'Arab Street' ถนนสายอาหรับ ณ กรุงเบอร์ลิน...มรดกมีชีวิตที่ ‘Angela Merkel’ มอบให้

เหตุการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือนำมาซึ่งผู้อพยพเข้าสู่ยุโรปจำนวนมหาศาล ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายทั้งรับและไม่รับผู้อพยพเหล่านั้น แต่สหพันธรัฐเยอรมันภายใต้ ‘Angela Merkel’ นายกรัฐมนตรี ดำเนินนโยบายรับผู้อพยพด้วยการเปิดพรมแดนของเยอรมนีสำหรับผู้ลี้ภัย 1 ล้านคนในปี พ.ศ. 2558 จนทำให้เกิดความแตกแยกในยุโรป และทำให้เห็นถึงความไม่พอใจสำหรับฝ่ายต่อต้านการอพยพเข้าเมือง 

นอกจากนี้ยังเป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบทางวัฒนธรรมของเมืองหลวงของเยอรมันในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนตั้งแต่การเข้ามาของคนงานจากตุรกีในทศวรรษ 1960 จึงมีผู้อพยพจำนวนมากเข้ามาอาศัยพำนักในเยอรมัน และเป็นที่มาของ 'Arab Street' ถนนสายอาหรับ ณ กรุงเบอร์ลิน

'Arab Street' สิงคโปร์

'Arab Street' เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ และที่เป็นที่รู้จักมาก่อนคือ 'Arab Street' ในสิงคโปร์ ซึ่งเคยเป็นย่านที่พ่อค้าชาวอาหรับเคยทำมาค้าขายมาในอดีต ปัจจุบัน 'Arab Street' ของสิงคโปร์ยังคงวางขายสินค้าและข้าวของที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอาหรับและชาวมุสลิม ซึ่งถนนเส้นนี้จะมีบรรยากาศเป็นตึกแถว 2 ชั้นสไตล์ Colonial ทาสีสดใส ใกล้ ๆ กันมีแหล่งท่องเที่ยวที่อีกหลายอย่าง เช่น ตรอกฮาจิ (Haji Lane) อีกหนึ่งถนนแห่งการจับจ่ายของชาวสิงคโปร์ และมัสยิดสุลต่าน (Sultan Mosque) อันเป็นมัสยิดสำคัญและสวยงามของชาวสิงคโปร์มุสลิม 

สำหรับบ้านเราแล้ว 'Arab Street' หมายถึงซอยที่ตั้งอยู่ทางเหนือของซอยนานา (ซอยสุขุมวิท 3) ระหว่างซอยสุขุมวิท 3 และ ซอยสุขุมวิท 5 หรือ ซอยสุขุมวิท 3/1 'Arab Street' ประกอบไปด้วย ร้านอาหาร - ร้านค้ามากมาย จึงเป็นถนนท่องเที่ยวที่ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ

'Arab Street' กรุงเทพฯ

ส่วน 'Arab Street' ถนนสายอาหรับ ณ กรุงเบอร์ลิน อยู่ที่ถนน Sonnenallee (“Sun Avenue”) ซึ่งเชื่อมระหว่างเขต Neukölln และ Treptow-Köpenick ยาว 5 กิโลเมตร ข้ามถนน Baumschulen ที่ปลายด้านตะวันออกเฉียงใต้ และสิ้นสุดที่ จัตุรัส Hermann ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ถนนสายนี้ถูกสร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งบริเวณรอบ ๆ ถนน Sonnenallee ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางระหว่างชนบทกับเมืองในสมัยนั้น ถนนสายนี้ตัดผ่านจัตุรัสกลางเมืองหลายแห่ง เช่น จัตุรัส Hermann, จัตุรัส Hertzberg และ จัตุรัส Venus เดิมทีตลอดถนนมีต้นไม้สองข้างทาง จนถึงปี พ.ศ. 2508 ได้มีการวางรางรถรางไว้ ต่อมาในทศวรรษ 1980 ต้นไม้สองข้างทางถูกรื้อออกเพื่อให้เป็นช่องจราจรเพิ่มเติม หรือที่จอดรถ 

