Saturday, 18 May 2024
THE STATES TIMES TEAM

นราธิวาส - วัคซีนโควิด-19 ให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรก 5,000 โดส เป็นบุคลากรทางการแพทย์และและกลุ่มเสี่ยง

วันที่ 5 เม.ย. 2564  ที่อาคารอเนกประสงค์ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์  เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรก โรงพยาบาล 13 อำเภอ ของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 5,000 โดส หลังจากได้รับการจัดสรรวัคซีน “ซิโนแวค” ล็อตแรก จำนวน 5,000 โดส จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามแผนจัดการวัคซีนของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยมีกลุ่มป้าหมายมาลงทะเบียน ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต คัดกรอง ซักประวัติ ประเมินความเสี่ยง ลงนามในใบยินยอมรับวัคซีน รอฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีน พักสังเกตอาการ 30 นาที สแกนไลน์แอป “หมอพร้อม” และตรวจสอบ ก่อนกลับรับเอกสารการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน

โดยเข็มแรกฉีดให้แก่ นพ.สุเทพ หะยีสาและ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสฯ เป็นผู้รับวัคซีนกลุ่มแรกของจังหวัดนราธิวาส  เพื่อสร้างความมั่นใจ และติดตามขั้นตอนการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างใกล้ชิด โดยในช่วงเช้าวันนี้การฉีดวัคซีนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

นายแพทย์นสุเทพ หะยีสาและ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรกรรม เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันแรก ที่โรงพยาบาลนราธิวาสเปิดให้ฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” เป็นความยินดีของเจ้าหน้าที่ที่มารับวัคซีนในส่วนตัวเมื่อวานได้ทำการตรวจสอบแล้วผลเป็น Negative วันนี้เลยมารับวัคซีนที่ผ่านมาจากสถานการณ์ในจังหวัดนราธิวาสเกิดปัญหาด้วยคนไข้ติดโควิด ในเรือนจำเป็นปริมาณมาก ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ได้รับการคอนแทคกับผู้ป่วยรายรายโรงพยาบาลได้เปิดการรับวัคซีนสร้างภูมิต้านทานให้เจ้าหน้าที่ก็หวังว่าบุคคลทั่วไปประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่ ไม่มีสุขภาพที่แข็งแรงเพื่อที่จะได้ดูแลผู้ป่วยต่อไป

วัคซีน “ซิโนแวค” ล็อตแรกนำเข้าเพื่อฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อเพื่อการควบคุมการระบาดเป็นลำดับแรก จังหวัดนราธิวาส ได้รับการจัดสรรวัคซีนระยะที่ 1 วันที่ 5-9 เมษายน 2564 จำนวน 5,000 โดส สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 2,500 ราย จำนวน 125กล่อง กล่องละ 40 โดส แบ่งเป็นอำเภอเมืองนราธิวาส 23กล่อง 920 โดส 460 ราย อำเภอสุไหงโกลก 32 กล่อง 128 โดส   สำหรับกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ผู้เสี่ยงต่อการสัมผัส ประชาชนที่มีโรคประจำตัว และประชาชนทั่วไป โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนราธิวาส พิจารณากระจายวัคซีนตามความเสี่ยงของพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกำหนด


ภาพ/ข่าว  ปทิตตา หนดกระโทก  (ผู้สื่อข่าวนราธิวาสรายงาน)

พิจิตร – วัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกเริ่มฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และ อสม.กลุ่มแรก 900 คน

วันที่ 2 เม.ย. 2564  ที่ รพ.พิจิตร นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานในพิธีรับมอบวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท Sinovac จำนวน 1,800 โดส ซึ่งเพิ่งมาถึงวันนี้ เพื่อฉีดให้บุคลากรสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่มีโอกาสสัมผัสกลุ่มเสี่ยง จำนวน 900 คน ๆ ละ 2 โดส ระยะห่างกัน 4 – 12 สัปดาห์ เป็นการฉีดวัคซีนเป็นครั้งแรกของจังหวัดพิจิตร

ซึ่ง นพ.กมล กัญญาประสิทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร เป็นผู้ลงมือฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับ นพ.สุรชัย แก้วหิรัญ ผู้อำนวยการ รพ.พิจิตร และเข็มที่ 2 ให้กับ นพ.วิศิษฐ์ อภิสิทธิ์วิทยา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ต่อจากนั้นก็เป็นการฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่แล้วมีความเสี่ยง

