Wednesday, 8 May 2024
CRIMES

‘สืบสวนภาค 9’ ปฏิบัติการจับกุม ‘บ่าว ศรีชุมพวง’ มือปืนรับจ้างบัญชีดำ พบ ‘ปืน-กระสุน’ ในบ้านพักเพียบ

(4 ก.ย. 66) มีรายงานว่าเมื่อเวลา 13.00 น. เมื่อ 3 กันยายน ตำรวจชุดสืบสวนภาค 9 ร่วมกับชุดสืบสวนภาค 8 นำโดย พ.ต.อ.ศักดา เจริญกุล รอง ผบก.สส.ภ.9, พ.ต.อ.สมพงษ์ สุวรรณวงศ์ รอง ผบก.สส.ภ.9  พ.ต.อ.ธนวัต เส้งสุย ผกก.สส. 3 ภ.9 พ.ต.อ.กองทัพ เสนาทิพย์ ผกก.ปพ.สส.ภ.9 สนธิกำลังตำรวจชุดสืบสวนทั้งจากภาค 9 และภาค 8 พร้อมอาวุธครบมือ

ปฏิบัติการจู่โจมเข้าจับกุม นายนิพนธ์ ศรีชุมพวง อายุ 41 ปี หรือบ่าว มือปืนรับจ้าง และผู้ต้องหาลำดับที่ 186 ตามปฏิบัติหมายจับหรือแบล็คลิสต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตามหมายจับของศาลจังหวัดนาทวี ที่ จ.22/2561 ลง 12 ก.พ.61 ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามควรแก่พฤติการณ์

ขณะกบดานอยู่ที่บ้านพักในสวนยางพารา พื้นที่บ้านน้ำนิ่ง ต.บ้านลำนาว อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช และสามารถรวบตัวเอาไว้ได้โดยไม่ได้ต่อสู้หรือขัดขืน

จากการตรวจค้นในบ้านพักพบของกลางเป็นยาบ้าเปียกน้ำจำนวนหนึ่ง และอาวุธปืน 4 กระบอก พร้อมเครื่องกระสุน ประกอบด้วย, อาวุธปืนพกสั้น แบบออโตเมติก ขนาด .45 จำนวน 1 กระบอก พร้อมกระสุนปืน .45 จำนวน 27 นัด, อาวุธปืนสงคราม คาร์บิน 1 กระบอก พร้อมกระสุนปืน .30 คาร์ไบน์ จำนวน 21 นัด, อาวุธปืนลูกซองยาวเดี่ยว 1 กระบอกพร้อมกระสุนปืนลูกซอง, อาวุธปืนลูกกรดยาว .22 จำนวน 2 กระบอก พร้อมกระสุนปืน .22 จำนวน 30 นัด

โดยเฉพาะอาวุธปืนคาร์บินนั้น ต้องสงสัยว่าเคยถูกใช้ก่อเหตุมาแล้วในพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา เมื่อปี 2560 ซึ่งคนร้ายใช้อาวุธปืนคาร์บินในการก่อเหตุ และเป็นคดีที่นายนิพนธ์ ร่วมก่อเหตุและถูกออกหมายจับ เจ้าหน้าที่ได้ส่งไปตรวจพิสูจน์ที่ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 เพื่อดูว่าตรงกับปลอกกระสุนปืนที่ใช้ก่อเหตุในคดีนี้หรือไม่

เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาตามหมายจับ 3 ข้อหา คือร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง, และร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามควรแก่พฤติการณ์ คุมตัวส่งพนักงานสอบ สภ.สะเดา จ.สงขลา พื้นที่เกิดเหตุที่เคยก่อเหตุและถูกออกหมายเพื่อดำเนินคดี

สำหรับประวัติของ นายนิพนธ์ ศรีชุมพวง อายุ 41 ปี หรือบ่าว เป็นหนึ่งในมือปืนรับจ้าง หนึ่งในคดีดังที่เคยก่อเหตุคือ รับงานฆ่านายอาคม พรมโสภา อายุ 56 ปี หัวหน้าฝ่ายผลิตของโรงงานหาดใหญ่รับเบอร์ เสียชีวิตในบ้านพัก ซึ่งเปิดเป็นร้านขายชำ ที่ ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา โดยใช้อาวุธปืนคาร์บินยิงถล่มจนตายคาบ้าน เหตุเกิดเมื่อคืนวันที่ 18 ธันวาคม 2560

คดีนี้มีผู้ถูกออกหมายจับทั้งหมด 5 คน และจับกุมได้แล้ว 3 คน มีนายน้อย สัจจมาตย์ อายุ 52 ปี ชาว อ.สะเดา ผู้จ้างวาน นายอาดัม หมัดเลียด อายุ 54 ปี ชาว อ.สะเดา จ.สงขลา คนดูต้นทาง และนายสมใจ แก้วแหร้ อายุ 53 ปี ชาว อ.สิงหนคร จ.สงขลา คนจัดหามือปืนและจัดหาอาวุธปืนคาร์บิน และหลบหนีอีก 2 คน คือนายกมลชัย หรือบรรณ สูงศักดิ์ อายุ 54 ปี ชาว อ.หาดใหญ่ คนจัดหารถยนต์เก๋งที่ใช้ในการก่อเหตุ และนายนิพนธ์ หรือบ่าว ศรีชุมพวง อายุ 35 ปี ชาว อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นมือปืนที่เป็นผู้ลงมือสังหาร

พล.ต.ท.รณศิลป์ กล่าวว่า ส่วนสาเหตุมาจากความขัดแย้งเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบและธุรกิจมืด ระหว่างนายน้อย ผู้จ้างวาน กับนายอาคม ผู้ตาย จึงได้ว่าจ้างทีมมือปืนทั้งหมดมายิงนายอาคม ในราคา 2 แสนบาท มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งขณะลงมือก่อเหตุและการหลบหนี โดยส่งคนไปเฝ้าจับตา นายอาคม ก่อนที่จะประสานทีมมือปืนขับรถเก่งมายิงถล่มจนเสียชีวิต รวมทั้งการเปลี่ยนรถอีกคันมารับตัวมือปืนหนีไป

‘บก.ปอศ.’ บุกจับหนุ่มแสบ หลอกตุ๋นเหยื่อลงทุนหุ้น IPO  เสียหายกว่า 3.4 ลบ. เบื้องต้นยังให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

