‘Chuck Feeney’ (ชัก ฟีนีย์) อภิมหาเศรษฐีใจบุญ ยอดนักบริจาค ผู้เป็นต้นแบบของ Warren Buffett และ Bill Gates

Chuck Feeney (ชัก ฟีนีย์) ชายชราที่มัธยัสถ์และสุดแสนที่จะธรรมดา แต่สิ่งที่เขาลงมือทำกลายเป็นแบบอย่างให้อภิมหาเศรษฐีของโลกอย่าง Warren Buffett และ Bill Gates ยอมรับ ยกย่อง ชื่นชม นับถือ และนำมาเป็นแบบอย่าง Chuck Feeney (เกิด 23 เมษายน พ.ศ.2474) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นเจ้าของ DFS บริษัทจำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอันดับ 1 ของโลก (ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่คือ LVMH : Moët Hennessy Louis Vuitton SE) ร่วมกับ Robert Warren Miller โดย Chuck Feeney ได้ขายหุ้นส่วนของตัวเองไปเพื่อนำเงินไปใช้ทำกองทุนการกุศล The Atlantic Philanthropies (AP)
 

DFS (DFS Group) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2503 เครือข่ายประกอบด้วยสาขากว่า 420 แห่ง รวมถึงร้านค้าปลอดภาษีในสนามบินหลัก 18 แห่ง และร้านค้าในตัวเมือง 14 แห่ง ปัจจุบันบริหารโดย บริษัท Moët Hennessy Louis Vuitton (LVMH) ร่วมกับผู้ร่วมก่อตั้งและผู้ถือหุ้นของ DFS Robert Warren Miller เมื่อ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2540 DFS Group ดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทลูกของ LVMH สำนักงานใหญ่ของ DFS ตั้งอยู่ในฮ่องกง และมีสำนักงานใน ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น มาเก๊า นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม DFS Group มีพนักงานมากกว่า 9,000 คนดำเนินงานใน 14 ประเทศทั่วโลก ในปี พ.ศ.2560 มีนักเดินทางเกือบ 160 ล้านคนเข้าเยี่ยมชมและใช้บริการในร้านค้าของ DFS

Chuck Feeney ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ธรรมดา ๆ ในนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟลอเนีย กับภรรยา Helga Feeney

Chuck Feeney อาศัยอยู่ในนครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟลอเนีย กับภรรยา Helga Feeney เขาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง พำนักในอพาร์ทเมนต์ที่มีความเข้มงวดราวกับหอพักของนักศึกษาน้องใหม่ ไม่เคยสวมเสื้อผ้าแบรนด์เนม ไม่ชอบทานอาหารหรูหรา อาหารโปรดที่เขาชอบที่สุดคือแซนด์วิชชีสย่างมะเขือเทศราคาแสนถูก ใช้แว่นตาเก่า ๆ ใส่นาฬิกาธรรมดา และไม่มีรถขับ การเดินทางก็มักใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 

แต่เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดในเรื่องการบริจาคขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ใช้โชคที่ได้รับส่วนใหญ่มาก ๆ ไปกับการบริจาคให้กับการกุศลครั้งใหญ่ แทนที่จะเป็นการบริจาคเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว “เพราะคนเราไม่สามารถนำเงินติดตัวไปในสัมปรายภพได้ ทำไมไม่บริจาคไปทั้งหมด ซึ่งจะสามารถควบคุมการบริจาคได้ว่า เงินบริจาคจะไปให้ใคร ที่ไหน อย่างไร และได้เห็นผลลัพธ์ด้วยตาของคุณเอง” Chuck Feeney กล่าวว่า “เราได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากมาย เราจึงเลือกทำบางอย่างที่แตกต่างออกไป แต่ผมพอใจมาก และรู้สึกดีมากที่ได้ทำสิ่งนี้ได้เสร็จขณะมีชีวิตอยู่” Feeney กล่าวกับ Forbes ว่า “ขอขอบคุณทุกคนที่เข้าร่วมกับผมในการเดินทางครั้งนี้ และสำหรับผู้ที่สงสัยเกี่ยวกับ Giving While Living ขอให้ลองดู แล้วคุณจะชอบ”

ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา Chuck Feeney ได้บริจาคเงินกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐให้กับองค์กรการกุศล มหาวิทยาลัย และมูลนิธิต่าง ๆ ทั่วโลก ผ่านมูลนิธิ The Atlantic Philanthropies ของเขา เมื่อนิตยสาร Forbes พบเขาครั้งแรกในปี พ.ศ.2555 เขาคาดว่า เขาจะมีเงินเหลือประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สำหรับการเกษียณอายุของเขาและภรรยา กล่าวอีกนัยหนึ่งเขาได้รับเงินมากกว่ามูลค่าสุทธิในปัจจุบันถึง 375,000% และเขาบริจาคไปโดยไม่ระบุชื่อ ในขณะที่ผู้ใจบุญที่ร่ำรวยหลายคนต่างก็เกณฑ์กองทัพนักประชาสัมพันธ์เพื่อปาวประกาศถึงการบริจาคของพวกเขา Chuck Feeney ก็พยายามอย่างมากที่จะเก็บงำการบริจาคของเขาไว้เป็นความลับ เนื่องจากการบริจาคเพื่อการกุศลที่เป็นความลับ และกระจายไปทั่วโลก นิตยสาร Forbes จึงเรียก Chuck Feeney ว่า James Bond of Philanthropy

“การให้ในขณะที่ยังมีชีวิต ทำให้เกิดความแตกต่าง”
Chuck Feeney

ก่อนชายผู้แสนมัธยัสถ์นี้จะอายุ 85 เขาได้ทำอะไรมาบ้าง ?

1.) บริจาคเงิน 588,000,000 เหรียญสหรัฐให้มหาวิทยาลัยคอร์แนล โดยห้ามไม่ให้มหาวิทยาลัยประกาศชื่อผู้บริจาค

2.) บริจาค 125,000,000 เหรียญสหรัฐ ให้มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย 

3.) บริจาค 60,000,000 เหรียญสหรัฐ ให้มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ต

4.) ลงทุน 1,000,000,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อปรับปรุงมหาวิทยาลัยอีก 7 แห่ง และอีก 2 แห่งในไอร์แลนด์เหนือ

5.) จัดตั้งกองทุนการกุศล The Atlantic Philanthropies (AP) ให้การรักษาพยาบาลฟรีสำหรับเด็กปากแหว่งในประเทศที่กำลังพัฒนา

6.) ได้บริจาคเงินไปทั้งสิ้น 8,000,000,000 เหรียญสหรัฐ เมื่ออายุ 89 ปี

วันที่ 14 กันยายน 2020 Chuck Feeney พร้อมด้วยภรรยา Helga Feeney ได้ลงนามในเอกสาร ณ นครซานฟรานซิสโกอันเป็นการปิดการบริจาคให้ The Atlantic Philanthropies (AP)

แม้ว่า Chuck Feeney จะรักในการหาเงิน แต่ก็ใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดมาก Chuck Feeney มีความปรารถนาว่า ก่อนปี พ.ศ.2559 เขาจะบริจาคเงินที่เหลือให้หมด เพื่อจะได้ตายอย่างตาหลับ โดยเงินของเขาได้กระจายไปทั่วโลกให้พื้นที่จำเป็นในอัตรา 400,000,000 เหรียญสหรัฐ ต่อปี และในเดือนกันยายน พ.ศ.2563 Chuck Feeney ก็ทำได้สำเร็จ โดยเขาเหลือเงินเพื่อใช้ดำรงชีวิตกับภรรยาเพียงสองล้านเหรียญเท่านั้น 

วันที่ 14 กันยายน ค.ศ.2020 Chuck Feeney พร้อมด้วยภรรยา Helga Feeney ได้ลงนามในเอกสาร ณ นครซานฟรานซิสโกอันเป็นการปิดการบริจาคให้ The Atlantic Philanthropies (AP) หลังจากบริจาคมาแล้วทั่วโลกเป็นเวลาสี่ทศวรรษ The Atlantic Philanthropies พิธีซึ่งกระทำบนระบบ Zoom กับ The Atlantic Philanthropies รวมถึงข้อความวิดีโอจาก Bill Gates และอดีตผู้ว่าการมลรัฐแคลิฟลอเนีย Jerry Brown ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ Nancy Pelosi ส่งจดหมายอย่างเป็นทางการจากสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาเพื่อขอบคุณ Feeney สำหรับการบริจาคของเขา

“ผมมีหนึ่งความคิดในใจ ซึ่งไม่เคยเปลี่ยน นั้นคือ เราต้องใช้ความมั่งคั่งที่มีเพื่อช่วยเหลือผู้คน” Chuck Feeney

เขาเป็นตัวอย่างสำหรับคนรวยที่ว่า "ในขณะที่มีความสุขกับชีวิต ต้องแบ่งปันความสุขนี้ให้กับผู้อื่นด้วย" การทำการกุศลของ Chuck Feeney เป็นที่โด่งดังมาก ผู้สื่อข่าวจำนวนมากเดินทางไปยังบ้านของเขา แล้วทุกคนก็ล้วนแต่แปลกใจ และถาม Chuck Feeney ว่า “คุณมีทรัพย์สินมากมาย ทำไมถึงไม่ใช้ชีวิตที่สวยหรู" 

