เชียงใหม่เตรียมจัดงาน ‘MFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022’ ชูเสน่ห์ผ้าทอล้านนา

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 เวลา 15.00 - 16.00 น. ณ Chef's Together by Aod & Dan นายอัศนีบูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) สำนักงานเชียงใหม่ และนายธนกร สมฤทธิ์ สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์และออกาไนซ์เซอร์ภาคเหนือตอนบน กรรมการผู้จัดการบริษัท เกรท มอร์โซลูชั่น จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022

นายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางทางมาท่องเที่ยว พักผ่อน หรือแม้แต่การเข้ามาทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มผ่อนคลาย ภาคอุตสาหากรรมการท่องเที่ยว ของเชียงใหม่ก็กลับมาฟื้นตัวขึ้น โดยสังเกตได้จากในช่วงวันหยุดยาว หลายๆ ครั้งที่ผ่านมากมีผู้คนเดินทางเข้ามาที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงในพื้นที่ ที่ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ดูแลด้วยครับ สร้างมูลค่าหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

สำหรับในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้เริ่มขึ้นแล้ว ทางเทศบาลนครเชียงใหม่เองได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างการเวียนทางเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมต่างๆซึ่งการงาน CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ เห็นว่าเป็นกิจกรรมที่นำเอาศักยภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งมีความโดดเด่น มีอัตลักษณ์ มานำเสนอในรูปแบบที่มีความน่าสนใจ สร้างโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบ ได้สร้างผลงานดีๆ ร่วมทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์เมืองเชียงใหม่ด้วยการใช้ แลนด์มาร์คของเมือง เป็นสถานที่จัดงาน และนำเสนอรูปแบบวิถีชีวิตในรูปของแฟชั่นอีกด้วย ในอนาคตหากมีการต่อยอด อาจจะกลายเป็นเป้าหมายของนักออกแบบระดับโลก มาจัดกิจกรรมที่เชียงใหม่ ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ยินดีให้การสนับสนุนกิจกรรมดีๆ ต่อไป

นางสาวสุลัดดา ศรุติลาวัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) สำนักงานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ อย่างที่ทราบกันแล้วว่าเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภาคเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม อาหารอร่อย มีสภาพภูมิอากาศที่ดีแล้ว ยังมีเสน่ห์แห่งงานฝีมือของชุมชนที่แฝงไปตามชุมชนท่องเที่ยวที่กระจายอยู่ในพื้นที่ทุกอำเภอ ซึ่งมีอัตลักษณ์ สีสันลวดลาย วิธีการทอสัมพันธ์เชื่อมโยงไปตามวิถีชีวิตและความศรัทธาของแต่ละชุมชนปัจจุบันได้มีการต่อยอดพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีคุณภาพและมีชื่อเสียงระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผ้าซิ่นตีนจก แม่แจ่ม ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI / ผ้าไหมสันกำแพง / ผ้าทอไทลื้อดอยสะเก็ต และผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกหลากหลายพื้นที่ เป็นต้น

โดยปี 2566 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งเป้าเน้นรายได้จากการท่องเที่ยว มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มศักยภาพ มีการใช้จ่ายสูง พำนักนานขึ้น และได้รับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่  ททท.สำนักงานเชียงใหม่ ดำเนิน ‘โครงการภิรมย์เวียงพิงค์’ The Memory of Viang Ping ส่งมอบประสบการท่องเที่ยวเสน่ห์วันวานเมืองเหนือ นำเสนอสินค้าและบริการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีกิจกรรม ภูษาเวียงพิงค์  ที่นำเสนอเสน่ห์ผ้าทอล้านนา ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมเส้นทางตามรอยผ้าทอ เพื่อเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมรากเหง้าของแต่ละชุมชน กิจกรรมส่งเสริมและยกระดับสินค้าชุมชนให้มีความทันสมัย สร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกิจกรรมกระตุ้นส่งเสริมด้านการตลาด สนับสนุนผู้ประกอบการมีการขยายฐานการตลาดที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 