นพ.วิศิษฐ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายกระจายวัคซีนให้ทุกจังหวัด มีกลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรด้านสาธารณสุขด่านหน้าและเจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย ในส่วนของการฉีดวัคซีนโควิดในครั้งนี้ ถือเป็นการซักซ้อมระบบให้บริการฉีดวัคซีนอีกด้วย ดังนั้นจึงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องจากโรงพยาบาลทั้ง 12 อำเภอมาเรียนรู้ระบบเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ของประชาชน รวมถึงสร้างความมั่นใจในการฉีดวัคซีนว่าปลอดภัยอีกด้วย สำหรับจังหวัดพิจิตร มีประชากรกว่า 5.4 แสนคน การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ต้องฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 3 แสนคน ซึ่งขณะนี้มีชาวพิจิตร สมัครฉีดวัคซีนแล้ว 54% ยังต่ำกว่าเป้าหมาย แต่ก็เริ่มมีผู้สนใจมาติดต่อขอฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น

โดยการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ มี 3 เป้าหมาย คือ เพื่อลดอัตราตาย อัตราป่วยจากโรคโควิด-19 เพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ โดยแพทย์ พยาบาลต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ใช้ผู้ป่วยเสียเอง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดูแลคนไข้ได้ และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้ต่อไป


ภาพ/ข่าว  สิทธิพจน์  พิจิตร

สงขลา - นิพนธ์ เร่ง ศอ.บต. เสนอขอรับงบประมาณ แก้ปัญหาเด็กเล็กพื้นที่ชายแดนใต้มีโภชนาการต่ำ พร้อมติดตามความคืบหน้าการเสนอแนวทางแก้ไขจากทุกภาคส่วน

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนมติ กพต.ประเด็นการแก้ไขปัญหาสุขภาวะ และโภชนาการต่ำของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมสยามออเรียนทัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีนายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ตัวแทนสำนักงบประมาณ  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น และท้องที่ เข้าร่วมประชุมหารือฯ

โดยประเด็นการแก้ไขปัญหาสุขภาวะและภาวะโภชนาการของเด็กๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักประสานงานการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จากการประชุมหารือแนวทางการดำเนินการดังกล่าวที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการจัดทำข้อมูลเด็กและกลุ่มอายุ 0-5 ปีและแนวทางการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะเชื่อมโยงกับการจัดสวัสดิการภาครัฐในเด็กแรกเกิดรวมถึงการดูแลที่เกี่ยวเนื่องในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสถานศึกษาและสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โดยให้รายงานผลการปฏิบัติและแนวทางการจัดทำข้อเสนอในการประชุมครั้งถัดไป

ในการนี้ นายนิพนธ์ รมช.มท. ได้กล่าวสรุปถึงแนวทางในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในส่วนของการขอรับการสนับสนุนงบประมาณว่า "ต้องให้ ศอ.บต. ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณในวงเงิน ประมาณ 165 ล้านบาท โดยเป็นปีงบประมาณ 2565 ซึ่งก็ขอให้ทำเรื่องนี้เข้าในที่ประชุมของคณะกรรมการ กพต.  พร้อมทั้งยื่นต่อคณะรัฐมนตรีในการยื่นขอแปรญัตติ ส่วนหากเป็นไปได้ถ้า covid-19 บรรเทาเบาบางลง ถ้าจะขอใช้งบกลางของท่านนายก ก็ต้องมาดูในเรื่องของความจำเป็น ซึ่งต้องขอให้สำนักงบประมาณดูในส่วนนี้ด้วย เพราะขณะนี้งบประมาณปี 64  ได้เริ่มปีงบประมาณไปแล้ว 6 เดือน และ 6 เดือนที่เหลือในปี 64  ถ้าจะเร่งรัดในการแก้ปัญหานี้เลย ก็ให้ใช้งบประมาณที่เหลือในปี 64 ต้องดูว่าจะใช้ได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งคาดว่าจะยังคงมีงบประมาณอยู่ 70 ล้านบาท แต่ถ้าไม่ได้ก็ต้องใช้งบประมาณในปี 65 เริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ คือเดือนตุลาคมปี 64 แต่ถ้าปีงบประมาณ 65 ไม่ได้ ก็ขอให้ตั้งเป็นงบประมาณของปี 66 เอาไว้ โดยให้อยู่ในแผนขอสนับสนุนงบประมาณ"


ภาพ/ข่าว  นายปรีชา สถิตเรืองศักดิ์  (หาดใหญ่ จ.สงขลา)

 

