รู้จักกฎหมายควบคุมอาวุธปืนในญี่ปุ่น ความเข้มงวดที่คนส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่น

แม้ ชินโซ อาเบะ’ (Shinzo Abe) อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น จะเสียชีวิตจากการถูกยิงโดยอดีตTetsuya Yamagami สมาชิกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลวัย ๔๑ ปี ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นมีกฎหมายควบคุมอาวุธปืนที่เข้มงวดที่สุดประเทศหนึ่งในโลกนั้น อาจจะทำให้หลายคนเริ่มตั้งคำถามถึงความปลอดภัย ความน่าอยู่ และน่าไปเยี่ยมเยือนดินแดนแห่งนี้อยู่อีกหรือไม่

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.โญธิน มานะบุญ นักวิชาการอิสระ ด้านความมั่นคง และประวัติศาสตร์สงครามสมัยใหม่ ได้ไขข้อข้องใจให้เห็นถึงกฎระเบียบและทัศนคติของคนในประเทศที่เชื่อว่ายังคงแอนตี้ทั้งอาวุธและความรุนแรงอยู่ไม่เปลี่ยน โดยมีเนื้อหาระบุดังนี้…

ข่าวที่น่าจะเป็นที่สนใจมากที่สุดของเมื่อวาน คงหนีไม่พ้นเรื่องของ Shinzo Abe (ชินโซ อาเบะ) อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นถูกยิงขณะกล่าวปราศรัยในเมืองนาราทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งผมขอไม่กล่าวถึงสาเหตุหรือการเมืองของญี่ปุ่น เพราะเดี๋ยวจะมีทั้ง Guru และ ‘กูรู้’ มากมายออกมาให้ความเห็น จะขอเล่าเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาวุธปืนที่เข้มงวดมากๆ ของญี่ปุ่น

กฎหมายอาวุธของญี่ปุ่น (The Swords and Firearms Possession Control Law) เริ่มต้นด้วยการระบุว่า...

ประชาชนไม่สามารถครอบครองอาวุธปืนหรือดาบ โดยไม่ได้รับอนุญาต” และการขออนุญาตทำได้ยากมากมากๆ พลเมืองญี่ปุ่นได้รับอนุญาตให้ครอบครองอาวุธปืนสำหรับล่าสัตว์และกีฬายิงปืน แต่สามารถครอบครองได้ภายหลังจากผ่านการยื่นขออนุญาตตามขั้นตอนในการออกใบอนุญาตที่นานและยืดเยื้อแล้วเท่านั้น ส่วนหนึ่งของขั้นตอนการทดสอบ จะต้องผ่านการทดสอบในสนามยิงปืนด้วย “คะแนนอย่างน้อย 95%” มีการประเมินสุขภาพจิตจากโรงพยาบาล และผ่านการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ซึ่งมีการสัมภาษณ์ครอบครัวและเพื่อนฝูง อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการขออนุญาตเช่นกัน

ใบอนุญาตครอบครองและใช้อาวุธปืน มีอายุสามปี หลังจากนั้นจะต้องผ่านการทดสอบเพื่อขอใบอนุญาตซ้ำอีกครั้ง หลังจากเป็นเจ้าของปืนลูกซองครบ ๑๐ ปีแล้ว ผู้ที่มีใบอนุญาตครอบครองอาวุธปืนจึงจะสามารถขอครอบรองปืนไรเฟิลได้ ไม่อนุญาตให้ครอบครองอาวุธปืนพกสั้นเด็ดขาด

ทั้งนี้ญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่มี “โครงการซื้อคืนปืนเป็นครั้งแรก” ในปี ค.. 1685 และเป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน ดังนั้น อัตราการครอบครองอาวุธปืนจึงต่ำมากๆ เฉลี่ยการครอบครองอาวุธปืนอยู่ที่ ๐.๖ กระบอกต่อประชากร ๑๐๐ คนเท่านั้น (สถิติในปี พ.. ๒๕๕๐) ส่งผลให้การสังหารหมู่ในญี่ปุ่นนั้น บรรดาคนร้ายจึงนิยมใช้มีดหรือวิธีการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปืน อย่างในปี พ.. ๒๕๕๗ ญี่ปุ่นมีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนเพียงหกราย เป็นต้น

ตำรวจญี่ปุ่นที่พกอาวุธปืน

 

นอกจากนี้ ในแต่ละจังหวัด ยังสามารถเปิดร้านขายปืนได้เพียงสามร้าน แถมกระสุนปืนสามารถซื้อได้หลังจากนำปลอกกระสุนปืนที่ยิงแล้วมาแสดงด้วยเท่านั้น และหากเจ้าของอาวุธปืนเสียชีวิต ครอบครัวของพวกเขาต้องส่งมอบอาวุธปืนให้ทางการ