(3 ก.ย. 66) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมนำโดย พ.ต.ต.หญิง ปวีณวรรณ สินธุชัย สว.กก.๓ บก.ปอศ., ร.ต.อ.หญิง ศณิศา นนธ์พละ, ร.ต.อ.สุรพันธุ์ ตาขันทะ, ร.ต.อ.ศศิวิมล คำนาค รอง สว.กก.3 บก.ปอศ., ร.ต.ท.ขวัญใจ ยิ่งเจริญ รอง สว.ฝอ.ฯ ปฏิบัติราชการ กก.3 บก.ปอศ., ร.ต.ท.ชัยวิทย์ ศรจิตต์, ร.ต.ต.มีสิทธิ์ ม่วงไหมทอง รอง สว.(ป.) กก.3 บก.ปอศ. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ.ร่วมกันจับกุม นายวรพจน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 29 ปี ในความผิดฐาน “ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล) โดยไม่ได้รับอนุญาต และฉ้อโกง”

โดยนายวรพจน์ ชักชวนให้กลุ่มผู้เสียหายบุคคลร่วมการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก หรือหุ้น IPO ซึ่งแอบอ้างถึงโควตาที่ได้รับจัดสรรก่อน (Pre IPO) ของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง โดยกระทำการผ่านตัว นายวรพจน์ เอง (ลักษณะเป็นการรับบริหารจัดการการลงทุนของบุคคลเป็นการเฉพาะ)

อ้างถึงผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน ซึ่งในการรับบริหารจัดการดังกล่าว ผู้ต้องหาจะได้รับค่าตอบแทนในอัตราร้อยละ 10 ของผลกำไรที่ได้ อีกทั้งยังอ้างถึงการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้กลุ่มผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจและเชื่อถือได้ และได้ร่วมลงทุนซื้อหุ้น IPO ผ่านผู้ต้องหา รวมมูลค่าความเสียหาย 3,497,442 บาท

ซึ่งชุดสืบสวน กก.3 บก.ปอศ. ได้ดำเนินตรวจสอบติดตามความเคลื่อนไหวผู้ต้องหารายดังกล่าว จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ในบริเวณหน้าชุมชนซอยสีคาม แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และควบคุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวน กก.3 บก.ปอศ. ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป สอบถามปากคำผู้ต้องหาเบื้องต้นให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

'จับคาด่าน' ฉก.ทัพเจ้าตากร่วมกับตำรวจ สภ.แม่จัน ยึดยาบ้า 191,000 เม็ดคาด่านกิ่วทัพยั้ง

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566ที่ผ่านมา เวลา 00.15 นาฬิกา หน่วยเฉพาะกิจทัพเจ้าตาก กองกำลังผาเมือง โดย หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 31 จัดกำลังพล ร่วมกับ ชุดสุนัขทหารที่ 6 หมวดสุนัขทหาร กองกำลังผาเมือง, กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 327 

และ สถานีตำรวจภูธรแม่จัน ทำการตั้งจุดตรวจเพื่อป้องกัน และสกัดกั้นการกระทำผิดกฎหมาย บริเวณ ด่านตรวจกิ่วทัพยั้ง บ้านปงตอง ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตรวจพบและจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติด จำนวน 3 คน พร้อมของกลาง ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวน 31 ห่อๆ ละ  6,000 เม็ด และ ห่อละ 5,000 เม็ด อีก 1 ห่อ รวมยาบ้าจำนวนทั้งสิ้น 191,000 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ภายในรถยนต์กระบะ ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่น ไท

เกอร์ สีบอร์นทอง หมายเลขทะเบียน กจ 6838 สุโขทัย และ รถยนต์กระบะ ยี่ห้อ อีซูซุ รุ่น ดีแม็กซ์ สีเทา หมายเลขทะเบียนป้ายแดง ก 4298 พิษณุโลก (รถนำขบวนยาเสพติด) หน่วยจึงได้นำตัวผู้ต้องหา และของกลาง ส่งให้สถานีตำรวจภูธรแม่จัน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

‘ตำรวจ’ บุกทลายเครือข่ายธุรกิจสีเทาข้ามชาติ รวบ ‘กีกี้ แม็กซิม’ ยึดทรัพย์-บ้าน-รถหรูเฉียดพันล้าน

(30 ส.ค. 66) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. สั่งการให้ พล.ต.ต.อธิป พงษ์ศิวาภัย ผบก.ปอท., พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท. และพ.ต.อ.วัชรพันธ์ ศิริพากย์ ผกก.1 บก.ปอท. นำกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ป. บก.ปอศ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ป.ป.ง. และเจ้าพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด รวมกว่า 200 นาย บุกเข้าตรวจค้นเป้าหมายเพื่อจับกุมและยึดทรัพย์แก๊งคนร้ายชาวจีนที่ร่วมมือกับคนไทยและชาวต่างชาติอื่น ๆ ตั้งเป็นแก๊งหลอกลงทุนเงินดิจิทัล แก๊งโรแมนสแกม และฟอกเงิน โดยนำหมายศาลอาญาเข้าตรวจค้นทั้งหมด 30 เป้าหมายในกรุงทพฯ จ.สมุทรปราการ และ จ.อุดรธานี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนึ่งในจุดที่เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นเป็นหมู่บ้านหรูย่านถนนกรุงเทพฯ กรีฑา อายัดบ้านพักหรูจำนวน 12 หลัง มูลค่าต่อหลังราว 50 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเข้าตรวจค้นหมู่บ้านหรูอีก 4 หมู่บ้านในย่านเดียวกันด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่าบ้านพักทั้งหมดได้ใช้เงินที่ได้จากการกระทำความผิดซื้อไว้ผ่านบริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งที่มีคนจีนเป็นเจ้าของ

โดยในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ยังได้เข้าค้นบริษัทกฎหมายดังกล่าวด้วยเพื่อหาหลักฐานเพื่อเติม และเชื่อว่าเป็นบริษัทที่รับฟอกเงินให้จับแก๊งคนร้ายชาวจีนแก๊งนี้ โดยมีคนไทยเป็นตัวเชื่อมและให้ความช่วยเหลือในการเปิดบริษัทนอมินี

สำหรับการเข้าตรวจค้นในครั้งนี้ ชุดสืบสวนยังได้มีเป้าหมายในการจับกุมผู้ร่วมกระทำความผิดทั้งหมด 14 หมายจับ ในจำนวนนี้มี น.ส.จักรีณา ชูขาวศรี หรือ กีกี้ แม็กซิม นางแบบชื่อดัง รวมอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตามจากปฏิบัติการดังกล่าวเจ้าหน้าที่สามารถจับกุม น.ส.จักรีณาและผู้ร่วมขบวนการได้อีกจำนวนหนึ่ง พร้อมยึดทรัพย์เป็นบ้านและรถหรูได้จำนวนมาก รวมมูลค่าเกือบหนึ่งพันล้านบาท โดยรายละเอียดการตรวจค้นและจับกุม ตำรวจสอบสวนกลาง ป.ป.ง. และอัยการจะมีการแถลงร่วมกันให้ทราบต่อไป

