Tuesday, 1 July 2025
NEWS FEED

รมว.ยุติธรรม แจง พืชกระท่อมปลูก ใช้ ครอบครอง ขายใบสดได้เสรี น้ำต้มกินเอง-แจกจ่ายได้ แต่หากจะนำมาทำอาหาร-น้ำสมุนไพรขาย ยังผิดกฎหมาย สาธารณสุขกำลังเร่งปรับแก้ให้สอดคล้อง 

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ภายหลังจากที่รัฐสภาได้เห็นชอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) ซึ่งเป็นการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ไปแล้วนั้น แต่ยังมีหลายคนสงสัย เกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมว่าสามารถทำในส่วนใดได้บ้าง ดังนั้นตนจึงขอชี้แจงว่า ในส่วนของการเคี้ยวใบ การปลูก การครอบครองและการขายใบสดที่ไม่ได้ปรุงหรือทำเป็นอาหารทำได้อย่างเสรีไม่ผิดกฎหมาย แต่ส่วนการนำไปทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่แจ้งว่ามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ต้องไปขออนุญาตตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข เพราะมี พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ควบคุมอยู่ 

นอกจากนี้การนำไปทำเป็นอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อขายนั้น  พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ยังไม่ปลดล็อกให้สามารถนำพืชกระท่อมไปทำอาหารหรือผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายได้ โดยประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424 ) พ.ศ. 2564 ออกตามความใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้อาหารที่ปรุงจากพืชกระท่อมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย หรือแม้กระทั่งน้ำต้มกระท่อมที่ไม่ได้ผสมกับสิ่งใดเลยก็เป็นสิ่งที่ห้ามผลิตเพื่อจำหน่ายตามประกาศฉบับนี้ การฝ่าฝืน ผลิต และขาย อาหาร ที่ พ.ร.บ. อาหาร ห้าม มีโทษตามมาตรา 50 จำคุก 6 เดือน - 2 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมได้อย่างเต็มที่ กระทรวงสาธารณสุขจึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอางได้ เรื่องนี้เป็นอุปสรรคในการค้าขายแบบชาวบ้าน 

ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการฯ ซึ่งตนเป็น ประธานฯ ได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะส่งให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว 

แต่สำหรับในช่วงนี้ที่ประกาศยังไม่ถูกแก้ไข หากผู้ประกอบการที่อยากจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสกัดหรือแปรรูปพืชกระท่อมโดยใช้ประโยชน์จากสารสำคัญในใบกระท่อมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือยาแผนโบราณ ที่มีสรรพคุณในการบำบัดหรือบรรเทาอาการต่าง ๆ นั้น สามารถขอคำแนะนำหรือติดต่อได้ที่ กองควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ก.แรงงาน เร่งระดมสมองวางแผนพัฒนากำลังคนรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve

วันที่ 9 กันยายน 2564 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) ครั้งที่ 4/2564 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล และผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนร่วมประชุม

โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเสนอ 4 เรื่องให้ที่ประชุมพิจารณา ได้แก่

การเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กพร.ปจ. แทนตำแหน่งที่ว่างลง

การแก้ไขเพิ่มเติมรายชื่ออนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กพร.ปจ. (ร่าง) แ

ผนพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve (พ.ศ.2565-2570)

และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพ (พ.ศ.2564-2570) 

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพของกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างระบบการศึกษากับระบบการพัฒนากำลังแรงงาน ประสานนโยบายแผนการพัฒนาฝีมือแรงงาน และแผนการฝึกอาชีพของ ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อความเป็นเอกภาพในการพัฒนาแรงงาน ขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนและความสิ้นเปลือง รวมถึงติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาแรงงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพ โดยมีคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) เป็นกลไกระดับจังหวัดในการขับเคลื่อนติดตามและดำเนินงานตามแผนการพัฒนากำลังแรงงานในพื้นที่จังหวัด

การประชุมในวันนี้ นอกจากเรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอแล้ว กพร. ได้รายงานถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ได้ปรับปรุงคำสั่งให้เป็นปัจจุบัน เพิ่มองค์ประกอบของ กพร.ปช. และปรับปรุงอำนาจหน้าที่แล้ว

การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ขณะนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ จัดทำแผนพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแล้วเสร็จ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น อยู่ระหว่างการประชุมร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างแผนผังตำแหน่งงานและแนวโน้มการจ้างงานใน แต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายในรูปแบบการระดมความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพ สรุปการจัดงานสัมมนาออนไลน์ “ให้กลไกตลาดทุน เกื้อหนุนผู้พิการ สร้างงานสร้างอาชีพ” เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบไมโครซอฟท์ทีม และถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊ค ของ กลต. กระทรวงแรงงาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้แทนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ องค์กร สมาคมคนพิการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 524 คน โดยมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์สนใจทำ CSR ด้านคนพิการ จำนวน 75 แห่ง ซึ่ง กพร. จะติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานต่อไป และการสนับสนุนซิมการ์ดพัฒนาฝีมือแรงงานออนไลน์ 500 ซิม จาก บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ในการนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดพิธีแถลงข่าวและรับมอบซิมการ์ด จำนวน 500 ชุด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดย กพร. ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ดำเนินการแจกจ่ายซิมการ์ดให้แก่กลุ่มแรงงานคนพิการและกลุ่มเปราะบางเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ยกระดับศักยภาพด้านดิจิทัล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

และการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาทักษะฝีมือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผลการช่วยเหลือแรงงานกลุ่มเปราะบาง ประจำปี 2564 กระทรวงแรงงานเป้าหมาย 72,150 แห่ง ผลการสำรวจแล้ว 22,370 แห่ง และการเตรียมรองรับการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 อีกด้วย

“คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) มีองค์ประกอบมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมกันบูรณาการและวางแผนการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อความเป็นเอกภาพในการพัฒนาแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีความรู้และทักษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ให้แรงงานไทยสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยต่อไป ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง” อธิบดี กพร. กล่าวทิ้งท้าย

แผนอยู่ร่วมกับไวรัสของสิงคโปร์ส่อยุติ เหตุยอดติดเชื้อใหม่สูงสุดในรอบปี แม้ฉีดวัคซีนครบแล้ว 80%

สิงคโปร์เตือนว่าบางทีอาจต้องกลับมากำหนดข้อจำกัดสกัดโควิด-19 อีกรอบ หากว่าไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของตัวกลายพันธุ์เดลตา ที่แพร่เชื้อได้ง่ายมาก ซึ่งเสี่ยงทำให้ประเทศแห่งนี้อาจต้องละทิ้งยุทธศาสตร์อยู่ร่วมกับไวรัส

กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์รายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รายใหม่ในชุมชน 347 คนเมื่อวันพุธ (8 ก.ย.) สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2020 หลังจากเพิ่งสร้างสถิติดังกล่าวไปหมาด ๆ เมื่อ 1 วันก่อนหน้านี้ ที่จำนวน 328 รายในวันอังคาร (7 ก.ย.)

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ของสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นเท่าตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขของประเทศ เพิ่มเป็นมากกว่า 1,200 ราย ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 กันยายน

จนถึงวันพุธ (8 ก.ย.) จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมของสิงคโปร์อยู่ที่ 69,582 ราย เสียชีวิตสะสม 56 คน

ลอว์เรนซ์ หว่อง หัวหน้าทีมเฉพาะกิจสู้โควิด-19 ของสิงคโปร์ ยอมรับว่าไม่ใช่แค่จำนวนเคสผู้ติดเชื้อรายวันเท่านั้นที่สร้างความกังวลแก่รัฐบาลสิงคโปร์ แต่ยังรวมถึงอัตราการที่ไวรัสกำลังแพร่ระบาดด้วย

"เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่น ๆ ที่เมื่อใดก็ตามเคสผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก จะมีผู้ติดเชื้ออาการหนักในห้องไอซียูเพิ่มขึ้นมาก และมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสเพิ่มขึ้นเช่นกัน" เขากล่าว

สิงคโปร์เคยผลักดันนโยบายเชิงรุก "โควิดเป็นศูนย์" ระหว่างโรคระบาดใหญ่ กำหนดข้อจำกัดอันเข้มข้นต่าง ๆ นานา ปิดร้านอาหาร ปิดพรมแดนและบังคับใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

แต่ในเดือนมิถุนายน รัฐบาลแถลงแผนเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์อยู่ร่วมกับไวรัส ความพยายามควบคุมการแพร่ระบาดด้วยวัคซีนและคอยเฝ้าระวังอัตราผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แทนการกำหนดมาตรการเข้มข้นที่จำกัดวิถีชีวิตของพลเมือง

"ข่าวร้ายคือโควิด-19 อาจไม่มีวันหายไป ข่าวดีคือมีความเป็นไปได้ที่เราจะใช้ชีวิตตามปกติร่วมกับมันได้" เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านโควิด-19 ของสิงคโปร์ ระบุในข้อเขียนแสดงความคิดเห็น (Op-Ed) เมื่อเดือนมิถุนายน

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนโควิด-19 สูงที่สุดในโลก ด้วยตอนนี้มีประชากรมากกว่า 80% ที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว

ตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สิงคโปร์เริ่มผ่อนปรนข้อจำกัดสกัดโควิด-19 บางอย่าง อนุญาตให้คนฉีดวัคซีนครบแล้วออกไปรับประทานอาหารค่ำที่ร้าน และรวมกลุ่มกันได้ไม่เกิน 5 คน จากเดิมที่จำกัดแค่ 2 คน

อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดระลอกใหม่ทำให้มาตรการเปิดเศรษฐกิจเพิ่มเติมต้องสะดุดลง และ หว่อง เปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (6 ก.ย.) ว่า สิงคโปร์จะพยายามควบคุมการแพร่ระบาดระลอกใหม่ด้วยการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดเชิงรุกยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับสกัดเคสผู้ติดเชื้อและคลัสเตอร์ต่าง ๆ

การบังคับตรวจเชื้อแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงจะเกิดขึ้นถี่ขึ้น เป็น 1 ครั้งต่อสัปดาห์จากเดิม 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง และบัญชีแรงงานต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้คำสั่งบังคับตรวจเชื้อจะถูกขยายให้ครอบคลุมกว่าเดิม โดยจะนับรวมพนักงานห้างค้าปลีก ธุรกิจจัดส่งสินค้าและเจ้าหน้าที่ระบบขนส่งสาธารณะเข้าไปด้วย

สิงคโปร์ยังได้ห้ามการรวมตัวของพนักงานตั้งแต่วันพุธ (8 ก.ย.) เป็นต้นไป และ หว่อง แนะนำประชาชนหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น ท่ามกลางความพยายามควบคุมการแพร่ระบาด

เขาระบุ มันสะท้อนว่า นโยบายใหม่ของสิงคโปร์และอัตราการฉีดวัคซีนระดับสูง ช่วยให้ประเทศสามารถคงระดับการเปิดเศรษฐกิจระหว่างการแพร่ระบาดระลอกใหม่ "แต่แม้เราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว เราพบว่าเคสผู้ติดเชื้ออาการสาหัสในห้องไอซียูที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก เมื่อถึงเวลาเราอาจไม่มีทางเลือก ยกเว้นแต่ยกระดับความเข้มข้นในภาพรวม ดังนั้นเราจึงไม่ควรตัดความเป็นไปได้"


(ที่มา : ซีเอ็นเอ็น/รอยเตอร์)
https://mgronline.com/around/detail/9640000089302

"พรรคกล้า" จับมือภาครัฐ-เอกชน สร้างศูนย์พักคอย โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ รองรับผู้ป่วยเคสสีเหลือง-แดง เขตจอมทอง , บางบอน , บางขุนเทียน ย้ำวัฒนธรรมการลงมือทำสำคัญ 

กลุ่มกล้าอาสา พรรคกล้า นำโดยนายอรรถวิชช์  สุวรรณภักดี ร่วมกับสำนักงานเขตจอมทอง ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 โรงพยาบาลคลองตัน การไฟฟ้านครหลวง ทพ.ศิรศักดิ์ ตั้งทองหยก - ทพ.ธัญวิชญ์ เผือกขาว และกลุ่มเพื่อนกรุงเทพคริสเตียน กลุ่มหมออาฟ Mastermind มูลนิธิบูรณพุทธ กลุ่มสหวิชาชีพจิตอาสา และโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เปิดศูนย์พักคอย โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 

นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า เขตจอมทอง ถือเป็นอีกหนึ่งเขตที่มีผู้ติดเชื้อสูงที่สุดติดอันดับ 5 ของ กทม. ซึ่งหวังว่าศูนย์แห่งนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน รองรับผู้ติดเชื้อที่เข้ามากักตัว รักษาอาการ รวมถึงฟื้นฟูร่างกายหลังพ้นระยะวิกฤต เป็นศูนย์ดูแลสำหรับผู้ป่วยขาเข้าและขาออก 

"การสร้างศูนย์พักคอยแห่งนี้ เป็นความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคงที่มีทหารเรือ ทหารบก เข้ามาช่วย และภาคเอกชน พรรคการเมือง โดยปราศจาการเมือง การแบ่งฝ่าย  เราเป็นมุมเล็กๆ แต่สิ่งที่เรามีคือการร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมกันทำให้มันเกิดขึ้น วัฒนธรรมการลงมือทำ สำคัญ จุดพักคอย อย่าหยุดสร้าง มีหรือไม่มีคนใช้ สร้างไปก่อน" นายอรรถวิชช์ กล่าว 

ศูนย์พักคอยโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ถึงระดับเหลืองและแดง คือกลุ่มที่มีอาการปานกลางไปจนถึงหนัก โดยมีทีมแพทย์ พยาบาลจากศูนย์บริการสาธารณสุข 29 และโรงพยายบาลคลองตัน เป็นผู้ดูแล สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 40 เตียง ในพื้นที่จอมทอง บางบอน บางขุนเทียน และพื้นที่ใกล้เคียง โดยผู้ติดเชื้อ ต้องลงทะเบียนทางสายด่วน 1330 หรือโทรไปที่ 20 คู่สายเขต จากนั้นทางเจ้าหน้าที่จะประสานเพื่อให้มาพักที่ศูนย์พักคอยแห่งนี้