อุทัยธานี - จัดงานเกษตรอินทรีย์ฯ ปี 2 ชูไฮไลต์ “กัญชาพืชเศรษฐกิจใหม่” ครั้งแรก เพื่อเกษตรกรและนักท่องเที่ยว

จังหวัดอุทัยธานี โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี เทศบาลเมืองอุทัยธานี และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ร่วมกันจัดงาน “เกษตรอินทรีย์ วิถีอุทัย ปี 2… เกษตรปลอดภัย คือความภูมิใจของเรา” ระหว่างวันที่ 9 -10 เมษายนนี้ ณ ตรอกโรงยา อ.เมือง จ.อุทัยธานี พร้อมกระตุ้นและขับเคลื่อน “เกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย” ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ทั้งประชาชนในจังหวัด และนักท่องเที่ยว รวมทั้งชูไฮไลต์ “กัญชาพืชเศรษฐกิจใหม่” ผ่านนิทรรศการ และเสวนาเกี่ยวกับกัญชาในทุกมิติ เพื่อมุ่งให้ความรู้แก่เกษตรกร รวมทั้งผู้ที่สนใจการปลูกกัญชาทางการแพทย์ ตลอดจนการนำเปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ใบ และราก ไปใช้ เพื่อให้นโยบาย "กัญชาเสรี" ถูกนำไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ที่ประเทศไทยได้เริ่มเปิดกว้างในเรื่องกัญชาโดยมีหน่วยงานของรัฐกำกับ 

สำหรับไฮไลต์ในครั้งนี้ คือนิทรรศการ “เกษตรอินทรีย์ วิถีอุทัย” และ “กัญชาพืชเศรษฐกิจใหม่ที่เกษตรกรไทยต้องรู้” ครั้งแรกของจังหวัดอุทัยธานี โดยจะขนต้นกัญชาที่ปลูกได้จริงในจังหวัดอุทัยธานีมาจัดแสดง พร้อมฟังเสวนา “กัญชาทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทยจริงหรือ” โดยเกษตรกรผู้ปลูกกัญชา หน่วยงานภาครัฐ และกูรูด้านกัญชาที่จะมาร่วมพูดคุย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในทุกมิติเกี่ยวกับการปลูกกัญชาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี กล่าวว่า แม้จังหวัดอุทัยธานีจะเป็นจังหวัดเล็ก ๆ แต่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและความโดดเด่นด้านการเกษตร และการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์และมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ถือว่ามีความสำคัญกับจังหวัดอุทัยธานีเป็นอย่างมาก เห็นได้จากทิศทางหรือนโยบายการพัฒนา รวมถึงการขับเคลื่อนด้านการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตภาคการเกษตร สร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้ “เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์” ควบคู่กับพัฒนานวัตกรรมอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและสิ่งเหลือใช้จากภาคเกษตรให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นเทรนด์ที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 

“ปีที่แล้วเราจัดงานเกษตรอินทรีย์วิถีอุทัยขึ้นเป็นครั้งแรก นับว่าได้รับการตอบรับและประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงาน ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้รณรงค์ ส่งเสริมเกษตรกร ให้หันมาผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย โดยลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้องค์ความรู้ใหม่ ๆ จากธรรมชาติ และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม เรายังพยายามผลักดันให้เกษตรกรพัฒนาการผลิตไปสู่ “เกษตรอินทรีย์” ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสูงสุด ตามนโยบายภาครัฐ ตลอดจนพยายามเชื่อมโยงเรื่องเกษตรกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ที่สำคัญในขณะนี้มีกระแสพืชเศรษฐกิจใหม่อย่าง “กัญชา” เข้ามา ซึ่งกัญชาทางการแพทย์จะต้องปลูกแบบอินทรีย์เท่านั้น ทำให้เกษตรกรในจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีองค์ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างดีอยู่แล้ว สามารถต่อยอดไปปลูกพืชกัญชาซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ได้ง่ายขึ้น และคาดว่ากัญชาจะเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างรายได้แก่ประชาชนในจังหวัดในอนาคต”

