Friday, 4 July 2025
NEWS FEED

เปิดผลสำรวจประชาชนกว่า 90% ปลื้มผลงานกระทรวงเกษตรฯ ในปี 65 พึงพอใจนโยบาย 'ตลาดนำการผลิต' และแอพพลิเคชัน เกษตรดิจิตอล มากสุด

เป็นหน่วยงานมีคุณธรรม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความมั่นคงและบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ

(5 ม.ค. 66) รศ.ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการสำรวจความความพึงพอใจของผู้รับบริการ และสำรวจการรับรู้ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปี 2565 เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2565 - 2 มกราคม 2566 กระจายกลุ่มตัวอย่างในทุกจังหวัดของประเทศไทย จำนวน 1,678 ชุด พบว่า ร้อยละ 87.39 ประชาชนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการปฏิบัติงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปี 2565

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบของขวัญวันเด็ก 1.8 แสนชิ้น แด่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบให้กับเด็กและเยาวชน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566

วานนี้ (วันพุธที่ 4 มกราคม 2566  เวลา 15.00 น.) นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ  พร้อมด้วยคณะกรรมการ และผู้บริหารมูลนิธิฯ เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบของขวัญวันเด็ก ประกอบด้วย สมุด ดินสอ ดินสอสี และไม้บรรทัด จำนวน 180,000 ชิ้น นำไปแจกจ่ายแก่เด็กและเยาวชน เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

โดยในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง กำหนดมอบชุดของขวัญวันเด็กให้กับนักเรียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย โดยมีผู้แทนโรงเรียนเป็นผู้รับมอบ  รวมทั้งจัดให้มีการส่งชุดของขวัญวันเด็กของมูลนิธิฯ เพื่อมอบให้กับเยาวชนในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ 

‘ศักดิ์สยาม’ ลงนามตั้ง 10 คณะกรรมการ สอบปมเปลี่ยนป้ายชื่อ ‘สถานีกลางบางซื่อ’

(5 ม.ค. 65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงนามในคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ เป็น ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้ว

โดยประกาศเนื้อหาระบุว่า ตามที่ปรากฏข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย (Social Media) และ เว็บไซต์ข่าว เกี่ยวกับการลงนามในสัญญาจ้างการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีมูลค่าสูงถึง 33 ล้านบาทเศษ (วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวน 34 ล้านบาท) มีราคากลางคำนวณ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2566 จำนวน 33,169,726.39 บาท โดยใช้วิธีการจัดซื้อหรือจ้างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้ที่ได้รับ การคัดเลือกและราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง ได้แก่ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ

เป็นเหตุให้มีการตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมในการใช้งบประมาณ รวมถึงนายสราวุธ สราญวงศ์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่ใช่เหตุของความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยใช้วิธีการว่าจ้างเอกชนด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยสูญเสียงบประมาณในการว่าจ้างปรับปรุงป้ายชื่อที่มีมูลค่าสูงเกินกว่าปกติ

ทั้งนี้ หากดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยวิธีการประกาศเชิญชวนหรือวิธีการคัดเลือกก่อนจะทำให้การใช้งบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวว่า ได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร และการใช้งบประมาณเหมาะสมกับปริมาณงาน และราคากลางของกรมบัญชีกลางหรือไม่ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาลและรักษาผลประโยชน์ของชาติ จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 แต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

'อนุทิน' ย้ำ!! มาตรการดูแล นทท.ทุกชาติเท่าเทียม วอน!! อย่าตั้งป้อมกับจีน เพราะไม่เคยขัดแย้งกัน

‘อนุทิน’ ย้ำ มาตรการดูแลนักท่องเที่ยวทุกชาติเท่าเทียม ชี้ ปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยน วอน อย่าตั้งป้อมรับจีน เพราะไม่เคยขัดแย้งกัน

