บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตวัคซีนโควิด-19 ราคาย่อมเยาว์ เพื่อให้คนไทยได้ใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพอย่างแพร่หลาย ในเชิงเกี่ยวเนื่องกับการเอื้อผลประโยชน์เอกชนที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ถือหุ้นหลัก จนเกิดความเข้าใจผิดของประชาชนจำนวนไม่น้อย
ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Boriphat Sangpakorn ได้โพสต์บอกเล่าข้อเท็จจริงของ “สยามไบโอไซเอนท์” ดังนี้
“2562 ครบรอบ 10 ปี สยามไบโอไซเอนซ์ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งปีปัจจุบัน บริษัท #ยังไม่เคยทำกำไรแม้แต่บาทเดียว และยังขาดทุนสะสมมาแล้วไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งกินทุนไปแล้วถึง 1/5
สยามไบโอไซเอนซ์ ผลิตยาประเภท biosimilars ซึ่งเป็นยาที่เป็นโปรตีน ไม่ใช่ยาเคมีสังเคราะห์ ดังนั้นหลักการผลิตยา จึงเป็นการผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึง(ไม่สามารถก๊อปร้อยเปอร์เซ็นได้เหมือนยาเคมี) การผลิตยาชีววัตถุจึงเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ไทยไม่เคยทำมาก่อน
จุดกำเนิดของสยามไบโอไซเอนซ์ มาจากการที่อาจารย์หมอจากมหาวิทยาลัยมหิดลไปจูงมือสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาทำ โดยสำนักทรัพย์สินออกทุนทั้งหมด และคณะแพทย์ฯ ศิริราช เป็นหุ้นส่วนฝ่ายการวิจัยและพัฒนา
ดังนั้นในส่วนของสำนักทรัพย์สินจึงได้จดทะเบียนบริษัทเอเพ็กซ์เซล่ามาดูแลการจัดจำหน่าย(ขาดทุนทุกปี ปีละ 20-30 ล้าน เพิ่งรับรู้กำไรปีแรก 2561 จำนวน 4 ล้านบาท และ 2562 กำไร 39 ล้านบาท รวมๆ แล้วเฉพาะเอเพ็กซ์เซล่า ก็ยังขาดทุนสะสมร่วมร้อยล้านบาทอยู่)
ด้านสยามไบโอไซเอนซ์ สำนักทรัพย์สินมอบหมายให้อาจารย์เสนาะ อูนากูล เป็นประธานกรรมการ ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็นกรรมการ SCC จึงทำให้มีการดึงทีมบริหารจาก SCC มาดูแลสยามไบโอไซเอนซ์ เนื่องจากต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีการผลิต เพราะเป็นเทคโนโลยีการผลิตยาชีววัตถุ เป็นสิ่งที่ภายในประเทศไม่เคยมีมาก่อนเลย
ความใหม่ของเทคโนโลยีและองค์ความรู้ จึงส่งผลให้สยามไบโอไซเอนซ์ต้องแสวงหาพันธมิตร คือร่วมมือกับ CIMAB รัฐวิสาหกิจของคิวบา เพราะประเทศคิวบาเป็นชั้นแนวหน้าของโลกในอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ซึ่งความร่วมมือในส่วนนี้จึงขยายผลให้มีการร่วมทุนกันตั้งบริษัทเอบินิสแยกมา ทำโรงงานผลิตเพื่อป้อนยาชีววัตถุให้กับคิวบาและการส่งออกไปต่างประเทศ ด้วยสัดส่วนการลงทุน 70/30 (สยามไบโอไซเอนซ์/คิวบา)
ดังนั้นตัวโรงงานของสยามไบโอไซเอนซ์จึงมาตราฐานสูงมาก เพราะนายทุน(ทุนลดาวัลย์) กระเป๋าหนัก จึงออกแบบโรงงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมสูง ได้มาตราฐานทั้ง PIC/S และ GMP ต้นทุนโรงงานจึงสูงหลายพันล้านบาท บริษัทต้องเพิ่มทุนไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง ปัจจุบันทุนจดทะเบียนกว่า 4.8 พันล้านบาท เรียกว่าลงทุนชาตินี้ กำไรชาติไหนก็ช่าง