ในส่วนของตำรวจที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้พกอาวุธปืน ซึ่งโดยปกติตำรวจก็ไม่ค่อยได้ปฏิบัติหน้าที่ที่จำเป็นต้องใช้อาวุธปืนบ่อยครั้งนัก ยกเว้นหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และโดยทั่วไปแล้วตำรวจญี่ปุ่นจะทำการจับกุมโดยไม่ใช้อาวุธปืน ซึ่งคาดว่า ตำรวจญี่ปุ่นน่าจะถูกฝึกให้มีความเชี่ยวชาญในด้านศิลปะการต่อสู้เช่น คาราเต้ หรือ ยูโด

หากย้อนกลับไปในอดีต หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิทรงได้พระราชอำนาจคืนจากโชกุน ได้ทำให้มีกฎหมายที่เรียกว่า พระราชกฤษฎีกายกเลิกดาบ’ (Haitorei) เป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยรัฐบาลเมจิของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.. ๒๔๑๙ ซึ่งห้ามประชาชน ยกเว้นอดีตขุนนาง (Daimyōs) ทหาร และเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย พกพาอาวุธดาบไปในที่สาธารณะ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกยึดดาบเอาไว้

Haitorei เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อยกเลิกสิทธิพิเศษดั้งเดิมของชนชั้นซามูไร โดยกฎหมาย Haitorei ฉบับแรกออกในปี พ.. ๒๔๑๓ ห้ามชาวนาหรือพ่อค้าพกดาบและแต่งกายคล้ายซามูไร ซึ่งมาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะฟื้นฟูความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองสำหรับประชาชนในช่วงระยะเวลาอันวุ่นวายทันทีหลังการฟื้นฟูเมจิและระหว่างสงคราม Boshin

ในปี พ.. ๒๔๑๔ รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา Danpatsurei อนุญาตให้ซามูไรตัดผมและไว้ผมแบบตะวันตก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะเป็นการอนุญาตและสนับสนุน จากนั้นเริ่มมีการเกณฑ์ทหารเพื่อสร้างกองทัพตามแบบสากลขึ้นในปี พ.. ๒๔๑๖ โดยการสร้างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงนั้น บรรดาซามูไรไม่สามารถผูกขาดการรับราชการทหาร ไม่ได้รับทั้งค่าจ้างค่าตอบแทนที่ขุนนางศักดินาที่เป็นเจ้านายเคยจ่ายให้กับซามูไรในสังกัด ซึ่งถกยกเลิกเช่นเดียวกันในปี พ.. ๒๔๑๖ และนำมาสู่ข้อห้ามในการพกพาดาบเป็นที่ถกเถียงกันเป็นที่ถกเถียงกันต่อมา จนสุดท้ายการพกพาดาบก็ถูกห้ามตามกฎหมายในที่สุด

โดยวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.. ๒๔๑๙ พระราชกฤษฎีกา Haitō ก็ผ่าน Daijō-kan (รัฐสภาแห่งรัฐของจักรวรรดิญี่ปุ่น) ห้ามอดีตซามูไร (Shizoku) พกพาดาบไปในที่สาธารณะอย่างเด็ดขาด แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงในสังคมญี่ปุ่นและสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของซามูไรเหล่านี้ เป็นสาเหตุหลักของความไม่พอใจในสมัยเมจิตอนต้นของญี่ปุ่น และนำไปสู่การจลาจลที่นำโดยซามูไรจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่นแถบตะวันตก และคิวชู นอกจากนี้ ผลของ Haitorei ทำให้ดาบหมดบทบาทที่สำคัญไปกับเหล่าบรรดาซามูไรทั้งหลาย จนทำให้ช่างตีดาบจำนวนมากต้องเปลี่ยนไปผลิตอุปกรณ์ทำการเกษตรและมีดต่างๆ ในครัวเพื่อความอยู่รอดแทน

อาวุธปืนที่จับกุมได้จากแก๊งยากูซาต่าง

 

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นถูกปลดอาวุธ จนนำไปสู่การประกาศใช้กฎหมายควบคุมการครอบครองดาบและอาวุธปืนในปี พ.. ๒๕๐๑ เพื่อป้องกันการต่อสู้ด้วยอาวุธปืนและดาบของแก๊งยากูซาต่างๆ โดยกฎหมายฉบับแรกมีผลบังคับใช้ในปี พ.. ๒๕๐๑ มีวัตถุประสงค์ “...กฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับการป้องกันอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการใช้อาวุธปืนและดาบ” กฎระเบียบและข้อห้ามส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการครอบครอง การใช้งาน การนำเข้า การอนุญาต การขนส่ง การรับ และการขายอาวุธปืนและชิ้นส่วนของอาวุธปืน รวมทั้งระเบียบที่ต้องปฏิบัติในการขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืน ทั้งยังคงข้อจำกัดในอดีตเกี่ยวกับดาบและอาวุธมีดอื่นๆ และทำให้อาวุธปืนพก/อาวุธปืนสั้นถูกห้ามครอบครองโดยสมบูรณ์