(5 ม.ค. 66) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมเตรียมความพร้อมรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นท์ ว่า วันนี้ข้อสรุปแต่ละมาตรการมีอยู่แล้ว และจะนำมาหารือและแจ้งให้แต่ละหน่วยงานทราบในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนที่จะเข้ามาในไทย ที่คาดว่าในต้นปีจะมีประมาณ 4-5 หมื่นคน และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับทราบมาตรการรองรับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน แล้วจะสอบถามกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรื่องค่าเหยียบแผ่นดิน ที่เปรียบเหมือนการทำประกันของนักท่องเที่ยว ที่จะต้องดูนักท่องเที่ยวที่เจ็บป่วย ไม่เฉพาะโควิด-19 จะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ จะได้มีงบประมาณดำเนินการ ขณะที่ระบบสาธารณสุขของไทย ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็มีงบประมาณก้อนหนึ่งสำหรับดูแลนักท่องเที่ยวต่างชาติเช่นกัน 

ผู้สื่อข่าวถามว่านักท่องเที่ยวจีนจะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทันทีที่ถึงสนามบินหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า เรื่องนี้กรมควบคุมโรค จะกำหนดมาตรการออกมาตามสถานการณ์ และจะมีข้อกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ และต้องทำเต็มที่กับทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เมื่อถามว่ามาตรการป้องกันกรณีที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาครั้งนี้แตกต่างจากที่ผ่านมาอย่างไร นายอนุทิน กล่าวว่า เราจะใช้มาตรการที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด และเรารับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะกับจีน แต่อีกทางจะต้องเน้นที่ตัวเองต้องหุ้มเกราะ คือฉีดวัคซีนให้เรียบร้อยก่อน อย่างน้อย 4 เข็มเพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงโดยสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะและพื้นที่แออัด ในส่วนของนักท่องเที่ยวจีน เขามีการตรวจก่อนเดินทางออกนอกประเทศและเมื่อกลับเข้าประเทศ ในขณะที่สถานทูตจีน ได้ประสานกับโรงพยาบาลที่จะทำการรักษาไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้นักท่องเที่ยว ที่เข้ามาสามารถเดินทางไปได้ทั่วประเทศ ไม่ได้แบ่งว่าเป็นนักท่องเที่ยวชาติไหน เพราะเราถือว่าเป็นนักท่องเที่ยวทั้งหมด แต่ละคนก็มาจากประเทศที่มีการติดเชื้ออยู่ที่ว่าจะเป็นเชื้อใหม่หรือเก่า ถ้าเป็นเชื้อใหม่ มาตรการรับมือก็เปลี่ยนได้ ดังนั้นอย่านำมาตรการของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น เพราะนี่ประเทศไทยไม่เหมือนกัน

เมื่อถามว่าทางประเทศจีน ระบุในทำนองจะมีมาตรการตอบโต้ประเทศที่ปฏิเสธรับคนจีน นายอนุทิน กล่าวว่า เราไม่ได้มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับจีน และมีความสัมพันธ์ที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอด

‘ไฮโซพก’ แจง เลิกรา ‘อั้ม พัชราภา’ จริง ยัน!! ไม่มีมือที่สามตามที่เป็นข่าวแน่นอน

(5 ม.ค. 66) หลังมีข่าวออกมาว่าความสัมพันธ์ของ อั้ม-พัชราภา ไชยเชื้อ กับ ไฮโซพก-ประธานวงศ์ พรประภา ได้ปิดฉากลงแล้ว โดยมีนางเอกชื่อดัง อักษรย่อ ม. เป็นมือที่สาม ล่าสุด ไฮโซพก ประธานวงศ์ ได้ออกมาโพสต์ชี้แจง ยอมรับว่าเลิกกันจริงกับสาวอั้ม แต่ยืนยันงานนี้ไม่มีมือที่สามแน่นอน