มีรายงานว่า สำหรับการตรวจค้นเป้าหมายในวันนี้สืบเนื่องจากชุดสืบสวน บก.ปอท.ได้แกะรอยแก๊งคนร้ายที่มีพฤติกรรมเป็นแก๊งโรแมสแกมหลอกลวงเหยื่อผู้หญิงคนไทยให้ร่วมลงทุนเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือคริปโทเคอร์เรนซี หลังเกิดเหตุผู้เสียหายได้แจ้งความไว้ที่ สภ.สำโรงเหนือ จ.สมุทรปราการ จากการแกะรอยจากบัญชีคริปโทฯ ทำให้พบว่ากลุ่มคนร้ายได้ยักย้ายถ่ายเทเงินไปหลายขั้นตอนก่อนที่จะเปลี่ยนเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นสกุลเงินบาท จากนั้นได้นำเงินไปซื้อทรัพย์สินหลายรายการ รวมทั้งบ้านพักและคอนโดหรูในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีเงินหมุนเวียนทั้งเงินสดและเงินดิจิทัลนับพันล้านบาท

‘ตร.’ รวบ คู่สามีภรรยาชาวจีน หนีหมายจับคดีฉ้อโกงในจีน หลังหลอกเหยื่อระดมทุน เสียหายกว่า 1.5 พันล้านบาท

(29 ส.ค. 66) ตามนโยบายของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. สั่งการให้ สตม.สกัดกั้น ตรวจสอบ ระดมจับกุมคนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจผิดกฎหมายในประเทศไทย รวมทั้งให้ดำเนินการตรวจสอบ ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือ กลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุ หรือโดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม., พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.อภิมุข กานตยากร รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.แดนไพร แก้วเวหล รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.สุรศักดิ์ สุรินทร์แก้ว รอง ผบก.ศท.ตม.ปฏิบัติราชการ บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชิตเดชา สองห้อง รอง ผบก.สส.ภ.7 ปฏิบัติราชการ บก.สส.สตม., พ.ต.อ.สรธรรศจ์ เอี่ยมละออ ผกก.1 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.พิสิษฐ์ ศรีอ่อน ผกก.2 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัฐพงษ์ แก้วยอด ผกก.4 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ณภัทรพงศ สุภาพร ผกก.ปอพ.บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชย พานะกิจ ผกก. (สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม. ร่วมแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญ ดังนี้

บก.สส.สตม. รวบชาวจีนสามีภรรยาหลอกระดมทุน หนีหมายจับ มูลค่าความเสียหายกว่า 1.5 พันล้านบาท

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ สตม.พิจารณาดำเนินการกรณี สาธารณรัฐประชาชนจีน มีหนังสือมายังกองการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอให้จับกุมตัว ‘นายหวาง’ (นามสมมติ) และ ‘นางชาง’ สัญชาติจีน ผู้ต้องหาตามหมายจับ สาธารณรัฐประชาชนจีน ข้อหา ฉ้อโกงลักษณะอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โดยผู้ต้องหาได้จัดตั้งบริษัทระดมทุนชื่อว่า ‘Tianjin Wusetu’ หลอกให้ผู้เสียหายร่วมระดมลงทุน และแอบอ้างว่าจะให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าปกติ ซึ่งมีผู้เสียหายในเมืองปักกิ่งและเทียนจินตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก สร้างความเสียหายกว่า 1.5 พันล้านบาท

จากการตรวจสอบข้อมูลในระบบสารสนเทศ ตม. พบว่านายหวางและนางชาง เดินทางเข้ามาในประเทศไทยด้วยวีซ่านักท่องเที่ยว และการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังไม่สิ้นสุด ผบก.สส.สตม. จึงได้อนุมัติให้เพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ มีพฤติการณ์ที่สมควรเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร แล้วขึ้นบัญชีเป็นบุคคลเฝ้าระวังไว้ บก.สส.สตม. จึงได้สืบสวนติดตามตัวนายหวางและนางชางเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากการสืบสวนพบว่านายหวางและนางชาง ได้หลบหนีเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันพักอาศัยอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งเมืองพัทยา จ.ชลบุรี ส่วนนางชางปัจจุบันพักอาศัยอยู่ที่บ้านเช่า เขตวังทองหลาง กทม. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้ติดตามเฝ้าดูบริเวณที่พักอาศัยจนพบบุคคลลักษณะคล้ายนายหวางบริเวณหน้าโรงแรมที่พัทยา จ.ชลบุรี ได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและขอตรวจสอบหนังสือเดินทาง พบว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับบุคคลตามหมายจับของสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้แจ้งหนังสือแจ้งการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรให้นายหวางรับทราบ พร้อมยึดรถยนต์ที่มีชื่อนางชางเป็นเจ้าของรถ จำนวน 1 คัน

ส่วนนางชาง เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้ขอศาลอาญาอนุมัติหมายค้นบ้านเช่าของนางชาง จนพบนางชางอาศัยอยู่ภายในบ้านกับแฟนใหม่ชาวจีน ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย จากการตรวจสอบหนังสือเดินทาง พบว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับหมายจับของสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้แจ้งหนังสือแจ้งการเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรให้รับทราบ และควบคุมตัวบุคคลทั้งสองรายนำส่ง กก.3 บก.สส.สตม. เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

จุดจบคนโกง สืบนครบาลรวบ 'ป้าประยูร' บัญชีม้าติด แบล็กลิสต์ หลอกขายเสื้อวงศิลปินเกาหลี อ้างว่าเอาบัญชีจำนำไว้

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบที่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้สุจริต ชุดลาดตระเวนออนไลน์ได้สืบสวนหาข่าวพบว่ามีมิจฉาชีพใช้บัญชีม้าธนาคาร หลอกขายเสื้อของวง 'Got7'และเป็นเสื้อของศิลปินดัง 'Jackson Wang' ให้กับเยาวชนเป็นจำนวนมาก เจ้าตัวอ้างว่าเปิดบัญชีแล้วได้นำบัญชีไปจำนำไว้เป็นเงิน 7,000-8,000 บาท 

เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์  พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. พร้อมด้วย พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.จักราวุธ คล้ายนิล ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. สั่งการให้ ชุดลาดตระเวนออนไลน์ บก.สส.บช.น. นำโดย พ.ต.ต.ทศรัสมิ์ กิติธารา สว.กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.บช.น. และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ ชุดปฏิบัติการที่ 4 สืบสวนจับกุม นางประยูร จินดา อายุ 57 ปี อยู่ 14 ม.8 ต.อุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด ตามหมายจับศาลจังหวัดพิษณุโลก ที่ 183/2566 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2566 คดีอาญาที่ 973/2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ ฉ้อโกงประชาชน และโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”

