เหตุผลที่ความมั่นคงทางพลังงานในไทยต่ำมาก เพราะ ‘เกินครึ่ง’ ต้องพึ่ง 'เอกชน-เพื่อนบ้าน'

จากข้อมูล 'กำลังผลิตรวมในระบบไฟฟ้า' โดย กฟผ. รัฐบาลสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 34.46% จากความต้องการ ส่วนอีก 65.54% เราซื้อจากเอกชน และจากเพื่อนบ้าน ไทยเรามีความมั่นคงทางพลังงานต่ำมาก

(อ้างอิง: https://www.egat.co.th/home/statistics-all-latest/)

ประชากรบางส่วนเราหูเบา ถูกชักจูงจาก NGO ได้ง่าย จะสร้างอะไรก็ต้าน ก็ด่าไปหมด...

- โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต้าน 
- ผลิตจากพลังงานเขื่อนต้าน
- ผลิตจากขยะต้าน
- ผลิตจากเตาถ่านหินต้าน
- ผลิตจากพลังงานลมต้าน
- แม้แต่พลังงานแสงอาทิตย์ยังด่า

เมื่อสร้างไม่ได้ก็ต้องซื้อ เพราะความต้องการพลังงานเรามากขึ้นทุกๆ ปี ก็ต้องซื้อมาชดเชยมากขึ้น เมื่อซื้อเอกชนเขาก็ต้อง + กำไร มันก็ loop กันอยู่แบบนี้

อนุสัญญาเจนีวา ว่าด้วยเรื่องไหล่ทวีปในเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่าง 'ไทย-มาเลเซีย' กำลังจะหมดอายุในปี พ.ศ.2572 โดยไปใช้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทางทะเล ที่ไทยได้เข้าร่วมและให้สัตยาบันเมื่อปี พ.ศ.2554 (รบ.ใครไปดูเอง) ส่งผลให้เกาะโลซิน ไม่คงสถานะเกาะอีกต่อไป 

ทำให้ไทยจะไม่สามารถอ้างสิทธิจากเกาะโลซิน ซึ่งเป็นพื้นที่ขุดเจาะน้ำมัน แหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท เพื่อหล่อเลี้ยงพลังงานให้ไทยได้ จะส่งผลให้ทั้งค่าไฟที่ไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก รวมถึงน้ำมันจะมีราคาสูงขึ้นไปอีก

แสนยานุภาพทางการทะเลที่ควรจะเป็นเครื่องมือต่อรอง ก็ถูกการเมืองถ่วงจนเอาไปคานอำนาจกับมาเลเซียไม่ได้ ดูท่าแหล่งพลังงานเราคงไม่ถึงมือลูกหลานครับ

*บางทีผมก็คิดนะเมื่อไรคนบางกลุ่มจะเลิกเชื่อเรื่องปลุกปั่นทางการเมือง เลิกถ่วงความเจริญซักที


ที่มา: Future of Thailand / แซด ฐิติ

https://www.facebook.com/groups/550554705804937/permalink/1296801531180247/?mibextid=Nif5oz