FED เรียกประชุมด่วน!! สหรัฐฯ หารือป้องกันวิกฤต Bank Run  หวั่น!! หากมีธนาคารอื่นล้มตาม SVB

(12 มี.ค.66) World Maker เผยว่า ท่ามกลางวิกฤตศรัทธาและวิกฤตสภาพคล่องของธนาคาร SVB ซึ่งส่อแว่วจะลุกลามต่อไปยังธนาคารอื่น ๆ ที่มีปัญหาคล้ายกันนี้ ล่าสุดสหรัฐฯ ได้เริ่มหารือถึงการจัดตั้งกองทุนหนุนเงินฝากแล้ว ! ขณะที่ FED เตรียมเรียกประชุมด่วนทันทีวันจันทร์นี้ (13) เพื่อหาทาง Take Action สำหรับวิกฤตที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ธนาคารหลายแห่งจะล้มตามมาอีก 

ปัญหาสำคัญสุดคือเรื่องของความเชื่อมั่น เพราะถ้าไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นกลับมาได้ มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะแห่ถอนเงินออกไปมากกว่าเดิมและยิ่งทำให้ปัญหา Bank Run รุนแรง เพราะแม้ว่าธนาคารบางแห่งจะยังไม่เกิดวิกฤต แต่ถ้ามีการแห่ถอนจนขาดสภาพคล่องเมื่อไหร่ก็จะกลายเป็น Bank Run ทันที ! เพราะกลุ่มธนาคารขาดทุนค้างพอร์ตรวมกันกว่า -21.5 ล้านล้านบาทหรือ -6.2 แสนล้านดอลลาร์ตอนนี้ !

ทำให้ตอนนี้ FDIC และ FED ต้องเริ่มชั่งน้ำหนักเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโดยด่วน โดยไม่ปล่อยให้ตลาดคาดเดากันเองต่อไป เพราะยิ่งปล่อยผ่านไปเฉย ๆ จะยิ่งทำให้ Panic มากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดในตอนนี้ว่ามาตรการป้องกันต่าง ๆ จะออกมาในรูปแบบใดบ้าง

แต่นักลงทุนบางส่วนก็คาดการณ์ว่า FED จะไม่ขึ้นดอกเบี้ย +0.5% ในครั้งนี้ เพราะจะยิ่งทำให้ตลาดตึงเครียดเข้าไปอีก เพราะแค่ตอนนี้ก็ลามไปมากกว่า SVB แล้ว ยกตัวอย่างเช่น First Republic และ PacWest ที่หุ้นร่วงตาม SVB มาเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น ซึ่งที่น่าห่วงไม่แพ้กันก็คือตลาดอสังหาฯ เพราะถ้าเกิดมีการล้มเป็นโดมิโน่เกิดขึ้น จะทำให้ราคาอสังหาฯ ที่สูงลิ่วในตอนนี้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะร่วงลงมาอย่างมีนัยสำคัญ

วิกฤตการล้มของ SVB นั้นถือว่าเป็นการล้มของธนาคารที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลก และถือเป็นธนาคารจริง ๆ แห่งแรกที่มีการล้มในรอบกว่า 10 ปี ซึ่งไม่ใช่น่าใหม่ด้วย แต่เป็นธนาคารที่มีประวัติและประสบการณ์มานานราว 40 ปีแล้ว เพราะ SVB ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1983 ดังนั้นแรงสั่นสะเทือนจึงมากกว่าวิกฤต Crypto และธนาคาร SilverGate ที่ล้มไปก่อนหน้านี้

SVB ได้รับการลงนามสนับสนุนจาก VC และสถาบันการลงทุนร่วมกว่า 100 แห่ง เนื่องจาก VC และบิรษัทเทคฯ ต่าง ๆ นั้นถือว่ามีผลประโยชน์โดยตรงกับธุรกิจของ SVB จึงน่าสนใจว่าจะมีใครเข้ามาอุ้มหรือจะปล่อยให้ล้มไปเฉย ๆ กันแน่ ? ตอนนี้ยังไม่มีอะไรชัดเจน แต่คาดว่าในวันจันทร์นี้จะมีความคืบหน้าออกมาเพิ่มเติมอีกแน่นอน

ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่าผลกระทบต่าง ๆ จะจบลงในเร็ว ๆ นี้ เพราะว่ายังมีเหตุการณ์อีกมากมายที่รอจะเกิดขึ้น ! แต่สำหรับคำถามที่ว่าจะรุนแรงเหมือนวิกฤตการเงินโลกหรือไม่นั้น เราก็คงต้องติดตามดูกันต่อไป โดยที่ไม่ควรจะประมาทหรือ Panic มากเกินไปว่ามันจะเบาหรือจะแรง