รมว.ยุติธรรม แจง พืชกระท่อมปลูก ใช้ ครอบครอง ขายใบสดได้เสรี น้ำต้มกินเอง-แจกจ่ายได้ แต่หากจะนำมาทำอาหาร-น้ำสมุนไพรขายยังผิดกฎหมาย สาธารณสุขกำลังเร่งปรับแก้ให้สอดคล้อง 

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ภายหลังจากที่รัฐสภาได้เห็นชอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) ซึ่งเป็นการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ไปแล้วนั้น แต่ยังมีหลายคนสงสัย เกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมว่าสามารถทำในส่วนใดได้บ้าง ดังนั้นตนจึงขอชี้แจงว่า ในส่วนของการเคี้ยวใบ การปลูก การครอบครองและการขายใบสดที่ไม่ได้ปรุงหรือทำเป็นอาหารทำได้อย่างเสรีไม่ผิดกฎหมาย แต่ส่วนการนำไปทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่แจ้งว่ามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ต้องไปขออนุญาตตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข เพราะมี พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ควบคุมอยู่ นอกจากนี้การนำไปทำเป็นอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อขายนั้น  พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ยังไม่ปลดล็อคให้สามารถนำพืชกระท่อมไปทำอาหารหรือผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายได้ โดยประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424 ) พ.ศ. 2564 ออกตามความใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้อาหารที่ปรุงจากพืชกระท่อมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย หรือแม้กระทั่งน้ำต้มกระท่อมที่ไม่ได้ผสมกับสิ่งใดเลยก็เป็นสิ่งที่ห้ามผลิตเพื่อจำหน่ายตามประกาศฉบับนี้ การฝ่าฝืน ผลิต และขาย อาหาร ที่ พ.ร.บ. อาหาร ห้าม มีโทษตามมาตรา 50 จำคุก 6 เดือน - 2 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมได้อย่างเต็มที่ กระทรวงสาธารณสุขจึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ จากพืชกระท่อมเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอางได้เรื่องนี้เป็นอุปสรรคในการค้าขายแบบชาวบ้าน ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการฯ ซึ่งตนเป็น ประธานฯ ได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะส่งให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว แต่สำหรับในช่วงนี้ที่ประกาศยังไม่ถูกแก้ไข หากผู้ประกอบการที่อยากจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสกัดหรือแปรรูปพืชกระท่อมโดยใช้ประโยชน์จากสารสำคัญในใบกระท่อมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือยาแผนโบราณ ที่มีสรรพคุณในการบำบัดหรือบรรเทาออาการต่าง ๆ นั้น สามารถขอคำแนะนำหรือติดต่อได้ที่ กองควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)

"กรณ์ พรรคกล้า" ชี้!! หลังโควิดโลกเปลี่ยนครั้งใหญ่ แนะไทยต้องมีรัฐบาลมืออาชีพด้านเศรษฐกิจ-เทคโนโลยี

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ก่อตั้งสมาคมไทย-ฟินเทค ร่วมเวทีสัมมนาใหญ่ประจำปีของเครือหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยเขาได้รับเชิญในฐานะรัฐมนตรีคลังของไทย ที่ได้รับการยกย่องจากสื่อดังกล่าวให้เป็นรัฐมนตรีคลังโลกเมื่อปี 2553 เพื่อร่วมสัมมนาและหาทางออกให้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกร่วมกับนักการเมืองชั้นนำของโลกหลายคน 

ภายในงานมีการจัดเวทีเป็นลักษณะ 8 เวทีคู่ขนานสามารถเลือกฟังได้ตามประเด็นที่สนใจ ธีมหลักของงานคือ "โลกหลังโควิด และความเปลี่ยนแปลงในขั้วอำนาจหลักของโลก" เพื่อให้ทุกประเทศเตรียมความพร้อมยุคที่เรียกว่า 'ดิสรัปชั่น' โดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐอเมริกาและ NATO ได้ถอนตัวจากอัฟกานิสถาน หลายคนเอาประสบการณ์ของตนมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี John Major และ Dame Sarah Gilbert ผู้ค้นคว้าวัคซีน Oxford Astra Zeneca ซึ่งความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดมีผลต่อประเทศไทยทุกเรื่อง 

