สงครามแย่งชิงมวลชน ด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ คือภารกิจสำคัญของผู้มีอำนาจทุกยุคทุกสมัย หากต้องการให้มวลชนอยู่ภายใต้การปกครอง และตัวเองสามารถครองอำนาจไปได้ตลอด แม้กระทั่งผู้นำอย่าง ฮิตเลอร์ ก็ยังให้ความสำคัญกับการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อแย่งชิงมวลชนมาเป็นฝ่ายตัวเอง
สมัยฮิตเลอร์ครองอำนาจ เขาได้มือขวาคู่ใจคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาคือรัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาการ นายโยเซฟ เกิบเบิลส์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลุกระดม การโฆษณาชวนเชื่อ และสร้างข่าวเท็จจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า Fake News โดยนปัจจุบัน เขามีลักษณะเด่นคล้ายฮิตเลอร์ คือ เป็นนักพูดตัวยง เป็นนักแสดงบนเวที และเป็นนักเล่าเรื่องผู้ยอดเยี่ยม
ฮิตเลอร์ และมือขวาของเขาได้ร่วมกันสร้างหลักการง่ายๆ จนเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำโฆษณาชวนเชื่อแพร่หลายทั่วไปจนถึงปัจจุบัน ภายใต้หลักการง่ายๆ 7 วิธี ซึ่ง 7 วิธีนี้ ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน
'การใช้สื่อเป็นเครื่องมือ' ภายหลังพรรคนาซีได้รุ่งเรืองอำนาจในปี ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์และเกิบเบิลส์ ได้เข้าควบคุมหนังสือพิมพ์ทั้งหมดในเยอรมนี เพื่อกำหนดข่าวให้อยู่ทิศทางเดียวกัน ไม่รวมถึงวิทยุกระจายเสียงที่อยู่ภายใต้รัฐบาลอยู่แล้ว และพวกเขาได้สร้างนักพูด นักปลุกระดมมวลชนหลายพันคนที่มีฝีปากจัดจ้าน ออกตระเวนไปพูดทั่วประเทศ ส่งเนื้อหาเพื่อทำให้ประชาชนชื่นชอบฮิตเลอร์ พรรคนาซี และความชอบธรรมในการรุกรานประเทศอื่นๆ
...'โกหกจนเป็นเรื่องจริง' !!
โยเซฟ เกิบเบิลส์ เคยกล่าวว่า “ยิ่งโกหกคำโตมากเท่าไร โกหกบ่อยๆ คนจะยิ่งเชื่อมากขึ้น” และ “การหลอกประชาชนจำนวนมากด้วยการพูดโกหกเรื่องใหญ่ๆ ง่ายยิ่งกว่าการโกหกเรื่องเล็กๆ”
“การตั้งฉายา” ตั้งฉายาฝ่ายตรงกันข้ามให้ชั่วร้ายเลวทรามหรือดูแย่ เพื่อให้คนหมู่มากรู้สึกรังเกียจและสร้างความเกลียดชังให้มากขึ้น
“พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก” เป็นการย้ำข้อความเดิมๆ ไปเรื่อยๆ ซ้ำๆจนคนฟังหรือผู้รับสารค่อยๆ ซึมและเชื่อไปเองในที่สุด ไม่ต่างจากการที่ค่ายเพลง เปิดเพลงที่ตั้งใจจะให้ฮิทติดอันดับทางสถานีวิทยุ เปิดไปเรื่อยๆ จนคนฟังชินหู แล้วเริ่มรู้สึกว่าเพลงเพราะ