โดยไฮโซพกได้โพสต์ข้อความลงในสตอรี่ อินสตาแกรมส่วนตัว ระบุว่า "ผมเห็นข่าวแล้วไม่ค่อยสบายใจจึงตัดสินใจเสริมเรื่องราวให้นิดนึงนะครับ ตอนนี้ผมเห็นหลายบุคคลได้โดนโยงเข้ามาก็เห็นควรที่จะต้องออกมาอธิบายนิดนึงในเรื่องที่คิดว่าควรเป็นเรื่องส่วนตัว ผมรู้สึกไม่ดีที่ต้องทำให้คนที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเลย ต้องมาเดือดร้อนเพราะเรื่องของผม ตั้งแต่เราคบกันมาผมไม่เคยมีแม้แต่คิดว่าจะมีหรือ อยากมีมือที่สาม ด้วยความที่คุณอั้มเป็นผู้หญิงที่ดีที่ผมรักและให้เกียรติมาโดยตลอด

อาลัย!! 'มามาฮัจยะฮฺซอฟียะฮฺ พิศสุวรรณ' มารดา ดร.สุรินทร์ ผู้สร้างคุณูปการแก่สังคม 'ไทย-มุสลิม' บนแผ่นดินสยาม

(5 ม.ค. 66) ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผอ.ศวฮ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Dr.Winai Dahlan’ ความว่า...

วานนี้พุธที่ 4 มกราคม 2566 มามาฮัจยะฮฺซอฟียะฮฺ พิศสุวรรณ อายุ 97 ปี มารดา ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้คืนกลับสู่อัลลอฮฺตะอาลาแล้วอย่างสงบ ณ บ้านที่ปอเนาะบ้านตาล รร.ประทีปศาสน์ จ.นครศรีธรรมราช ในนามของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครอบครัวดะห์ลัน ขอแสดงความเสียใจมายังครอบครัวพิศสุวรรณทุกคน สิ่งที่มามาทิ้งไว้คือคุณความดีมากมาย ความเสียใจและเสียดายของลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก เป็นการจากไปอย่างยิ่งใหญ่ดั่งขุนเขา

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ บุตรชายของมามาจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 ก่อนมามากว่าห้าปี ภารกิจที่ท่านทิ้งค้างไว้ในวันเดียวกันนั้นคือ การเป็นประธานเปิดงาน Thailand Halal Assembly 2017 ซึ่งท่านแต่งตัวเตรียมเดินทางไปเปิดงานแทนท่านนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตามแม้ท่านพลาดภารกิจนี้ทว่าท่านกลับปฏิบัติภารกิจสุดท้ายในชีวิตที่สำคัญกว่าได้ลุล่วงนั่นคือการเดินทางกลับจากญี่ปุ่นและตรงไปกอดมารดาของท่านด้วยความรักอย่างที่สุดที่ปอเนาะบ้านตาล อันเป็นภารกิจที่ท่านปฏิบัติเป็นประจำจากนั้นจึงบินกลับกรุงเทพฯวันรุ่งขึ้นเพื่อเปิดงานให้กับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ทว่าท่านกลับคืนสู่อัลลอฮฺตะอาลาในวันนั้นอย่างที่บอก ทราบจากครอบครัวท่านว่าทุกคนพยายามปิดข่าวการจากไปของ ดร.สุรินทร์มิให้มามาทราบเนื่องจากเวลานั้นมามาสุขภาพไม่ดีนัก

'อลงกรณ์' กร้าว!! ปี 66 จะเป็นปีแห่งเทคโนโลยีเกษตรไทย หลังเดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC 'อำเภอ-ตำบล' ทุกจังหวัด

'อลงกรณ์' เดินหน้าจัดตั้งศูนย์ AIC อำเภอและตำบลทุกจังหวัดเร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรเป็นคานงัดปฏิรูปภาคเกษตรครั้งใหญ่

(4 ม.ค. 66) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) เป็นประธานการประชุมผ่านระบบทางไกลออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ครั้งที่ 1/2566

โดยนายอลงกรณ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารชั้นนำของโลกหรือครัวของโลก (Kitchen of the World) ดังนั้นการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์ (Made in Thailand) จึงเป็นคาดงัดที่สำคัญ ในการสร้างจุดเปลี่ยนให้กับภาคเกษตรและเศรษฐกิจของประเทศจึงขอให้ปี 2566 เป็นปีแห่งเทคโนโลยีเกษตรไทยเพื่อยกระดับการพัฒนาภาคเกษตรและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สู่เป้าหมาย 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง / มาตรฐานสูง และรายได้สูง สอดคล้องกับหมุดหมายเกษตรมูลค่าสูง (Value Shifted) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 

โดยจะมีการพัฒนาโครงสร้างและระบบใหม่ในปีนี้ได้แก่...

