนินการ/แนวทางปฏิบัติร่วมกัน ก่อนกำหนดตัวชี้วัดใหม่ (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ มท. เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2564)

(ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และโครงการรับขนส่งมวลชลขนาดรองสายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน))

>>ข้อสั่งการ

1. การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในพื้นที่เขตเมือง และแก้ไขปัญหา PM2.5

- ให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง เข้มงวดตรวจจับรถควันดำ เร่งระบายการจราจรไม่ให้ติดขัด ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ

>> ผลการดำเนินงาน

กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิตสะพานใหม่ - คูคต ดังนี้

1. โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาระบบการจัดการจราจรเป็นพื้นที่

2. โครงการ School Zone Safety Zone จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านจราจรประกอบไปด้วย เทศกิจ ผู้ปกครอง และทหาร ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น รวมเจ้าหน้าที่ 2,000 ราย

3. โครงการเทศกิจ School Care อำนวยความสะดวก และจัดการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียน สถานศึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกกับเด็กนักเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป

4. กิจกรรมตั้งจุดกวดขันรถบรรทุกดิน หรือวัสดุอื่นใดที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง และให้อยู่ในสภาพที่ป้องกันมิให้วัสดุที่บรรทุกตกหล่นรั่วไหล ปลิว ฟุ้งกระจาย จ. กิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองให้กับประชาชน 180 แห่ง อาทิ บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า สถานที่ก่อสร้างถนนสายหลัก และขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้จุดธูปเทียนที่ก่อให้เกิดควัน

6. มาตรการกวดขันรถบรรทุกที่เข้าออกสถานที่ก่อสร้างให้มีการป้องกันไม่ให้วัสดุที่บรรทุกตกหล่น ปลิว ฟุ้ง กระจายบนถนน และให้ล้างทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกจากสถานที่ก่อสร้างทุกครั้ง

7. มาตรการตรวจตราไม่ให้มีการเผาขยะในที่สาธารณะ โดยตรวจพื้นที่ว่างเปล่าห้ามไม่ให้มีการเผาขยะ จำนวน 180 แห่ง

8. มาตรการเข้มงวดตรวจจับรถยนต์ควันดำแบบบูรณาการร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษและกรุงเทพมหานคร (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ กทม. เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564)

(แม่น้ำเจ้าพระยา MINE SMART FERRY : "MISSION NO EMISSION" River Mass Transit ณ ท่าเรือ แคท ทาวเวอร์ กสท. เขตบางรัก และเปิดท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) ณ ท่าเรือสะพานพระพุทธยอดฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร)

>>ข้อสั่งการ

1.การแก้ไขปัญหา PM2.5 โดยให้นำข้อมูลการพยากรณ์อากาศมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้

- ให้ กทม. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยามาศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางมาตรการเตรียมกรรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการสะสมของฝุ่น PM2.5ในเขตพื้นที่ กทม.

>> ผลการดำเนินงาน

1.กทม. ดำเนินการกำหนดมาตรการตรวจวัดรถยนต์ควันดำแบบบูรณาการโดยได้จัดตั้งจุดตรวจร่วมกันระหว่างกองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 จุด ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ตรวจวัดรถยนต์ จำนวน 22.563 คัน พบรถยนต์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2,882 คัน คิดเป็นร้อยละ 12.77 (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564) (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ กทม. เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2564)

(จังหวัดชัยนาท)

>>ข้อสั่งการ

1. การเตรียมแผนเผชิญเหตุ

- ให้ กษ. มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมแผนเผชิญเหตุให้พร้อมรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการดำเนินการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ

>> ผลการดำเนินงาน

1.มท. โดย ปภ. รายงานว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และ กทม. ได้ซักซ้อมแนวทาง ทบทวน และปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ไฟป้าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2s) ของจังหวัดให้เป็นปัจจุบันและเป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลประกอบการวางแผนให้ความช่วยเหลือประชาชน และนำมาตรการป้องกันโรคของ สธ.มาประยุกต์ใช้กับการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว จ.ชัยนาท รายงานการติดตามผลการดำเนินงานฯ ดังนี้

1) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.ชัยนาท ได้จัดทำแผนเผชิญเหตุการเตรียมความพร้อม (อุทกภัย) ในพื้นที่เป้าหมาย 8 อำเภอ 51 ตำบล 448 หมู่บ้าน 9 ชุมชน โดยมีผลการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การประขาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ภาคการเกษตร และแจ้งเตือนภัยด้านการเกษตร ผ่านช่องทางต่าง ๆ 2) การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ใน 8 อำเภอ 51 ตำบล 448 หมู่บ้าน 9 ชุมชน 3) การบริหารจัดการน้ำ อาทิ (1) การวางแผน การจัดสรรน้ำลงพื้นที่ลุ่มต่ำ ตรวจสภาพประตูระบายน้ำและกำจัดวัชพืช (2) โครงการปฏิบัติการฝนหลวง ตามมาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน (1 ก.พ. - 30 ก.ย. 2564) ขึ้นบิน 23 วัน คิดเป็น 71 เที่ยวบิน (3) การขุดบ่อน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม. ตั้งแต่ปี 2548 - 2564รวม 2,866 บ่อ 