สามารถจับกุมได้ที่บริเวณหน้าบ้านเช่าไม่ทราบเลขที่ ภายในซอยชุมชนวัดมะกอกกลางสวน ซ.9 แขวงและเขต พญาไท กรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากมีผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่ง หลอกขายบัตรเสื้อผ้าของเหล่าศิลปินเกาหลีชื่อดัง โดยใช้ชื่อบัญชีรับโอนเงินชื่อบัญชี “นางประยูร จินดา”  ตำรวจสืบสวนนครบาลจึงได้ทำการตรวจสอบพบว่า ชื่อบัญชีดังกล่าวมีประวัติในแบล็กลิสต์บัญชีคนโกงของเว็บไซต์ “www.blacklistseller.com” จำนวน 14 รายการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้สืบสวนหาข้อมูล นางประยูร จนสืบทราบว่า นางประยูร ได้มีการหลบหนีมาพักอาศัยอยู่ที่บ้านเช่าแห่งหนึ่ง เมื่อพบผู้ต้องหาจึงได้แสดงตัวจับกุมตัวพร้อมแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิตามกฎหมาย ให้นางประยูรทราบ

เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ว่าได้มีการเปิดบัญชีแล้วได้นำบัญชีดังกล่าวไปให้กับเพื่อนในที่ทำงาน โดยเป็นการนำบัญชีไปจำนำไว้ และได้เงินจากการนำบัญชีไปจำนำเป็นเงิน 7,000-8,000 บาท หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการไปนำบัญชีของกลับมาเลย

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะควบคุมตัวผู้ต้องหานำส่ง สภ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

‘ตร.’ ตามรวบ ‘คู่รัก’ สุดแสบ!! ตระเวนล้วงกระเป๋าทั่วกรุงเทพฯ เผย ใช้แผนเบี่ยงเบนความสนใจ พบก่อเหตุมาแล้วนับร้อยครั้ง

(27 ส.ค. 66) พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น., พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระรองออย รอง ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น., พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1 บก.สส.บช.น. จับกุมนายบูย หรือ ‘บอย ยางฮา’ อายุ 31 ปี สัญชาติกัมพูชา และ น.ส.แมรี่ หรือ ‘ส้มจีน’ อายุ 27 ปี สัญชาติกัมพูชา ข้อหาเป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาต

พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือที่ลักทรัพย์มา และชุดที่ใช้ในการก่อเหตุรวมกว่า 36 รายการ จับกุมตัวได้ที่บริเวณหน้าห้องพักเลขที่ 310 อพาร์ทเม้นทรัพย์เอเชีย ซอยสุขุมวิท 111 ต.สำโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ

สืบเนื่องจากปัญหาการก่ออาชญากรรมของกลุ่มมิจฉาชีพที่ตระเวนก่อเหตุลักทรัพย์สินของชาวบ้านในปัจจุบัน พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. จึงได้วางแนวทางการป้องกันและปราบปราม พร้อมอีกทั้งได้ให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจของ บก.สส.บช.น. เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว

ต่อมาได้สืบสวนจนพบกลุ่มแก๊งมิจฉาชีพออกลาดตระเวนวิ่งราวทรัพย์ล้วงกระเป๋า จึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1 บก.สส.บช.น. ทำการสืบสวน จนทราบแผนประทุษกรรมของแก๊งนี้คือ ผู้ก่อเหตุจะออกตระเวนก่อเหตุล้วงกระเป๋าตามห้างสรรพสินค้า และแหล่งชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวและผู้คนสัญจรเป็นจำนวนมาก ทั่ว กทม. โดยมีวิธีการก่อเหตุคือจะมีการแบ่งหน้าที่กันทำแบบชัดเจน

โดยคนหนึ่งจะทำการประชิดตัวผู้เสียหายเพื่อทำการเบี่ยงเบนความสนใจ ก่อนที่อีกคนหนึ่งจะทำการล้วงกระเป๋าเอาทรัพย์สินไปก่อนจะหลบหนี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนอย่างต่อเนื่อง จนสามารถพบได้ว่ากลุ่มของผู้ก่อเหตุได้โดยสารรถประจำทางมาจากบริเวณห้างอิมพีเรียล สำโรง ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

ต่อมาวันที่ 26 ส.ค. 66 พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. จึงได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนนครบาล ลงพื้นที่สืบสวนจนทราบว่า กลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวได้พักอาศัยที่ อพาร์ทเม้นทรัพย์เอเชีย ซอยสุขุมวิท 111 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ทราบชื่อภายหลังคือ นายบูย หรือบอย ยางฮา อายุ 31 ปี สัญชาติกัมพูชา และ น.ส.แมรี่ หรือส้ม จีน อายุ 27 ปี สัญชาติกัมพูชา

โดยระหว่างสืบสวนได้พบว่า ทั้งสองคนนั้นได้เดินเข้า-ออกบริเวณห้องพักของตนจำนวนหลายครั้ง อีกทั้งมีการเก็บเสื้อผ้าคล้ายจะเตรียมทำการหลบหนี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้รีบแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้งสอง

จากการสอบสวผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่า เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.2565 ตนทั้งสองได้ลักลอบเข้าประเทศไทย ผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณ จ.สระแก้ว โดยเมื่อเข้ามาในประเทศไทย ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง จึงได้วางแผนร่วมกันก่อเหตุล้วงกระเป๋า โดยได้มีการซักซ้อมกันจนชำนาญ ก่อนที่จะออกก่อเหตุตามบริเวณห้างสรรพสินค้า

และแหล่งชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวและผู้คนสัญจรเป็นจำนวนมากในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อนำทรัพย์สินที่ได้ไปขายเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยได้ก่อเหตุรวมมากกว่า 100 ครั้ง หลังการจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนนครบาล จึงได้นำตัว นายบูย และ น.ส.แมรี่ เบื้องต้นนำตัวส่งพนักงานสอบสวน สภ.สำโรงเหนือ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

สืบนครบาลรวบ “บอย-ส้ม คู่รักกุนขแมร์” ตระเวนก่อเหตุล้วงกระเป๋าทั่วเมืองกรุง

ตามนโยบายของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ให้ปราบปรามจับกุมอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบ ตลอดจนอาชญากรที่สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริต โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบนครบาล (IDMB) ได้รับทราบถึงกลุ่มคนร้ายออกตระเวนล้วงกระเป๋าตามห้างสรรพสินค้า และแหล่งชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวและผู้คนสัญจรเป็นจำนวนมาก ทั่วกรุงเทพฯ โดยมีวิธีการก่อเหตุคือจะมีการแบ่งหน้าที่กันทำแบบชัดเจน โดยคนหนึ่งจะทำการประชิดตัวผู้เสียหายเพื่อทำการเบี่ยงเบนความสนใจ ก่อนที่อีกคนหนึ่งจะทำการล้วงกระเป๋าเอาทรัพย์สินไปก่อนจะหลบหนี  