1. ในระดับประเทศ 
คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0และคณะกรรมการบริหารAICในระดับประเทศจะเป็นแกนหลักในการจัดตั้งสร้างองค์กรเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ภาควิชาการและสถาบันเกษตรกรต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขยายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมและข้อมูลข่าวสารตลอดจนการส่งเสริมการค้าการลงทุนการอบรมบ่มเพาะและถ่ายทอดองค์ความรู้

2. ในระดับจังหวัด
เพิ่มความร่วมมือระหว่างศูนย์ความเป็นเลิศ(AICประเภทCenter of Excellence :CoE) 23 ศูนย์ กับศูนย์ AICระดับพื้นที่(AIC area based)ทั้ง 77 จังหวัด เนื่องจากศูนย์ความเป็นเลิศจะมีความรู้เฉพาะด้าน เป็นองค์ความรู้ความสามารถระดับไทยระดับโลก จำเป็นที่จะต้องให้มีการแลกเปลี่ยน ร่วมมือ และถ่ายทอดองค์ความรู้เฉพาะด้านลงสู่ระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ลงไปใช้ใน77จังหวัดจึงให้มีการจัดประชุมร่วมในเดือนหน้า เพื่อวางแนวทางความร่วมมืออย่างเป็นระบบ

3. ในระดับอำเภอ
จัดตั้งศูนย์AICอำเภอขึ้นในสำนักงานเกษตรอำเภอ เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจากศูนย์ระดับจังหวัดมาสู่ระดับอำเภอ รวมถึงศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 23 ศูนย์ด้วย เพื่อให้องค์ความรู้สามารถลงสู่พื้นที่ได้ทุกระดับ

4. ในระดับตำบล
ให้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ AIC ในระดับตำบลที่อบต.หรือเทศบาลตำบลขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 7,255 ตำบล โดยให้ศพก.ที่มีอยู่ 882 แห่ง รวมทั้งเครือข่าย ศพก.และแปลงใหญ่ เป็น AIC Station สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับหมู่บ้านตำบลชุมชนใน 76 จังหวัดและ 50 เขตในกทม.

5. จัดตั้ง 'อาสาAIC' ตำบล
ดำเนินการเปิดรับสมัคร หรือคัดสรร อาสา AIC ตำบลละ อย่างน้อย 1 คน โดยสรรหาจาก Young Smart Farmer  Smart Farmer และเปิดรับสมัครผู้ที่มีความสนใจและมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในการเดินหน้าร่วมการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ของตนเอง

6. การจัดทำระเบียบกระทรวงว่าด้วยการบริหาร AIC เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

ทั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0
ดังนี้...

1. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีความก้าวหน้าการดำเนินงานการจัดทำ Big Data ด้านเกษตร ระดับจังหวัด โดยมีการต้ังคณะทํางานภายในสศก.เพื่อขับเคลื่อนการจัดทํา Big Data ด้านการเกษตร ซึ่งขณะนี้ (ม.ค. - ก.พ. 66) อยู่ในช่วงของการวิเคราะห์ผลการสํารวจและจัดลําดับความสําคัญ คาดว่าหน่วยงานในพื้นที่จะสามารถใช้ประโยชน์จาก Dashboard ที่สมบูรณ์แล้ว ภายในเดือน ก.ย. 66  และผลการดำเนินงานแนวทางการบูรณาการ Application (Super App) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปัจจุบันที่ให้บริการอยู่ในรูปแบบของ Web Application Mobile Application และระบบการบริการภาครัฐ ท่ีได้ถูกแปลงให้เป็นดิจิทัลแล้ว มีจํานวน 175 บริการ โดยวางแนวทางดังนี้...