นายกรณ์ ได้ตั้งคำถามภายหลังร่วมงานว่า จากการเปลี่ยนแปลงระดับโลกในครั้งนี้ รัฐมนตรีหรือ ส.ส.ของเราติดตามหรือใส่ใจมากพอหรือไม่ ทุกประเด็นในเวทีการเมืองของไทย กลับกลายเป็นประเด็นการแบ่งข้างทางการเมือง ทุกปัญหาจึงเป็นเรื่องความขัดแย้ง หาทางออกได้ยาก ซึ่งหากใครคิดว่าโลกจะเป็นอย่างไร เราก็อยู่ของเราได้ คงต้องคิดใหม่ครับ ช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาเรามีบทเรียนมากมายจาก Financial Crisis : Hamburger Crisis ปี 2008, Covid, Climate Crisis หรือการแข่งขันระหว่างขั้วอำนาจจีน-สหรัฐอเมริกา ทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ส่งผลตรงกับเราทั้ง ๆ ที่เราอยู่ของเราดี ๆ ไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับใครมากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่แคล้วต้องรับผลของปัญหามาเป็นภาระของเราที่ต้องแก้ไข 

“วันนี้ประเทศไทยเราแทบไม่อยู่ในสายตาต่างชาติ หากเทียบกับ 20-30 ปีที่แล้วในยุค 'โชติช่วงชัชวาล' ระดับความสนใจต่อประเทศเรามีน้อยลงมาก เสน่ห์เราหาย เราเหมือนหนุ่มสาวที่พึ่งพารูปร่างหน้าตาจนลืมที่จะพัฒนาตัวเอง วันดีคืนดีเราพบว่ามีคนอื่นเขาสดกว่าเรามาดึงดูดความสนใจไป แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือเพื่อนวัยเดียวกันก็ไปไกลแล้ว เพราะเขาเพิ่มทักษะและเสริมความรู้มาตลอด ในขณะที่เราต้องแต่งหน้าเสริมสวยมากขึ้นเรื่อย ๆ เขาเลิกพึ่งพาหน้าตามานานแล้ว ซึ่งก็อีก หากใครบอกว่า ใครไม่สนก็ช่างเขา ก็คงไม่ได้อีก เพราะวันนี้เราต้องพึ่งทั้งการลงทุน ทั้งนักท่องเที่ยว และทั้งการส่งออกสินค้านานาชนิดไปต่างประเทศ และทั้งหมดนี้กลับกลายเป็นเงินเข้ากระเป๋าพี่น้องชาวไทยของเราทั้งหมด เราเลยยิ่งต้องใส่ใจ” นายกรณ์ กล่าว

และยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า โควิดทำให้เราเห็นว่า รัฐบาลมีความสำคัญกับชีวิตเราแค่ไหน มีอำนาจและบทบาทเหนือชีวิตเราในระดับที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน สั่งให้เราห้ามออกจากบ้านได้เป็นเดือน ๆ จัดยา จัดวัคซีนให้กับเรา ดูแลให้เรามีเงินใช้ มีข้าวกิน (ช้าบ้าง ไม่พอบ้าง) ออกคำสั่งปิด-เปิดประเทศ ปิด-เปิดร้านค้าร้านอาหาร และสร้างภาระหนี้มหาศาลให้เราและลูกหลานเรา อำนาจนี้เสมือน ดาบอำนาจรัฐที่เมื่อดึงออกจากฝักแล้วคงไม่ใส่กลับง่าย ๆ 

เราจึงยิ่งจำเป็นต้องมีรัฐบาลที่รอบรู้ มีความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจและ เทคโนโลยี และต้องพร้อมฟังและตัดสินใจด้วยหลักศีลธรรมและความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวมองว่า ยิ่งรัฐบาลมีบทบาทและอำนาจมาก ยิ่งต้องมีความโปร่งใส และมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ซึ่งรัฐบาลจะเป็นเช่นนี้ได้ต้องเป็นรัฐบาลโดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง และนี่คือบทเรียนที่สำคัญที่สุดของเราจากโควิด

ก.แรงงาน เร่งระดมสมองวางแผนพัฒนากำลังคนรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve 

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) ครั้งที่ 4/2564 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล และผ่านระบบ Video Conference โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงแรงงาน อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนร่วมประชุม โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเสนอ 4 เรื่องให้      ที่ประชุมพิจารณา ได้แก่ การเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กพร.ปจ. แทนตำแหน่งที่ว่างลง การแก้ไขเพิ่มเติมรายชื่ออนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กพร.ปจ. (ร่าง) แผนพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve (พ.ศ.2565-2570) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพ (พ.ศ.2564-2570)  

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพของกำลังแรงงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างระบบการศึกษากับระบบการพัฒนากำลังแรงงาน ประสานนโยบายแผนการพัฒนาฝีมือแรงงาน และแผนการฝึกอาชีพของ ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อความเป็นเอกภาพในการพัฒนาแรงงาน ขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนและความสิ้นเปลือง รวมถึงติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาแรงงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพ โดยมีคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) เป็นกลไกระดับจังหวัดในการขับเคลื่อนติดตามและดำเนินงานตามแผนการพัฒนากำลังแรงงานในพื้นที่จังหวัด 