และ 4) การผลิตทางการเกษตร ได้แก่ (1) ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน (2) ปรับปรุง

บัญชีทรัพยากร อาทิ เครื่องสูบน้ำ รถขุด เรือกำจัดวัชพืช จำนวน 143 รายการ (3) สำรองเสบียงอาหารสัตว์และเวชภัณฑ์ และ (4) วางแผนการอพยพสัตว์ โดยกำหนดจุดอพยพ จำนวน 26 จุด พื้นที่ 8 อำเภอ

ความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และสถานที่สำคัญต่าง ๆ (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ มท. เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2564)

กษ. รายงานผลการดำเนินการ ดังนี้ 1) การเตรียมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง (เดือน พ.ย. 2564 - เม.ย. 2565) ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ให้คำแนะนำ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ (2) การเตรียมความพร้อม/การเผชิญเหตุสนับสนุนเครื่องมือ (เครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ) และอุปกรณ์ การปฏิบัติการฝนหลวง การช่วยเหลือและสื่อสารสถานการณ์ และ (3) การฟื้นฟูประเมินมูลค่าความเสียหาย สนับสนุนเงินกู้ช่วยเหลือเกษตรกร และจัดหน่วยเคลื่อนที่เยี่ยมเยียน

2) การเตรียมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูฝน (สถานการณ์น้ำหลากและฝนน้อยกว่าค่าปกติ เดือน พ.ค. - ต.ค. 2564) ได้แก่ (1) การวางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน กำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว (นาปี) จัดหาและปรับปรุงแหล่งกักเก็บน้ำ วางแผนการอพยพสัตว์ (2) การเตรียมความพร้อม/การเผชิญเหตุ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องจักรกลรวมถึงเสบียงอาหารสัตว์ เรือตรวจการและเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือและสื่อสารสถานการณ์ และ (3) กำรฟื้นฟู สำรวจและประเมินความเสียหายจัดหน่วยเคลื่อนที่เยี่ยมเยียนและช่วยเหลือระยะเร่งด่วน สนับสนุนพันธุ์สัตวน้ำและเมล็ดพันธุ์ดี ซ่อมแซมโครงสร้างด้านชลประทาน และสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ กษ. เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2564)

(ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล)

>>ข้อสั่งการ

1.การเฝ้าระวังกิจการ/กิจกรรม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเกิดภาวะโลกร้อน

- ให้ทุกส่วนราชการ เฝ้าระวังกิจการ/กิจกรรม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ปัญหาด้านสุขภาพ

>> ผลการดำเนินงาน

1. คค. มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

1) การกำหนดนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง เช่น ยกระดับระบบการขนส่งทางน้ำให้มีความปลอดภัย มั่นคง ทันสมัย มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการกำกับดูแล การบริหารจัดการการขนส่งทางน้ำ พัฒนาศักยภาพในการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มาตรการด้านภาษีประจำปีเพื่อส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) และยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการส่งเสริม/สร้างแรงจูงใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสาธารณะ มาตรการแก้ไขปัญหา PM2.5 กำหนดมาตรการในการลดการปล่อยก๊ซเรือนกระจก เป็นต้น

2) แผนงาน/โครงการที่สำคัญ อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการด้านภาษีประจำปีสำหรับรถเพื่อสนับสนุนยานยนต์ที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แผนงาน/โครงการยกระดับมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า จัดทำโครงการศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการป้องกันการนำรถยนต์สิ้นสภาพกลับมาใช้ใหม่ จัดทำโครงการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและเสียงรถราชการ การติดตั้งระบบปล่อยฝอยละอองน้ำความดันสูง (High Pressure Water System) จำนวน 15 แห่ง โดยเปิดระบบเป็นช่วงเวลาตามรอบโดยเฉพาะในเวลาที่มีการจราจรหนาแน่น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑ จัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊ซเรือนกระจก ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564 - 2573 เป็นต้น

3) การควบคุมกำกับดูแล เช่น การควบคุมกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเกิดภาวะโลกร้อน จัดทำโครงการตรวจสอบมลพิษทางอากาศและเสียงรถราชการในสังกัด คค. และรถของหน่วยงานที่เคยสังกัด คค. ปีละ 6 รอบ ตรวจสภาพรถของผู้รับเหมาให้เป็นไปตามมาตรฐานและแผนการซ่อมบำรุงที่กำหนด รวมถึงการตรวจวัดค่าไอเสียของรถโดยสารประจำทางไม่ให้เกินมาตรฐานกำหนดก่อนนำออกวิ่งให้บริการ การประเมินปริมาณก๊ซเรือนกระจกในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าที่มีแหล่งกำเนิดในขอบเขตการปฏิบัติการท่าอากาศยานของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด ตาม Airport Carbon Accreditation Guidance Document เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น เป็นต้น

4) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การเข้าร่วมภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางเรือ การสร้างเครือข่ายผู้ประสานงาน PM2s ของกรมทางหลวง การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานกับไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น

5) การปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย เช่น แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์พลังงานสะอาดให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

6. การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนารูปแบบโครงสร้างของเรือที่ประหยัดพลังงาน เป็นต้น

7. การแต่งตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะทำงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโรคระบาด และคณะทำงานดำเนินการด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco - Efficiency) เป็นต้น

8. การสร้างความตระหนักรู้ เช่น การพัฒนาบุคลากรให้ตระหนักรู้ต่อการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย หรือพันธกิจที่เกี่ยวซ้อง จัดทำแผ่นพับเพื่อเผยแพร่และขอความร่วมมือให้ผู้ขับรถบรรทุกที่เข้ามาใช้บริการท่าเรือกรุงเทพให้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลรักษาและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการใช้รถ และปัญหาตัานสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ เป็นต้น

(ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ คค. เมื่อวันที่ ๔ มี.ค. ๒๕'๖๕)

ทส. มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ 1. ดำเนินโครงการบริหารจัดการเชื้อเพลิง "ชิงเก็บ ลดเผา" ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน การจัดการเชื้อเพลิงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น

2. การบูรณาการความร่วมมือกับ พน. คค. และ กษ. เพื่อขับเคลื่อนดำเนินงานด้านการลดก๊ซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3. ดำเนินโครงการด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้บุคลากรของหน่วยงานในระดับจังหวัดจัดทำแผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องและบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด เพื่อตอบสนองต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่

4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านในการจัดการปัญหาไฟบำและหมอกควัน

5. การพัฒนาชุมชนตันแบบในพื้นที่คุ้มครองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป และการทำให้บำาเสื่อมโทรม รวมทั้งการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าในรูปแบบต่าง ๆ

6. การพัฒนาองค์ความรู้ การรับรู้ การให้ข้อมูล การสื่อความรู้ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบงานเรดด์พลัสและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ในรูปแบบการจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนและเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคป่าไม้ และรูปแบบอื่น ๆ

7. การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ "การป้องกันแก้ปัญหาไฟป่าและ หมอกควัน" ในพื้นที่ จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งจัดเตรียมกำลังพลเพื่อประจำในจุดต่าง ๆ ตามแผนที่กำหนด และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานตามโครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่า ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบจิตอาสา "เราทำความดีด้วยหัวใจชิงเก็บ ลดเผา ป้องกันไฟป่า"

8. การเตรียมการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference : TCAC) เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจ ความตระหนักรู้ ถึงเหตุผล และความสำคัญของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์นำไปสู่การขับเคลือนการดำเนินงาน ภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ ทส. เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565)

อว. โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ได้พัฒนาดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า GEO-KOMPSAT 2B (GK-2B) พร้อมติดตั้งเครื่องตรวจวัด Geostationary Environment Monitoring Spectrometer (GEMS) เพื่อเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคุณภาพทางอากาศครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งสามารถนำมาใช้สังเกตมลภาวะทางอากาศรายชั่วโมงได้ และมีแผนการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดภาคพื้นดิน (Pandora) ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งแสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมโครงการ " Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution Information : PAPGAPi" ซึ่ง สทอภ.ได้รับการประสานเพื่อติดตั้งเครื่องตรวจวัดภาคพื้นดิน จำนวน 3 ชุด เพื่อใช้ปรับแก้และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดมลภาวะทางอากาศด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศนอกจากนี้ ได้ดำเนินโครงการ "ระบบชี้จุดไฟป่าเพื่อการลด PM2.5 ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ" เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจและบริหารจัดการไฟป่า ลดพื้นที่เกิดฟป่า ซึ่งจะสามารถลดปัญหาฝุ่นควันและมลพิษ รวมทั้งสามารถตอบสนองนโยบายการแก้ไขปัญหาเพื่อลดปริมาณไฟป่าและหมอกคว้นอย่างยั่งยืน (ที่มา : รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ อว. เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565)

สธ. ได้ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนี้

1. โครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อน ด้วยการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (GREEN&CLEAN Hospital) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขดำเนินกิจกรรมลดโลกร้อน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลโดยใช้หลักการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตกับสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันโรงพยาบาลในสังกัดของ สธ. ทุกแห่งได้เข้าร่วมและดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องซึ่งในปี 2565 ได้มีการขยายผลการดำเนินงานสู่การเป็นโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Low Carbon and Resilient Smart Health Care)

2. การเฝ้าระวังสถานการณ์และสื่อสารเตือนภัยสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีความร้อน โดยได้นำข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยามาพัฒนาการกำหนดค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อนและคำแนะนำการปฏิบัติตนสำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง (เด็กเล็กผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งและผู้มีโรคประจำตัว) รวมทั้งได้สำรวจอาการและพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากความร้อนและความเสี่ยงต่อสุขภาพ ผ่านกลไกด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับจังหวัด ตลอดจนมีการตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำการป้องกันและดูแลสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงผ่านกลไก อสม. (ที่มา : รายงานความคืบหน้า การดำเนินงานตามข้อสั่งการ นรม. ของ สธ. เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565)