ทางด่วนสายแรก นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง เตรียมเปิดใช้ เฉลิมฉลองวันชาติลาว 45 ปี (ตอนที่ 1)

คอลัมน์​ "เบิ่งข้ามโขง"

.

ศักยภาพของการคมนาคม เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งโลจิสติกส์

เป็นเส้นทางด่วนระยะแรก หนึ่งในโครงการเส้นทางด่วนจีน - ลาว มีจุดเริ่มต้นจากนครหลวงเวียงจันทน์ ถึงเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ใกล้กับชายแดนซึ่งติดกับมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งการก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ  คือ นครหลวงเวียงจันทน์ - วังเวียง,วังเวียง - หลวงพระบาง  หลวงพระบาง - อุดมไชย และ อุดมไช - บ่อเต้น ตลอดเส้นทาง 440 กิโลเมตร 

.

.

สำหรับเส้นทางระยะแรก เป็นการลงทุนในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer)  รัฐให้เอกชนลงทุนก่อสร้างแล้วเปิดให้บริการ เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน โครงการจะถูกโอนกลับมาเป็นของรัฐ  โดยมีอายุสัมปทาน 50 ปี และมีรัฐบาลลาวร่วมถือหุ้นด้วย 5%

เริ่มก่อสร้างในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ใช้งบประมาณก่อสร้าง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 3.73 หมื่นล้านบาท) ดำเนินงานโดยบริษัท อวิ๋นหนาน คอนสตรักชัน แอนด์ อินเวสต์เมนท์ โฮลดิง กรุ๊ป จำกัด (YCIH) ของจีน ร่วมกับรัฐบาลลาว

รูปแบบถนนขนาด 4 ช่องจราจร ไป - กลับ ระยะทาง 109.12 กิโลเมตร เขตทางกว้าง 23 เมตร ปูยางแอสฟัลต์คอนกรีตชั้นแรกหนา 50 เซนติเมตร และชั้นที่สองหนา 20 เซนติเมตร พร้อมราวการ์ดเรล (Guardrails) และมีรั้วกั้นไม่ให้คนและสัตว์ข้ามผ่านไปมา

โดยมีจุดเริ่มต้นจากถนนสาย 13 เหนือที่บ้านสีเกิด เมืองนาซายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ ประมาณ 12 กิโลเมตร แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะขนานโครงการทางรถไฟลาว - จีน ผ่านบ้านนาชอน บ้านบัว น้านสะกา เมืองโพนโรง ลอด อุโมงค์พูพะ

.

.

ที่มี อุโมงค์ขาออกยาว 845 เมตร อุโมงค์ขาเข้ายาว 875 เมตร กว้าง 10.50 เมตร สูง 5 เมตร เข้าสู่เมืองหินเหิบ ข้ามแม่น้ำลิก ผ่านบ้านท่าเฮอ ข้ามแม่น้ำสอง สิ้นสุดลงที่เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ มีวงเวียนทางเข้า - ออก 7 จุด คิดค่าผ่านทางตลอดสาย 62,000 กีบ (215 บาท) ใช้เวลาในการเดินทาง 1 - 1.30 ชั่วโมง ด้วยความเร็วที่ออกแบบ 80 - 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ย่นเวลาจากเดิม 3 ชั่วโมง บนเส้นทางหมายเลข 13 ที่มี 2 ช่องจราจร ซึ่งส่วนใหญ่คดเลี้ยวไปตามภูเขา

เมืองวังเวียง เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ซึ่งจากรายงานในกองประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6 ในระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมาได้รายงานถึงจำนวนนักท่องเที่ยว ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 1,107,525 คน เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ 796,231 คน นักท่องเที่ยวภายในประเทศ 312,294 คน

สร้างรายได้มากกว่า 518 พันล้านกีบได้มีการปรับปรุง จัดการการท่องเที่ยวเมืองวังเวียง และ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  และ ในปีนี้กำลังมุ่งเน้นไปที่การดำเนินโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองวังเวียง ระยะที่ 2 ซึ่งได้รับทุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 17 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ด้วย เมืองวังเวียง อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีความหลากหลายทั้งมี ภูเขา ป่าไม้ ถ้ำ แม่น้ำ สภาพอากาศและ ตลอดจนภูมิประเทศที่สวยงาม ถือได้ว่าเป็น จุดยุทธศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร

มีศักยภาพพิเศษและเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนา โดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพ ความทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

.

.

ซึ่งเป็น เสาหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นสีเขียวและยั่งยืนของเมืองวังเวียง การจัดการพัฒนาส่งเสริมให้สถานประกอบการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถหางานและมีรายได้ที่มั่นคง เพื่อให้คนในท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมในการบรรเทาความยากจนของเมืองและค่อยๆรวมเข้ากับเครือข่ายการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

อีกไม่นานนัก ชาวลาวคงได้ใช้เส้นทางสายนี้กันแล้ว ดีใจและยินดีด้วย คาดหวังไว้ว่า 16 มกราคม พ.ศ.2564 ก็น่าจะได้ข้ามไปใช้เส้นทางสายนี้ และได้ไปพักผ่อนที่วังเวียง เช่นกัน

.

ขอบคุณเนื้อข่าวจาก

Xinhua News / Lao National Radio

.

หนุ่มใหญ่จากโคราชคลุกคลี กับเมืองลาวทั้งด้านธุรกิจเอกชน​และภาครัฐมานานหลายปี ยินดีแนะนํา​ภาคเอกชนไทย​ บุกตลาดอินโดจีน สรรหาเรื่องเล่า​ วีถีชีวิต​ วัฒนธรรม​ เศรษฐกิจ​ การเมืองประเทศฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง​ หรือ​ มุมมองเบิ่งข้ามโขง