การประชุมในวันนี้ นอกจากเรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอแล้ว กพร. ได้รายงานถึงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ได้ปรับปรุงคำสั่งให้เป็นปัจจุบัน เพิ่มองค์ประกอบของ กพร.ปช. และปรับปรุงอำนาจหน้าที่แล้ว 
การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ขณะนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการบินและ   โลจิสติกส์จัดทำแผนพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแล้วเสร็จ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ นั้น อยู่ระหว่างการประชุมร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างแผนผังตำแหน่งงานและแนวโน้มการจ้างงานใน   แต่ละอุตสาหกรรมเป้าหมายในรูปแบบการระดมความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาทักษะฝีมือคนพิการเพื่อรองรับการประกอบอาชีพ สรุปการจัดงานสัมมนาออนไลน์ “ให้กลไกตลาดทุน เกื้อหนุนผู้พิการ สร้างงานสร้างอาชีพ” เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบไมโครซอฟท์ทีม และถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊ค ของ กลต. กระทรวงแรงงาน และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้แทนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ องค์กร สมาคมคนพิการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 524 คน โดยมีบริษัทในตลาดหลักทรัพย์สนใจทำ CSR ด้านคนพิการ จำนวน 75 แห่ง ซึ่ง กพร. จะติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานต่อไป และการสนับสนุนซิมการ์ดพัฒนาฝีมือแรงงานออนไลน์ 500 ซิม จาก บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

ในการนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดพิธีแถลงข่าวและรับมอบซิมการ์ด จำนวน 500 ชุด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดย กพร. ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ดำเนินการแจกจ่ายซิมการ์ดให้แก่กลุ่มแรงงานคนพิการและกลุ่มเปราะบางเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ยกระดับศักยภาพด้านดิจิทัล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาทักษะฝีมือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผลการช่วยเหลือแรงงานกลุ่มเปราะบาง ประจำปี 2564 กระทรวงแรงงานเป้าหมาย 72,150 แห่ง ผลการสำรวจแล้ว 22,370 แห่งและการเตรียมรองรับการพัฒนาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 อีกด้วย “คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) มีองค์ประกอบมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมกันบูรณาการและวางแผนการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อความเป็นเอกภาพในการพัฒนาแรงงาน เพื่อให้แรงงานมีความรู้และทักษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ให้แรงงานไทยสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยต่อไป ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง” อธิบดี กพร. กล่าวทิ้งท้าย

'หมอเฉลิมชัย' เผยข้อมูลการฉีดวัคซีนให้เด็กในต่างประเทศ สะท้อนเด็กไทยควรฉีดวัคซีนโควิดตัวไหน ระหว่าง Sinovac Sinopharm Pfizer และ Moderna แนะผู้ปกครองพิจารณา 3 มิติ

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า  

เด็กไทยควรฉีดวัคซีนโควิดตัวไหนดี ระหว่าง Sinovac Sinopharm Pfizer และ Moderna

ในสถานการณ์โควิดกำลังเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก กินเวลากว่าหนึ่งปีเศษแล้วนั้น ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นกลุ่มที่มีรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการฉีดวัคซีนน้อยที่สุด เพราะนักวิจัยมักจะหลีกเลี่ยงการทดลองในอาสาสมัครเด็กเสมอ โดยจะเริ่มทำการทดลองในอาสาสมัครที่เป็นผู้ใหญ่ก่อน หลังจากนั้นก็จะขยับมาทำการทดลองในผู้สูงอายุ และจะทดลองในเด็กเป็นลำดับสุดท้าย

เพราะเด็กเป็นวัยที่เปราะบาง ร่างกายยังไม่สมบูรณ์แข็งแรง และจิตใจก็ยังไม่เป็นผู้ใหญ่พอ ตลอดจนพ่อแม่ผู้ปกครอง มักจะไม่ยินยอมให้เด็กเข้าสู่การทดลองใดใดทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องการทดลองยาหรือวัคซีน

โดยในช่วงเริ่มต้น เราจะมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนในอาสาสมัครอายุ 18-59 ปีเป็นหลัก แล้วจะเริ่มขยับไปทดลองในกลุ่มสูงอายุ ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

ส่วนการทดลองในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีลงมา ก็จะเป็นกลุ่มสุดท้าย และจะค่อยทดลองจากอายุมากขยับลงไปหาอายุน้อยที่สุดเป็นลำดับ

จนถึงปัจจุบัน ทุกวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติให้ฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จะกำหนดให้ฉีดในผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ยกเว้นของ Pfizer ที่ทดลองในเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป

ต่อมาเริ่มมีการวิจัยการให้วัคซีนในผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี และมีข้อสรุปดังนี้

1.) ในเด็กและเยาวชนที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna ได้ในประเทศที่ได้รับการอนุมัติให้ฉีดในสถานการณ์ฉุกเฉิน