ซึ่งการบูรณาการ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะส่งผลให้งานเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายจังหวัดเชียงใหม่ จะมีมูลค่าเพิ่มในเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและเป็นที่รู้จักมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายและนักท่องเที่ยวทั่วไปเพิ่มมากขึ้น

นายธนกร สมฤทธิ์ สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์และออกาไนซ์เซอร์ภาคเหนือตอนบนกรรมการผู้จัดการบริษัท เกรท มอร์ โซลูชั่น จำกัด กล่าวว่างาน CMFL2022 Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022 เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี 2563 จากความร่วมมือของหลายฝ่าย โดยเฉพาะสำนักงานกฎบัตรเชียงใหม่(Chiang Mai Charter ) และ ความร่วมมือของดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่  ที่ต้องการผลักดันให้ จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง เป็นเมืองที่ผู้คนสามารถใช้ชีวิตไปกับคำว่า ‘แฟชั่น’ ได้อย่างลงตัว ภายใต้โครงการ‘Chiang Mai Creative Mind 2020’ และได้มีการจัด ‘แฟชั่นโชว์ CMCM2020’ ณ สะพานขัวเหล็กเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญ ที่ทุกคนรู้จัก และถือได้ว่าเป็น ‘RUNWAY’ ที่ยาวที่สุด 

โดยมีเป้าประสงค์ให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็น ‘Chiang Mai Runway’ ที่มีชื่อเสียงและเป็นเป้าหมายสำคัญที่ในอนาคตดีไซน์เนอร์ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ต้องการมาเป็นส่วนหนึ่งในโชว์นี้ ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้สำเร็จ จะสามารถส่งเสริมได้ทั้งการพัฒนาด้านแฟชั่น การท่องเที่ยว และการส่งเสริมเมืองเชียงใหม่อย่างสร้างสรรค์ ในระดับนานาชาติ ได้อีกทาง

สำหรับในปี 2565 นี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ TCEB สมาคมการค้าผู้ประกอบการธุรกิจไมซ์และออกาไนซ์เซอร์ภาคเหนือตอนบน (MOUN) และภาคีภาคเอกชน ได้แก่ Chef’s together by Aod & Dan  เชียงใหม่พาราไดซ์ และทีมงานดีไซน์เนอร์ จัดแฟชั่นโชว์ภายใต้ชื่อ CMFL2022 (Chiang Mai Fashion & Lifestyle 2022) ภายใต้แนวคิด ‘STANDFORLOVE’ การยืดหยัดด้วยความรัก ที่หลากหลายและยั่งยืน เปิดพื้นที่ให้ ดีไซน์เนอร์และนายแบบ นางแบบ ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น เด็ก วัยรุ่น ครอบครัว กลุ่ม Sliver Age และ LGBT ได้มีส่วนร่วมในครั้งนี้ โดยมีดีไซเนอร์เข้าร่วมกว่า 30 ราย และแฟชั่นโชว์กว่า 150 ชุด และยังมีนายแบบและนางแบบกิตติมศักดิ์ ร่วมเดินในครั้งนี้ด้วย โดยยังคง concept เดิม คือใช้ สะพานขัวเหล็กเชียงใหม่ เป็น‘RUNWAY’

โดยกำหนดจัดงานในวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 เวลา 19.00 น. ในโอกาสนี้ขอเรียนเชิญทุกท่าน และนอกจากนี้กิจกรรม ภายใต้ชื่อ CMFL2022 ยังมีการเชื่อมโยงกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของเมืองในมิติของ Fashion & Lifestyle ร่วมกับย่านต่างๆ อาทิ ช้างคลาน นิมมาน ล่ามช้าง และชุมชนต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหากมีข้อมูลเพิ่มเติม จะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป


ที่มา : วิภาดา/เชียงใหม่