สำหรับงาน “เกษตรอินทรีย์ วิถีอุทัยปี 2” นอกจากความรู้ด้านการเกษตรแล้ว ผู้เข้าชมงานยังสามารถเลือกซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพจากกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีอุทัย ที่จะนำสินค้าเกษตรปลอดภัย สินค้าเกษตรอินทรีย์ และสินค้าเกษตรแปรรูปที่ขึ้นชื่อของจังหวัด ผลผลิตสด ๆ จากไร่มาให้นักท่องเที่ยวเลือกช้อป เลือกชิมอย่างจุใจในที่เดียว อาทิเช่น พืชผักสวนครัวพื้นบ้าน และผักสลัด, ข้าวอินทรีย์ และเห็ดอินทรีย์, ผลไม้ ได้แก่ ส้มโอ มะม่วง, ผลิตภัณฑ์จากปลาแรด GI จากแม่น้ำสะแกกรัง เช่น ปลาแรดทอดกระเทียม ปลาแรดแดดเดียว แหนมปลาแรด ไส้กรอกปลาแรด ปลาแรดหยอง ซาลาเปาไส้ปลาแรด, ข้าวเกรียบปลาแรด น้ำพริกปลาแรด ทอดมันปลาแรด ห่อหมกปลาแรด, ไข่ไก่ นมพาสเจอร์ไรซ์ 

พลาดไม่ได้กับเมนูสุดฮอตจากวิสาหกิจชุมชนสุขฤทัยเกษตรปลอดภัย และเครือข่ายเกษตรกรกลุ่มต่างๆ เช่น ยำผักกูดกัญชา ข้าวไข่เจียวกัญชา ขนมจีนกัญชา ก๋วยเตี๋ยวกัญชา ผัดกะเพราหมูป่า ชวนชิมน้ำชากัญ ขนมปังเฮฮา สังขยาหัวเราะ จมูกข้าวยิ้ม ขนมกงกัญ และคุ้กกี้สมายด์ ฯลฯ พร้อมไฮไลต์เด็ด การสาธิตเมนูสร้างสรรค์จากกัญชา มาให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองชิม อาทิ เมนูแรดอารมณ์ดี และเตี๋ยวรักกัญ (ชา) กิจกรรมแข่งขันกินข้าวเหนียวมะม่วง รวมทั้งกิจกรรมการแสดงดนตรี การแสดงทางวัฒนธรรม ภายใต้มาตรการวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) รองรับสถานการณ์โควิด – 19 อย่างเคร่งครัด

กรุงเทพฯ - ‘มาดามแป้ง’ ลงพื้นที่เหตุเพลิงไหม้อาคารถล่ม พร้อมมอบเงินเยียวยาช่วยครอบครัวอาสาผู้เสียสละ

‘มาดามแป้ง’ นวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการมูลนิธิมาดามแป้ง รุดลงพื้นที่หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้จนอาคารถล่มที่หมู่บ้านกฤษดานคร 31 ในวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมาเพื่อให้กำลังใจอาสาสมัครที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งเตรียมมอบเงินเยียวยาหรือทุนการศึกษาแก่ทายาทให้ความช่วยเหลือครอบครัวอาสาสมัครที่เสียชีวิตทั้ง 4 ราย นอกจากนี้ยังได้ตั้งครัวมาดามทำอาหารแจกเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ตามเจตนารมณ์สำคัญของการก่อตั้ง

‘มาดามแป้ง’ นวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันภัย ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิมาดามแป้ง ได้เดินทางไปยังพื้นที่เกิดเหตุพร้อมทีมงาน เพื่อให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่กันตลอดคืน โดยยื่นมือให้ความช่วยเหลือครอบครัวของอาสาสมัครที่เสียชีวิตทุกราย พร้อมยกย่องงานอาสาคืองานที่ช่วยเหลือสังคมอย่างแท้จริง และจัดตั้งครัวมาดาม เพื่อสนับสนุนด้านอาหารเครื่องดื่มแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกภาคส่วนที่เร่งปฎิบัติงานในพื้นที่จนกว่าภารกิจจะเรียบร้อยตลอดทั้งวัน

“ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต งานอาสาคืองานที่ต้องทำด้วยใจและต้องเสียสละอย่างแท้จริง ซึ่งวันนี้ทุกท่านได้ทำงานเพื่อสังคมจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต ขอยกย่องทุกท่านด้วยใจ ซึ่งแม้จะเป็นมูลนิธิเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา แต่ก็มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการช่วยเหลือเยียวยาในยามเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ

“วันนี้เราจึงขอมาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเยียวยาทางใจให้แก่ครอบครัวผู้เสียสละ ด้วยทราบว่าทั้ง 4 ท่านมีลูกที่อยู่ในวัยเรียน และมีครอบครัวที่ต้องดูแล จึงหวังจะช่วยบรรเทาความลำบากดังกล่าว และขอเป็นกำลังใจเล็กๆ ให้กับสมาชิกในครอบครัวต่อไป” นางนวลพรรณ กล่าวปิดท้าย

 