2.) ในกลุ่มที่มีการทดลองยังไม่สมบูรณ์ และให้เริ่มฉีดได้เลย ได้แก่

(2.1) ชิลี ให้ฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 ขวบเป็นต้นไป
(2.2) คิวบา ให้ฉีดในเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไปได้

3.) ในส่วนที่ทำการวิจัยทดลองยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยังไม่อนุญาตให้ฉีดเป็นการทั่วไป  ได้แก่

(3.1) วัคซีนของ Pfizer และ Moderna กำลังทดลองฉีดในอายุตั้งแต่ห้าขวบขึ้นไป
(3.2) วัคซีนของ Sinovac และ Sinopharm กำลังทดลองฉีดในเด็กอายุสามขวบขึ้นไป

สำหรับในประเทศไทย โดยคำแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ได้แนะนำ

1.) ยังไม่ฉีดเป็นการทั่วไป ในเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีลงมา

2.) เด็กอายุ 12-15 ปี ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงคือมีโรคประจำตัวที่อาจจะเป็นอันตราย ให้พิจารณาฉีดวัคซีนได้

ก็จะมาถึงปัญหาของคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองว่า ถ้าลูกตนเองอยู่ในกลุ่มที่จะฉีดวัคซีนได้แล้ว จะฉีดวัคซีนบริษัทไหนดี ด้วยเหตุผลว่าอะไร คงจะต้องพิจารณาจาก 3 มิติด้วยกัน

1.) มิติผลข้างเคียง วัคซีนเทคโนโลยี mRNA เป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังไม่เคยผลิตเป็นวัคซีนและฉีดให้เด็กและเยาวชนมาก่อนเลย และเริ่มพบมีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กและเยาวชนผู้ชายพอสมควร พบประมาณ 5 รายใน 1 ล้านโดส

ส่วนวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย ได้เคยผลิตวัคซีน และนำมาฉีดในเด็กและเยาวชนมาหลายสิบปีแล้ว จึงมีความสบายใจได้ในเรื่องผลข้างเคียง

2.) มิติประสิทธิผล วัคซีนเทคโนโลยี mRNA มีประสิทธิผลสูงกว่าเทคโนโลยีเชื้อตาย

3.) มิติการเจ็บป่วยจากโควิด พบว่าในเด็กและเยาวชน เมื่อติดโควิดแล้วจะไม่ค่อยแสดงอาการ ในรายที่แสดงอาการ ก็จะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง และมีจำนวนป่วยหนักและเสียชีวิตค่อนข้างน้อย

โดย 3 มิติดังกล่าวข้างต้น คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองจึงต้องชั่งใจให้ครบถ้วนว่า จะฉีดวัคซีนให้บุตรหลานตนเองหรือไม่อย่างไร และจะฉีดด้วยวัคซีนอะไรดี

สำหรับในประเทศไทย อย.ได้จดทะเบียนให้วัคซีน Pfizer กับ Moderna สามารถฉีดในอายุ 12 ปีขึ้นไปได้

ส่วนวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย Sinopharm ได้ยื่นขอจดทะเบียนฉีดในเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไปแล้ว กำลังรอผลการพิจารณา

ส่วนวัคซีน Sinovac จะยื่นขอจดทะเบียนในเร็ววันนี้ สำหรับฉีดในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป

ส่วนการฉีดวัคซีนให้กับเด็กในต่างประเทศนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลพบว่า ประเทศคิวบาเป็นประเทศแรกในโลก ที่ประกาศฉีดวัคซีนโควิด-19 (Covid-19) ให้กับเด็กอายุน้อย ตั้งแต่สองขวบขึ้นไป เพื่อรองรับการเปิดเทอม โดยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 คิวบาได้สร้างความประหลาดใจให้กับทั่วโลก โดยการประกาศให้ฉีดวัคซีนสองยี่ห้อ คือ Abdala และ Soberana ซึ่งใช้โปรตีนเป็นฐานแบบเดียวกับ Novavax และ Sanofi ให้กับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบถึง 11 ปี

สหรัฐอเมริกา อิสราเอล เยอรมัน ฝรั่งเศส ให้ฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ เฉพาะของ Pfizer

ชิลี ให้ฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไปได้ ของ Sinovac

อังกฤษและไทย ให้ฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ส่วนอายุ 12-15 ปี ฉีดให้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้แก่ มีโรคประจำตัว

โดยที่บริษัท Pfizer และ Moderna กำลังวิจัยทดลองในเด็กอายุตั้งแต่ห้าขวบขึ้นไป

ส่วนบริษัท Sinovac และ Sinopharm กำลังวิจัยทดลองในเด็กอายุตั้งแต่สามขวบขึ้นไป


ที่มา : https://www.blockdit.com/posts/6138ba2e4d06050c5ead97df

‘พันธมิตรจิตอาสา’ ลุยช่วยผู้ป่วยกักตัวโควิด ที่ชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 โรยเชือกรับ "ข้าวปันอิ่ม" มอบด้วยใจห่วงใยในยามที่ลำบาก

