Monday, 7 July 2025
NEWS FEED

'ศรีสุวรรณ' จ่อร้องนายกฯตั้ง กก.สอบปศุสัตว์-กรมศุลกากรไม่ปฏิบัติตามคำแนะกฤษฎีกา

นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้า-ส่งออกทั้งใน-นอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ซึ่งของในเขตปลอดอากรหลายพื้นที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำสินค้าใดๆ เข้ามาในพื้นที่ปลอดอากรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งออกนั้น ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้พื้นที่ปลอดอากรเป็นฮับ (Hub) ของภูมิภาค ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมหาศาล

แต่ปรากฏว่ากรมปศุสัตว์ได้ออกมาคัดค้านเรื่องดังกล่าว โดยอ้างว่าสินค้าปศุสัตว์ทุกประเภทจะต้องขอรับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ตาม ม.31 แห่ง พรบ.โรคระบาดสัตว์ 2558 เสียก่อน จนกลายเป็นข้อขัดแย้งและเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อผู้ประกอบการอย่างมาก ที่จะต้องเพิ่มภาระ ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และเวลา ไปกับการตรวจลงตราของกรมปศุสัตว์ ซึ่งกรณีนี้กรมศุลกากรได้มีการหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วหลายครั้ง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ก.ย.64 ที่ผ่านมา คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แนะให้กรมปศุสัตว์และกรมศุลกากรให้แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการทางบริหารโดยการหารือร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน อันจะนำไปสู่การใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่คำนึงถึงประโยชน์โดยรวมของประเทศ

โดยแนะนำให้พิจารณาผ่อนปรนกฎเกณฑ์ในทางบริหารเพื่อลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ตลอดจนกำหนดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมิให้เป็นภาระจนเกินสมควรแก่ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าปศุสัตว์เข้าไปในเขตปลอดอากรตาม ม.152 แห่ง พรบ.ศุลกากร 2560 และเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยไม่กระทบต่อการคุ้มครองสุขภาพและอนามัยของประชาชนจากความเสี่ยงของการเกิดและแพร่กระจายของโรคระบาดสัตว์ แต่ทว่าจนบัดนี้ การนำเข้าสินค้าปศุสัตว์เพื่อนำมาพักไว้ยังเขตปลอดอากรเพื่อผ่านแดนส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียนก็ยังคงเป็นปัญหาเหมือนเดิม ไม่มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อเพื่อประโยชน์ในการด้านการค้า การลงทุน และความสามารถในการแข่งขันของประเทศแต่อย่างใด

'สภากาชาดไทย' ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 

พลโท นายแพทย์อำนาจ บาลี ผู้อำนวยการสำนักงานบรรเทาทุกข์ ฯ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เข้ารับฟังรายงานสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีจากนายสุทัศน์ นันโท จ่าจังหวัดลพบุรี รักษาการนายอำเภอชัยบาดาล โดยมีนางวัชราภรณ์ รุ่งสาคร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยคณะกรรมการ ฯ และกิ่งกาชาดอำเภอชัยบาดาล ให้การต้อนรับและร่วมรับฟังการบรรยาย พร้อมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมรถผลิตน้ำดื่ม สภากาชาดไทย บริการผลิตน้ำดื่มสะอาด ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ใช้อุปโภค บริโภค พร้อมทั้งมอบชุดธารน้ำใจ ฯ แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 20 ราย  ณ ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น

สภากาชาดฯ โต้ปม ‘ค้ากำไรวัคซีนโมเดอร์นา’ ย้ำชัด!! จัดหาโปร่งใสให้ปชช.ไม่คิดมูลค่า

จากกรณี น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ นักเขียน นักแปลชื่อดัง โพสต์ลงบนเฟซบุ๊ก Sarinee Achavanuntakul โจมตี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ สภากาชาดไทย มีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐ ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งก็คือภาษีประชาชน ในการดำเนินงาน (และบางส่วนมาจากเงินบริจาค) แสวงผลกำไรจากวัคซีนโมเดอร์นา

ล่าสุด เฟซบุ๊ก สภากาชาดไทย ได้ชี้แจงประเด็นที่มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 โดยอ้างอิงข้อความในเฟซบุ๊กของผู้ใช้นาม Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล เรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna โดยเผยแพร่เอกสารมีเนื้อหาระบุว่า

"ตามที่มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เสนอข่าว เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 โดยอ้างอิงข้อความในเฟซบุ๊กของผู้ใช้นาม Sarinee Achavanuntakul – สฤณี อาชวานันทกุล ซึ่งเขียนข้อความทำนองว่าสภากาชาดไทยใช้เงินของตัวเองจองโควตาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna ผ่านองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อนำมาขายต่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั่วประเทศนั้น