ภายใต้พื้นที่ 36 ไร่ ของที่ตั้งโรงงาน ภายในตัวโรงงานได้จัดเนื้อที่ 1,600 ตารางเมตร สำหรับเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัย การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพ โดยครอบคลุมวิธีการทดสอบและตรวจวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับยาชีววัตถุในทุกด้าน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพและทางเคมี (physico-chemical), ลักษณะทางชีวภาพ (biological), และ ลักษณะทางชีวกายภาพ (biophysical analysis) โดยโรงงานออกแบบมาเพื่อให้มีความผสมผสานกับสิ่งแวดล้อมโดยมีพื้นที่มากกว่า 30% เป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นโรงงานที่ไม่มีการปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม (Zero Emission)
ปัจจุบันยาชีววัตถุวิจัยสำเร็จแล้ว 6 รายการ และได้รับการรับรองแล้ว 2 รายการ คือ ยาเพิ่มเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล(filgrastim) และยาเพิ่มเม็ดเลือดแดง(erythropoieth-alfa) โดยมีสายการผลิตอยู่ที่ 1 ล้านโดสต่อปี สามารถทดแทนความต้องการภายในประเทศได้ 1/4 ทำให้รัฐหั่นต้นทุนการนำเข้ายาลงมาได้กึ่งหนึ่ง กล่าวคือประหยัดเงินงบประมาณแผ่นดินปีละ 3 พันล้านบาท แม้ปัจจุบันสยามไบโอไซเอนซ์จะขาดทุนต่อปีที่ 70 ล้านบาท ต่อไปก็ตาม
การผลิตวัคซีนโควิท เป็นความร่วมมือระหว่างอังกฤษกับไทย โดยที่ฝ่ายอังกฤษเป็นผู้เลือกเอง เพราะฝ่ายนั้นเขามีฐานการวิจัยและการอุดหนุนจากองค์การอนามัยโลกอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงมีหน้าที่เอาโรงงานที่มีอยู่ในมือใส่พานประเคนให้เลือก
ผมจำไม่ได้ว่าอ่านเจอที่ไหนว่าไทยเสนอไปกี่โรงงาน ซึ่งเข้าใจว่าหนึ่งในนั้นมี บริษัทองค์การเภสัชกรรม เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง องค์การเภสัชกรรมร่วมทุนกับโซนาฟี่ปาสเตอร์(บริษัทผลิตวัคซีนอันดับต้นๆ ของโลก จากฝรั่งเศส) ทำโรงงานผลิตวัคซีนในไทยมานาน 20-30 ปีมาแล้ว แม้ชื่อบริษัทจะมีคำว่าชีววัตถุ แต่ไม่ได้ผลิตยาชีววัตถุ เพราะผลิตเพียงแค่วัคซีน
วัคซีนโควิท มีด้วยกันตามที่เข้าใจตอนนี้ คือ 3 ชนิด กล่าวคือ ชนิด mRNA อย่างของไฟเซอร์ในอเมริกา การดูแลรักษาและขนส่งยุ่งยาก แม้จะผลิตได้จำนวนมาก แต่ก็ยังต้นทุนสูง
ชนิดไวรัส vector แบบของแอสตราเซนเนกา ของอังกฤษ ผมไม่ค่อยเข้าใจว่ามันเป็นยังไง แต่คิดว่าหลักการคงคล้ายๆ กับวัคซีนอีโบล่าที่มหาวิทยาลัยมหิดลวิจัยสำเร็จแหละมั้งครับ อันนี้การดูแลไม่ยุ่งยาก ต้นทุนจึงไม่สูง ยิ่งหากผลิตในโรงงานภายในประเทศ ก็ทุ่นค่าขนส่งไปได้มาก
และสุดท้ายชนิดไวรัสเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่ใช้หลักการทั่วๆ อย่างวัคซีนพิษสุนักบ้า เป็นต้น ก็จะเป็นวัคซีนตามความหมายที่เราเข้าใจทั่วๆ ไป อันนี้ก็จะเป็นวัคซีนจากทางจีน ที่ทางซีพีไปซื้อบริษัทลูกเอาไว้เป็นข่าวมาหลายวันก่อนนี้ แต่ก็มีข้อจำกัดที่การผลิตแต่ละรอบจะได้น้อยกว่าสองชนิดที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นโดยเปรียบเทียบก็จะได้จำนวนโดสน้อยกว่า