นครพนม - ผู้ว่านครพนม ลมออกหู สั่งสอบผู้ประกอบการท่าทราย 10 ล้าน จ่อถอนใบอนุญาตขึ้นแบล็คลิส

ผู้ว่านครพนม เอาจริง สั่งสอบผู้ประกอบการท่าทราย บางรายฉวยโอกาสเลี่ยงจ่ายภาษีให้ท้องถิ่น ติดต่อหลายปี พบมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ตั้งคณะทำงานตรวจสอบ จับตากลุ่มเลี่ยงภาษี ทำรัฐเสียหาย ฉวยโอกาสลักลอบนำเข้าส่งออกสิ่งของผิดกฎหมาย แรงงานต่างด้าว ยาเสพติด พบสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทันที ขึ้นแบล็คลิส ย้ำผู้ประกอบการอย่าเห็นแก่ได้ ต้องทำตามกฎหมาย

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2564 นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.นครพนม เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีปัญหากิจการดูดทรายในพื้นที่ จ.นครพนม ยอมรับว่า ปัจจุบันยังคงมีปัญหา มีผู้ประกอบการบางราย ที่ฉวยโอกาสขออนุญาตดูดทราย ทั้งนำเข้า ซึ่งเป็นส่วนที่ศุลกากรดูแลรับผิดชอบ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 86 วรรค 2 เกี่ยวกับการขออนุญาตนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ในส่วนของจังหวัดนครพนม จะดูแลเรื่องความมั่นคง รวมถึงในมาตรา 9 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการขออนุญาตให้ดูดทราย พ.ศ.2546 โดยเป็นการดูดทรายในราชอาณาจักร แต่จะต้องไม่เป็นพื้นที่มีเขื่อนป้องกันตลิ่ง

ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาต จากทางคณะกรรมการระดับจังหวัดทำการตรวจสอบก่อนออกใบอนุญาต โดยมีอายุ ครั้งละ 1 ปี แต่ปัจจุบันยอมรับว่า จากการตรวจสอบของคณะกรรมการระดับจังหวัด มีผู้ประกอบการบางราย ฉวยโอกาสเลี่ยงจ่ายภาษีให้ท้องถิ่น คือ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ติดต่อกันมาหลายปี มูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตามตรวจสอบแก้ไข

ทั้งนี้การที่จังหวัดนครพนม เห็นชอบกับผู้ประกอบการในการทำกิจการดูดทราย เพราะมีทั้งผลดี และผลเสีย แยกเป็นผลดี คือ ทรายสะสมมากขึ้นทุกปี ทำให้เกาะสันดอนเกิดขึ้นเป็นพื้นที่กว้าง หากมีการดูดทรายจะเกิดประโยชน์ ลดปัญหาการเกิดสันดอนทรายกีดขวางทางน้ำ และส่งผลดีต่อภาคเศรษฐกิจการค้า เกี่ยวกับโครงการก่อสร้าง ส่วนผลเสีย ต้องยอมรับว่ายังมีผู้ประกอบการบางราย ฉวยโอกาสแฝงลักลอบกระทำผิดกฎหมาย ในการนำเข้า ส่งออกของผิดกฎหมาย ยาเสพติด แรงต่างด้าว 

ล่าสุดได้ตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง ในการลงพื้นที่ตรวจสอบดูแล ป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากพบผู้ประกอบการบางรายกระทำผิดระเบียบขั้นตอน จะต้องดำเนินคดี ตามกฎหมายทันที เพราะผู้ประกอบการได้ประโยชน์มหาศาล แต่ละปี แต่กับมีการเลี่ยงภาษี เพราะทางจังหวัดไม่ได้มีการติดตามตรวจสอบ ว่ามีการจ่ายชำระภาษีทุกปีให้ท้องถิ่น จนเกิดปัญหายืดเยื้อมานาน ทั้งที่ได้ประโยชน์มหาศาล 

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ จะต้องตรวจสอบ ทุกราย ซึ่งมีผู้ประกอบการ ยื่นขออนุญาต ประมาณกว่า 20 ราย ในพื้นที่ จ.นครพนม หากใครมีการเลี่ยงจ่ายภาษา จะมีการเพิกถอนใบอนุญาต และขึ้นบัญชีแบล็คลิส ไม่มีการต่อใบอนุญาต รวมถึงเฝ้าตรวจสอบติดตามผู้ประกอบการบางรายที่ฉวยโอกาสหาผลประโยชน์ที่ผิดกฎหมาย จะต้องดำเนินคดี และเพิกถอนใบอนุญาตทันทีหากตรวจสอบพบกระทำผิด 