ข้อความและข่าวดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อการดำเนินงานของสภากาชาดไทย ดังนั้น สภากาชาดไทยจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้

1.) สภากาชาดไทยเป็นองค์กรการกุศลที่มีรายได้เป็นเงินบริจาคจากพี่น้องประชาชน และได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสภากาชาดไทยไม่ได้เป็นหน่วยงานภาครัฐโดยตรง

2.) เดือนเมษายน 2564 ท่ามกลางสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่มีการระบาดรุนแรงมากขึ้น สภากาชาดไทยได้ริเริ่มจัดหาวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชน โดยได้ติดต่อกับหน่วยงานกาชาดในต่างประเทศ และบริษัทผู้จำหน่ายวัคซีนเพื่อจัดหาหรือขอซื้อวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชนตามภารกิจของสภากาชาดไทย

3.) ผลการประสานงานกับ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายวัคซีนโมเดอร์นาในประเทศไทย ได้ตกลงจะขายวัคซีน จำนวน 1 ล้านโดส ให้แก่สภากาชาดไทย แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อผ่านหน่วยงานของรัฐ คือ องค์การเภสัชกรรม จึงจะขายให้ได้เพราะเป็นนโยบายของบริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกา

3 กลุ่มไหน ไม่น่า 'ทานเจ'

แม้เทศกาลกินเจ ถือศีลกินผัก จะเป็นกิจกรรมที่ใครหลายคนอยากเข้าร่วม แต่การรับประทานเจ ก็ยังมีข้อจำกัดแก่บางกลุ่มบุคคล เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างด้วย

“ผบ.ทอ.” รับมอบ “รพ.สนาม BDMS สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)” จากบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หลังร่วมกันจัดตั้งและรักษาผู้ป่วย COVID-19 ระดับสีเหลือง-แดง โดยหลังจากนี้จะให้บริการภายใต้ชื่อ “รพ.สนามสนามกองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)”

ที่สนามกองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)” พล.อ.อ.นภาเดช  ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เป็นประธานในพิธีรับมอบ “โรงพยาบาลสนาม BDMS สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)” จาก แพทย์หญิง ปรมาภรณ์  ปราสาททองโอสถ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายแพทย์ ดุลย์  ดำรงศักดิ์ ผู้ช่วยประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ รองศาสตราจารย์ อัจจิมา  เศรษฐบุตร กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิเวชดุสิต ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อจัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลสนามกองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)”

ด้วยในห้วงที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการขยายวงกว้างมากขึ้นและแพร่ระบาดไปในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดจากกรณีที่ โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ มีจำนวนผู้ขอเข้ารับการตรวจคัดกรองจำนวนมากในแต่ละวัน และมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันเช่นกัน

กองทัพอากาศ จึงได้ผนึกกำลังกับ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จํากัด (มหาชน) หรือ BDMS ในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ภายใต้ชื่อ “โรงพยาบาลสนาม BDMS สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์)” เพื่อเป็นการ รองรับสถานการณ์ดังกล่าวร่วมกัน โดยได้ปรับปรุงสนามกีฬาเปลี่ยนให้เป็นโรงพยาบาลสนาม สนับสนุนทีมแพทย์และบุคลากรจากเครือ BDMS โดยมูลนิธิเวชดุสิต ฯ เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ โดยกองทัพอากาศให้การสนับสนุนสถานที่และบุคลากรดูแลรักษาความปลอดภัย

โรงพยาบาลแห่งนี้มุ่งเน้นให้บริการผู้ป่วยระดับสีเหลือง-แดง พร้อมนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและทีมงานเป็นสำคัญ อาทิ การใช้หุ่นยนต์ในการส่งยาและอาหาร การติดต่อสื่อสารผ่าน Line Official ส่งผู้ให้ผู้ป่วยทุกรายได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและปลอดภัย มีขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม – 10 กันยายน 2564 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทั้งสิ้น 230 ราย รักษาหาย 198 ราย ส่งต่อไปรับการรักษา ณ โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนด้วยปัญหาของโรคอื่น ๆ 32 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต

ผลศึกษา ‘โมลนูพิราเวียร์’ ต้านได้ทุกสายพันธุ์ เปิดไทม์ไลน์เข้าไทย ได้ใช้เร็วที่สุด ธ.ค.นี้