มันก็แน่นอนอยู่แล้วว่าถ้าแอสตราเซนเนกา ถ้าหากจะต้องเลือกโรงงาน ระหว่างโรงงานของสยามไบโอไซเอนซ์กับขององค์การเภสัชกรรม ย่อมต้องเลือกโรงงานที่ทันสมัยที่สุด ความพร้อมในการผลิตสูงที่สุด (โรงงานต้นแบบของ KMUTT ซึ่งเป็นโรงงานยาชีววัตถุแห่งที่สองของไทย ผมไม่คิดว่าจะเป็นตัวเลือกด้วยซ้ำ เพราะเป็นโรงงานที่เพิ่งเริ่มเดินสายพานการผลิตเมื่อปีที่แล้วนี้เอง ในขณะที่สยามไบโอไซเอนซ์ มีโรงงานที่หนึ่ง โรงงานที่สอง และเข้าใจว่ากำลังจะทำโรงงานที่สามด้วยมั้งครับ ดังนั้นกำลังการผลิตติดตั้งจึงมีเหลือเฟือ)
การที่รัฐบาลอนุมัติงบ 6 พันล้าน เป็นการจัดซื้อจัดหาจากแอสตราเซนเนกา ดังนั้นจึงจ่ายเงินให้แอสตราเซนเนกา ไม่ได้จ่ายเงินให้สยามไบโอไซเอนซ์ เพราะสยามไบโอไซเอนซ์แค่รับจ้างผลิตให้แอสตราเซนเนกา ไม่ได้รับจ้างรัฐบาลไทย
ส่วนความร่วมมือระหว่างแอสตราเซนเนกา กับรัฐบาลไทย ที่จะมีความร่วมมือในการวิจัย-การผลิต-การถ่ายทอดองค์ความรู้ อันนี้เป็นผลพลอยได้นอกเหนือจากการทำสัญญาซื้อวัคซีน
ขณะเดียวกันผู้ใช้เฟซบุ๊ก Vee Chirasrestha ก็ได้โพสต์ข้อความเพิ่มเติมถึงกรณี ธนาธรพยายามใส่ความสยามไบโอไซน์ว่า
การที่ธนาธรบอกว่า สยามไบโอไซเอนซ์ เป็นเสมือนบริษัทที่ ผูกขาด การผลิต ในเชิงที่ต้องการให้คนเข้าใจว่าสถาบันผู้ถือหุ้นเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ผู้เดียว
โดยในไลฟ์ของธนาธรบอกเองว่า สยามไบโอไซน์ ขาดทุนมาตลอด 10 ปี ร่วม 500 ล้านบาท คล้ายกับให้คนคิดต่อไปว่าบริษัทอยู่ได้ด้วยการที่รัฐบาลเอาเงินภาษีประชาชนไป อุ้ม เอาไว้
ความจริงคือ ถ้า เป็นบริษัทอื่น ขาดทุนขนาดนี้ ป่านนี้คงปิดไปแล้ว
แต่ด้วยเพราะในหลวงทรงมีพระราชปณิธานที่จะผลิตยาราคาถูกให้คนไทย เราจึงยังมีองค์กรที่ "มีความพร้อม" ในการผลิตวัคซีน ในขณะที่สิงคโปร์แม้จะมีโรงงาน แต่ก้ไม่ได้เป็นฐานการผลิต
นั่นไม่ใช่เพราะเอสซีจีมีคอนเน็คชั่นกับทางอ็อกซ์ฟอร์ดเท่านั้น แต่เป้นเพราะโรงงานที่ได้มาตรฐานและมีความพร้อมในการผลิตของสยามไบโอไซน์
สยามไบโอไซน์เกิดขึ้นจากพระราชดำริและแนวคิดของแพทย์มหิดล สำนักงานทรัพย์สินเป็นผู้ออกทุนทั้งหมด ขณะที่แพทย์ศิริราชเป็นหุ้นส่วนการวิจัยและพัฒนา
ผลงานการผลิตของสยามไบโอไชน์ สามารถลดต้นทุนการผลิตยาต่างๆ ลงได้มากกว่าครึ่ง ซึ่งศักยภาพนี้เองที่ทำให้ทางอักฤษเลือกที่จะผลิตวัคซีนร่วมกับเราโดยที่รัฐบาลได้ซื้อสิทธิบัตรมาเพื่อสามารถผลิตฉีดให้คนไทยได้ฟรี
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๙ ที่ว่า "ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือ พลเมือง นั่นเอง"
เช่น พระราชปณิธานของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์และสาธารณสุข ความว่า
True Success is not in the learning,
But in its application to the benefit of mankind
ที่มา: เพจ Thailand Vision
เฟซบุ๊ก Vee Chirasrestha