ซึ่งที่ผ่านมา ยอมรับมีการปล่อยปะละเลยมานาน แต่ทางจังหวัดยินดีอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินการตามกฎหมาย


ภาพ/ข่าว  สุเทพ หันจรัส (ผสข.นครพนม)

จันทบุรี - พบเด็กป่วย ‘โรคเบอรี่ซินโดม’ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มูลนิธิพระพุทธบาทพลวงและคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี เข้าช่วยเหลือเบื้องต้น

ที่บ้านพักของครอบครัวผู้ยากไร้ ที่อาศัยสวนผลไม้ของญาติในบ้านที่ไม่มั่นคง อาชีพรับจ้างทำสานผลไม้ และ รับจ้างทั่วไป ของครอบครัว ศรีบุรุษ ในหมู่บ้านพังตะแคง หมู่ที่ 7 ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี พระครูประดิษฐ์ ศาสนการ เจ้าอาวาสวัดทุ่งตาอินท์ ประธานที่ปรึกษามูลนิธิพระพุทธบาทพลวง / พระครูพุทธบท บริบาล ประธานมูลนิธิพระพุทธบาทพลวง / พระครูปลัดน้ำ มันตะชาโต เลขามูลนิธิพระพุทธบาทพลวง พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมครอบครัว ของ นายสถาพร  ศรีบุรุษ ( น้องอ๋อ ) ที่ป่วยเป็นโรคเบอรี่ซินโดรม ซึ่งเป็นโรคที่รักษาหายยาก เคยเข้ารักษาแล้วแต่ไม่มียารักษาให้หายขาด ต้องใช้เวลา สภาพแวดล้อม และการเอาใจใส่ของคนในครอบครัว

ซึ่งโอกาสเกิดโรคนี้ในประเทศไทย น้อยมากถือว่าเป็น 1 ในล้าน สถิติที่ผ่านมาส่วนใหญ่ที่พบเจอ จะเป็นโรค ดาวน์ซินโดม แต่ผู้ป่วย โรคเบอรี่ซินโดม จะมีอาการหนักกว่า สาเหตุอาจเป็นไปได้หลายทาง ทั้ง พันธุ์กรรมที่มีโครโมโซนเกินจากเด็กปกติทั่วไป หรือ ช่วงตั้งครรภ์ได้รับผลกระทบ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะที่เห็นชัดถึงความแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป  อาการ จะลักษณะคล้ายเด็กที่ป่วยเป็นดาวซินโดม แต่ จะหนักกว่าตรงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย และ จะนิ่งเฉย ขณะเดียวกัน บิดา – มารดา เป็นครอบครัวที่ยากไร้ อาศัยญาติ พี่ น้อง ปลูกสร้างบ้านที่ไม่มั่นคง ต้องรับจ้างทั่วไปรายวันเพื่อเลี้ยงครอบครัว ที่มีน้องชายอีก 1 คน เวลาออกไปทำงาน พ่อ แม่ ต้องนำน้องอ๋อ นั่งรถซาเล้งออกไปดูแลอยู่ใกล้ ๆ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ก็อาจเกิดอันตรายเพราะเด็กไม่รู้สึกตัวเองเลย และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เหมือนเด็กที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดม

ซึ่งหากปล่อยให้เด็กเสียชีวิตไปโดยไม่เหลียวแลก็ดูเหมือนจะผิดนิสัยมนุษย์เมื่อลูกเกิดมาแล้ว สภาพร่างกายแบบไหน พ่อ แม่ ก็ต้องพร้อมเลี้ยงดูจนถึงที่สุด ถึงแม้ชีวิตจะยากลำบาก ยากจนข้นแค้นอยู่แล้ว แต่ก็ต้องทนรับสภาพ ในการที่ มูลนิธิพระพุทธบาทพลวงและคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรีเข้ามาช่วยเหลือเบื้องต้น ทั้งการต่อเติมที่อยู่อาศัยให้มั่นคง หลบแดด ลม ฝนได้ และ อาหารเครื่องอุปโภคบริโภคที่นำมาให้สามารถแบ่งเบาภาระได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะทำบุญช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ยากไร้ ลำบาก สามารถร่วมบริจาคสมทบได้ที่มูลนิธิพระพุทธบาทพลวง หรือที่วัดพลวง และ วัดทุ่งอินท์ อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

ภาพ/ข่าว จรัล บรรยงคเสนา  (ผู้สื่อข่าว จ.จันทบุรี)

นายพรเทพ เขม้นเขตวิทย์ (รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก)