“ฝ่ายธรรมะ ฝ่ายอธรรม” ฮิตเลอร์พยายามสร้างภาพว่า ตัวเองเป็นสัตบุรุษ เป็นเสมือนพระเยซู ผู้ทรงคุณธรรม มีศีลธรรมอันดีงาม มาช่วยเหลือ ปกป้องชาวเยอรมันและป้ายสีว่าผู้ร้ายคนชั่วคือพวกยิว ที่เป็นพ่อค้าขูดรีด เอาเปรียบชาวอารยันมานาน และพวกคอมมิวนิสต์ที่มีความคิดชั่วร้ายในการปกครองประเทศ แม้กระทั่งก่อนการบุกประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเชคโกสโลวาเกียหรือโปแลนด์ ก็มีการปลุกระดมให้คนเยอรมันเข้าใจผิดว่า ชนชาติเหล่านั้นเป็นคนชั่ว ข่มเหงรังแกคนเยอรมันและชนกลุ่มน้อยในประเทศนั้นๆ ทางรัฐบาลนาซีเลยต้องประกาศสงคราม
“แบ่งแยกผู้คนเป็นฝ่ายต่างๆ ชัดเจน” เมื่อทำทั้ง 6 วิธีด้านบนไปแล้วก็ถึงเวลาในการที่จะบีบให้คนต้องเลือกข้างและด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาคงไม่มีใครที่อยากจะเลือกข้างเป็นผู้ร้ายและนั่นคือความสำเร็จของโมเดลโฆษณาชวนเชื่อของฮิตเลอร์
>> กลับมาที่เมียนมา
การประหาร 4 นักโทษอุจฉกรรจ์ สื่อที่เลือกข้างในฝั่งเมียนมาไม่ได้เอ่ยถึงว่าทั้ง 4 คนได้กระทำสิ่งใดจนเป็นมูลเหตุให้ประหารชีวิต แต่กลับลงข่าวเพียงแค่ว่า รัฐบาลทหารเมียนมาพิพากษาประหาร 4 นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งหากวิเคราะห์ด้วยโมเดลการโฆษณาชวนเชื่อของฮิตเลอร์ก็เข้าตามตำราทุกข้อ
วันนี้ เอย่า เลยอยากจะมาเปิดสาเหตุของการถูกพิพากษา ว่าทำไมทั้ง 4 ถึงถูกตัดสินประหารชีวิต
คนแรกคือ Phyo Zeya Thaw เขาถูกตัดสินประหารชีวิตการเป็นผู้ก่อการร้ายระดับสั่งการโดยมีส่วนร่วมในการวางแผนลอบสังหาร 11 ครั้ง ระเบิดอาคารราชการ 30 ครั้ง ระเบิดสำนักงานบริหาร 32 ครั้ง ระเบิดที่ทำการไฟฟ้า 25 ครั้งและวางระเบิดโรงเรียนรวมถึงเป็นผู้กระจายเงินและอาวุธที่ได้มาจากต่างประเทศสู่ฝ่ายปฏิบัติการเพราะมีการตรวจยึดอาวุธมากกว่า 200 ชนิดจาก สถานที่เก็บ 4 แห่งและเครื่องกระสุนและระเบิดอีกจำนวนมาก
คนต่อมาคือ Ko Jimmy ถูกตรวจจับได้พร้อมอาวุธและเครื่องกระสุนจำนวนมากในบ้านพักของเขาในเมืองปางหลวงในรัฐฉานรวมทั้งมีส่วนในการวางแผนก่อการร้ายและกระจายเงินในการก่อการที่ได้รับมาจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน
ส่วน Hla Myo Aung และ Aung Thura Zaw ในข้อหาที่สังหารผู้หญิงคนหนึ่งด้วยมีดขนาด 9 นิ้วเพียงแค่ทั้งสองเชื่อว่าผู้หญิงคนดังกล่าวเป็นสายให้แก่รัฐบาลทหารโดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าจริงหรือไม่
ข้อหาของทั้ง 4 คนแทบไม่มีการกล่าวถึงในสื่อต่างประเทศหรือว่าสื่อไทยเลยทั้งที่ข่าวในเมียนมามีภาพหลักฐานที่ออกข่าวจนคนในเมียนมาส่วนใหญ่นั้นรู้ดีว่าพวกเขาทั้ง 4 ได้กระทำอะไรจนมาถึงการพิพากษาดังกล่าว
สุดท้ายในเมื่อเราฝากความหวังไว้กับสื่อไม่ได้ ก็เพียงทำได้แค่ฝากความหวังให้กับผู้อ่านให้อ่านข้อมูลรอบด้านมากกว่าการอ่านชุดความคิดที่ตรงจริตกับสิ่งที่ตนชอบ ซึ่งไม่ใช่เพื่อให้พวกท่านตกเป็นเครื่องมือของใครที่ใช้คำว่าประชาธิปไตยและคนดีมาเป็นฉากหน้าแบบฮิตเลอร์ ดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีตอีก
ที่มา: AYA IRRAWADEE