“นายไพร” ยันศาลชี้ชัด โครงการจัดหาทุนซื้อทองคำ ไม่ใช่เรื่องทุจริต เป็นเรื่องของระเบียน ลั่น ทำไปโดยสุจริตใช้เงินส่วนตัวไปช่วยโครงการหลายล้าน เป็นการปิดทองหลังพระ พร้อมเป็นทน.หาดใหญ่

ที่บ้านพักเขตเทศบาลนครหาด นายไพร พัฒโน อดีตนายกเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้กล่าวเปิดใจกับทีมข่าวสื่อมวลชน ที่มาร่วมทำข่าว ถึงกรณีในเรื่องของการถูกกล่าวหาว่า กระทำการโดยทุจริต เกี่ยวกับโครงการจัดหาทุนซื้อทองคำปิดองค์พระพุทธมงคลมหาราช พระประจำเมืองหาดใหญ่

โดยกล่าวว่า ผมมีความตั้งใจที่จะบูรณะพระพุทธมงคลมหาราช องค์พระยืน เนื่องจากตอนผมเข้าไปองค์พระมันมีรอยรั่ว จึงตั้งใจบูรณะให้ดีขึ้น  เมื่อมีเงินแล้วจึงค่อยปิดทอง จึงคิดจะสร้างหลวงปู่ทวดขึ้นมาเพื่อให้คนเช่า ร่วมทำบุญเป็นการหาเงินสัก 60 - 70 ล้านบาทมาบูรณะ  ดังนั้นก็คือจากมูลนิธิสิรินธร ในพระบาทราชูปถัมภ์ซึ่งรับเป็นเจ้าภาพ  ถ้าจะทำขนาดนี้เทศบาลก็ต้องลงทุนถึงเกือบ 40 ล้านถึงจะพอ เพื่อทำพระขึ้นมาชุดหนึ่ง และเมื่อขายแล้วหักต้นทุน ก็จะเหลือให้กำไรประมาณ 70 ถึง 80 ล้าน โดยเห็นว่าถ้าเอามา 30 - 40 ล้านมันดูเยอะ ก็จึงตกลงเอามาเพียงครึ่งเดียวพอ และอีกครึ่งหนึ่งจะไปหาจากยอดจองพระ จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยผ่านสภา และผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นก็ให้การอนุมัติ และดำเนินการตามระเบียบถูกต้องทุกอย่าง

เรื่องนี้ถูกนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามร้องเรียนแล้วป.ป.ช.ก็ชี้ว่าผิด ส่งเรื่องให้อัยการและบอกว่าตนดำเนินการโดยทุจริต เพราะไม่จัดประมูล ซึ่งผมก็สู้กันในชั้นศาลว่า เงินอุดหนุนมันไม่ต้องประมูล คนรับเงินอุดหนุนสามารถรับไปได้เลยและทำตามระเบียบของเขา ทั้งเงิน ทั้งของ เป็นของเขาหมด เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น เพียงแต่ส่งรายละเอียดว่าใช้จ่ายอะไรบ้างเท่านั้นพอ เช่นเดียวกับการอุดหนุนการจัดงานตรุษจีนให้แก่องค์กรต่าง ๆ ก็ไม่ต้องประมูล ซึ่งศาลวิเคราะห์ทุกอย่างแล้วดูรายละเอียด ศาลบอกว่าเรื่องนี้ไม่มีทุจริต เพราะเงินก็ไม่อยู่ที่นายกไพร พระก็ไม่อยู่ที่นายกไพร เงินก็ส่งให้มูลนิธิสิรินธร ซึ่งก็ทำไปตามนั้นเพียงแต่ค่าใช้จ่ายอื่นๆเกี่ยวกับบัญชีจองพระนั้น ศาลบอกทำไมไม่ทำตามระเบียบเสีย แล้วขออนุมัติเข้าสภา เลยลงโทษ 157 ซึ่งก็ต้องอุทธรณ์ เงินจองพระ พระก็ยังไม่มีเป็นการจองก่อนล่วงหน้า เงินบัญชีก็ไม่ใช่ของเทศบาลยังไม่ถือว่าเป็นรายได้ของเทศบาล เราจึงประมูลจัดซื้อ จัดจ้างไม่ได้

