Sunday, 28 April 2024
พลังงานแสงอาทิตย์

'จีน' ผลิตชิปล้ำโลก-โรงงานไฟฟ้าอนันต์ สวนทางยุโรป ย้อนยุคใช้ ‘ไม้ฟืน-ถ่านไม้’

(19 ต.ค. 65) World Update ได้เปิดเผยว่าถึงความล้ำหน้าด้านพลังงานของจีน ภายหลังได้ผลิตชิปสุดล้ำโฟโตนิก และพลังงานไฟฟ้าอนันต์ฟรีไม่มีวันหมด ไว้ว่า...

จีน ไปต่อไม่รอแล้ว! ผลิตชิปสุดล้ำโฟโตนิก และพลังงานไฟฟ้าอนันต์ฟรีไม่มีวันหมด

ปี 1964 กองทัพจีน ได้ทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรก ทำให้เป็นประเทศที่ติดอาวุธนิวเคลียร์ลำดับที่ 5 รองจากสหรัฐ สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ระเบิดนิวเคลียร์ของจีนขณะนั้นเป็นอุปกรณ์นิเคลียร์ฟิวชัน จากแร่ยูเรเนียม 235 ที่มีกำลังระเบิด 22,000 ตัน

ปี 2000 จีนจัดเป็นประเทศยากจน ขนาดเศรษฐกิจเล็ก ผลิตแต่สินค้าทั่วไปจำหน่าย ทำให้ชาติตะวันตกปรามาสว่าทำแต่ของก๊อบปี้ คงไม่สามารถก้าวทันตนได้

ปี 2022 จีนกลายมาเป็นเศรษฐกิจสำคัญเติบโตเร็วที่สุดในโลก เป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกเป็นอันดับที่ 2 ของโลก เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดในโลก งบประมาณด้านกลาโหมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ถูกจัดว่ามีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจโลก

ปัจจุบันจีนมีธนาคารใหญ่ที่สุด 6 อันดับแรกของโลก เป็นผู้ส่งออกอุตสาหกรรม นวัตกรรมเทคโนโลยี สู่โลกราว 1 ใน 3 ทั้งโลกมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 500 เครื่อง ในจำนวนนี้เป็นของจีน 227 เครื่อง หรือราว 45.4% องค์การสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ระบุว่าจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนสิทธิบัตรระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 1 ของโลก 

เกือบ 50% ของสิทธิบัตรทั่วโลกเป็นของจีน เฉพาะปี 2019 จีนก็มีการจดสิทธิบัตรระหว่างประเทศ 58,990 รายการ คำกล่าวที่ว่าจีนทำสินค้าก๊อบปี้จึงเป็นสิ่งตรงข้ามกับข้อเท็จจริงอย่างมาก

จีนกับไต้หวัน ที่สหประชาชาติ (UN) รับรองให้เป็นมณฑลของจีน ส่งออกชิปคอมพิวเตอร์เกิน 70% ของโลก ทำให้สหรัฐฯ, อังกฤษ ที่เคยทำสงครามฝิ่นยึดครองดินแดนจีน ได้กลับตาลปัตรกลายเป็นชาติที่ล้าหลังจีนแทบทุกด้าน ต่างพากันตาร้อนผ่าวประกาศนโยบายว่าจีนเป็นภัยคุกคามของชาติตน แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นนำเข้าสินค้าและเทคโนโลยีจากจีน จ่ายเงินให้จีนเพิ่มขึ้นทุกปีไม่หยุด แม้แต่เครื่องบินรบ F-35 ของสหรัฐ ที่เคยอ้างว่ามีชิ้นส่วนจากจีน และหยุดผลิตไปแต่หาของมาทดแทนไม่ได้ ตอนนี้ก็กลับไปใช้อะไหล่จากจีนผลิตต่อหน้าตาเฉย

ล่าสุดจีนพัฒนาสายการผลิตแรกของ 'ชิปโฟโตนิก' หลายวัสดุและข้ามขนาด หรือวงจรออปติคัลรวม ที่นครปักกิ่ง ใช้ในอุตสาหกรรมภายในประเทศก่อน และจะเริ่มส่งออกเชิงพาณิชย์ในปี 2024 การพัฒนานี้จะช่วยเติมช่องว่างการผลิตระดับบนสุดของประเทศ เมื่อเทียบกับชิปอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกันแล้ว โดยชิปโฟโตนิกมีความเร็วสูงกว่าและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า ความเร็วในการคำนวณและอัตราการส่งข้อมูลมากกว่า 1,000 เท่าของชิปอิเล็กทรอนิกส์

สายการผลิตนี้ถูกสร้างโดย Sintone ซึ่งเป็นองค์กรไฮเทคในปักกิ่ง ศูนย์ข้อมูลแห่งนี้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในหลากหลายสาขา เช่น การสื่อสาร ศูนย์ข้อมูล การทดสอบทางการแพทย์ และภาคส่วนอื่นๆ

การใช้โฟโตนิกชิปในจีนขณะนี้ ขยายไปสู่ในอุตสาหกรรม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ยานพาหนะ การป้องกันประเทศ และอื่นๆ

โรงงานผลิตแห่งใหม่นี้จะช่วยเติมเต็มช่องว่างในด้านโรงผลิตชิปโฟโตนิกในจีนให้เพิ่มมากขึ้น และเร่งกระบวนการเปลี่ยนชิปธรรมดา ไปสู่โฟโตนิกในประเทศให้เร็วขึ้น โดยชิปโฟโตนิกจะเป็นทิศทางสำคัญต่อไปของการพัฒนาชิป เนื่องจากความเสถียรและการใช้พลังงานต่ำ

ชิปล้ำอนาคตนี้ยังไม่มีการผลิตในขนาดใหญ่ที่ใดในโลก ดังนั้นโรงงานแห่งใหม่นี้จะแสดงให้เห็นว่าจีนเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีนี้ในโลก แสดงว่าอุตสาหกรรมไฮเทคของจีนมีกระบวนการวิจัยและพัฒนาพรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่เป็นผู้นำของโลกไปเรียบร้อยแล้ว

จีนกลายเป็นตลาดการสื่อสารด้วยแสงใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดของตลาดชิปโฟโตนิกในประเทศได้ขยายตัวอย่างน่าทึ่ง ปี 2015 มูลค่า 5,760 ล้านหยวน ในปี 2021 ขยายเป็น 14,457 ล้านหยวน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยมากกว่า 15% ต่อปี 

สำหรับการผลิตชิปโฟโตนิกนั้น ไม่ต้องใช้วัตถุดิบมากเท่าชิปอิเล็กทรอนิกส์ในข้อกำหนดด้านโครงสร้าง เนื่องจากชิปโฟโตนิกไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์หินระดับไฮเอนด์ เช่น การพิมพ์หินอัลตราไวโอเลตขั้นสูง

ดังนั้นจีนจึงสามารถผลิตได้โดยใช้วัตถุดิบและประเภทของอุปกรณ์ที่มีสมบูรณ์ครบถ้วนที่มีในจีนอยู่แล้ว

การพัฒนาภาคส่วนในประเทศจีนในปัจจุบันนั้นก้าวหน้าทั้งการใช้งานและการออกแบบ ดังนั้นจีนจะใช้ความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนับสนุนภาคส่วนหลัก เช่น คอมพิวเตอร์ควอนตัมในทางปฏิบัติและเชื่อถือ เพื่อเสริมหนุนโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์และการผลิต

ปัจจุบันจีนได้มีการนำชิปคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ต่างๆ ตั้งแต่ความก้าวหน้าทางอวกาศ, อากาศยานโดรน, รถบิน, หุ่นยนต์, ยานยนต์, อาวุธ, อากาศยานโดรนโจมตี และจีนก็จำหน่ายเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาพิสัยบินปานกลางแบบ FTC-2000G มาให้กองทัพเมียนมาหลายลำ

เครื่องบิน(SWISS) ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม | THE STATES TIMES Y WORLD EP.43

สายการบิน (SWISS) เตรียมใช้เครื่องบิน ‘พลังงานแสงอาทิตย์’

ผลิตเชื้อเพลิง ทั้งประหยัด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

.

ติดตามได้ใน THE STATES TIMES Y World

เหตุผลที่ความมั่นคงทางพลังงานในไทยต่ำมาก เพราะ ‘เกินครึ่ง’ ต้องพึ่ง 'เอกชน-เพื่อนบ้าน'

จากข้อมูล 'กำลังผลิตรวมในระบบไฟฟ้า' โดย กฟผ. รัฐบาลสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 34.46% จากความต้องการ ส่วนอีก 65.54% เราซื้อจากเอกชน และจากเพื่อนบ้าน ไทยเรามีความมั่นคงทางพลังงานต่ำมาก

(อ้างอิง: https://www.egat.co.th/home/statistics-all-latest/)

ประชากรบางส่วนเราหูเบา ถูกชักจูงจาก NGO ได้ง่าย จะสร้างอะไรก็ต้าน ก็ด่าไปหมด...

- โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต้าน 
- ผลิตจากพลังงานเขื่อนต้าน
- ผลิตจากขยะต้าน
- ผลิตจากเตาถ่านหินต้าน
- ผลิตจากพลังงานลมต้าน
- แม้แต่พลังงานแสงอาทิตย์ยังด่า

‘ซีคอนสแควร์’ ทุ่มงบ 3 ล้าน!! สร้าง ‘ป้ายรถเมล์ติดแอร์’ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน!!

(27 เม.ย. 66) ด้วยสภาวะอากาศร้อนปะทุต่อเนื่อง ล่าสุด ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์และ บริษัท คูลคูล จำกัด ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร นำร่องจัดทำ ‘Sabuy Square’ (สบายสแควร์) ป้ายรถเมล์ติดแอร์ พลังงานแสงอาทิตย์ แห่งแรกในประเทศไทย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์พลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ให้กับประชาชนในยุคปัจจุบันและเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ตั้งอยู่บริเวณ Seacon Bus Station ด้านหน้าศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ถนนศรีนครินทร์

สำหรับ ‘Sabuy Square’ เป็นป้ายรถเมล์ติดแอร์ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ที่เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดและสภาวะมลพิษฝุ่นควัน PM2.5

ภายในที่พักคอยรถโดยสารสาธารณะ มีขนาดพื้นที่ 40 ตารางเมตร สามารถรองรับจำนวนคนกว่า 40 คน พร้อมติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ประกอบด้วย ระบบปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์, บริการ Free Wi-Fi, ที่เสียบ USB สำหรับชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ, ตู้กดน้ำดื่มสาธารณะ, กล้อง CCTV เชื่อมต่อระบบไปยังศูนย์บริหารจัดการ, ระบบสัญญาณเตือนฉุกเฉิน (Panic Button), พร้อมจอแสดงสายรถเมล์ที่กำลังจะมาถึง

ทั้งนี้ ผู้บริหารศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ได้มีแนวคิดในการจัดสร้าง ‘Sabuy Square’ ป้ายรถเมล์ติดแอร์ขึ้น เพื่อเป็นการตอบแทนลูกค้าให้ได้รับความสะดวกสบายในสภาวะวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะตอบแทนคืนสู่สังคม

อบต.โพนงาม บริการประชาชน ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เน้นโปร่งใส คุ้มค่า สามารถตรวจสอบได้ และไร้มลพิษ

องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี 2539 มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้ง ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ในการดำเนินการส่วนใหญ่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักจะอุดหนุนงบประมาณให้การไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินการและเป็นทรัพย์สินของการไฟฟ้า ทั้งที่การไฟฟ้าก็มีอำนาจหน้าที่บริการการขยายเขตไฟฟ้าบริการประชาชนอยู่แล้ว แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เลือกที่จะอุดหนุนงบประมาณ เนื่องจากสะดวกและง่ายไม่ต้องดำเนินการเอง

ปัจจุบันการไฟฟ้าจำกัดอัตราการใช้ไฟฟ้าส่องว่างสาธารณะในชุมชนลง ทำให้บางชุมชนบางพื้นที่ไม่มีแสงสว่างเพื่อความสะดวกและปลอดภัย

จากปัญหาดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาระบบแสงสว่างสาธารณะโดยมีความคิดริเริ่มในการเลือกใช้พลังงานทดแทนตามนโยบายรัฐบาล

โดยจัดทำคำของบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจตามแผนกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2565 โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ สายบ้านพลังใหม่ หมูที่ 11 ตำบลโพนงาม – บ้านวาใหญ่ ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร งบประมาณ 4.6 ล้านเศษ และได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อกลางปี 2565 จากการดำเนินโครงการก่อสร้างและติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar street light) ทำให้ประชาชนและผู้สัญจรมีความพึงพอใจอย่างมาก เพราะสะดวกสบาย ปลอดภัยในยามค่ำคืน และประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกด้วย ที่สำคัญเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง ทำให้พื้นที่ข้างเคียงหรือหมู่บ้านอื่นมีความต้องการจะติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์เช่นเดียวกัน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 – 2570 องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้ประชาคมจัดทำแผนพัฒนาเพื่อขยายพื้นที่ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้ครบทุกหมู่บ้านและตามสายทางสาธารณะที่ไฟฟ้าไปไม่ถึง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้จัดทำคำของบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจฯ จำนวน โครงการ ได้แก่

1.โครงการเสริมผิวจราจรแอสฟัลติกท์คอนกรีตพร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ สายหน้าวัดโพธิ์ชัย หมู่ที่ 1 ตำบลโพนงาม – บ้านวาใหญ่ ตำบลวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 100 โคม ระยะทาง 2,000 เมตร

