เหลือ​ 1​ ล้าน!! บทสรุป​ 'มาตรการปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก'​ สะท้อนสุขภาพการเงินสถาบันไทย...ยังดีจริงหรือ?

ตามที่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ประกาศปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ในกรณีที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินล้มละลาย ปิดกิจการ หรือโดนเพิกถอนใบอนุญาต จากเดิมวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ลงมาอยู่ที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน นับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไปนั้น เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้แล้วในพระราชกฤษฎีกาจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์ของ The International Association of Deposit Insurers (IADI) 

ทั้งนี้เพื่อให้วงเงินคุ้มครองเงินฝากสอดคล้องกับหลักการของระบบการคุ้มครองเงินฝากที่มีประสิทธิผล รักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ช่วยให้ทั้งผู้ฝากเงินและสถาบันการเงินไม่ละเลยต่อการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและลดภาระงบประมาณของภาครัฐไม่ให้สูงเกินจำเป็น ทำให้ภาครัฐสามารถจัดสรรงบประมาณไปสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้

นอกจากนี้การปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากดังกล่าวยังคงคุ้มครองผู้ฝากเงินถึงร้อยละ 98 ของผู้ฝากเงินทั้งระบบ ซึ่งถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับความเข้มแข็งของสถาบันการเงินในปัจจุบันที่สูงกว่าในอดีต ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงทำให้ผู้ฝากเงินสามารถมั่นใจต่อระบบสถาบันการเงินได้ แม้ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม

มาตรการกำกับดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ของ ธปท. นั้น ได้กำหนดกฎเกณฑ์ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นคง มีความสามารถในการบริหารความเสี่ยง มีความระมัดระวัง ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่เงินฝากของประชาชน ตลอดจนมีเกณฑ์กำกับด้านธรรมาภิบาลของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและผู้ฝากเงิน 

ทั้งนี้การกำกับดูแลของ ธปท. เป็นไปตามแนวทางการกำกับตรวจสอบความเสี่ยง (Risk based Supervision) โดยในส่วนของการกำกับดูแลด้านความเพียงพอของเงินกองทุน สถาบันการเงินจะถูกประเมินด้วยอัตราส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) ที่คำนึงถึงความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ ทั้งนี้กำหนดให้ค่า BIS ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 8.5% ซึ่งปัจจุบันพบว่า ค่า BIS ของสถาบันการเงินมีค่าร้อยละ 20 ซึ่งแสดงถึงสภาพคล่องที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ธปท. ยังได้กำหนดให้มีมาตรการ PPA (Prompt Prevention Action) เพื่อป้องกันก่อนสถาบันการเงินจะมีฐานะเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (ต่ำกว่า 8.5%) และมาตรการ PCA (Prompt Corrective Action) เพื่อแก้ไข ผ่านการเสนอแผนเข้าควบคุมกิจการ (ต่ำกว่า 5.1%) และสั่งปิดกิจการ (ต่ำกว่า 2.97%) อีกด้วย 

อย่างไรก็ตามผู้ฝากเงินสามารถศึกษาความมั่นคงของสถาบันการเงินได้มากขึ้น ผ่านแนวทางการประเมินใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 
1.) ฐานะและกำไรจากการทำธุรกิจ 
2.) เงินทุนของสถาบันการเงินที่แข็งแกร่ง 
3.) คุณภาพของสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ดี 
4.) มีสภาพคล่องเพียงพอ และ 
5.) อันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน (Rating) 

นอกจากนี้ ธปท. กำหนดให้มีศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ดูแลประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงิน ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้บริการทางการเงินได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างอิสระ มีช่องทางร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และได้รับการพิจารณาค่าชดเชยกรณีได้รับความเสียหาย ผ่านสายด่วน 1213 หรือ www.1213.or.th 

ขอบคุณข้อมูลจาก 
ข่าว ธปท. ​ฉบับที่  58/2564 
https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n5864.aspx
การกำกับดูแลสถาบันการเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย 
https://www.1213.or.th › aboutfcc › Documents
การคุ้มครองเงินฝาก การกำกับดูแลสถาบันการเงิน - สำนักงานเศรษฐกิจ 
http://www.fpo.go.th › CNT0014403-1.pdf.aspx


Q : ประกันอะไร? ได้ตั้ง 4 ต่อ!!
A : ก็ประกันภัยรถยนต์จาก @THESHOPTIMES ไง!! 
>> ฟรี!!! ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) 100,000 บาท
>> รับคอมมิชชั่นหรือส่วนลดทันที ในอัตราที่สูงกว่า แถมได้สิทธิซื้อประกัน พ.ร.บ.ราคาถูกตลอดชีพ
>> สามารถผ่อนได้สูงสุด 6 งวด ดอกเบี้ย 0% โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
>> แถมขายดีมีรายได้เพิ่มให้กับตัวเองด้วย
***สนใจติดต่อ Line@ THE SHOPS TIMES คลิก????https://lin.ee/vfTXud9