ข้าวกล่องปันอิ่มห่วงใยคนในสังคม วันที่  8 กันยายน  2564 ที่ศาลาประชาคม ชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายสมชาย จรรยา อุปนายก สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรม พร้อมตัวแทนพันธมิตรจิตอาสา มูลนิธิสหชาติ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่น 1 (ปสม.1) หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 (สสสส.) เว็ปไซต์ข่าวจั่นเจา Canchaonews.com หนังสือพิมพ์ดีดีโพสต์ นิวส์

ส่งมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมทาน ที่รับจากจุดส่งมอบอาหารโลตัสบางกะปิ ภายใต้โครงการ "ครัวปันอิ่ม ร้อยเรียงใจสู้ภัยโควิด-19" ของบริษัทในเครือซีพี ซึ่งเป็นการส่งมอบข้าวระยะที่ 2 ที่จะมีไปจนถึงในที่ 26 กันยายนนี้  ซึ่งพันธมิตรจิตอาสา เป็นสะพานบุญรับมอบแก่ชาวชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 โดยมีนางสุขศรี เดชฤดี ประธานกรรมการชุมชน พร้อมคณะกรรมการหมู่บ้าน และ อสม. ร่วมนรับมอบเพื่อนำส่งต่อชาวบ้าน ที่ต้องกักตัวอยู่ภายในบ้าน หลังกลับมาจากรักษาตัวจากโรงพยาบาลจนหายแล้ว

นางสุขศรี เดชฤดี เปิดเผยว่า ชุมชนแห่งนี้ มีผู้ที่ยากจนขาดรายได้ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยทางกรรมการชุมชนและอสม. มีระบบบริหารจัดการทำรายชื่อผู้ที่ประสบผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโนรนาไว้ เพื่อนำอาหารส่งแจกจ่ายแก่ผู้ที่เดือดร้อนและมีความจำเป็นก่อน โดยภายในชุมชนมีผู้อาศัยอยู่ 648 ครัวเรือน ประชากรมากกว่า 3,000 คน มีผู้ที่ติดเชื้อโควิดและรักษาหายแล้ว 27 ครอบครัว จำนวน 214 คน และยังมีผู้ที่ต้องกักตัวจำนวน 1 ครอบครัว  ซึ่งจำนวนผู้ป่วยติดโควิด-19 นี้มีหญิงท้องใกล้คลอดติดโควิด 1 ราย ชาวชุมชนต้องช่วยกันดูแลเป็นอย่างดีตามขั้นตอนจนได้รักษาตัวในโรงพยาบาล และกลับมาอยู่บ้านได้แล้ว ขณะนี้ไปนอนรอคลอดอยู่ที่โรงพยาบาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ได้นำข้าวกล่องส่งมอบให้กับคณะกรรมการ และชาวบ้านที่มารอบรับในศาลาประชาคมแล้ว ทางประธานชุมชน และ อสม. ยังร่วมตระเวนส่งให้ลูกบ้านตามซอยต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับประทาน ส่วนบางรายที่ต้องกักตัวอยู่บนอพาร์ตเม้นชั้นสูง ๆ ต้องใช้วิธีโรยเชือกลงมารับข้าวกล่องปันอิ่ม 

นอกจากนี้ หลังมอบอาหารแก่ทางชุมชนแล้ว ทีมงานพันธมิตรจิตอาสา ยังนำข้าวกล่องพร้อมทานมอบให้กับ นักข่าวภาคสนาม พนักงานรักษาความปลอดภัย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ ในยามลำบากได้ในระดับหนึ่ง

หมอธีระวัฒน์ เตือนเด็กฉีดไฟเซอร์ เสี่ยงหัวใจอักเสบ แนะฉีดเชื้อตาย 2 เข็ม ก่อนฉีดกระตุ้นต่อด้วยวัคซีนอื่น

เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 64 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ข้อความระบุว่า “ในกลุ่มเด็กควรได้รับวัคซีนทั้งหมดครับ แต่มีข้อควรระวังอย่างสูงในกรณีของวัคซีนไฟเซอร์เกี่ยวข้องกับหัวใจอักเสบที่จะพบได้ในกลุ่มอายุเช่นนี้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ”

“การฉีดวัคซีนเชื้อตาย “สองเข็ม” น่าจะให้ความปลอดภัยได้มากกว่า และหลังจากนั้นจะฉีดกระตุ้นต่อด้วยวัคซีนอื่น โดยวิธีเข้าชั้นผิวหนัง ก็ทำได้โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการควบคุมสายพันธุ์ต่าง ๆ และให้ความปลอดภัยด้วย”


ที่มา : https://www.facebook.com/thiravat.h/photos/a.981731828527038/4850077881692394/


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top