โดย  พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. ผู้การจ๋อส่งทีมนักสืบ บช.น. นักสืบ 111 แกะรอยสืบสวน “กลุ่มแก๊งมิจฉาชีพออกลาดตระเวนล้วงกระเป๋า” พบมีการทำหน้าที่กันเป็นรูปแบบ และมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างเป็นระบบ โดยล่าสุด พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1 บก.สส.บช.น. จับกุมตัว นายบูย ยางฮา สัญชาติกัมพูชา และ นางสาวแมรี่ จีน สัญชาติกัมพูชา คู่รักมือฉมังตระเวนล้วงกระเป๋าทั่วเมืองกรุง พร้อมดำเนินการเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งขบวนการ

เมื่อวันที่ 26  สิงหาคม  2566  พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.นพศิลป์  พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น.  พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระรองออย รอง ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.วรพจน์ รุ่งกระจ่าง รอง ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท.พีรบูรณ์ แก้วดู รอง ผกก.สส.1 บช.น. , พ.ต.ท.เอกศิษฐ์ วรกิตติ์ฐากรณ์ รอง ผกก.สส.1 บช.น. , พ.ต.ท.พัฒน์พงษ์ กื้อมะโน สว.กก.สส.1 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี สว.กก.สส.1 บก.สส.บช.น. และเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนนครบาล (บก.สส.บช.น.) นำกำลังสืบสวนติดตามจับกุมตัว

1. นายบูย หรือบอย ยางฮา อายุ 31 ปี สัญชาติกัมพูชา 
2.  นางสาวแมรี่ หรือส้ม จีน อายุ 27 ปี สัญชาติกัมพูชา 

ในข้อหา “เป็นบุคคลต่างด้าวเดินทางเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือที่ลักทรัพย์มา และชุดที่ใช้ในการก่อเหตุรวมกว่า 36 รายการ โดยจับกุมตัวได้ที่บริเวณหน้าห้องพักเลขที่ 310 อพาร์ทเม้นทรัพย์เอเชีย ซอยสุขุมวิท 111 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือที่ลักทรัพย์มา และชุดที่ใช้ในการก่อเหตุรวมกว่า 36 รายการ

พฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากปัญหาการก่ออาชญากรรมของกลุ่มมิจฉาชีพที่ตระเวนก่อเหตุลักทรัพย์สินของชาวบ้านในปัจจุบัน พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. จึงได้วางแนวทางการป้องกันและปราบปราม พร้อมอีกทั้งได้ให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจของ บก.สส.บช.น. เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้สืบสวนจนพบกลุ่มแก๊งมิจฉาชีพออกลาดตระเวนวิ่งราวทรัพย์ล้วงกระเป๋า จึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1 บก.สส.บช.น. ทำการสืบสวน จนทราบแผนประทุษกรรมของแก๊งนี้คือ ผู้ก่อเหตุจะออกตระเวนก่อเหตุล้วงกระเป๋าตามห้างสรรพสินค้า และแหล่งชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวและผู้คนสัญจรเป็นจำนวนมาก ทั่วกรุงเทพฯ โดยมีวิธีการก่อเหตุคือจะมีการแบ่งหน้าที่กันทำแบบชัดเจน โดยคนหนึ่งจะทำการประชิดตัวผู้เสียหายเพื่อทำการเบี่ยงเบนความสนใจ ก่อนที่อีกคนหนึ่งจะทำการล้วงกระเป๋าเอาทรัพย์สินไปก่อนจะหลบหนี  เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการสืบสวนอย่างต่อเนื่อง จนสามารถพบได้ว่ากลุ่มของผู้ก่อเหตุได้โดยสารรถประจำทางมาจากบริเวณห้างอิมพีเรียล สำโรง ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาวันที่ 26 ส.ค. 66 พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. จึงได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนนครบาล ลงพื้นที่สืบสวนจนทราบว่า กลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวได้พักอาศัยที่ อพาร์ทเม้นทรัพย์เอเชีย ซอยสุขุมวิท 111 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ทราบชื่อภายหลังคือ นายบูย หรือบอย ยางฮา อายุ 31 ปี สัญชาติกัมพูชา และ นางสาวแมรี่ หรือส้ม จีน อายุ 27 ปี สัญชาติกัมพูชา โดยระหว่างสืบสวนได้พบว่าทั้งสองคนนั้นได้เดินเข้า-ออกบริเวณห้องพักของตนจำนวนหลายครั้ง อีกทั้งมีการเก็บเสื้อผ้าคล้ายจะเตรียมทำการหลบหนี เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้รีบแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้งสอง โดยจับกุมได้ที่ บริเวณหน้าห้องพักเลขที่ 310 อพาร์ทเม้นทรัพย์เอเชีย ซอยสุขุมวิท 111 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

 ในชั้นจับกุม นายบูยฯ และนางสาวแมรี่ฯ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่า “เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.2565 ตนทั้งสองได้ลักลอบเข้าประเทศไทย ผ่านช่องทางธรรมชาติบริเวณ จ.สระแก้ว โดยเมื่อเข้ามาในประเทศไทย ไม่มีงานทำเป็นหลักแหล่ง จึงได้วางแผนร่วมกันก่อเหตุล้วงประเป๋า โดยได้มีการซักซ้อมกันจนชำนาญ ก่อนที่จะออกก่อเหตุตามบริเวณห้างสรรพสินค้า และแหล่งชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวและผู้คนสัญจรเป็นจำนวนมากในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อนำทรัพย์สินที่ได้ไปขายเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยได้ก่อเหตุรวมมากกว่า 100 ครั้ง หลังการจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนนครบาล จึงได้นำตัว นายบูยฯ และนางสาวแมรี่ฯ 

ส่งพนักงานสอบสวน สภ.สำโรงเหนือ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อไป พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. กล่าวว่า “การเดินทางระหว่างประเทศเพื่อนบ้านนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ แต่เมื่อเข้ามาในประเทศของผู้อื่นแล้ว ก็ต้องเคารพซึ่งกฎหมายของแต่ละประเทศเช่นกัน โดยขอฝากเตือนไปยังกลุ่มผู้เข้ามาภายในประเทศไทยโดยที่คิดสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนนั้น ให้คิดเลิกทำ แต่ถ้ายังไม่เลิกทำ เราจะติดตามท่าน จนไปถึงหน้าประตูแม้อยู่นอกกรุงเทพ”

‘ตร.’ ทลาย ‘แก๊ง Romance Scam’ รวบหนุ่มไนจีเรียพร้อมพวกชาวไทย ใช้วิธีตีสนิทผ่านโซเชียล ก่อนตุ๋นเงินเหยื่อ พบเงินหมุนเวียนกว่า 800 ลบ.