2.โครงการก่อสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ สายบ้านพลังใหม่ หมู่ที่ 11 ตำบลโพนงาม – บ้านดอนทอย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 54 โคม ระยะทาง 1,000 เมตร

3.โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สายบ้านเสาวัด หมู่ที่6 ตำบลโพนงาม – บ้านนาหวาย ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 100 โคม ระยะทาง 2,000 เมตร ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลคาดหมายว่าจะได้รับงบประมาณจากรัฐบาล และอีกส่วนหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามได้ใช้งบประมาณของตนเองดำเนินโครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์บริการชุมชนและสังคมภายในหมู่บ้านที่ไม่มีแสงสว่างหรือระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าไปไม่ถึง และนี่คือนโยบายดีๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามให้ความสำคัญตามหลักการบริการสาธารณะที่ว่า “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี ประชาชีเป็นสุข เศรษฐกิจมั่งคั่ง” บนพื้นฐานหลักความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้

‘เยียนไถ’ รุกคืบปลูกสมุนไพรใต้แผงโซลาร์เซลล์ หนุนพลังงานสะอาด เดินเครื่องสถานีไฟฟ้าผสานเกษตรฯ สร้างมูลค่า ศก.กว่า 5 แสนหยวน

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว, ปักกิ่ง รายงานว่า เมื่อไม่นานนี้ จางเจียจวง ศูนย์กลางการขนส่งในเขตฝูซาน เมืองเยียนไถ มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน เริ่มดำเนินงานโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (PV) ระยะที่ 1 โดยผสมผสานการผลิตไฟฟ้ากับการเกษตร

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ของสถานีผลิตไฟฟ้าแห่งนี้จะรับแสงแดดได้เต็มที่ ซึ่งจะถูกแปลงเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส่งเข้าไปที่บริษัทสเตต กริด เยียนไถ พาวเวอร์ ซัพพลาย คอมพานี (State Grid Yantai Power Supply Company) ก่อนจะจ่ายไปยังบ้านเรือนของประชาชน

โครงการดังกล่าวเป็นโครงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ดำเนินการสอดประสานกับลักษณะเกษตรกรรมของท้องถิ่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อการ ‘ผลิตไฟฟ้าบนแผงเซลล์ ปลูกพืชใต้แผงเซลล์’ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมการบรรเทาความยากจนที่ผสมผสานการเกษตร และการผลิตไฟฟ้าผ่านการปลูกผักอินทรีย์ ผลไม้คุณภาพสูง หรือสมุนไพรจีน ในพื้นที่โครงการผลิตไฟฟ้า

สถานีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้มีกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ และผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยปีละราว 70.22 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง สร้างรายได้สุทธิทางเศรษฐกิจแก่หมู่บ้านกว่า 500,000 หยวน (ราว 2.52 ล้านล้านบาท) และสร้างประโยชน์แก่ผู้คนกว่า 700 คน ขณะเดียวกันลดการใช้ถ่านหินมาตรฐานได้ 21,417.67 ตันในแต่ละปี และลดก๊าซอันตรายและการปล่อยไอเสียได้

ขณะนี้ กำลังการผลิตติดตั้งของการผลิตพลังงานสะอาดในเยียนไถอยู่ที่ 11.74 ล้านกิโลวัตต์ เป็นอันดับหนึ่งในมณฑลซานตง โดยคิดเป็นร้อยละ 54.49 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งทั้งหมดในซานตง

‘ทีมวิศวกร MIT’ ออกแบบระบบใช้ประโยชน์ ‘พลังงานสุริยะ’  ผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสะอาด แทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

เมื่อวานนี้ 23 ต.ค. 66 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทีมนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ของสหรัฐฯ เปิดเผยผลงานการออกแบบใหม่ที่อาจควบคุมและใช้ประโยชน์จากความร้อนของดวงอาทิตย์สูงถึงร้อยละ 40 เพื่อผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสะอาด

ผลการศึกษาที่เผยแพร่ผ่านวารสารโซลาร์ เอ็นเนอร์จี เจอร์นัล (Solar Energy Journal) ระบุว่าทีมวิศวกรของสถาบันฯ ได้ทำการออกแบบระบบที่สามารถผลิตไฮโดรเจนทางอุณหเคมีหรือเคมีความร้อน (thermochemical) จากพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบดังกล่าวควบคุมและใช้ประโยชน์จากความร้อนของดวงอาทิตย์เพื่อแยกน้ำโดยตรงและผลิตไฮโดรเจน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่สามารถเป็นพลังงานขับเคลื่อนรถบรรทุก เรือ และเครื่องบินในระยะไกลโดยไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อนึ่ง ระบบการผลิตไฮโดรเจนแบบดั้งเดิมพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ระบบใหม่ใช้เพียงพลังงานแสงอาทิตย์เท่านั้น