แม่ฮ่องสอน - ผู้ว่าแม่ฮ่องสอนสั่งยกเลิกด่านตรวจ จุดตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019

เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 1  เมษายน  2564  ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้มีคำสั่งยกเลิกด่านตรวจ จุดตรวจจุดคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้ง 3 จุด  อ้างถึง คำสั่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ 2565 / 2563 ลงวันที่ 30  ตุลาคม  2563 และคำสั่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ 14 /2564 ลงวันที่ 4 มกราคม  2564 สำเนาคำสั่ง จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ 650 / 2564 ลงวันที่ 1 เมษายน 25649

ตามที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มีคำสั่งที่ 14 / 2564 เรื่องการจัดตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัดควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 4 มกราคม 2564 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่  1.จุดตรวจแม่อุคอ ทางหลวงแผนดินหมายเลข 1263 ตำบลแม่อูคอ อำเภอุนยวม  2. จุดตรวจหน้าถ้ำ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 หมู่ที่ 8 บ้านป่ากล้วย ตำบลแม่สะเรียง  อำเภอแม่สะเรียง  3. จุดตรวจแม่ปิง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 หมู่ที่ 4 ตำบลแม่ฮี้  อำเภอปาย  จังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019   (COVID – 2019) ในประเทศไทย และในสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา การแพร่ระบาดได้ลดลง  ผู้ว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแม่ฮ่องสอน และผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแม่ฮ่องสอน ครั้งที่  10 / 2564 เมื่อวันจันทร์ที่  8 มีนาคม  2564  จึงได้มีคำสั่งยกเลิก ด่านตรวจ  จุดตรวจ  จุดสกัด การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  จำนวน 3 แห่งดังกล่าว


ภาพ/ข่าว :  เกียรติศักดิ์  รักสัตย์  (ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน)

กรุงเทพฯ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน รณรงค์วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก WORLD AUTISM AWARENESS DAY (WAAD)

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 10.00 น. ณ อาคาร CP-True Autistic Thai Foundation Vocatationl Training Center มูลนิธิออทิสติกไทย กรุงเทพมหานคร

ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน  กล่าวให้โอวาทเรื่องการส่งเสริมการจ้างงานและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานของบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในกรุงเทพฯ รวมถึงคนพิการ ครอบครัวคนพิการ กลุ่มเปราะบาง และ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส  ให้มีโอกาสในการเข้าถึงการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ เพื่อดูแลตนเองและครอบครัวต่อไปในวันข้างหน้า

อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายหน้าที่ให้ดิฉันมา ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน และมุ่งเน้นดูแล การสนับสนุน และการส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ. ศ. 2550 ในมาตรา 33 34 และ 35 ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการจ้างงานคนพิการ ซึ่งสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปจะต้องจ้างงานคนพิการ 1 คน หรือในอัตราส่วน 100:1 คน

โดยการ สร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ในการเข้าถึงกฎหมายการจ้างงานคนพิการให้กับสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ ให้สามารถ เข้าถึงกับคนพิการได้อย่างสะดวกโดยไม่เป็นอุปสรรค พร้อมทั้งยังมีนโยบาย ในการที่จะเชิญชวนสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐที่ยังไม่ได้จ้างงานคนพิการในการจัดเวทีเสวนาร่วมกัน และทำความเข้าใจในการให้โอกาสของคนพิการมีงานทำร่วมกันเพื่อผลักดันให้คนพิการนั้นมีอาชีพต่อไปในวันข้างหน้า การจ้างงานคนพิการนั้น นอกจากจะมอบโอกาสที่ดีแล้วยังเป็นการช่วยรัฐบาล ที่จะช่วยเหลือ กลุ่มคนได้โอกาสรวมถึงครอบครัวของคนพิการมากกว่าหนึ่งชีวิตเพราะในหนึ่งครอบครัวนั้นจะต้องมีผู้เสียสละมาดูแลคนพิการจึงทำให้ไม่มีรายได้เข้าสู่ครอบครัว สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ในการต่อไป

ในการนี้ นายขจิต ชัชวานิชย์ รองปลักรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานด้านบุคคลออทิสติกไทย ในปี 2564 รวมทั้งนโยบาย ของกรุงเทพฯ ที่จะร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทุกกระทรวง ทบวง กรม  และ องค์การคนพิการทุกประเภท ที่จะร่วมกัน พัฒนาและเตรียมความพร้อมในเรื่องของวุฒิการศึกษาโดยการเตรียมสถานศึกษาให้คนพิการได้เล่าเรียนและมีวุฒิบัตร เป็นที่ยอมรับและสามารถไปสมัครงานได้เทียบเท่ากับบุคคลปกติต่อไปในภายหน้าอีกทั้งยังมีนโยบายให้สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร จ้างงานคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของกรุงเทพฯ

ในเวลาต่อมา นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวถึงบทบาทของการทำงาน ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยกระทรวงการส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ร่วมกับ สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม(ไทย) และกับ สมาคม มูลนิธิ ต่าง ๆ ภาคีเครือข่ายของคนพิการ ที่จะร่วมกันยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในการเข้าถึงการมีงานทำ อย่างเต็มที่ พร้อมให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้านอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

จากนั้น อาจารย์ชูศักดิ์ จันทยานนท์  นายกสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึม (ไทย) และ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย ยังได้กล่าวขอบคุณ ภาครัฐและทุก ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มาร่วมงานในโครงการรณรงค์วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก ในวันนี้ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบว่า คนพิการออทิสติก นั้นยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อาทิ เช่น การเป็นบาริสต้าชงกาแฟ และเป็นจิตรกรวาดภาพศิลปะต่างๆ ได้อย่างสวยงาม

สุดท้ายนี้ นายสรสิช จรูญโรจน์ เลขานุการในหม่อมราชวงศ์ปณิธาน จรูญโรจน์  พร้อมด้วยนายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการไทย รับมอบหมายหน้าที่ในการนำสาร์น จาก หม่อมราชวงศ์ปณิธาน จรูญโรจน์ ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ปกครอง และคนพิการออทิสติก ในการดูแลซึ่งกันและกัน และไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง เนื่องในโอกาสสำคัญนี้ จึงส่งมอบกำลังใจให้กับทุกๆภาคส่วนที่จะได้ช่วยกันส่งเสริมให้คนพิการนั้น มีโอกาสในการพัฒนาตนเองให้เป็นที่ยอมรับในสังคมสืบต่อไป

แม่ฮ่องสอน - อนุทิน รองนายก และรมว.กระทรวงสาธารณสุข มอบวัคซีนโควิด-19 ลงพื้นที่ มอบนโยบายดำเนินงานรองรับสถานการณ์ในประเทศเมียนมา อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

ณ โรงพยาบาลแม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน   นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย  นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข  นายแพทย์โอภาส  การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แพทย์หญิงอัมพร  เบญจพลพิทักษ์  อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  เดินทางมาที่โรงพยาบาลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 2,000 โด้ส  และ  พบปะผู้บริหารจังหวัด/อำเภอ และ มอบนโยบายการดำเนินงานรองรับสถานการณ์ไม่สงบในประเทศเพื่อนบ้าน ที่อาจส่งผลกระทบด้านความมั่นคง ความปลอดภัยของชาวบ้านในพื้นที่  และ สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งนำวัคซีนซิโนแวค ไปฉีดให้กับเจ้าหน้าที่ด่านหน้าทำงานต่อสู้กับโควิด-19 ซึ่ง ความปลอดภัยของคนในประเทศจะต้องมาเป็นอันดับแรก โดยเราปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรมอยู่แล้วในการช่วยเหลือผู้ที่หนีภัยสงคราประเทศเมียนมาตามสถานการณ์หากมีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในฝั่งประเทศเพื่อนบ้านเราก็จะดูแลให้ความช่วยเหลือปฏิบัติตามหลักของมนุษยธรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ให้เข้ามาในเขตแดนของเราหากไม่มีการสู้รบ  ส่วนผู้หนีภัยสงครามเมียนมา จำนวน 7 คนที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบที่เดินเข้ามาก่อนหน้านี้ก็ได้รับการรักษา นอนรักษาตัวที่ รพ.สบเมย 4 คน โรงพยาบาลแม่สะเรียง 1 คน และ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ 2 คน 

โดยหลังรับการรักษา หากมีอาการดีขึ้นหรือหายจากการบาดเจ็บ ทางโรงพยาบาลจะประสานกับทางอำเภอ มารับตัวไปตามขั้นตอน ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละราย โดยต้องประเมินวันต่อวัน แต่ยืนยันว่าจะต้องรักษาจนหายดีก่อน โดยทางทีมแพทย์  จะให้การดูแลตามหลักมนุษยธรรม ดูแลรักษาผู้บาดเจ็บทุกคนไม่ต่างจากการรักษาคนไทยเรา แต่การรับเข้ามาอาจจะมีมาตรากาคุมเข้มเรื่องมาตรการป้องกันโควิด-19


ภาพ/ข่าว :  สุกัลยา / ถาวร  อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top