(25 ส.ค. 66) พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป. พร้อมด้วย พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ, พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ป. และ พ.ต.ท.อัครพล มณีวรรณ รอง ผกก.1 บก.ป. ร่วมกันแถลงผลปฏิบัติการทลายเครือข่ายแก๊ง ‘Romance Scam ลวงให้รักก่อนเชิดเงินหนี’ หลังนำกำลังเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 14 จุด ทั่วประเทศ แบ่งเป็นในพื้นที่ กทม. 7 จุด, ปทุมธานี 1 จุด, พิษณุโลก 2 จุด, อุทัยธานี 1 จุด, อุตรดิตถ์ 1 จุด, กำแพงเพชร 1 จุด, พิจิตร 1 จุด

จากปฏิบัติการดังกล่าวสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 14 คน แบ่งเป็น ผู้ต้องหาชาวไทย 13 ราย และผู้ต้องหาสัญชาติ ไนจีเรีย 1 ราย พร้อมของกลาง มือถือ จำนวน 21 เครื่อง, สมุดบัญชีธนาคาร จำนวน 20 เล่ม, บัตรเอทีเอ็ม จำนวน 18 ใบ, สมุดกองทุนรวมธนาคาร 1 เล่ม, คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง, เอกสารโอนเงินไปต่างประเทศ จำนวน 5 ชุด, ซิมการ์ดโทรศัพท์ 1 อัน, เมมโมรี่กล้อง 3 ตัว และกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อ ‘Chanel’ จำนวน 2 ใบ

พล.ต.ต.มนตรี กล่าวว่า เนื่องจากเมื่อต้นปี 2565 ได้รับการร้องเรียนจากผู้เสียหายรายหนึ่งว่า ถูกกลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาทำทีตีสนิทผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้โปรไฟล์เป็นรูปภาพหญิงต่างชาติหน้าตาดี อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารสาวชาวอเมริกัน กำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ในประเทศซีเรีย เมื่อพูดคุยกันจนสนิทสนม

มิจฉาชีพกลุ่มนี้ก็เริ่มออกอุบายว่า กำลังจะเดินทางมาประเทศไทย เหตุเพราะประทับใจและตกหลุมรักในตัวผู้เสียหายมาก พร้อมอ้างว่าได้ส่งพัสดุภายในเป็นทรัพย์สินมีค่ามาให้ แต่ติดปัญหาไม่สามารถนำออกจากสนามบินได้จึงอยากให้ผู้เสียหายช่วยจ่ายเงินค่าภาษีให้ก่อนแล้วจะคืนเงินให้ภายหลัง

พ.ต.อ.พรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อเห็นว่าผู้เสียหายเริ่มหลงเชื่อคล้อยตาม กลุ่มคนร้ายก็จะให้ผู้ร่วมขบวนการที่เป็นคนไทย ทำทีโทรศัพท์ติดต่อมายังผู้เสียหายก่อนอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สนามบิน ก่อนหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน ให้อ้างเป็นค่าดำเนินการต่างๆ เพื่อที่จะสามารถนำกล่องพัสดุออกจากสนามบินได้ จนผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินให้ไปจำนวนหลายครั้งรวมเป็นเงินกว่าล้านบาท เมื่อเห็นว่าได้ยอดเงินตามที่ต้องการแล้ว คนร้ายกลุ่มนี้ก็จะเริ่มออกลาย ตัดขาดการติดต่อแล้วเชิดเงินทั้งหมดหนีหายไปในที่สุด

ด้าน พ.ต.ท.อัครพล กล่าวว่า หลังรับเรื่องทางเจ้าหน้าที่จึงเร่งแกะรอยสืบหาเบาะแสจนพบว่า คนร้ายกลุ่มนี้ทำกันเป็นขบวนการ มีทั้งคนไทยและชาวไนจีเรีย โดยเฉพาะ นายอูโซซูกะวู หรือ ‘Mr.Ezeneche Uzochukwu Jerome’ อายุ 45 ปี ชาวไนจีเรีย ซึ่งก่อนหน้าตั้งแต่ปี 2561 เคยถูกจับในคดีลักษณะดังกล่าวมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เข็ดหลาบ กลับมาก่อเหตุซ้ำซากหลายครั้ง

อีกทั้งจากการตรวจสอบเส้นทางการเงินยังพบว่าเมื่อได้เงินจากผู้เสียหายแล้วกลุ่มคนร้ายจะรีบโอนออกไปยังบัญชีธนาคารต่างประเทศโดยทันที เฉพาะตั้งแต่ปี 2561 – 2564 พบมีเงินหมุนเวียนออกไปยังบัญชีในต่างประเทศรวมกว่า 800 ล้านบาท

“เมื่อมีหลักฐานการกระทำผิดที่แน่ชัดแล้วนั้น จึงเร่งรวบรวมพยานหลักฐานขออำนาจศาลออกหมายจับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและนำมาสู่การตามจับกุมตัวนายอูโซซูกะวู พร้อมผู้ร่วมขบวนการคนอื่นๆอีก 13 ราย ได้ดังกล่าว” พ.ต.ท.อัครพล กล่าว

ด้าน พ.ต.อ.เอนก กล่าวว่า จากการสอบปากคำหนึ่งในผู้ต้องหา ซึ่งทำหน้าที่ปลอมเป็นเจ้าหน้าที่สนามบินโทรศัพท์หลอกลวงผู้เสียหายนั้น ให้การรับว่าขณะนั้นถูกว่าจ้างมาจากแฟนหนุ่มชาวไนจีเรีย ซึ่งเจอกันที่สถานบันเทิงแห่งหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ได้คบหากันแล้ว โดยได้รับส่วนแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากการหลอกลวงดังกล่าว

อ้างสาเหตุที่ต้องทำ เพราะช่วงนั้นไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ ซึ่งหลังจากนี้ จะนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

‘ตร.’ เตือนประชาชนระวังแก๊งหลอกลงทุนออนไลน์ ตุ๋นหมดตัว แฉกลโกง ใช้รูปผู้บริหาร-โลโก้บริษัทใหญ่มาล่อเหยื่อให้ติดกับ