สธ.เผยผลศึกษา ‘โมลนูพิราเวียร์’ ใช้ได้ผลดีในกลุ่มอาการเล็กน้อย-ปานกลาง ยับยั้งโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ พร้อมเปิดไทม์ไลน์เข้าไทย ได้ใช้เร็วที่สุด ธ.ค.นี้

วันที่ 6 ต.ค. 64 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงความคืบหน้ายาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์ ระบุว่าการฉีดวัคซีนทำให้ผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตลดน้อยลงได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ บางรายจึงอาจมีการติดเชื้อและมีอาการหนักได้ ซึ่งกรมการแพทย์ได้หารือกับบริษัทต่างๆ ที่ทำการทดลองยาต้านไวรัสในต่างประเทศมาโดยตลอด รวมถึงยาโมลนูพิราเวียร์ ด้วย 

โดยยาต้านไวรัสตัวนี้ คือยาต้านไวรัสโดยการยับยั้งการจำลองตัวเองของเชื้อโควิด-19 เมื่อเชื้อไวรัสไปอยู่ในเซล เชื้อจะไปจำลองตัวเองเพื่อแบ่งตัว ทำให้ไวรัสมากขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่อสู้ไม่ได้ แต่ยาโมลนูพิราเวียร์จะไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนตัวเองของไวรัส ซึ่งข้อมูล ณ ขณะนี้ยืนยันว่าสามารถใช้ได้กับโควิดเกือบทุกสายพันธุ์ที่มีในปัจจุบันทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม แกมมา เดลตา หรือมิว 

ในการวิจัยของบริษัทผู้ผลิตเป็นแบบสุ่มระยะที่ 3 MOVe-OUT Trial ซึ่งการใช้ยาตัวนี้จะใช้ในผู้ป่วยอาการเล็กน้อย - ปานกลาง ยังไม่ได้รับวัคซีน และจะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรงอย่างน้อย 1 ปัจจัย คือ ภาวะอ้วน, อายุ 60 ปีขึ้นไป, เบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง ซึ่งจะให้ยาภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ

จากข้อมูลการวิเคราะห์เบื้องต้น ในผู้ที่ได้รับยา 775 คน แบ่งเป็นได้ยาโมลนูพิราเวียร์ 385 คน และยาหลอก 377 คน โดยยามีขนาดเม็ดละ 200 มิลลิกรัม ให้ครั้งละ 4 เม็ด 800 มิลลิกรัม เช้า - เย็น รวมวันละ 1,600 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วันรวม 40 เม็ด พบว่าลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาล และเสียชีวิตประมาณ 50% ไม่พบผู้เสียชีวิตในผู้ที่ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ และเสียชีวิต 8 รายในผู้ที่ได้รับยาหลอก  อย่างไรก็ตาม ในการทดลองใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก พบว่าไม่ได้ผล จึงได้เลิกการวิจัย

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินการของยาโมลนูพิราเวียร์นั้น บริษัท Merck ผู้ผลิตจะดำเนินการยื่นขอการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน ถ้าผ่านการขึ้นทะเบียนจะเป็นยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดตัวแรก ที่จะได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐฯ ซึ่ง Merck ตั้งเป้าผลิตให้ได้สำหรับ 10 ล้านคน ภายในสิ้นปีนี้ หรืออีก 3 เดือน โดย Merck มีแผนการทำสัญญากับฐานการผลิตยาหลายแห่งในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ในเอเชียมีการหารือร่วมกับประเทศอินเดีย 5 - 6 บริษัท

จ่อชง ศบค.ผ่อนคลายเพิ่มในอีก 2 สัปดาห์ หลังหลายพื้นที่สีแดงเข้ม ตัวเลขติดเชื้อต่ำกว่าร้อย 

(6 ต.ค. 64) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงตอนหนึ่งว่า สำหรับคลัสเตอร์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้ในพื้นที่กทม. และปริมณฑล พบคลัสเตอร์บุคลากรทางการแพทย์ ขอเน้นย้ำประชาชนที่ไปโรงพยาบาลเนื่องจากมีไข้ มีอาการทางเดินหายใจให้แจ้งข้อมูลให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบ และมีการตรวจไข้ตรวจโควิดทุกราย

ทั้งนี้ จ.ตราด พบคลัสเตอร์โรงงาน, จ.จันทบุรี พบคลัสเตอร์โรงงาน คลัสเตอร์คนงานเก็บผลไม้ และคลัสเตอร์อู่ซ่อมรถ, จ.ชลบุรี พบคลัสเตอร์โรงงาน และคลัสเตอร์โรงไฟฟ้า, จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบคลัสเตอร์แพปลา, จ.ระยอง พบคลัสเตอร์แพปลา และคลัสเตอร์ในค่ายทหาร