กฎหมายถูกแก้ไขหลายครั้งเพื่อสนองตอบต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืน การแก้ไขครั้งสำคัญรวมถึงการเพิ่มการห้ามนำเข้าและเพิ่มอายุในการเป็นเจ้าของปืนไรเฟิลล่าสัตว์ในปี พ.. ๒๕๐๘ และข้อจำกัดที่เข้มงวดยิ่งขึ้นสำหรับการครอบครองอาวุธปืนลูกซอง เพื่อสนองตอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.. ๒๕๕๑ เนื่องจากการควบคุมอาวุธปืนอย่างเข้มงวด จึงมีเพียงชาวญี่ปุ่นไม่กี่คนที่สามารถเป็นเจ้าของอาวุธปืน

ดังนั้นอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืนจึงต่ำมาก ในช่วงระยะเวลา ๓๐ ปีที่ผ่านมา โดยปี พ.. ๒๕๔๔ มีผู้เสียชีวิตจากปืนมากที่สุดคือ ๓๙ คน และเพียง ๔ คนในปี พ.. ๒๕๕๒ และนี่ก็ยิ่งทำให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่สนใจอาวุธปืน และการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับอาวุธปืน คือ ความอันตรายอย่างแท้จริงและจำเป็นที่จะต้องควบคุมอย่างเข้มงวด

๑๓ ขั้นตอนในการขออนุญาตครอบครองอาวุธปืนของญี่ปุ่น

. เข้าชั้นเรียนอาวุธปืนและสอบผ่านข้อเขียน ซึ่งจัดขึ้นปีละ ๓ ครั้ง

. รับบันทึกรับรองจากแพทย์ว่า มีความพร้อมทางจิตใจ และไม่มีประวัติการใช้ยาในทางที่ผิด

. ขอใบอนุญาตให้เข้ารับการฝึกยิง ซึ่งอาจใช้เวลาถึงหนึ่งเดือน

. อธิบายในการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ทำไมถึงต้องการครอบครองอาวุธปืน

. ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้ขอ ประวัติการครอบครองอาวุธปืน หน้าที่การเงิน เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชญากรหรือไม่ หนี้สินส่วนบุคคล และความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนบ้าน

. ขอใบอนุญาตซื้อกระสุนปืน

. เข้ารับการฝึกหนึ่งวัน และต้องผ่านการทดสอบการยิง

. ขอรับใบรับรองจากร้านค้าปืนที่ให้รายละเอียดของอาวุธปืนที่ผู้ซื้อต้องการ

. หากต้องการซื้อปืนล่าสัตว์ ต้องขอใบอนุญาตล่าสัตว์ด้วย

๑๐. ซื้อตู้เซฟเก็บปืนและตู้เก็บกระสุนตรงตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย

๑๑. ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจสอบที่เก็บอาวุธปืนของผู้ขอ

๑๒. ผ่านการตรวจสอบประวัติเพิ่มเติม

๑๓. ซื้ออาวุธปืน

อาวุธปืนที่ใช้สังหาร ท่าน Abe เป็นอาวุธปืนลูกซองประดิษฐ์เอง

 

ด้วยความเข้มงวดของกฎหมาย จนกลายเป็นค่านิยมที่ทำให้อาวุธกลายเป็นสิ่งที่ห่างไกลกับวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นไปเรื่อยๆ นั้น ยังน่าจะเป็นบรรทัดฐานของประเทศที่มีความปลอดภัยอยู่ และเหตุการณ์เหล่านี้คงไม่เกิดเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งแบบในหลายประเทศฝั่งตกวันตก พิจารณาได้จากอาวุธปืนที่ถูกใช้สังหาร ท่าน Abe เป็นอาวุธปืนลูกซองประดิษฐ์เอง ซึ่งทำได้ไม่ยากด้วยวัสดุประเภทท่อโลหะคุณภาพดีๆ และสามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างทั่วไป กระสุนปืนลูกซองก็ยังคงพอหาได้ ด้วยกฎหมายญี่ปุ่นยังอนุญาตให้ประชาชนสามารถครอบครองอาวุธปืนลูกซองได้นั่นเอง…

Tetsuya Yamagami ชาวเมืองนารา วัย ๔๑ ปี มือปืน ผู้เป็นอดีตสมาชิกของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล (ทหารเรือ)

"May Rest in Peace, Mr. Shinzo Abe, Former Japanese Prime Minister."