กระตุ้นเศรษฐกิจแบบอินเดีย
คอลัมน์ "หลังม่านส่าหรี"
วัฒนธรรมการจิบชายามบ่ายของผู้ดีอังกฤษ ถ่ายทอดมาให้ชาวอินเดียในยุคล่าอาณานิคมที่อังกฤษเข้ายึดครองดินแดนเอเชียใต้ พร้อมเอาชามาปลูก แล้วถ่ายทอดการจิบชาสู่คนพื้นเมือง
ชาหอม ๆ ใส ๆ จิบกันเช้าสายบ่ายเย็น และก่อนนอนกันทีเดียว แต่เรื่องเล่าชาวอินเดียบอกว่าการจิบชาของชาวอินเดียมีมาก่อนเจ้าอาณานิคมอังกฤษเข้ามายึดครอง แต่ไม่มีชื่อเสียง และได้รับการส่งเสริมการปลูกชาอย่างจริงจัง จนมีชื่อเสียง เช่น ชาอัสสัม ชาสิกขิม ชาอู่หลง และอื่น ๆ ในเวลาต่อมา จนสร้างเศรษฐกิจให้อินเดียจากการขายชาส่งออก
.
ชาอินเดียจริง ๆ ที่มีชื่อเสียงมากคือ "ชามาซาร่า" ที่วางขายข้างทางริมถนนทั่วไปราคาแก้วละ 10 รูปี หรือ 5 บาทไทย รสชาติหวานหอมผสมเครื่องเทศ กลิ่นเตะจมูก จะออกแนวรักสุขภาพ
ร้านชาที่มีชื่อเสียงมาในอินเดียและสาขาค่อนข้างเยอะคือ"ร้าน Chaayos" เป็นร้านชาในดวงใจเลยทีเดียว มีเมนูให้เลือกมากมาย รวมทั้งเมนูของว่างด้วย
.
จุดที่น่าสนใจคือเศรษฐกิจจาก "ถ้วยชาดินเผา" นี่แหละ
เนื่องจากคนอินเดีย มีคนจนมากมาย การสร้างงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าเลยต้องมีคนขายชาเลยนิยามว่า "ชาถ้วยเก่ารสชาติจะไม่อร่อยเท่ากับชาถ้วยใหม่ กินแล้วอย่าใช้ซ้ำให้ทิ้งไปเลย" และคนขายจะให้ถ้วยดินเผาแก่ลูกค้าโดยไม่ขี้เหนียวเลย
"นี่น่าจะเป็นวิธิกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าที่แหลมคมมาก"
.
“จิญา”
พยาบาลสาวไทยจากนครปฐม ผู้พบรักกับหนุ่มฮินดูชาวอินเดีย ตอนนี้มีพยานรักตัวน้อย 1คนใช้ชีวิตในดินแดนฮินดู เมืองคุรุคาม (Gurugram) รัฐหรยาณา ทางใต้นครหลวงเมืองนิวเดลี ราว ๆ 30 กิโลเมตร สรรหาเรื่องเล่า ที่พบเจอระหว่างอยู่ที่นั่นมาเล่าให้ฟัง เรื่องแปลก คนแปลก และวิถีชีวิตที่คนไทย ไม่คุ้นเคย