อาห์เมด โกเนิม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลของสถาบันฯ ซึ่งเป็นผู้เขียนผลการศึกษาลำดับแรก เผยว่าไฮโดรเจนถือเป็นเชื้อเพลิงแห่งอนาคต โดยมีความจำเป็นต้องผลิตไฮโดรเจนให้ได้ในต้นทุนที่ถูกและปริมาณมาก

‘พีระพันธุ์’ ดัน ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ หนุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับชุมชน

‘พีระพันธุ์’ ดันพลังงานแสงอาทิตย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับชุมชน มุ่งลดต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พร้อมเดินหน้าช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศ

(4 ธ.ค.66) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้ดำเนินสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการลดรายจ่ายให้แก่กลุ่มเกษตรกรในการนำแผง โซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าไปใช้กับเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ที่ต้องการน้ำในภาคเกษตรกร

โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ทั้งระบบสูบน้ำจากบ่อบาดาลและการสูบน้ำจากแหล่งน้ำ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายน้ำมันดีเซลได้ค่อนข้างมาก 

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนนำเทคโนโลยีด้านพลังงานมาใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้นั้นสามารถลดระยะเวลาในการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมากขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสะอาด ผ่านมาตรฐานจนได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ชุมชนดีเด่น

“เป้าหมายสำคัญนอกจากการลดรายจ่ายด้านพลังงานทั้งค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนทั่วไปแล้ว ยังต้องการให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีพลังงานมาใช้ ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน”

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานก็ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีพลังงาน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซล่าเซลล์ในการสูบน้ำ รวมทั้งเทคโนโลยีโรงอบแห้งที่ใช้อบผลิตภัณฑ์ชุมชน 

นอกจากจะลดรายจ่ายค่าเชื้อเพลิงซึ่งต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังมีความสะอาดได้มาตรฐาน จนหลายผลิตภัณฑ์ได้รับรางวัล OTOP และ ไทยเด็ด 

อย่างไรก็ตาม จะพยายามเร่งดำเนินการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงาน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการสำรวจความต้องการของเกษตรกรผ่านพลังงานจังหวัด คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้

‘กัลฟ์’ ผนึกกำลัง ‘ซันโกรว์’ จัดหาระบบกักเก็บพลังงาน ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เดินเครื่อง ปี 67-73

(27 มี.ค. 67) บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) จับมือ บริษัท ซันโกรว์ พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (Sungrow) หนึ่งในผู้จัดหาอินเวอร์เตอร์และระบบกักเก็บพลังงานระดับโลก ลงนามในสัญญาจัดหา (Master Supply Agreement) ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage Systems) และระบบอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ (PV Inverter) สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์และบริษัทในเครือ รวมกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 3,500 เมกะวัตต์ (MWp) โดยมีแผนทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่างปี 2567-2573

สำหรับการลงนามสัญญาในครั้งนี้เป็นการลงนามระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอ็นจิเนียริ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (บริษัทที่ GULF ถือหุ้นร้อยละ 100) และ Sungrow เพื่อจัดหาระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ และระบบอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farms) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar Farms with Battery Energy Storage Systems) และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftops) ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์และบริษัทในเครือ รวมกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 3,500 เมกะวัตต์ (MWp) 

โดยมีนายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GULF และ นายเฉา เหรินเซียน ประธานกรรมการบริหาร Sungrow เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย นางพรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ GULF และนายซู เยว่จื้อ ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Sungrow ร่วมเป็นสักขีพยาน

ความร่วมมือครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองบริษัท ในการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจพลังงานหมุนเวียน รวมถึงสอดคล้องกับกลยุทธ์ของ GULF ในการคัดสรรพันธมิตรชั้นนำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มั่นใจได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของระบบกักเก็บพลังงานและระบบอินเวอร์เตอร์ ซึ่ง Sungrow เป็นผู้นำในธุรกิจอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ระดับสากลด้วยประสบการณ์กว่า 27 ปี ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สูงที่สุด (Tier 1) 

อีกทั้งยังมีปริมาณการขายระบบอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์เป็นอันดับ 1 ของโลก ขนาดการติดตั้งมากกว่า 405 กิกะวัตต์ ในกว่า 170 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อินเดีย และสเปน นอกจากนี้การจัดซื้ออุปกรณ์ในปริมาณมากยังเพิ่มประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ส่งผลให้ GULF บริหารจัดการต้นทุน และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top