1) พัฒนา Application ที่มีความสามารถเฉพาะอย่าง ตามภารกิจ ของหน่วยงาน 

2) พัฒนา Application ที่มีเป็นศูนย์รวมการให้บริการ ที่เกษตรกร สามารถติดตั้งใช้งาน โดยไม่ใช้ทรัพยากรมาก โดยการเรียกใช้บริการ จะดําเนินการผ่าน API ที่แต่ละหน่วยงานจัดเตรียมไว้และมีระบบการยืนยันตัวตนที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน 

3) ระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูล National Single Window (NSW) หน่วยงานใน กษ.จำนวน 5 หน่วยงาน  57 บริการ คือ  e-Payment และ e-Signature

2. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังโดยมีการพัฒนาและวิจัยเครื่องขุดมันสำปะหลังแบบไถหัวหมู เครื่องขุดและเก็บมันสำปะหลัง เครื่องตัดต้นมันสำปะหลังแบบติดตั้งหน้ารถแทรกเตอร์ ซึ่งร่วมกับ บริษัท บีทีโอโตพาร์ท เป็นภาคเอกชนที่นำผลงานวิจัย ไปทำการผลิตและจำหน่าย เป็นการพัฒนาและต่อยอดผลการวิจัยข้างต้นให้เป็นต้นแบบ 'เครื่องเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังแบบกึ่งอัตโนมัติ'

การจัดทำเสนอโครงการการพัฒนาและวิจัยที่จะดำเนินการเสนอ สวก. ในการของงบประมาณการวิจัย 3 โครงการ ได้แก่ โครงการการพัฒนา IoTs Platfrom สำหรับการผลิตทุเรียนแปลงใหญ่อัจฉริยะ โครงการการพัฒนาแอปพลิเคชันทำนายและตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช (โรคพืช แมลงศัตรูพืชและวัชพืช) ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรอัจฉริยะ (เครื่องสาง + ม้วนใบอ้อย) เพื่อแก้ปัญหาการเผาอ้อย และรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับบริษัท ล็อกซ์เลย์ จำกัด  (มหาชน) เพื่อขับเคลื่อนแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะข้าว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการหารือประเด็นสนับสนุนการลดภาษีการนำเข้าเครื่องดังกล่าว และการติดตั้งซิมการ์ด การเชื่อมโยงและการเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศของเกษตรกร เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอัจฉริยะ

ดึงสติโซเชียล!! หลังคนจีนแห่เที่ยวไทย จงเป็นเจ้าภาพที่ดี ที่อยู่กับโควิดให้เป็น

จากกรณีจีนเปิดประเทศ และมีการประมาณการนักท่องเที่ยวจีนในไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม 2566) จะมีจำนวนประมาณ 3 แสนคน คิดเป็น 5% ของนักท่องเที่ยวทุกชาติรวมกัน โดยคาดว่ามกราคมจะเข้ามา 60,000 คน กุมภาพันธ์ 90,000 คน และมีนาคม 150,000 คนนั้น ทำให้มีคนจาก 2 ฟากฝ่ายที่ทั้งยินดีต้อนรับ และอคติว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวจีนจะนำพาเชื้อโควิดเข้ามาระบาดสู่ไทยครั้งใหญ่ ซึ่งเรื่องนี้ 2 แพทย์ชั้นนำของไทยได้ให้ความกระจ่างแบบไม่ต้องตื่นตระหนก เพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดี และมีความปลอดภัยไว้ ดังนี้...