ดังนั้นต้องชี้แจงและอุทธรณ์เรื่องนี้ไปว่า อย่างนี้มันสุดวิสัย ตรงนี้มันเป็นเพียงเรื่องระหว่างดำเนินการ และต้องหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายอีกหลายเรื่องเช่นค่าจัดทำพระให้เพียงพอต่อการคุ้มค่าและได้กำไรตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ เกี่ยวกับการโฆษณา ค่าพิธีกรรม ค่าแพ็คกิ้งก็ดี และยังมีค่าอื่นๆอีกหลายล้าน  เอามาจากยอดจอง เทศบาลให้มา เพียง 20 ล้านเท่านั้น ยังมีหนี้สินจากการดำเนินโครงการอีกมาก และทำพระได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งยอดจองนี้ที่ศาลบอกว่าทำไมไม่ทำแบบเดียวกันกับเงินก้อนแรกจากเทศบาล เลยลงโทษว่าผมไม่ปฏิบัติตามระเบียบให้ครบถ้วน เพราะตรงนี้ทำไมไม่ทำโครงการขึ้นมาไม่จัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งมันทำไม่ได้ และตรงนี้มันเงินข้างนอกไม่ใช่เงินของเทศบาล จึงต้องชี้แจงไปในชั้นอุทธรณ์ต่อไป  .

เพราะเงินยังอยู่กลางอากาศ เงินนี้เมื่อเคลียร์บัญชีกันเสร็จ เหลือพระเท่าไหร่ เหลือเงินเท่าไหร่ มูลนิธิก็จะส่งให้เทศบาลทั้งหมด พระนี่ก็จะเป็นของเทศบาลคนเดียวโดยไม่มีภาระผูกพันใด ๆ อีก ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ส่งเงินไปได้ 10 กว่าล้าน จาก 20 ล้าน  เท่ากับว่าเทศบาลลงทุนเพียง 5 ล้านบาท และยังมีพระรอจำหน่ายอีกเกือบ 100 ล้าน ดังนั้นจึงไม่เสียหายเลย แต่เขาบอกว่าผิดที่ระเบียบ ผิดที่ขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนก็ไม่ผิด ระเบียบก็ไม่ผิด และผมก็ไม่ทุจริต ผมได้ทำอย่างดีที่สุด ซึ่งผมเองก็ช่วยด้วยเงินส่วนตัวไปหลายล้านบาท โดยถือว่าเป็นการร่วมทำบุญเป็นการปิดทองหลังพระโดยไม่เคยบอกใครและไม่เคยไปอวดอ้างความดีอะไรกับใคร ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผมผิดทั้ง ๆ ที่ผมกล้าเสียสละขนาดนี้ และผมก็หมดไปหลายล้าน ผมจึงไม่ทุจริตแน่นอน และศาลก็บอกแล้วว่าไม่ทุจริตจึงยกฟ้องในข้อกล่าวหาว่าทุจริต นอกจากในเรื่องของระเบียบ

ที่สำคัญที่สุด เทศบาลก็ไม่ได้เสียหาย ซ้ำยังได้ประโยชน์มาก และอีกประเด็นหนึ่งผมยืนยันได้ว่าไม่ผิดระเบียบแน่นอน ดังนั้นการที่ผมจะลงสมัครนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ครั้งนี้จึงมั่นใจว่า ไม่ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกแน่นอน

ดังนั้นจึงขอยืนยันว่าเทศบาลนครหาดใหญ่ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ตนก็จะต้องชี้แจงข้อกฎหมายที่เราไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา และยื่นอุทธรณ์ ดังนั้นจึงไม่มีประเด็นการทุจริต แต่เป็นเรื่องของการใช้อำนาจหน้าที่ ซึ่งก็ยืนยันว่าดำเนินการโดยถูกต้อง มีเจตนาที่บริสุทธิ์ เทศบาลไม่เสียหายแต่ยังได้ประโยชน์ และได้กำไรจากโครงการนี้มหาศาล


ภาพ/ข่าว : นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา