Tuesday, 1 July 2025
NEWS FEED

'ดร.วรัชญ์' อัปเดต 'วัคซีน' ฝีมือคนไทย เทคโนโลยี mRNA ไปได้สวย

ไม่นานมานี้ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับความคืบหน้าวัคซีนฝีมือคนไทย ว่า...

ความก้าวหน้า “วัคซีน” ฝีมือคนไทย

1.) วัคซีนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ChulaCOV 19 เทคโนโลยี mRNA ขณะนี้กำลังจะเข้าสู่การทดลองในมนุษย์ ระยะที่ 1 เอกสารรับรองคุณภาพวัคซีนต้นแบบ เพิ่งได้รับการรับรองจาก อย. สัปดาห์ที่ผ่านมาการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ โรงงานประเทศไทย Bionet Asia พร้อมเกือบครบ 100%

ปลายสัปดาห์หน้าวัคซีนต้นแบบ จะนำเข้ามาถึงประเทศไทยและเริ่ม การทดลอง ระยะที่ 1 ในสัปดาห์ถัดไป คาดการณ์ การทดลอง ระยะที่ 1 และ 2 จะแล้วเสร็จ ภายในสิ้นปี 2564

ถ้ามีผลการทดลองระดับภูมิคุ้มกันของวัคซีนของ WHO ออกมาทันเวลาอาจไม่จำเป็นต้องทำการทดลองระยะที่ 3 แต่แค่ทำการทดลองระยะที่ 2B เพิ่มเติม

วัคซีนจะผลิตออกสู่ตลาดได้ ภายใน Q2 ของปี 2565 (ถ้าต้องผ่านการทดลองระยะที่ 3 จะใช้เวลาเพิ่มอีกประมาณ 6 เดือน) กำลังการผลิต 10-20 ล้านโดส ต่อเดือน

ในขณะดำเนินการวัคซีน Version แรก ตามกระบวนการ ทางคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังดำเนินการ วัคซีน Version 2 ที่ป้องกันเชื้อครบทุกสายพันธุ์ ควบคู่ไปด้วย โดยอยู่ในขั้นตอน กำลังจะเริ่มต้นทดลองในสัตว์ทดลอง

โดยเทคโนโลยี mRNA การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของวัคซีนเป็น Version 2 หรือ Version อื่นๆ ในอนาคต จะทำได้เร็วเป็นอย่างมาก

2.) วัคซีนคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริษัท ใบยา

ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนปรับปรุงโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบ ที่จะใช้ในการทดลอง คาดการณ์ว่าโรงงานจะแล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2564

หลังจากปรับปรุงโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบเรียบร้อย จะผลิตวัคซีนต้นแบบ นำเข้าสู่การรับรองมาตรฐานวัคซีนต้นแบบเพื่อการทดลองจากอย. คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จ ภายในเดือนกรกฎาคม 2564

หลังจากนั้น จะเริ่ม ทำการทดลองในระยะ ที่ 1, 2 และ 3 หรือ 2B ต่อไปตามลำดับ

โดยระยะที่ 1 คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จ ภายในเดือน สิงหาคม 2564 และจะเริ่มการทดลองระยะที่ 2 ในช่วงปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 กำลังการผลิต 1-5 ล้านโดส ต่อเดือน

 

ที่มา: https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4641569372525332&id=100000169455098


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

‘อนุทิน’ เปรย!! ถกดีลซื้อ ‘ไฟเซอร์’ หลังคุณสมบัติฉีดเด็ก 12 ปีได้

ที่รัฐสภา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวตอบคำถามกรณีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประสานขอวัคซีนไปฉีดในเรือนจำ นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้อธิบดีกรมควบคุมโรคและอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้มีการประสานงานกันแล้วในเรือนจำ ต้องเร่งฉีดให้กับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ไม่เพียงเฉพาะนักโทษ แต่ต้องรวมถึงเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งต้องใช้วัคซีนหลายแสนโดส ทั้งนี้การฉีดวัคซีนหน่วยงานจะต้องมีการจัดทำแผนกระจายและฉีดที่ชัดเจน จะขอแล้วเอามาเก็บไว้ก่อนไม่ได้ เพราะวัคซีนต้องถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิที่กำหนดให้ถูกต้อง กระทรวงสาธารณสุขมีภาระหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนซึ่งไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ขออย่ากังวลว่าจะเป็นวัคซีนอะไร

เมื่อถามว่า วัคซีนที่สั่งซื้อมาครบจะเปิดฉีดหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า วัคซีนไม่มีคำว่า มาครบมีแต่ทยอยส่งมาเรื่อย ๆ และทำการฉีดไปเรื่อยๆ ซึ่งก็มีการทยอยฉีดมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ยังไม่นับที่จะเริ่มดีเดย์วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2564

“นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มีการประสานมาในเรื่องของวัคซีนและนายกรัฐมนตรี ก็มีนโยบายชัดเจนให้ฉีดกลุ่มคนที่เป็นครู อย่างน้อยเมื่อช่วงเปิดเทอมครูก็จะได้มีความปลอดภัย ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี กำลังเจรจาซื้อวัคซีนจากไฟเซอร์ ซึ่งเขาเพิ่งจะได้รับรองคุณสมบัติสามารถฉีดเด็กให้เด็กอายุ 12 ปีได้ ที่มีอยู่ประมาณ 6 ล้านคน” นายอนุทิน กล่าว

 

ที่มา: https://www.naewna.com/local/576769


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

พล.อ.อนุพงษ์ รมว.มหาดไทย ชี้ อปท.จัดซื้อวัคซีนเองได้ แต่ห่วงเรื่องความเหลื่อมล้ำ โยน ศบค.อนุมัติ

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ถึงกรณีการจัดซื้อวัคซีนทางเลือกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ติดล็อกคำวินิจฉัยผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่วินิจฉัยว่าระยะแรกเท่านั้นที่รัฐจะเป็นผู้ซื้อ ส่วน อปท.และภาคเอกชนไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อโดยตรงได้ ว่า...

ตามกฎหมาย อปท.ทุกรูปแบบ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พัทยา กทม.สามารถดำเนินการจัดซื้อวัคซีนทีต้องการได้ โดยสามารถดำเนินการได้เอง

อย่างไรก็ตาม อปท. 7 พันกว่าแห่ง ส่วน อบจ. 76 แห่ง จัดซื้อวัคซีนได้ มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบไว้ เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย ให้ อปท.สนับสนุนการระงับการแพร่ระบาดได้ โดยสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการควบคุมโรคติดต่อ จะต้องประสานในทางปฏิบัติและด้านนโยบาย ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจขณะนี้คือกระทรวงสาธารณสุขและศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)

“เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ถ้าจะต้องมีการหารือก็ต้องได้ข้อยุติจาก ศบค. เพราะถ้ามีการจ่ายวัคซีนของรัฐผ่าน ศบค. และ อปท.ซื้อเองอีก ใน อบจ.บางที่ก็อาจจะได้วัคซีนมากเกินไป จะเกิดความเหลื่อมล้ำกับ อบจ.เล็กๆ ดังนั้น ดูจากกฎหมายและสถานการณ์ อย่างไรก็ต้องให้ ศบค.พิจารณาว่าผ่านระยะแรกไปหรือยังว่าจะให้เอกชนและ อปท.มาสนับสนุนฝ่ายรัฐ และถ้าเอกชนและ อปท.จะซื้อก็ต้องให้รัฐซื้อให้ เพราะเป็นวัคซีนฉุกเฉิน” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

 

ที่มา: https://www.prachachat.net/politics/news-680209


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

"หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์" ทรงกรุณาให้เลขานุการในองค์ เป็นผู้แทนรับ-มอบ "อุปกรณ์ช่วยเดิน" จาก "ผู้นำคนพิการ" เพื่อมอบให้คนพิการและผู้สูงอายุ ในโครงการอุปถัมภ์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564  
ณ​ ศาลาเอนกประสงค์หมู่บ้าน หมู่ที่ 16 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี "นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล" นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย และตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคผู้ สภาแทนราษฎร เดินทาง เพื่อเข้าพบ "นายยุทธพงษ์ เอี้ยงอ้าย" เลขานุการในองค์หม่อมจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ นำวอร์คเกอร์ 4 ขา / ไม้เท้าค้ำยัน 3 ขา / ไม้เท้าช่วยพยุง และที่รองนั่งในการขับถ่าย ซึ่งได้รับมาจาก "นายสายันต์ ดีเลิศ" นายกสมาคมส่งเสริมอาชีพและช่วยเหลือรถเข็นเพื่อคนพิการ มามอบแก่ คนพิการ และผู้สูงอายุในโครงการอุปถัมภ์ ในหม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์  โดยมี "นายยุทธพงษ์ เอี้ยงอ้าย" เลขานุการในองค์ หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ และ "นางสาวรุ่งนภา แก้วธรรม" ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่16 พร้อมด้วยกรรมการหมู่บ้าน และกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับสิ่งของ ร่วมเป็นสักขีพยาน

ในการนี้ "นายยุทธพงษ์ เอี้ยงอ้าย" เลขานุการในองค์ หม่อมเจ้าอุทัยกัญญา ภาณุพันธุ์ ได้น้อม "กระแสรับสั่ง" ในความห่วงใย มายังคนพิการ และผู้สูงอายุ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากจากโรคภัยทั้งหลาย และขอให้ใช้ชีวิตอย่างมีสุข ทุกๆ​ วัน

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เลือก ‘ปทุมธานี’ ต้นแบบบริหารวัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ เป็นพี่เลี้ยง อบจ.ทั่วประเทศ ด้าน ‘บิ๊กแจ๊ด’ เผยประเดิมฉีดให้ ‘บุคลากรทางการศึกษา’ รับเปิดเทอม

เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2564 พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า วัคซีนที่จะมีการนำเข้ามาที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คือ ซิโนฟาร์ม เป็นวัคซีนที่มีความต้องการสูง ตามเอกสารพบว่ามีมาตรฐานสูงอันดับต้นๆ ในการตอบสนองทำให้เกิดภูมิต้านทานได้ดี ความปลอดภัยสูง ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้ทางบริษัทขึ้นทะเบียนซิโนฟาร์มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยได้แล้ว เป็นการจัดสรรวัคซีนทางเลือกให้กับประเทศ ซึ่งภายในประเทศไทยมีวัคซีนอยู่ 2 ชนิดได้แก่

1.) ซิโนแวค

2.) แอสตราเซเนกา

เป็นความต้องการใช้วัคซีนที่ค่อนข้างสูงในประเทศ แต่ปริมาณที่เราได้รับวัคซีนจาก 2 ชนิดยังไม่เพียงพอ จึงนำวัคซีนซิโนฟาร์มเพื่อปิดช่องว่างที่มีอยู่ ทำให้วัคซีนที่ได้รับมาจะได้ครอบคลุมคนทั้งประเทศ เป็นการฉีดวัคซีนปูพรมได้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ ยังทำให้ภาคเอกชนการทำงานต่างๆสามารถทำงานได้ หมายความว่าการทำกิจวัตรประจำวัน ที่เราสามารถทำธุรกิจธุรกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น ทุกคนมีสิทธิในประเทศไทย เพียงแต่ว่ารัฐบาลต้องใช้เวลาในการหาวัคซีน เพื่อครอบคลุมคนทั้งประเทศ ช่วงนี้เป็นช่วงวิกฤตที่เราต้องช่วยกัน ทั้งภาคเอกชน หน่วยราชการท้องถิ่น ที่จะดูแลคนของตัวเองได้เบื้องต้นทำให้ธุรกรรมธุรกิจเดินไปข้างหน้าได้

“ไม่ใช่หมายความว่ารัฐบาลไม่มีความสามารถ แต่ความเร็วในการหาวัคซีนเข้ามาใช้จะทำให้ธุรกรรมธุรกิจเขาเดินหน้า เขาสามารถทำกำไรกับธุรกิจเขาได้ คนหาเช้ากินค่ำก็สามารถทำงานได้ อันนี้เป็นส่วนที่ควรจะทำ ในตอนนี้ ส่วนความพร้อมในการให้วัคซีนที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้มา จะแบ่งตามลำดับความสำคัญ คิดว่าทุกคนจะต้องได้หมด เพียงแต่ว่าจะมีด้านเอกสาร ด้านของความมั่นคง ที่จะต้องมาคุยกับเรา เพื่อจัดสรรวัคซีนในเบื้องต้น” พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ กล่าว

พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดปทุมธานีและทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เคยมาช่วยฉีดวัคซีนให้บุคลาการทางการศึกษามาแล้วในเบื้องต้น และได้เคยพูดคุยกันไว้ว่าถ้า อบจ.ปทุมธานี มีความพร้อมก็ทำหนังสือมาเพื่อขอสนับสนุนวัคซีนทางเลือกของเรา โดยทำให้จังหวัดปทุมธานีก่อนเพื่อเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นดูว่าเราจะทำอย่างไร เอกสารเป็นอย่างไร ลงทุนกันอย่างไร ได้วัคซีนอย่างไร และการบริหารวัคซีนเป็นอย่างไร ซึ่งวัคซีนเป็นการใช้แบบฉุกเฉินจึงต้องมีรูปแบบพอสมควร ต้องมีการควบคุมคุณภาพ และรายงานคุณภาพหลังจากที่ฉีดแล้ว เกิดปัญหาอะไรต้องรายงานกับ อย. เพื่อให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่ใช่มีงบแล้วมาซื้อไปได้ เพราะมีรายละเอียดที่มากมาย

“เบื้องต้นได้คุยกับนายก อบจ.ปทุมธานี ไว้แล้ว เพราะเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมและมี ประสบการณ์ โดยให้เป็นผู้รวบรวมการสั่งซื้อจากจังหวัดอื่นๆแล้วเสนอขึ้นมาที่เดียว พร้อมเป็นพี่เลี้ยงในเรื่องเอกสารและการดำเนินการในเรื่องต่างๆต่อไป” รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าว

ด้านนายเสวก ประเสริฐสุข รองนายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่รอบแรกในปี 2563 พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ขณะนั้นในนามกลุ่มคนรักปทุม ได้ติดต่อหาน้ำยาฆ่าเชื้อโควิดอย่างดี พร้อมอุปกรณ์ทันสมัย รถแคปซูล ฉีดพ่นทั้งภายในอาคารและนอกอาคารโดยพ่นให้ประชาชนทั่วทั้งปทุมธานี ซึ้งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และท่านได้เต็มที่กับทุกอย่างที่ได้รบกับโควิดมาโดยตลอด และทำให้จังหวัดปทุมธานีจะได้ปลอดจากโควิด และวันนี้เราอยากได้วัคซีนที่ดีที่สุด มาฉีดให้คนปทุมธานีเพื่อให้เปิดหน้ากากไม่ต้องกลัวโควิดกันอีกต่อไป นี่คือนโยบายของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ อยากให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้มอบให้จังหวัดปทุมธานีฉีดก่อนเป็นตัวอย่าง อย่างน้อย 500,000 คนก่อน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจของคนปทุมธานี ทำให้เศรษฐกิจความเป็นอยู่ของคนปทุมดีขึ้น เพราะเรามีความพร้อมที่จะเป็นต้นแบบอย่าง สามารถอบรมแนะนำการฉีดวัคซีนกับ อบจ.อื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการฉีดวัคซีนว่าทำอย่างไร รวมถึงแก้ปัญหาให้ทุกจังหวัดได้

“พล.ต.ท.คำรณวิทย์ เมื่อทราบทราบว่าวัคซีนไหนเป็นวัคซีนที่ดี จึงอยากที่จะนำมาให้ประชาชนชาวปทุมธานี รวมถึงจังหวัดอื่นมาดูงานที่จังหวัดปทุมธานีได้ ที่ผ่านมานายก อบจ. ได้นำแรบบิทเทสมาตรวจคัดกรองให้ทั้งจังหวัดปทุมธานี หากผลบวกเป็นอย่างไรก็ไปสวอปคัดกรองหาเชื้ออีกที ทุกวันนี้ทาง อบจ.ได้บริการตรวจคัดกรองให้ชาวปทุมทุกวัน วันละ 1,500 คน เพื่อให้ชาวปทุมธานีปลอดจากโควิด ครั้งหนึ่งเราก็เคยได้วัคซีนจากสถาบันจุฬาภรณ์ มาฉีดให้คนปทุมธานี ซึ่ง อบจ.ปทุมธานีได้ดำเนินการอย่างเรียบร้อย แสดงถึงความพร้อมของเราจริงๆ ที่เราได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง” นายเสวก กล่าว

ด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า ขณะนี้พี่น้องประชาชนมีใจจดจ่อว่าจะได้ฉีดวัคซีนหรือไม่ บางคนคิดว่าวัคซีนน่ากลัว โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดหาวัคซีนซิโนแวคและแอสตราฯ แต่วันนี้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีวัคซีนซิโนฟาร์มเข้ามา เป็นวัคซีนทางเลือก โดยเขาพร้อมที่จะเสียเงินที่จะได้ฉีดวัคซีน ซึ่งต้องแยกส่วนที่ฉีดของทางรัฐบาลที่ฉีดโดยกระทรวงสาธารณสุข และที่ฉีดโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่จะมีวัคซีนเข้ามาภายในเดือนมิถุนายนก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ต้องแยกกันให้ออก

ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดปทุมธานีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดของประเทศ และเป็นพื้นที่สีแดง จังหวัดปทุมธานีจึงได้รับส่วนแบ่งวัคซีนจากรัฐบาลมาเบื้องต้นจำนวน 60,000 กว่าโดส สามารถฉีดให้ประชาชนได้ 30,000 กว่าคน ซึ่งไม่เพียงพอ แต่ขณะเดียวกันจังหวัดที่ไม่ได้แพร่ระบาด แต่กลับได้มากกว่าเรา เนื่องจากตนได้รับการเลือกตั้งจากพี่น้องประชาชน จึงมองว่าในเมื่อไม่เพียงพอ เราจะทำอย่างไร ให้พี่น้องประชาชนได้ฉีดอะไรได้บ้าง จนในวันนี้มีวัคซีนทางเลือกเข้ามา จึงต้องดิ้นรนเพื่อหาวัคซีนทางเลือกคือซิโนฟาร์ม เข้ามาฉีดพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด

“ปทุมธานีเป็นจังหวัดสุ่มเสี่ยงทั้งจังหวัดอยู่แล้ว จึงได้หารือกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จนได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว โดยฉีดให้บุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับโรงเรียนที่จะเปิดเทอม แต่ไม่เพียงพอ จึงทำบันทึกถึงราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอจองไว้ก่อนอย่างน้อย 500,000 โดส ซึ่งขณะนั้นจากที่พูดคุยกับทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะได้วัคซีนมาจำนวน 20 ล้านโดส จึงได้จองไว้อย่างน้อย 500,000 หรือ 1,000,000 โดส จำนวนประชาชนของจังหวัดปทุมธานี รวมประชากรแฝงด้วยคาดว่ากว่า 2 ล้านคนขึ้นไป ถ้าเราฉีดได้ 500,000 คน จึงมองว่าจังหวัดปทุมธานีเรารอดแล้ว” พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าว

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวอีกว่า ครั้งแรกจองไว้ 300,000 โดส แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีโทรศัพท์มาหาขอให้จองวัคซีน 500,000 โดส จึงเรียนทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอ 500,000 โดส โดยจะเอางบประมาณ งบสะสม แต่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของตน จึงต้องมีการเปิดสภาเพื่อขออนุมัติ หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย อยากบอกพี่น้องชาวปทุมธานี ก็จะทำเต็มความสามารถที่มี ถ้ากระทรวงมหาดไทยจะเบรกก็ไม่เป็นไร ตนก็ต้องหาแนวทางกันต่อไป แต่ขณะนี้ทางนายก อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด ให้ความไว้วางใจตน เลือกให้เป็นตัวแทนของพวกเขา รวมเป็นคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมประชุมเป็นตัวแทนของนายก อบจ.ทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งตนก็หารือปัญหานี้ ไม่ใช่ว่าจังหวัดปทุมธานีจะได้วัคซีนเพียงแห่งเดียวทุกจังหวัดที่ขอมาก็ต้องได้เหมือนกัน

 

ที่มา : https://www.naewna.com/local/576747


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

ชายสูงวัยชาวอินเดียรายหนึ่ง กำลังจะหายป่วยจากโควิด แต่เกิดติดเชื้อรามรณะ เสียชีวิตในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งไม่ไกลจากกรุงนิวเดลี ท่ามกลางรายงานข่าวที่ระบุว่า เขาเป็นคนไข้รายแรกๆ ที่มีอาการจาก ‘เชื้อรา’ ครบ 3 สี ทั้งดำ ขาวและเหลือง

คุนวาร์ ซิงห์ วัย 59 ปี อาชีพทนายความ เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองกาเซียบัด รัฐอุตตรประเทศ ติดกับนิวเดลี ชายรายนี้ถูกตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ และจากนั้นก็ตรวจพบว่าติดเชื้อ ‘เชื้อรา’ ซึ่งเชื่อว่าเป็นอาการแทรกซ้อนของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ตามรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่นเมื่อช่วงสุดสัปดาห์

“เชื้อราสีเหลือง นอกเหนือจากขาวและดำ ถูกพบระหว่างการส่องตรวจภายในเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว” แพทย์ประจำตัวของเขาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวพีทีไอของอินเดียเมื่อวันเสาร์ (29 พ.ค.) พร้อมระบุ ซิงห์ เสียชีวิตจากภาวะโลหิตเป็นพิษ

ก่อนหน้านี้แพทย์ประจำตัวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญโสต ศอ นาสิกวิทยา เผยว่า ซิงห์ เป็นหนึ่งในคนไข้รายแรกๆ ของเขาที่ติดเชื้อราทั้ง 3 สี และปัจจุบันเขากำลังให้การรักษาคนไข้อีกคนที่ติดเชื้อ ‘เชื้อราสีเหลือง’ ซึ่งเพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 เช่นกัน

แพทย์บอกกับพีทีไอว่า ‘เชื้อราถููกพบตรวจใกล้กับสมองของเขา ต้องถอนฟันกรามของเขาออกครึ่งหนึ่ง’ ทั้งนี้ว่ากันว่าเชื้อราสีเหลืองมีความอันตรายมากกว่าเชื้อราสีดำและสีขาว เนื่องจากมันยากที่จะสังเกตเห็นอาการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ผิดกับเชื้อราสีดำที่เริ่มต้นจากอาการพิการบนใบหน้าอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย

ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับการพบเชื้อราสีเหลืองในมนุษย์มาก่อน

ขณะเดียวกัน เชื้อราสีดำหรือมิวคอร์ไมโคซิส เมื่อไม่นานที่ผ่านมา เพิ่งถูกประกาศให้เป็นโรคที่ต้องแจ้งการระบาดต่อทางการ (notifiable disease) ภายใต้รัฐบัญญัติโรคระบาดในรัฐอุตตรประเทศ

ที่เมืองกาเซียบัด มีคนไข้ราว 65 คนที่ถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อ 'เชื้อรา' ทั้งหมดเชื่อว่าน่าจะเป็นอาการแทรกซ้อนของโควิด-19 ในขณะที่ในเมืองแห่งนี้มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ยังรักษาตัวอยู่เกือบ 2,000 ราย

ในขณะที่อินเดียกำลังดิ้นรนต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่งยืนยันพบผู้ติดเชื้อแล้วเกือ 27.9 ล้านคนและเสียชีวิตกว่า 325,000 ราย เคสผู้ติดเชื้อรามรณะได้ปรากฏขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ หลายรัฐประกาศให้มันเป็นโรคระบาด และเจ้าหน้าที่พบเคสเชื้อราสีดำเพียงอย่างเดียวแล้วเกือบ 12,000 ราย

เชื้อราสีขาวและสีดำ มีรายงานพบในคนไข้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมาเป็นเวลานาน หรือผู้ป่วยที่ใช้ยาสเตียรอยด์ส่วนหนึ่งในการรักษาอาการติดเชื้อโควิด-19 และเชื้อราทั้ง 2 ส่งผลกระทบกับปอดและอวัยวะสำคัญอื่นๆ และสามารถก่ออันตรายร้ายแรง

 

(ที่มา:รัสเซียทูเดย์)

https://mgronline.com/around/detail/9640000052235


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

'นักวิจัยพันธุ์ข้าววัย 91' ผู้ถูกยกเป็นฮีโร่ของชาติ

#กรณีศึกษาจากจีน การเสียชีวิตของท่านหยวนหลงผิง นักวิจัยจีนวัย 90 กว่าที่คนจีนรักทั้งประเทศ!! #ข้อคิดจากจีน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1.) #ผู้นำจีน สีจิ้นผิงออกมาแสดงความเสียใจกับการจากไปของนักวิจัยระดับชาติที่เริ่มจากการเป็นแค่นักวิจัยธรรมดาๆ แต่สามารถสร้างชื่อเสียงให้ชาติและออกไปช่วยต่างประเทศ จากความอุตสาหะ ศึกษาค้นคว้าวิจัยจนสำเร็จ และสีจิ้นผิงหวังให้ชาวจีนศึกษาเป็นตัวอย่างถึง #จิตวิญญาณอันแรงกล้าต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ ทั้งหมดนี้ มีส่วนช่วยให้คนในชาติจีนสนใจติดตามชีวิตท่านหยวนหลงผิง (ผู้นำดีมีชัยไปกว่าครึ่ง)

ปี 2562 สีจิ้นผิงได้มอบเหรียญเกียรติยศและชื่นชมผลงานท่านหยวนหลงผิงว่า เป็นหนึ่งในตัวอย่างการแก้ปัญหาแบบจีนที่ถูกนำไปใช้จนประสบความสำเร็จไปทั่วโลกด้วย

2.) #สื่อจีน สื่อจีนนำเสนอข่าว ‘ความเป็นฮีโร่’ ของท่านหยวนหลงผิงในการช่วยมวลมนุษย์ชาติ ไม่ใช่แค่ช่วยคนจีน สื่อจีนมีบทบาทสำคัญช่วย ‘สร้างพลังบวก’ ให้คนในชาติรักกันและชื่นชมกันและกัน (สื่อจีนไม่ดราม่า ไม่แซะว่า แก่แล้วไม่ทันยุค ไม่แซะเรื่องทำนาปลูกข้าว บลาๆๆๆ)

3.) #คนจีนรุ่นใหม่ มาร่วมแสดงความอาลัยกับการจากไปของท่านหยวนหลงผิงเสมือนเป็นฮีโร่ของชาติ มีการโพสต์ไว้อาลัยผ่านสื่อโซเชี่ยล ปลุกให้หนุ่มสาวจีนเกิดพลังฮึกเหิมในการเดินตาม 'ต้นแบบ' ที่ดีอย่างท่านหยวน หลงผิง (คนรุ่นใหม่จีนไม่ดูถูกดูแคลนว่า เป็นแค่นักวิจัยแก่ๆ วัย 90 กว่าปีแล้ว จะอยู่ต่อไปทำไมให้เป็นภาระลูกหลาน)

สำหรับศาสตราจารย์หยวน หลงผิง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาข้าวข้ามสายพันธุ์แห่งชาติ นักวิจัยฯ ผู้อุทิศตนทั้งชีวิต ใหักับงานคิดค้นพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ จีนมีข้าวทดลองปลูกมากกว่า 200 ชนิด เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักในปัจจุบันของชาวจีนกว่าร้อยละ 65 และถูกยกย่องให้เป็น 'บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสม'

ข่าวการเสียชีวิตลงในวัย 91 ปี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.07 น. (เวลาท้องถิ่น) ที่เมืองฉางซา มณฑลหูหนัน ประเทศจีนนี้ เป็นข่าวใหญ่ในประเทศจีน มีประชาชนส่งต่อข้อความอาลัยจำนวนมาก ฝูงชนเมืองฉางซาได้มารวมตัวกันท่ามกลางสายฝน นอกศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งชาติฉางชาของจีน ซึ่งเป็นที่ทำงานหลักของศาสตราจารย์หยวน หลงผิง

หยวน หลงผิง เติบโตมาในยุควิปโยคชาวจีนนับล้านเสียชีวิต เพราะความอดอยาก จนต้องแกะเปลือกไม้มาป่นกินแทนข้าว

ความใฝ่ฝันของการอุทิศตนทำงานในหน้าที่ฯ ของเขา คือ การมองท้องทุ่งนา ได้ ‘นั่งอยู่ใต้ร่มเงาเมล็ดข้าว’ ซึ่งแสดงว่าต้นข้าวสามารถเติบโตจนสูง รวงข้าวแน่นดกหนายาวเหมือนไม้กวาด และชาวจีนไม่ต้องอดอยากเช่นอดีตอีกต่อไป

ตลอด 60 กว่าปี 'หยวนหลงผิง' (袁隆平) ทำงานการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวด้วยความมุมานะไม่ย่อท้อ นับว่าบรรลุความใฝ่ฝันของเขา และได้จากไปในวันที่แผ่นดินซี่งเขาอยู่และอาศัยนี้ ดีกว่าวันที่เขาเกิดมา

 

ที่มา: https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=10223358472603514&id=1037140385

https://mgronline.com/china/detail/9640000049884


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

จุรินทร์-อลงกรณ์ ลุยเพชรบุรี "ช่วยชาวนาเกลือ" ฝ่าโควิด-19 บุกตลาดในประเทศ-ต่างประเทศ-แปรรูป

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา เวลา 15.00 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นาย อภิชาติ สุภาแพ่ง ทปษ. รมช.พาณิชย์ นายอรรถพร พลบุตร คณะทปษ.รมช.สธ. นายกัมพล สุภาแพ่ง คณะทปษ.รมช.พณ

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน และนางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี

ตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตร และพบปะเกษตรกรชาวนาเกลือ ณ ตลาดกลางเกษตรหนองบ้วย อําเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

ภายหลังการตรวจเยี่ยมนายจุรินทร์ กล่าวว่า ส่วนใหญ่ที่พูดถึงในวันนี้คือ"เกลือทะเล"จังหวัดที่ทำนาเกลือเยอะที่สุดคือ เพชรบุรีกับสมุทรสาคร และสมุทรสงครามบางส่วนโดยประเด็นปัญหาคือในช่วงวิกฤติโควิด-19 ราคาเกลือตกต่ำและมีเกลือนำเข้าจากอินเดียมาตีตลาดในประเทศ

วันนี้ได้ช่วยกันเจรจาหารือกับผู้ทำนาเกลือได้ข้อสรุปว่าในเรื่องของตลาดเกลือในประเทศอาจเป็นเรื่องเฉพาะกิจจะใช้งบคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.เข้ามาช่วยดูแลเฉพาะการ เช่นเดียวกับพืชเกษตรตัวอื่นที่มีปัญหาตามฤดูกาล เช่นมะนาวและมะม่วง เป็นต้น จะแก้ปัญหาระยะสั้นโดยวิธีนี้ ส่วนการหาตลาดในประเทศจะให้ทีมงานเซลล์แมนจังหวัดเป็นผู้ช่วยดำเนินการ การแก้ปัญหา ส่วนเรื่องเกลือนำเข้าจากอินเดียตนได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศออกประกาศว่า

1.ผู้นำเข้าเกลือเข้ามาในประเทศต้องขึ้นทะเบียนผู้นำเข้า

2.ต้องมีเอกสารแสดงว่านำเข้าจากประเทศไหน เมืองไหนอย่างไร

เพื่อควบคุมกำกับการนำเข้าโดยการนำเข้า แจ้งพิกัดชัดเจน ที่ผ่านมากรมศุลกากรมีพิกัดเดียวสำหรับเกลือจากนี้จะแยกเป็น 2 พิกัดคือ 1.เกลือบริโภคและ 2.เกลืออุตสาหกรรม ให้มีการแจ้งรายละเอียดของการนำมากระจายในประเทศ เพื่อช่วยดูแลเกษตรกรผู้ทำนาเกลือในประเทศให้ได้รับความเป็นธรรมไม่ถูกเกลือนอกเข้ามาตีตลาด โดยประกาศนี้ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกากำลังพิจารณาคาดว่าจะเสร็จในวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ถ้าเสร็จตามนั้นผมจะลงนามบังคับใช้ต่อไปโดยเร็ว

" สำหรับระยะยาวจะให้จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาครร่วมกันแก้ปัญหาผลผลิตเกลือให้มีคุณภาพจะได้ไม่ถูกกดราคา และเรื่องการแปรรูปเข้ามาดูว่ามีแผนการกำกับอย่างไร จะเพิ่มนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าอย่างอื่นเช่น สบู่ เครื่องสำอาง และเครื่องใช้อื่น ๆ รวมทั้งการช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้นาเกลือเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกอันนึงของประเทศต่อไป

นอกจากนี้เรื่องปัญหาหนี้สินเกษตรกรผู้ทำนาเกลือที่มีหนี้สินกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ตนในฐานะรองนายกฯกำกับดูแลอยู่ ตนได้ช่วยคลี่คลายปัญหาได้เยอะสำหรับเกษตรกรที่เป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เปิดโอกาสให้สามารถนำหนี้ที่เป็นหนี้สถาบันการเงินมาเปลี่ยนเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูได้ เพราะถ้าเปลี่ยนมาเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูและชำระกับกองทุนฟื้นฟูการดำเนินคดีจะผ่อนปรนลงและมีเงื่อนไขผ่อนปรนกว่าการเป็นหนี้กับสถาบันการเงิน ช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสชำระหนี้ได้เต็มจำนวนในอนาคต และเปิดโอกาสให้ผู้ที่เป็นหนี้ต่ำกว่า 2.5 ล้านบาทสามารถเปลี่ยนเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูได้ และผู้ที่มีหนี้เกินกว่า 2.5 ล้านบาทตนเปิดโอกาสแล้วที่จะให้เข้ามาเป็นหนี้กองทุนได้เป็นกรณีไป ชาวนาเกลือจำนวนหนึ่งเป็นหนี้เกิน 2.5 ล้านบาทเพราะตีมูลค่าที่ดินด้วยจึงทำให้มีราคาสูง " นายจุรินทร์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการแก้ปัญหาราคาเกลือทะเลตกต่ำ และปัญหาผลผลิตเกลือทะเลค้างสต็อก ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม มีปริมาณเกลือคงค้างฤดูการผลิต ปี 2562/63 ปริมาณ 212,608 ตัน และ ปี 2563/64 ปริมาณ 197,000 ตัน โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือได้แก่

1) การกระจายและเชื่อมโยงสินค้าเกลือทะเลไปยังอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

2) การกระจายเกลือขาวและดอกเกลือเพื่อจำหน่ายในร้านธงฟ้า

3) โครงการกระจายเกลือทะเลค้างสต็อก ผ่านทางคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คบท.)ใช้งบประมาณของกองทุน

'เกาหลีใต้ - ญี่ปุ่น - ไต้หวัน' เตรียมพัฒนาวัคซีนป้องกัน Covid-19 ใช้เอง

ในวันนี้ทั่วโลกเริ่มรับรู้แล้วว่า 'ความมั่นคงด้านสาธารณสุข' สำคัญเพียงใด เมื่อการแพร่ระบาดของ Covid-19 กระจายไม่หยุด เกิดระลอกการระบาดครั้งใหม่อย่างต่อเนื่องหลายประเทศ สร้างความเสียหายกับระบบสาธารณสุขอย่างมาก แม้ว่าตอนนี้จะมีวัคซีนออกมาบ้างแล้ว แต่แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ยังคงริบหรี่ ไม่ต่างจากวิกฤติโรคระบาดทั่วโลกที่ยังคงห่างไกลจากบทสรุป

ปัญหาใหญ่ของทั่วโลกในตอนนี้คือ การขาดแคลนวัคซีน Covid-19 อย่างหนักในหลายประเทศที่ประสบปัญหาการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรงในขณะนี้ โดยที่บริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของโลกอย่าง SII ในอินเดียไม่สามารถเพิ่มกำลังผลิตวัคซีนส่งให้ทันได้ตามกำหนด อีกทั้งประเทศผู้ผลิตวัคซีนชื่อดังในสหรัฐอเมริกายังจำเป็นต้องส่งวัคซีนให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ก่อนตามกฎหมาย

มิหนำซ้ำ ยังพบการเกิดใหม่ของวัคซีนกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ที่อาจทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนที่มีอยู่ลดน้อยลง จึงเริ่มมีข่าวการพูดคุยกันว่าอาจมีการทดลองฉีดวัคซีนต่อถึงเข็ม 3 หรืออาจต้องมีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกปีต่อจากนี้ จึงกลายเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนอาจไม่มีโอกาสส่งต่อถึงประเทศโลกที่ 3 ได้อย่างพอเพียง หากประเทศมหาอำนาจยังคงต้องรักษาสต็อควัคซีนเพื่อความมั่นคงด้านสาธารณสุขของตนเอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็บังเกิดพุทธสุภาษิตดังขึ้นในใจดังๆ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ “ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน” ต้องพัฒนาวัคซีนให้ได้เป็นของตัวเองเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ซึ่งตอนนี้หลายชาติย่านเอเชียตะวันออก หากไม่นับจีน ที่ผลิตวัคซีนของตัวเองสำเร็จแล้ว ก็จะมีเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ที่ตอนนี้เริ่มกลับมาทุ่มเทให้กลับโครงการวัคซีน Covid-19 ในประเทศของตนเอง

ที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างและน่าจะสำเร็จก่อนใครคือเกาหลีใต้ ที่ตอนนี้กำลังพัฒนาวัคซีนของตัวเองถึง 5 ตัว ในจำนวนนี้ มีวัคซีนของบริษัท Genexine ที่ใช้ชื่อว่า GX-19N ได้ผ่านการทดลองเฟส 2 เข้าสู่เฟส 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ คาดว่าน่าจะได้รับการรับรองให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินในเกาหลีใต้เร็วๆ นี้ ซึ่งตอนนี้ทาง Genexine ได้เซ็นสัญญากับบริษัทผู้ผลิตยา Hanmi Pharmในเกาหลีใต้ และ Kalbe Farma ของอินโดนิเซียในการเริ่มผลิตวัคซีน GX-19N มากกว่า 10 ล้านโดส ก่อนปี 2022

ส่วนประเทศญี่ปุ่น แม้ประชาชนจะไม่ค่อยเชื่อมั่นกับการฉีดวัคซีนเท่าไหร่ แต่ก็จำเป็นต้องสร้างวัคซีนเป็นของตัวเองให้ได้ แม้ตอนนี้จะเหลือทีมพัฒนาวัคซีนเพียงแค่ 2 บริษัท และเพิ่มเริ่มต้นเข้าสู่การทดลองเฟส 2 เท่านั้น แต่ก็มีวัคซีนที่น่าสนใจจากบริษัท Daiishi Sankyo ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer และ Moderna ที่ตอนนี้เป็นบริษัทเดียวในย่านนี้ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ในการพัฒนาวัคซีนสัญชาติญี่ปุ่น

ไต้หวัน ก็เป็นอีกประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการขาดแคลนวัคซีนในจังหวะที่เกิดการระบาดระลอกใหม่พอดี หลังจากที่ควบคุมการระบาดได้ดีมานานกว่า 1 ปี แต่ด้วยความล่าช้าของการจัดส่งวัคซีน ทั้งจากสหรัฐอเมริกา และจากการปันส่วนจากโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก ทำให้ไต้หวันต้องเร่งการวิจัยพัฒนาวัคซีนทางเลือกในประเทศ ที่ก็มีข่าวดีว่าไต้หวันมีบริษัทผู้ผลิตวัคซีนถึง 2 แห่งที่ผ่านการทดลองในช่วงเฟส 2 มาแล้ว คือ Medigan และ United Biomedical ที่รัฐบาลไต้หวังก็คาดหวังว่าวัคซีนสัญชาติไต้หวันทั้ง 2 ตัว น่าจะสำเร็จพร้อมที่จะเริ่มใช้ได้ในเดือนกรกฎาคมปีนี้

ส่วนในบ้านเรา ก็มีวัคซีนที่กำลังพัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสภากาชาดไทย ภายใต้ชื่อชื่อว่า ChulaCov19 ซึ่งใช้เทคโนโนโลยี mRNA ด้วย ตอนนี้กำลังหาอาสาสมัครทดลองฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 18-55 ปี และ กลุ่มผู้สูงอายุ 65-75 ปี และหากการทดสอบวัคซีนออกมาได้ประสิทธิภาพดีตามต้องการ ก็จะเพิ่มศักยภาพด้านการป้องกันโรคระบาดให้กับไทย ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาวัคซีนนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด และยังต่อยอดในการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อโรคอื่นๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย

แม้การมุ่งเน้นที่จะสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข กำลังจะกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญระดับโลก แต่การที่เราสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งตัวเองได้นับว่ามีความมั่นคงยิ่งกว่าจริงๆ

 

อ้างอิง: https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/COVID-vaccines/South-Korea-Japan-and-Taiwan-rush-to-develop-homegrown-vaccines

https://www.reuters.com/article/health-coronavirus-southkorea-vaccine-idUSL3N2N50XZ

https://www.reuters.com/world/middle-east/top-scientists-question-need-covid-19-booster-shots-2021-05-13/

https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-taiwan-idUSKBN2AQ17A

https://www.prachachat.net/general/news-653298


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

‘ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์’ ลั่น ‘ซิโนฟาร์ม’ เป็นวัคซีนทางเลือกให้สังคมเดินหน้าต่อ ยัน ใช้งบองค์กร ขายโดยไม่คิดค้ากำไร ยังไม่เคาะราคาจำหน่าย เข้าไทย 1 ล้านโดสภายในเดือนมิ.ย.นี้

วันที่ 28 พ.ค. 2564 ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ พล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกันแถลงความคืบหน้ากรณีราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมนำเข้าวัคซีนต้านโควิด-19 ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกของ ‘ซิโนฟาร์ม’ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน

ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ กล่าวว่า วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ราชวิทยาลัยฯ จะนำเข้ามาเป็นของ บ.ไบโอจีนีเทค จำกัด ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกแล้ว สามารถใช้ได้กับประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุที่ไม่จำกัดอายุ การทำงานจะเป็นไปตามข้อบังคับและภายใต้กฎหมายซึ่งจะทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการกระจายวัคซีนไปยังหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วเข้าถึงประชาชนมากที่สุด

‘เพราะฉะนั้น ในการที่จะได้วัคซีนเข้ามาเพิ่มขึ้นไปช่วยเหลือในที่ต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจ และกิจกรรมดำเนินการต่อไปได้อย่างไม่สะดุด...การนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มครั้งนี้ เป็นการทำงานคู่ขนานกันไปในการกระจายวัคซีนเพื่อให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว’ ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ กล่าว

ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ เปิดเผยต่อด้วยว่า ‘ตัวเลขการนำเข้า เบื้องต้นได้ติดต่อกับ บ.ที่กรุงปักกิ่งแล้ว ทราบว่าจะนำเข้ามาก่อน 1 ล้านโดส ภายในเดือนมิ.ย.นี้ ส่วนเรื่องราคาจำหน่ายต่อโดสยังไม่ได้มีการสรุปราคา เพราะต้องรอดูตัวเลขการนำเข้าอีกครั้ง พร้อมยืนยันว่าราชวิทยาลัยฯ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร’

“สำหรับราคา ต้องคิดต้นทุน การขนส่ง และการจัดเก็บ ทางราชวิทยาลัยฯ เอง คงไม่ได้คิดกำไร ส่วนใครจะไปคิดค่าฉีดกันเองเท่าไหร่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง” ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ กล่าว

ทั้งนี้ ยอมรับว่างบประมาณในการนำเข้า เป็นงบประมาณรายได้ของราชวิทยาลัยฯ เอง ไม่เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน และหากหน่วยงานใดต้องการซื้อ ให้มาติดต่อกับราชวิทยาลัยฯ โดยตรง ขณะนี้ มีองค์กรที่ติดต่อขอซื้อวัคซีนแล้ว คือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับ บมจ.ปตท. และในอนาคตคาดว่าจะมีการนำเข้าวัคซีนยี่ห้ออื่นอีก เพราะส่วนหนึ่งต้องนำมาศึกษาวิจัยตามภารกิจของราชวิทยาลัยฯ

ด้าน พล.อ.ต.นพ.สันติ ศรีเสริมโภค เปิดเผยว่า มีหน่วยงานราชการบางแห่งติดต่อสอบถามเพื่อขอซื้อวัคซีนเข้ามาบ้างแล้ว แต่ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการหารือถึงแผนการกระจายวัคซีน เพราะ อย.เพิ่งจะอนุมัติขึ้นทะเบียน สำหรับประชาชนที่จองวัคซีนผ่านระบบของราชวิทยาลัยฯ จะใช้การจัดสรรวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่เกี่ยวกับวัคซีนซิโนฟาร์ม เป็นคนละส่วนกัน

ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ระบุว่า นับเป็นพระกรุณาธิคุณที่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ไม่ทรงทอดทิ้งประชาชนไทย พระองค์ได้พระราชทานเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์มาแล้วหลายครั้ง ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้พึ่งพาอาศัยสนับสนุนกันมาหลายโอกาส ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าวัคซีนทางเลือกของคนไทยเกิดขึ้นจริง โดยผ่านการประสานจากราชวิทยาลัยฯ

อย่างไรก็ดี นายอนุทิน ยืนยันว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ เป็นสถาบันทางการแพทย์ สามารถที่จะติดต่อกับหน่วยงานใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับคู่เจรจาที่จะยอมพูดคุยด้วย ขอย้ำว่า กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้แต่งตั้งองค์กรใดเป็นผู้แทนในการไปเจรจากับบริษัทวัคซีน

ด้าน เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ย้ำว่า อย.เพิ่งจะได้อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์ม ของ บ.ไบโอจีนีเทค จำกัด เมื่อประมาณช่วงเที่ยงวันที่ผ่านมา โดยเป็นวัคซีนเชื้อตาย ยืนยัน วัคซีนมีคุณภาพความปลอดภัย มีประสิทธิผล และเหตุที่มีการอนุมัติได้รวดเร็ว ก็เพราะว่ามีเอกสารหลักฐานในการวิจัยที่ครบถ้วน รวมทั้งองค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองแล้ว

 

ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/148396


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top