'Arab Street' ถนนสายอาหรับ ณ กรุงเบอร์ลิน

ปัจจุบันถนน Sonnenallee กลายเป็นถนน 6 เลน และเป็นเส้นทางสายสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเบอร์ลิน แต่เดิมถนน Sonnenallee เป็นที่รู้จักในชื่ออื่น ๆ เริ่มต้นด้วย Straße 84 (ถนนหมายเลข 84) ในปี พ.ศ. 2436 ห้าปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของ ‘Kaiser Friedrich Wilhelm’ ถนนสายนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศ และในปี พ.ศ. 2563 ถนนถูกขยายไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และตั้งชื่อว่า Sonnenallee ในยุคสงครามเย็นเยอรมนียังไม่ได้รวมชาติ ถนนสายนี้ถูกกำแพงเบอร์ลินตัดผ่านเพื่อปิดกั้นทางข้ามพรมแดน

บนถนน Sonnenallee มีตลาดตุรกี และร้านเบเกอรี่ ที่เสิร์ฟขนมแสนอร่อยนานาชนิดมีอยู่มากมาย จนได้ชื่อว่าเป็น 'Arab Street' ถนนสายอาหรับ ณ กรุงเบอร์ลิน และได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการรวมกลุ่มของชนหลายเชื้อชาติ นับตั้งแต่ละแวกใกล้เคียง การเข้ามาเยอรมันตะวันตกมากมายของคนงานชาวตุรกีเมื่อหลายทศวรรษก่อน และคลื่นลูกใหม่มาถึงแล้วซึ่งนำความสุขในเรื่องของอาหารมาสู่พวกเขามากขึ้น นี่คือการที่ Arab Street ณ กรุงเบอร์ลินซึ่งกลายเป็นสวรรค์ของนักชิม 

การเดินชม Arab Street เป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสชั้นยอด กลิ่นของอาหารจะส่งกลิ่นหอมไปในอากาศ หน้าร้านอาหารตะวันออกกลางมีป้ายแนะนำเป็นภาษาเยอรมันและภาษาอาหรับ และเสียงจอแจของภาษาต่าง ๆ เป็นการผสมผสานระหว่างภาษาอาหรับ เยอรมัน และอังกฤษ ในขณะที่ผู้คนมากมายในร้านอาหาร เบเกอรี่ และคาเฟ่ ที่ให้บริการอาหารจาก ตุรกี เลบานอน ซีเรีย และอื่น ๆ อิทธิพลเหล่านี้ย้อนไปถึงเยอรมันตะวันตกยุคหลังสงครามเมื่อมีกฎหมายการจ้างงาน Gastarbeiter สำหรับการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ชาวตุรกีที่หลั่งไหลเข้ามาจำนวนมากได้ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเบอร์ลินในช่วงเวลานี้ และหลายคนก็อยู่พักอาศัย เริ่มต้นชีวิตใหม่ในเยอรมนี และนำวัฒนธรรมด้านอาหารซึ่งติดตัวมาด้วยมาเผยแพร่ผ่านการเปิดร้านอาหาร

Arab Street ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม และบรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นถึงการทำที่ตั้งอันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จ ด้วยย่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเบอร์ลินชั้นใน จึงเป็นจุดสนใจของ นักศึกษา ศิลปิน นักสร้างสรรค์ และชาวเยอรมันที่มีรายได้น้อย ผลลัพธ์ที่ได้คือ ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งสมเหตุสมผลเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่กับเมืองอื่น ๆ ในยุโรป ทำให้เกิดความแตกต่างกับเมืองอื่น ๆ ในยุโรป เช่น กรุงอัมสเตอร์ดัม และกรุงปารีส ที่ซึ่งผู้อพยพต้องไปอาศัยในเขตชานเมือง ผลที่เกิดขึ้นเองในกรณีของกรุงเบอร์ลินคือ การกำเนิดของความมีชีวิตชีวา นั่นก็คือ Arab Street ซึ่งได้เกิดเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่หลายหลาก การผสมผสานของรสชาติทางวัฒนธรรมที่มากมาย ตลอดจนเป็นสถานที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย

เดิมทีถนน Sonnenallee จะเป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเลบานอนและตุรกี แต่ตอนนี้ความรู้สึกต่อย่านนี้เหมือนเป็นชุมชนของชาวซีเรียมากขึ้น ผู้อพยพจำนวนมากได้งานใน ร้านอาหาร ร้านค้า และบริษัทนำเที่ยวที่เรียงรายอยู่ตามถนนอันร่มรื่น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกกำแพงเบอร์ลินกั้นไว้ และสำหรับผู้ที่คิดถึงซีเรีย ถนนสายนี้ทำให้พวกเขาได้ใกล้ชิดกับรสชาติและกลิ่นของบ้าน “เมื่อคุณก้าวเท้าไปตามถนน คุณลืมไปว่าคุณอยู่ในเยอรมนี” ยามาน อาซีเมห์ ชาวปาเลสไตน์วัย 21 ปี ที่ย้ายจากค่ายผู้ลี้ภัยยาร์มูกในกรุงดามัสกัสตั้งแต่ยังเป็นเด็กกล่าว 

เช่นเดียวกับชาวซีเรียหลาย ๆ คน ที่พวกเขาก็รู้สึกซาบซึ้งกับหลายสิ่งหลายอย่างที่เยอรมนีมอบให้ หรือแม้แต่สรีภาพในการพูด ถึงแม้ว่าจะใช้เวลาสามปีกว่าจะเชื่อว่า มีอยู่จริงหลังจากการเติบโตภายใต้ระบอบเผด็จการ บนถนน Turm ซึ่งห่างจากถนน Sonnenallee ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 10 กิโลเมตร สถานที่ที่ชาวซีเรียจำนวนมากต้องลงทะเบียนเมื่อมาถึงครั้งแรก ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของร้านอาหารและร้านค้าของชาวซีเรียมากมาย แม้ว่าจะไม่มากเท่ากับ 'Arab Street' ที่ถนน Sonnenallee ก็ตาม

กรุงเบอร์ลินมีประชากรอาหรับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เมื่อเยอรมนีตะวันตกอนุญาตชาวโมร็อกโกหลายพันคนให้เป็น "แขกรับเชิญ" เพื่อช่วยสร้างเศรษฐกิจหลังสงครามของประเทศ ในช่วงทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ผู้อพยพชาวเลบานอน และปาเลสไตน์-เลบานอนอีกหลายหมื่นคน ซึ่งหนีจากสงครามกลางเมืองในเลบานอน มาอาศัยอยู่ในสังคมคู่ขนาน ผู้อพยพชาวอาหรับเหล่านี้จำนวนมากแทบจะเข้ากับเพื่อนบ้านชาวเยอรมันของพวกเขาไม่ได้ อัตราการว่างงานในผู้ชายอยู่ในระดับสูง และหนึ่งในสามของประชากรหญิงต้องอาศัยสวัสดิการ (จากข้อมูลของรัฐบาลเยอรมัน) 

อย่างไรก็ตาม ผู้อพยพชาวอาหรับรุ่นก่อน ๆ ตามชุมชนต่าง ๆ เช่น Sonnenallee มักจะแสดงความไม่พอใจต่อผู้มาใหม่ "มากกว่าชาวเยอรมัน" เสียด้วยซ้ำ จากผู้อพยพเกือบ 695,000 คน ที่สมัครขอลี้ภัยในเยอรมนีในปี พ.ศ. 2559 มากกว่า 62 % ได้รับสถานะผู้ลี้ภัย หรือการคุ้มครองด้านมนุษยธรรม ทำให้พวกเขาสามารถทำงาน และได้รับสวัสดิการ ตามข้อมูลจากสำนักงานการย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ในบรรดาผู้สมัครจากซีเรีย ตัวเลขดังกล่าวสูงขึ้นราว 97% เสน่ห์ของ 'Arab Street' ถนน Sonnenallee จึงมาจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมทั้งผู้อพยพเก่าและใหม่ และชาวกรุงเบอร์ลินเอง เข้าไว้ด้วยกัน


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ Blockdit : THE STATES TIMES 
???? https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32