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ที่ปรึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวไว้ว่า “คนจีนนำรายได้เข้าประเทศเราไม่น้อย ดังนั้นสิ่งที่เราควรระวัง ไม่ใช่ระวัง ‘เขา’ แต่เราต้องลดความเสี่ยง ใส่หน้ากาก เว้นระยะ ล้างมือบ่อยๆ ยังทำได้ไม่ว่ากับโควิด-19 สายพันธุ์ไหนๆ และวัคซีนยังมีอยู่ให้รีบไปฉีดเลย ไม่ต้องรอ”

จีน ปรับมาตรการสู้โควิด เน้นสกัดอาการรุนแรง หันพึ่งพา ‘ยาแผนจีน’ ช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้น

ปักกิ่ง, 4 ม.ค. (ซินหัว) — ปัจจุบันจีนได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เป็น 'คุ้มครองสุขภาพ สกัดอาการรุนแรง' โดยยุทธศาสตร์ส่วนหนึ่งอาศัยจุดแข็งอันมีลักษณะเฉพาะของการแพทย์แผนจีน (TCM)

กลไกร่วมป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 แห่งคณะรัฐมนตรีจีน ได้จัดงานแถลงข่าวเมื่อวันอังคาร (3 ม.ค.) โดยมีคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารการแพทย์แผนจีนแห่งชาติจีน และทีมผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนจีน ร่วมตอบประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง

หมี่เฟิง โฆษกคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีน กล่าวว่า จีนส่งเสริมการบูรณาการแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนตะวันตกในการรับมือโรคโควิด-19 เพื่อเพิ่มอัตราการรักษา ลดอัตราการป่วยหนักและการเสียชีวิต รวมถึงกระตุ้นการหายดีโดยเร็วของผู้ติดเชื้อ

จางจงเต๋อ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน เผยว่ายาแพทย์แผนจีนสามารถช่วยบรรเทาอาการที่เด่นชัด เช่น มีไข้สูง ท้องอืด และท้องผูก ในผู้ติดเชื้ออาการหนัก

หลิวชิงเฉวียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแพทย์แผนจีนปักกิ่ง สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์นครหลวง ระบุว่าปกติผู้ติดเชื้อที่ได้รับการรักษาด้วยยาแพทย์แผนจีนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะมีไข้ลดลงจนอุณหภูมิร่างกายกลับสู่ระดับปกติภายในระยะเวลา 2-3 วันหากมีอาการเจ็บคอ ไอ เสียงแหบ และอื่นๆ สามารถรับประทานยาแพทย์แผนจีนตำรับบำรุงทางเดินหายใจ (ซวนเฟ่ยจื่อเขอ) หากมีอาการเจ็บคอหนักมากสามารถรับประทานยาตำรับขับพิษและบรรเทาการเจ็บปวด (ลี่เยี่ยนเจี่ยตู๋จื่อท้ง) หากมีอาการอ่อนเพลีย อาเจียน และท้องเสีย สามารถรับประทานยาตำรับขจัดความชื้นและพิษ (ฮว่าซือเจี่ยเปี่ยวเล่ย)

‘อนุทิน’ ยัน ความพร้อมมาตรการป้องกันโควิดเตรียมรับนักท่องเที่ยวหลังจีนไหลเข้าประเทศ

‘อนุทิน’ แจงมาตรการป้องกันโควิดรับนักท่องเที่ยวยึดหลักเท่าเทียมทุกชาติ เน้นรับวัคซีน มีประกันสุขภาพ ตรวจสายพันธุ์ไวรัสในน้ำเสียจากเครื่องบินเพื่อการเฝ้าระวัง

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แจงมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19

ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน เตรียมเสนอวันที่ 5 มกราคมนี้ ยึดหลักปฏิบัติเท่าเทียมกันทุกชาติและเป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการ ตรวจเฝ้าระวังเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ในน้ำเสียจากเครื่องบิน ผู้เดินทางต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม มีประกันสุขภาพครอบคลุมการรักษาโควิด-19 พร้อมสื่อสารมาตรการป้องกันตนเอง คาดนักท่องเที่ยวจีนจะทยอยเดินทางมาไตรมาสแรก 3 แสนคน สามารถวางแผนรับมือได้อย่างเป็นระบบ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top