เพื่อตอบข้อสงสัยของทุกคน Chuck Feeney ยิ้ม และบอกเล่าเรื่องราว 

"สุนัขจิ้งจอก พบไร่องุ่นที่เต็มไปด้วยผลไม้ อยากจะเข้าไปในไร่ เพื่อกินองุ่นให้เต็มที่ แต่มันอ้วนเกินไป เลยมุดผ่านรั้วไร่องุ่นไปไม่ได้ ดังนั้นมันจึงไม่กินไม่ดื่มอยู่สามวัน และแล้วตัวมันก็ผอมลง จนมุดผ่านรั้วเข้าไปในไร่องุ่นได้ ! 

เมื่อกินอิ่มเป็นที่พึงพอใจแล้ว แต่…ตอนที่จะกลับออกไป กลับออกไม่ได้อีก ทำอย่างไรก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีทางเลือก มันจึงต้องอดน้ำ อดอาหารอีกสามวันสามคืน จนสุดท้ายแล้ว ท้องของมันตอนที่ออกมาจากไร่องุ่น ก็เหมือนกับตอนที่มันเข้าไปในไร่องุ่น" 

เมื่อเล่าเสร็จ Chuck Feeney กล่าวว่า "บนสวรรค์นั้นไม่มีธนาคาร ทุกคนเกิดมากับความว่างเปล่า ในที่สุดก็จากไปแบบมือเปล่า ไม่มีใครสามารถนำความมั่งคั่งไปกับความตายได้" และเมื่อมีสื่อถาม Chuck Feeney ทำไมต้องบริจาคเงินออกไปจนหมด คำตอบของเขาง่ายมาก ๆ และไม่มีใครคาดถึง เขากล่าวว่า "เพราะถุงใส่ศพนั้นไม่มีกระเป๋า" อันที่จริงแล้วความจนของเขาเกิดจากการบริจาคเงินมหาศาล สิ่งที่เขาได้มา ได้ส่งคืนกลับไปสู่สังคมทั้งหมด มันช่วยทำให้เขามีความสุขมากกว่ามีเงินเป็นหมื่นเป็นแสนล้านเสียอีก


Chuck Feeney กับ Warren Buffett

Chuck Feeney จึงมีอิทธิพลต่อทั้ง Warren Buffett และ Bill Gates เมื่อพวกเขาเปิดตัว การให้คำมั่นสัญญาในปี พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นการรณรงค์เชิงรุกเพื่อโน้มน้าวให้ผู้มั่งคั่งที่สุดในโลก บริจาคทรัพย์สมบัติอย่างน้อยครึ่งหนึ่งสำหรับการกุศล ก่อนที่พวกเขาจะเสียชีวิต “Chuck Feeney เป็นต้นแบบที่สำคัญในแง่ของแรงบันดาลใจในการให้และทำตามคำมั่นสัญญา” Warren Buffett กล่าวว่า “เขาเป็นต้นแบบสำหรับพวกเราทุกคน ซึ่งจะต้องใช้เวลาราว 12 ปีหลังจากที่เสียชีวิตเพื่อทำสิ่งที่เขาทำภายในช่วงชีวิตของเขา” สำหรับ Bill Gates ได้กล่าวถึง Chuck Feeney ว่า “Chuck ได้สร้างเส้นทางให้ผู้ใจบุญคนอื่น ๆ เดินตาม ผมจำได้ว่า พบเขาก่อนเริ่มการให้คำมั่นสัญญา เขาบอกผมว่า เราควรสนับสนุนผู้คน ไม่ให้เพียงแค่ 50% แต่ให้มากที่สุดในช่วงชีวิตของพวกเรา ไม่มีใครเป็นตัวอย่างที่ดีไปกว่า Chuck หลายคนพูดกับผมว่า Chuck Feeney เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาได้อย่างไร ช่างน่าทึ่งจริง ๆ ”

“Chuck ได้สร้างเส้นทางให้ผู้ใจบุญคนอื่น ๆ เดินตาม ผมจำได้ว่า พบเขาก่อนเริ่มการให้คำมั่นสัญญา เขาบอกผมว่า เราควรสนับสนุนผู้คนไม่ให้เพียงแค่ 50% แต่ให้มากที่สุดในช่วงชีวิตของพวกเรา” Bill Gates