(23 ส.ค. 66) สืบเนื่องจาก พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. / หัวหน้าคณะทำงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน เนื่องจากในช่วงนี้มีคนร้ายแอบอ้างชื่อหรือใช้โลโก้ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ต่างๆ แล้วหลอกให้ลงทุน เป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงได้ร่วมกันแถลงข่าวให้ประชาชนทราบ เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 66 เวลา 10.30 น. ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.สมพงษ์ ชิงดวง ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. กล่าวว่า สถิติการรับแจ้งความออนไลน์ วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566 รับแจ้ง 300,000 กว่าเคส ความเสียหายกว่า 41,000 ล้านบาท สถิติการรับแจ้งความหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในห้วงเวลาเดียวกัน รับแจ้ง 24,000 กว่าเคส คิดเป็น 8.14 % ของสถิติการรับแจ้งทั้งหมด ความเสียหายกว่า 12,000 ล้านบาท คิดเป็น 35 % ของความเสียหายทั้งหมด สำหรับสถิติการหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ในห้วงสัปดาห์ที่แล้วอยู่อันดับ 6 สัปดาห์นี้พุ่งมาอยู่อันดับ 4 โดยรับแจ้ง 274 เคส ความเสียหาย 188 กว่าล้านบาท

จึงได้เชิญ นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ดร.วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ ประเทศไทย บ.อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด มหาชน มาร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ ขนาดนิด ผบก.ตอท. กล่าวว่า การหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นมากในช่วงเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม 2566 คนร้ายใช้วิธีการหลอกผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ 5 อันดับ ดังนี้

1.) Facebook 145 เคส 107,593,333.39 บาท
2.) Website 34 เคส 8,604,561.4 บาท
3.) Line 7 เคส  815,7381.30 บาท
4.) Twitter 1 เคส 7,000 บาท
5.) TikTok 1 เคส 60,6000 บาท

โดยนำรูปผู้บริหารและใช้โลโก้บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น CP AMATA คาราบาวแดง และเครื่องหมายและมีโลโก้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ ช่วงแรกหลอกให้ลงทุนเริ่มต้นเพียง 1,000 บาท ได้ผลตอบแทน 30-70% เมื่อเหยื่อหลงเชื่อทักไปสอบถาม จะเป็นการสนทนาทาง Messenger (ส่วนใหญ่เป็นระบบอัตโนมัติ) จากนั้นจะแนะนำอาจารย์ หรือโค้ด หรือโบรกเกอร์ เพื่อให้คุยทาง Line หรือเข้ากลุ่ม Open Chat พูดคุยกับสมาชิก แล้วให้เริ่มลงทุน โดยมีหน้าม้าอ้างว่าลงทุนตามที่ได้มีการแนะนำสามารถสร้างกำไรได้ โพสต์ภาพสลิปรับโอนเงินผลตอบแทนให้เหยื่อหลงเชื่อ

ในช่วงแรกเมื่อเหยื่อโอนเงินเพื่อลงทุน คนร้ายจะโอนเงินทุนพร้อมกำไรคืนให้เหยื่อ จากนั้นจะชวนเข้ากลุ่ม VIP มีสมาชิก 5-6 คน เพื่อร่วมกันลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น โดยมีผู้แนะนำการลงทุน 1 คน ที่เหลือก็จะเป็นหน้าม้า ร่วมกันหลอกเหยื่อให้โอนเงินลงทุน หากเหยื่ออยากยกเลิกการลงทุน หน้าม้าจะอ้างว่าหากยกเลิกหรือถอนการลงทุน จะทำให้คนอื่นไม่สามารถถอนเงินได้ และผลประโยชน์ที่ลงทุนไปพร้อมผลตอบแทนที่ปรากฏในหน้าเว็บไซต์ (ปลอม) ก็จะไม่ได้รับคืน จึงต้องลงทุนเพิ่ม สุดท้ายเสียเงินไปจำนวนมาก

โดยมีจุดสังเกต ดังนี้
1.) มี Blue Badge หรือเครื่องหมายบัญชีทางการ สีน้ำเงินหรือสีเขียวหลังชื่อเพจ ที่ส่วนใหญ่บริษัทที่มีตัวตนจริงจะยืนยันข้อมูลไว้กับทาง facebook

2.) การโอนเงินลงทุนใดๆ ที่ใช้เงินน้อย รายได้ดี มีผลตอบแทนสูง ไม่มีอยู่จริง หากผลตอบแทนสูงมากขนาดนี้ คนร้ายคงลงทุนด้วยตนเอง

3.) ในการลงทุน คนร้ายให้เหยื่อกดลิงก์เข้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันปลอม ที่คนร้ายสร้างขึ้นมาให้เหมือนของจริง (เหมือนเฉพาะรูปภาพ แต่ URL จะต่างจากของจริง) และเมื่อเหยื่อโอนเงินลงทุน ในระบบจะขึ้นยอดเงินแสดงให้เหยื่อหลงเชื่อว่าเป็นยอดเงินจริง ซึ่งความจริงแล้วเป็นเพียงตัวเลขในอากาศที่คนร้ายนำมาหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อเท่านั้น

วิธีการในการป้องกัน คือ

1.) ไม่เปิดอ่านหรือ กดลิงก์โฆษณาแปลกปลอม หรือกดเพิ่มเพื่อนไลน์ในรูปแบบสแกน QR Code หรือเพิ่มเพื่อนไลน์ทาง ID Line จากคนที่ไม่น่าเชื่อถือ

2.) หากต้องการติดตั้งแอปพลิเคชันใดๆ ควรโหลดและติดตั้งจาก Google Play store หรือ Apple Store เท่านั้น อย่าเชื่อคำแนะนำของคนร้ายให้กดเข้าบราวเซอร์อื่น

3.) ควรลงทุนในบริษัทหรือผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. โดยตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  https://www.set.or.th

4.) ทำการ copy URL จากเว็บไซต์ลงทุนที่คนร้ายให้มาในใส่ในเว็บไซต์ https://whois.domaintools.com จะเห็นอายุ (Dates) ของเว็บไซต์ว่าเปิดมานานเท่าไรแล้ว  หากเพิ่งเปิดมาร 2-3 เดือน ก็ไม่น่าเชื่อถือ

ดร.วิวัฒน์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่เทคนิควิศวกรรมและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ในประเทศไทย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จํากัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการที่มีเพจปลอมยังระบาดต่อเนื่อง สร้างผลกระทบให้กับประชาชน ต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง อมตะ มีความไม่สบายใจ และไม่เคยนิ่งนอนใจ อมตะได้มีการติดตามและดำเนินการทางกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการประสานกับเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด จนสามารถมีความคืบหน้าในการจับกุมมาอย่างต่อเนื่อง และทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการติดตามอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ประชาชนต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะให้สังเกตเพจของกลุ่มมิจฉาชีพจะมีการตั้งขึ้นมาใหม่ มีอายุไม่นาน ในขณะที่เว็บไซต์ และเพจของกลุ่มอมตะ มีการจดทะเบียนและก่อตั้ง ในปี 2012 ซึ่งมีอายุการดำเนินงานมากกว่า 10 ปี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของอมตะ และขอให้สังเกตจากเครื่องหมาย Blue Badge หรือเครื่องหมายถูกสีฟ้า ที่แสดงบัญชีทางการว่าเป็น Page หลักของอมตะ

ในฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เน้นย้ำการเชิญชวนเพื่อลงทุนใด ๆ จะต้องดำเนินการตามกฎหมายและกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งครัด และผ่านตัวแทนโบรกเกอร์ หรือที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่มีการเสนอ หรือเชิญชวนให้ประชาชน มาลงทุนผ่าน Facebook หรือติดต่อผ่านระบบ Line ที่ใช้วิธีการจูงใจให้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่สูงผิดปกติจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะใช้ชื่อเพจว่าอะไรก็ตาม

ดังนั้น ขอให้ประชาชนมีการตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน หากมีข้อสงสัย ให้สอบถามมายังเจ้าหน้าที่ของบริษัท ที่จะสามารถตอบข้อเท็จจริงและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการลงทุนที่ต้องเสียเงินและทรัพย์สิน
ทั้งนี้ ประชาชน และนักลงทุน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทร. 061-035-0007 และ 02-792-0000

นางสาวอาชินี ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับปัญหาของภัยหลอกลงทุนซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและแพร่ระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ สร้างความเสียหายแก่ประชาชน ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ดำเนินการในหลายมิติ ทั้งการแจ้งเตือนผู้ลงทุนผ่านช่องทางเว็บไซต์ ก.ล.ต. ในหัวข้อ ‘Investor Alert’ การดำเนินคดีตามกฎหมายกรณีแอบอ้างชื่อหรือโลโก้ของ ก.ล.ต. การประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ รวมถึงช่องทางของเครือข่ายหน่วยงานในตลาดทุนเพื่อกระจายข่าวสารแจ้งเตือนภัยหลอกลงทุนให้ขยายวงกว้างออกไปยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ก.ล.ต. ไม่ได้รับรองหรือรับประกันผลิตภัณฑ์ ผลการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ หรือผลตอบแทนในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถเช็กรายชื่อผลิตภัณฑ์ บุคคล หรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตได้ที่ แอปพลิเคชัน SEC Check First หรือ

หรือ สอบถามหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ โทร 1207

นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า  ปัจจุบันมีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางทางออนไลน์เป็นจำนวนมาก ครอบคลุมลักษณะและประเภทธุรกิจที่หลากหลาย มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)  หน่วยงานภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดต่อสาธารณะชน โดยกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ทราบ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและการควบคุมดูแลเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลแพลตฟอร์ม ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี หรือมีกลไกในการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยพระราชกฤษฎีกานี้ได้เริ่มบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566

พล.ต.ต.ชูศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงนี้มีเว็บไซต์รับแจ้งความออนไลน์ปลอม โดยคนร้ายโฆษณาผ่านเพจ facebook ปลอม เมื่อเหยื่อเข้าไปค้นหาหน่วยรับแจ้งความออนไลน์ เพจกลุ่มนี้จะซื้อโฆษณาจาก facebook ทำให้เพจขึ้นมาในในระบบค้นหาจากเว็บ Search Engines ต่างๆ ทั้ง Google Bing safari เป็นต้น เมื่อเหยื่อหลงเชื่อกดเข้าเว็บไซต์หรือเพจ facebook ก็จะคุยกับระบบ AI  และให้เพิ่มเพื่อนไลน์คนร้าย จากนั้นส่งต่อให้คนร้ายที่อ้างตัวเป็นทนายความเพื่อหลอกถามข้อมูล แล้วจะอ้างว่า ได้ทำการตรวจสอบเส้นเงินแล้ว พบว่าเงินออกนอกประเทศไปแล้ว และคนร้ายใช้บัญชีม้า ทำให้ตามเงินกลับมาไม่ได้ แต่ว่าเงินยังฟอกไม่สำเร็จ และรู้ว่าเงินเข้าสู่แพลตฟอร์มไหน จากนั้นส่งต่อให้คนร้ายที่อ้างตัวว่าเป็นทีม IT สามารถโจมตีแพลตฟอร์มนี้ เพื่อนำเงินคืนมาให้ได้ จากนั้นส่งต่อให้หัวหน้าของคนร้ายที่เป็นเจ้าหน้าที่  IT อ้างว่า ขณะนี้เงินของเหยื่อได้เข้าสู่แพลตฟอร์ม เว็บพนันออนไลน์ แต่จะช่วยโจมตีเว็บไซต์ดังกล่าวให้ โดยให้เหยื่อสมัครและเล่นในเว็บไซต์พนัน โดยอ้างว่า ไม่ได้พามาเล่นการพนันแต่เป็นการพามากู้เงินคืนจากเว็บไซต์ โดยจะทำการโจมตีให้เหยื่อ แต่มีข้อแม้ต้องใช้เงินตัวเองยิ่งเติมเยอะยิ่งได้คืนมาก และเร็ว ทำได้แต่บางช่วงเวลาของวันเท่านั้น ไม่งั้นเซิร์ฟเวอร์จะตรวจพบ และ ขอหักเงิน 10% เพื่อเป็นค่าทนาย จากรายได้ที่ได้จากการโจมตี เหยื่อหลงเชื่อเพราะคิดว่าจะได้เงินคืน สุดท้ายเสียเงินเพิ่ม

โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

1.) ไม่มีหน่วยงานราชการหน่วยงานใดให้ประชาชนโอนเงิน เพื่อเล่นเว็บพนันออนไลน์หรือโอนเงินให้ทำอะไรก็ตาม 
เพื่อให้ได้เงินคืน

2.) หากต้องการแจ้งความออนไลน์ให้แจ้งความผ่านระบบ www.thaipoliceonline.com หรือแจ้งความสถานีตำรวจท้องที่ได้ทั่วประเทศ

3.) หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามหรือขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วน 1441 หรือ 191

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน จึงขอแจ้งเตือนให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่าปัจจุบันคนร้ายยังคงใช้วิธีการหลอกโดยอาศัยกลโกงเดิมๆ แต่ได้พัฒนาวิธีการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ ดังนั้น เพื่อให้รู้เท่าทันภัยออนไลน์ในรูปแบบใหม่ สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนภัยออนไลน์ได้ผ่านทาง www.เตือนภัยออนไลน์.com Facebook https://www.facebook.com/เตือนภัยออนไลน์ หมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 หรือโทรศัพท์สายด่วน 1441 กรณีถูกคนร้ายหลอกลวงแจ้งความตำรวจผ่านระบบ www.thaipoliceonline.com


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top