สำหรับผลกระทบต่อตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงนั้น คงจะเห็นภาพชัดขึ้นในวันจันทร์นี้ ว่าหุ้นจะร่วงหรือไม่ ? เรื่องของค่าเงินจะเป็นอย่างไร ? รวมไปถึงทองคำและ Crypto ซึ่งในช่วงนี้อาจมีความเคลื่อนไหวที่รุนแรงและผันผวนมากกว่าเดิมได้ เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่ฝุ่นกำลังตลบอยู่

นั่นทำให้ Trader และนักลงทุนจำนวนไม่น้อยเข้าสู่โหมด Risk-off (ลดการรับความเสี่ยง) แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นข้อการันตีหรือเป็นการรับประกันว่าตลาดกำลังจะร่วงลงอย่างรุนแรง เพราะอย่างที่ World Maker ย้ำเสมอว่าตลาดนี้ไม่มีอะไรแน่นอน 100%

โดยสรุปแล้วนั้น มี 4 สิ่งที่ต้องเราย้ำเพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจภาพกว้างอย่างชัดเจนดังนี้...
1. สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันวิกฤต Bank Run คือการเรียกความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและกลุ่มลูกค้าของธนาคาร เพราะถ้าเกิดการแห่ถอนเงินออกด้วยแรง Panic ที่สูงเกินไป ต่อให้เป็นธนาคารที่มีงบดุลแข็งแกร่งก็มีปัญหาได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ ต้องรีบ Take Action

2. ยังมีอีกหลายธนาคารที่มีปัญหาค้างคาอยู่ อย่างที่ได้กล่าวไปใน 2-3 บทความก่อนหน้านี้ว่ากลุ่มธนาคารมีการขาดทุนค้างพอร์ตอยู่ราว -21.5 ล้านล้านบาทหรือ -6.2 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้นหากดอกเบี้ยยังคงสูงอยู่ในระดับนี้ หรือสูงขึ้นอีก เราจะได้เห็นว่า SVB, First Republic, PacWest ไม่ใช่แห่งสุดท้ายที่จะล้ม

3. ทุกครั้งของการขึ้นดอกเบี้ยของ FED เพื่อสกัดเงินเฟ้อนั้นมักจะจบลงด้วยการที่ฟองสบู่บางส่วนแตกออก และดูเหมือนว่ามันจะเริ่มต้นขึ้นแล้วในปัจจุบัน ดังนั้นก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าโดมิโน่ครั้งนี้จะส่งผลรุนแรงมากน้อยเพียงใด แม้ว่าตอนนี้จะยังห่างไกลจากความรุนแรงใน Scale ของวิกฤตการเงินโลก แต่ถ้ามีการปล่อยไหลไม่ยอม Take Action ก็ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่ามันอาจลุกลามไปใหญ่โตได้ ต่อให้มันอยู่เหนือคาดการณ์ของหลายคนก็ตาม

4. ในช่วงวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่ผ่านมา Bond Yield สหรัฐฯ ร่วงลงอย่างมีนัยสำคัญหลุดลงมาจากเหนือ 4% ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ามาจากการที่นักลงทุนและ Trader เข้าสู่โหมด Risk-off โดยอาจเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและนำเงินเข้าสู่ตลาดพันธบัตรมากขึ้น นั่นหมายความว่าตลาดการเงินเริ่มตอบสนองต่อแรง Panic ไปแล้ว ดังนั้นจึงย้อนกลับไปที่ข้อ 3 ว่าจะมีการควบคุมหรือปล่อยไหลกันแน่ ?

เหตุการณ์ในครั้งนี้จึงต้องเฝ้าระวังกันต่อไปแบบไม่ประมาท แต่ขณะเดียวกันก็ควรใช้เวลานี้มองหาโอกาสในการลงทุนในะระยะยาวไปด้วย เพราะถ้ามัวแต่ Panic เราจะไม่เห็นโอกาสทองที่ซ่อนอยู่อย่างแนบเนียนท่ามกลางวิกฤต


ที่มา: World Maker
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0PXNqtegoSiooPMxFYSdehJ3RpqBTouoZTs7uPHaxjGKy6oQko5YpdewC98VZTuQEl&id=100057372132574&mibextid=Nif5oz