“ลุงตู่ - ลุงป้อม” ห่วงใยชาวแฟลตดินแดง มอบ "รมว.เฮ้ง" ส่ง ทปษ.รมว. แจกข้าวกล่องสู้โควิด-19

วันที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 15.30 น. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่มอบข้าวกล่อง ครัวลุงตู่ ลุงป้อม ซึ่งได้ให้แม่ค้าในชุมชนได้ทำข้าวกล่องในมื้อเย็น เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ จำนวน 1,500 กล่อง เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านชุมชนดินแดงที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 3 แห่ง ๆ ได้แก่

จุดแรกที่โครงการฟื้นฟูเมืองดินแดงระยะที่ 1 (ดินแดงแปลงจี) หลังมัสยิดมูฮายีรีน จำนวน 400 กล่อง โดยมี นายสมัย แสงชาติ ประธานคณะกรรมการชุมชนโครงการฟื้นฟูเมืองดินแดงระยะที่ 1 (ดินแดงแปลงจี) จุดที่สอง ที่บริเวณสนามอาคาร 8 ชั้น แยกประชาสงเคราะห์ ตรงข้ามโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ จำนวน 400 กล่อง โดยมี นางศิริเพ็ญ สาปณ ประธานชุมชนดินแดง 1 เป็นผู้รับมอบ และจุดที่สาม ที่บริเวณลานกีฬา 51 ซอยประชาสงเคราะห์ 11 ใกล้ตลาดเคหะชุมชนดินแดง 2 จำนวน 700 กล่อง โดยมี นายวิชาญ เขียวแก้ว ประธานคณะกรรมการเคหะชุมชนดินแดง 2 และชาวแฟลตดินแดงร่วมรับมอบ

นางธิวัลรัตน์ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานและประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยติดเตียง และชาวแฟลตดินแดงที่ไม่มีรายได้เนื่องจากผลกระทบโควิด จึงได้สั่งการให้ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้แม่ค้าในชุมชนได้ทำข้าวกล่องในมื้อเย็น เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ จำนวน 1,500 กล่อง ในวันนี้ท่าน รมว.แรงงาน จึงได้มอบหมายให้ลงพื้นที่มอบข้าวกล่องให้แก่ชาวบ้านชุมชนดินแดงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในมื้อเย็น รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. จนถึงวันที่ 12 ต.ค.64 เป็นเวลา 27 วัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบโควิด-19 ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว

 

'อัษฎางค์' โพสต์แสดงความยินดี 'ราชมงคล' หลังชื่อวิทยาเขตเดิมทั้ง 5 ยังคงอยู่ต่อไป

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า... 

ขอร่วมแสดงความยินดีที่ชื่อ "ราชมงคล" 
และชื่อวิทยาเขตเดิมทั้ง 5 ยังคงอยู่ต่อไป   

ภาคีเครือข่ายศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 5 วิทยาเขต และสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อันประกอบด้วย... 

- นายกสมาคมนักเรียนเก่าช่างกลพระนครเหนือ
- นายกสมาคมศิษย์เก่าพณิชยการพระนคร 
- นายกสมาคมศิษย์เก่าโชติเวช
- กรรมการสมาคมศิษย์เก่า มทร.พระนคร
- ที่ปรึกษาสมาคมศิษย์เก่าพณิชยการพระนคร และ 
- กรรมการสมาคมนักเรียนเก่าช่างกลพระนครเหนือ

'หมอมนูญ' ชี้ยา 'โมลนูพิราเวียร์' ตัวเปลี่ยนเกม ช่วยโควิดในไทย 'ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต'

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่า

เปรียบเทียบประสิทธิภาพยาเม็ดฟาวิพิราเวียร์กับยาโมลนูพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพช่วยให้อาการดีขึ้น ลดความรุนแรงของโรค ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย ลดการใช้ออกซิเจนได้ แต่ช่วยได้น้อยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ช่วยลดการเสียชีวิตในคนไข้โรคโควิด-19

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่คิดค้นยาฟาวิพิราเวียร์ รวมทั้งหลายประเทศไม่รับรองให้ใช้ยาตัวนี้ในการรักษาโรคโควิด ด้วยเหตุผลให้ยากับไม่ให้ยา ผลการรักษาต่างกันน้อยมาก และยังได้ผลข้างเคียงจากยา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top